พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช.

หลังจาก พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. ได้ให้สัมภาษณ์ว่า หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 895-915 MHz / 940-960 MHz ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558 ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ภายในสิ้นปีนี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

พ.อ.เศรษฐพงค์ ย้ำว่า เนื่องจากที่ผ่านมา 3G ได้เกิดผลอย่างชัดเจนจากจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงถึงความต้องการใช้งานประเภทเครือข่ายข้อมูลในประเทศไทยมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับรายงานดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศประจำปี 2557 ของ ITU พบว่าประเทศไทยมีพัฒนาการใช้งานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก โดยสามารถไต่ขึ้นมาถึง 34 อันดับ จากอันดับที่ 105 มาเป็นอันดับที่ 71 ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดสรรคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz การเปิดให้บริการเครือข่าย 3G/4G การแข่งขันที่รุนแรงของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีโทรคมนาคม และการสื่อสารของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต

“การประมูล 4G ที่กำลังจะเกิดขึ้นน่าจะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับการประมูล 3G ที่ผ่านมา และแน่นอนว่าการประมูล 4G จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศได้มูลค่ามากกว่าการประมูล 3G อย่างแน่นอน”

นอกจากนี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เคยระบุว่า ทั้งผลทางตรงจากเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ทั้งในย่าน 1800 MHz และย่าน 900 MHz จะมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท และผลทางอ้อมที่ได้จากมูลค่าการลงทุนสร้างโครงข่ายของผู้ประกอบการเครือข่ายอีกรายละประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และการเกิดธุรกิจใหม่ๆ ทั้งในภาคโทรคมนาคมเอง และในภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจอีกประมาณ 1.6-1.8 แสนล้านบาท ในปี 2559 และอีกประมาณ 2.6 แสนล้านบาท ในปี 2560 ทำให้ในระยะเวลา 2 ปี หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz จะมีเม็ดเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

ดังนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า 4G มีผลต่อประเทศชาติอย่างมาก และถือเป็นการต่อยอดสู่เศรษฐกิจเชิงดิจิตอลตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย เป็นการยกระดับคุณภาพ และวิธีการติดต่อสื่อสารของผู้บริโภคชาวไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ซึ่งสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ซึ่งเป็นสมาคมนานาชาติด้านโทรคมนาคม ได้วิเคราะห์ว่าประเทศไทยจะก้าวจากประเทศกำลังพัฒนาด้าน ICTs ไปสู่ประเทศที่มีการพัฒนาแล้วในด้าน ICTs และจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในเวที ASEAN และเวทีโลกได้อย่างเข้มแข็ง หากมีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz สำเร็จตามแผน

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award จากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการลดช่องว่างด้านดิจิตอล และการกำหนดนโยบายที่จะกระตุ้นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ การวิจัย และการส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสอดคล้องต่อนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย ที่จะทำให้ทุกภาคส่วนด้านเศรษฐกิจก้าวหน้าทันโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้

การประมูล 4G ต้องเกิดขึ้นหลังไทยได้รางวัลระดับโลกจาก ITU
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.

ทั้งด้านการผลิต การค้าผลิตภัณฑ์ดิจิตอลโดยตรง และการใช้ดิจิตอลรองรับบริการของภาคธุรกิจการเงิน และธุรกิจบริการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคการสื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านนี้ เพื่อให้ประชากรโลกก้าวไปพร้อมๆ กัน และกำหนดเป้าหมายนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการวิเคราะห์ และประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากการประมูล 3G ว่า ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทางสังคม และเศรษฐกิจ (Socioeconomic benefit) อย่างมหาศาล จากบทความเรื่อง “A Post-Auction Review of 2.1 GHz Spectrum Licensing Obligations in Thailand” [http://www.ijimt.org/vol6/616-MT00012.pdf] ของพ.อ.เศรษฐพงค์ ประธาน กทค. ที่มีการรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม และยังมีผลการวิเคราะห์จากสำนักวิจัยหลายสำนักที่ได้วิเคราะห์ผลเชิงบวกทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศจากการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม ดังนั้น จึงทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้มีคำตอบเดียวคือ “ต้องประมูลให้สำเร็จเท่านั้น” จึงจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตมากยิ่