จนถึงตอนนี้หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินหรือรู้จัก VR (Virtual Reality) กันมาบ้างแล้ว จากการเข้ามาทำตลาดของ Samsung ร่วมกับ Oculus – Facebook, YouTube – Google จนเกิดกระแสอยากลองอยากเล่นกันดูในช่วงนึง ซึ่งทั้งคนที่ได้ลองและไม่ได้ลอง เคยสงสัยกันมั้ยเอ่ยว่าอะไรทำให้ราคาของแว่น VR นี้แตกต่างกันซะเหลือเกิน มันเป็นเรื่องของต้นทุนการผลิต เทคโนโลยีที่ต่าง หรือเป็นแค่ค่าการตลาดเท่านั้น เดี๋ยวเรามาดูกันครับ

ขอเกริ่นถึงที่มาของ VR ณ วันที่มันเริ่มจะเป็นกระแสทั่วโลกให้คนที่ไม่ทราบ อ่านกันสนุกๆนะครับ หลายๆคนจะเร่ิมรู้จัก VR จาก Google Cardboard ที่ทาง Google ได้เปิดตัวไปใน Google I/O เมื่อสองปีที่ผ่านมา ทำให้หลายๆคนสามารถวาร์ปตัวเองไปอยู่อีกโลกได้ในราคาสุดแสนจะประหยัด จ่ายเพียงแค่หลักสิบหลักร้อยก็สามารถซื้อหามาใช้งานได้แล้ว ณ ตอนนั้นหลายๆคนมองว่าการปล่อย Cardboard ของ Google นั้นเหมือนเป็นการตบหน้าทาง facebook ที่เพิ่งประกาศซื้อบริษัท Oculus ที่พัฒนาเทคโนโลยีด้าน VR ไปในราคาหลักพันล้านเหรียญ เพราะคนทั่วไปมักจะนึกว่า Cardboard ที่ทาง Google ปล่อยออกมาให้ใช้กันในราคาถูกนั้น จะสามารถให้ประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ต่างอะไร (หรือต่างน้อยมาก) กับ Oculus VR นั่นเอง

Google Cardboard ที่ใครๆก็จับต้องได้ในราคาสบายกระเป๋า

ส่วนตัวเมื่อได้ลอง Cardboard เป็นครั้งแรกก็รู้สึกว้าวในความสามารถของมัน และเข้าใจว่า Oculus ก็คงไม่ต่างอะไรกันเช่นเดียวกับอีกหลายๆคน แต่เล่นไปได้ไม่นาน ก็เริ่มรู้สึกเบื่อด้วยสาเหตุหลักๆ 2 ข้อคือ 1. เนื้อหายังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ 2. เล่น VR Cardboard แค่แป๊บเดียวก็มึนหัวซะเหลือเกิน จากนั้นก็เลิกเล่นไปสักพักใหญ่ๆ จนมีคนมากวักมือเรียกให้ลอง Gear VR ของทาง Samsung ที่ไปร่วมมือกับทาง Oculus (facebook) พัฒนาขึ้นมา พร้อมบอกว่ามันต่างกันนะเออ จาก Cardboard ราคา 350 บาท กับ 3,500 บาทเนี่ย ซึ่งหลังจากได้ลองเล่นก็รู้สึกถึงความแตกต่างจริงๆ จึงเริ่มลองดูไปเรื่อย ก็พบว่า ณ ปัจจุบันนี้ VR บ้านเรามันก็พัฒนาไปได้ไกลในระดับนึงเลยทีเดียวล่ะ

เกริ่นนำไปซะยาวเหยียด มาพูดถึงเรื่องเปรียบเทียบกันจริงๆได้สักทีละเนอะ 555

 

แว่น VR ในท้องตลาดตอนนี้ ถ้าไม่นับรวมเอาแบบ HTC VIVE หรือ Oculus Rift ที่เป็น VR แบบเต็มรูปแบบ ผมจัดกลุ่มของมันเอาไว้เป็นทั้งหมด 3 แบบ คือ

  1. VR Cardboard – กล่องกระดาษลัง หรือวัสดุอื่นๆ ที่มาพร้อมเลนส์ให้สามารถนำเอา สมาร์ทโฟนเข้าไปวางแล้วเล่น Content ที่เป็น VR ได้ แบบนี้มักจะไม่มีกลไกอะไรซับซ้อน จุดเด่นหลักๆเลยคือเรื่องของราคาที่สามารถหาซื้อได้ค่อนข้างถูกนั่นเอง แต่ว่าอาจจะให้ประสบการณ์ใช้งานไม่ดีนัก ถ้าใครเคยเล่นแต่ Cardboard อาจจะแขยงได้ว่าเล่นแล้วเวียนหัว จนไม่อยากจะเล่นอีกเลยก็เป็นได้

  2. VR Goggle – แบบนี้จะเป็นที่พัฒนาเพิ่มเติมจาก Cardboard ขึ้นมาอีกหน่อย มีการทำตัวกล่องจากพลาสติก ดูแน่นหนา อาจจะมีการบุโฟมหรือวัสดุอื่นๆเพิ่มเติมให้ใส่สบาย และสามารถปรับเลนส์ให้พอดีกับสายตาได้ ที่นิยมๆหน่อยช่วงนี้ก็น่าจะเป็นยี่ห้อ VR Box ซึ่งดูดีกว่าหลายๆตัวที่เห็นตามท้องตลาด วัสดุและการประกอบที่ค่อนข้างดีกว่าของทั่วไป รองรับสมาร์ทโฟนหลายรุ่นหลายยี่ห้อ ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้นกว่า Cardboard 

  3. Gear VR – VR ของทางค่าย Samsung ที่มีคนให้ความสงสัยว่าทำไมถึงมีราคาแพงกว่าชาวบ้าน หรือเพราะแปะคำว่า Samsung เข้าไปก็แพงกว่าทันทีเท่าตัว (ฮา) แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะยัดของต่างๆมาให้มากว่าชาวบ้าน ทั้งเซนเซอร์ ปุ่มควบคุม และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก โดยจับเอาเทคโนโลยีจากทาง Oculus มาใส่ลงไป ทั้งมี Oculus Store ที่เป็นแหล่งรวมเนื้อหาสำหรับการเล่น VR โดยเฉพาะ มีเซนเซอร์และคุณภาพของเลนส์ที่มากกว่าชาวบ้าน ทำให้ประสบการณ์ใช้งานดีขึ้นกว่า Cardboard และ Goggle ทั่วไปอย่างมาก

 

เพื่อความสะดวก ผมขอเอามาเปรียบเทียบเป็นตารางให้ดูกันง่ายๆนะ

เปรียบเทียบฟีเจอร์ความสามารถของแว่น VR แบบต่างๆ

 

VR Cardboard

VR Goggle

Gear VR

ราคา

75-500 บาท

500-2000 บาท

>3500 บาท

น้ำหนัก

~70 กรัม

~150 กรัม

312 กรัม (ไม่รวมนน.สมาร์ทโฟน)

การปรับแต่งระยะโฟกัส

ไม่ได้

แล้วแต่รุ่น

ทำได้

การปรับแต่งขนาดเครื่อง

ใช้ได้หลายขนาดแต่มักจะไม่พอดี

ใช้ได้หลายขนาด บางรุ่นจะมีตัวล็อคปรับความพอดี

ใช้ได้จำกัดรุ่นที่กำหนดไว้เท่านั้น

การควบคุม

ทำได้เท่าที่เนื้อหานั้นๆอนุญาต

มีปุ่ม Home, Back, OK, และ navigation

ความสบายในการใช้งาน

มักไม่มีสายรัด ต้องจับระหว่างเล่น

แล้วแต่รุ่น

มีโฟมบุ นุ่มๆเวลาแนบหน้า มีสายรัดคล้องใบหน้า

รุ่นที่ใช้ได้

ไม่จำกัดรุ่นและยี่ห้อ (แต่อาจมีปัญหาความเข้ากันได้)

Galaxy Note7, S7, S7 edge,

Note5, S6 edge+, S6, S6 edge

มุมมองภาพ

ขึ้นกับคุณภาพผู้ผลิต

101° (เต็มตาเต็มจอ)

แหล่งเนื้อหา

เล่นเนื้อหาจาก Play Store และแหล่งอื่นๆที่รองรับ

เข้าใช้งาน Oculus Store ได้ (เข้า Play Store และแหล่งอื่น ต้องทำการปิด Oculus Service ก่อน)

อุปกรณ์เสริม

ต่อเพิ่มเติมจากช่อง USB ได้ (เสียบ thumbdrive ดูหนังฟังเพลง)

เซนเซอร์เพิ่มเติม

Gyrometer, Accelerator,Proximity

*Gyrometer, Accelerator,Proximity – เซนเซอร์เหล่านี้ช่วยให้ประสบการณ์เล่น VR ดีขึ้น ลดอาการ motion sickness ที่มักจะเกิดขึ้นจากการเล่นไปสักพักหนึ่งในเครื่องที่ไม่มีเซนเซอร์เพิ่มเติม

 

มาดูข้อแตกต่างอื่น ในกรณีที่เราใช้แว่น VR ที่ถูกออกแบบมาสำหรับโทรศัพท์ทั่วไป กับแว่น VR ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะนะครับ ซึ่งขอยกเอา Galaxy Note 5 มาใช้เปรียบเทียบ, VR Box ตัวที่น่าจะนิยมกันอยู่, และ Gear VR นะครับ

ปัญหาที่เจอบน VR Box เมื่อนำเอา Galaxy Note 5 ไปใช้นะครับ

ภาพที่ออกมาจะไม่ได้เต็มจอเต็มตาเท่าไหร่ เห็นไอคอนหรือจุดมาร์กต่างๆ รวมถึงขอบเครื่องที่ค่อนข้างชัดเจนอยู่

VR Box สามารถปรับตัวเลนส์ไปทางและขและขวาเพื่อให้พอดีกับความห่างของตาได้ และสามารถปรับความลึกของเลนส์ได้ด้วยเพื่อให้เหมาะกับสายตาของเราครับ ไม่สามารถปรับเข้า-ออกได้ ซึ่งจะไม่สะดวกเท่าไหร่สำหรับคนที่มีปัญหาทางสายตา

 

ใส่เครื่องเข้าไปแล้วตัวล็อคไม่มีการเว้นที่เอาไว้เผื่อให้ปุ่มด้านข้างเครื่อง จะเจอปัญหาปุ่ม power หรือ vol rokr ถูกกดอยู่ตลอดเวลา และปัญหาหลักอีกอย่างคือตัว VR Box นี้มันไม่มีปุ่มสำหรับกดหน้าจอ เพื่อ interact กับแอปด้วยครับ แต่ถ้าเป็น Cardboard ปกติจะมีนะ

ซึ่งถ้าใครจะซื้อ VR Goggle รุ่นอื่นๆที่ยังไงควรตรวจเช็คเรื่องเหล่านี้กันก่อนนะครับว่ามีปัญหารึเปล่า ถ้าจะให้ดีถามคนขายก่อนก็ได้ว่าใช้กับรุ่นของเราได้มั้ย ถ้ามีปัญหาเผื่อจะขอเปลี่ยนหรือคืนเงินได้นะ

Checklist ที่ VR Cardboard หรือ VR Goggle ควรมี

  • ขนาดพอดีกับเครื่อง ใส่แล้วไม่โยกเยกไปมา ไม่กดทับปุ่มข้างเครื่อง

  • สามารถปรับซ้ายขวาให้พอดีกับสายตาได้

  • ถ้าจะให้ดีควรปรับเครื่องเข้าออกได้ด้วย เพื่อพอดีกับสายตาที่สุด

  • มีปุ่มแตะหน้าจอเพื่อสั่งงานหรือสื่อสารกับเครื่องได้

 

ทีนี้มาดูบน Gear VR ที่ราคาแพงกว่ามากมายเนี่ย มันมีอะไรที่เยอะกว่ามั่ง และมันน่าจ่ายเงินให้เพิ่มเติมรึเปล่านะ

วัสดุที่ใช้ และงานประกอบค่อนข้างดีงาม ไม่ได้มีปัญหาอะไรเรื่องเป็นพลาสติก เพราะจะได้ทนทานและน้ำหนักเบาหน่อย  มีตัวล็อคโทรศัพท์และหัวเสียบเปลี่ยนได้รองรับได้ทั้ง microUSB และ USB Type-C จะขนาดหน้าจอเท่า S7 หรือใหญ่ขึ้นเป็น Note 5 ก็ยังล็อคได้แน่นหนาพอดี

เมื่อเราเสียบเครื่องเข้าล็อคดีแล้ว จะสามารถควบคุมปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง กด back-home หรือควบคุมขึ้นลงซ้ายขวา ได้จากตัวเครื่อง Gear VR ด้วย

ถ้าเล่นแล้วกลัวแบตหมด ก็เสียบสายชาร์จผ่าน Gear VR ได้เลยเล่นได้ยาวๆ (ถ้าไม่ปวดหัวปวดตาไปซะก่อนนะ)

ในกล่องเค้าจะมีหัวแปลง USB Type C เป็น microUSB ให้ด้วยเผื่อใช้สายชาร์จของเครื่องอื่นๆได้

มีเซนเซอร์ที่เพิ่มเข้ามาให้ ทั้ง Gyrometer, Accelerator, Proximity ซึ่งตามภาพจะเป็น Proximity ที่ตัวแว่นจะรับรู้ได้ทันทีเมื่อเราสวม และถึงจะเริ่มทำงาน เพื่อการประหยัดแบต ส่วน Gyrometer, Accelerator จะช่วยจับการเคลื่อนไหวของเรา ทำให้ภาพต่างๆมันดูสมูทลื่นไหลขึ้น เล่นแล้วเวียนหัวน้อยลงนั่นเองครับ

อันนี้ขอไปยืมภาพจากทาง roadtovr.com พอดีไม่มีปัญญาแกะเอง 555 คืออยากจะเอามาให้เห็นว่าในกล่องของ Gear VR มันมีอะไรเยอะอยู่นะ ไม่ใช่แค่พลาสติกทั่วไป

มีแผงวงจรกับเซนเซอร์ที่จะช่วยให้สามารถเล่นได้ประสบการณ์ดีขึ้นด้วยนะ

ส่วนตัวเลนส์นี่ก็เห็นว่าเป็นชิ้นเลนส์พิเศษแบบ Aspherical ให้มุมมองกว้างและภาพคมชัดกว่าเลนส์พลาสติกหรือกระจกทั่วไป ที่ถูกใช้ใน Cardboard หรือ VR Goggle นะ

 

สรุป

Cardboard และ VR Goggle มันก็มีข้อดีที่ราคาถูกและทำให้เราได้ลองเล่น VR Content ได้แบบประหยัดๆนะ แต่อยากจะบอกว่าถ้าหากได้รับประสบการณ์ไม่ดี เล่นแล้วเวียนหัว ใช้งานลำบากแล้วล่ะก็อย่าเพิ่งตัดสินว่า VR ทั้งหมดจะเป็นเหมือนๆกันนะ ยังไงขอแนะนำให้ลองไปเล่นพวกอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่น Gear VR กันดูก่อน เพื่อสัมผัสความต่างกันดูสักทีนะ เพราะมันดีงามกว่าจริงๆอะ

 

ปล. รุ่นที่เอามาเปรียบเทียบนี่จะเป็น Gear VR 2.0 นะ ซึ่งจะเป็นรุ่นใหม่ของปีนี้ (เปิดตัวมาพร้อมๆกับ Galaxy Note 7) หลายๆคนอาจจะมีคำถามว่ามันต่างจากของเดิมยังไงและน่าซื้อรึเปล่า อันนี้ขอเอามาเปรียบเทียบจุดแตกต่างให้เห็นกันนะ 

  1. เลนส์ให้มุมมองกว้างขึ้น ภาพขยายน้อยลง และมีความคมชัดมากขึ้น

  2. มีปุ่ม Home เพิ่มขึ้นมา ทำให้ออกจากแอปนึงไปเข้าอีกแอปนึงได้ง่ายขึ้น

  3. หัว USB เปลี่ยนสลับจาก micro เป็น type-c ได้ และแถมมีแถมมาให้ในกล่องด้วย (ดีงาม)

  4. มีช่องเสียบ USB Type-C สามารถเสียบชาร์จโทรศัพท์ หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกได้ เช่น USB thumbdrive หรือพวกอุปกรณ์เสริมอื่นๆในอนาคต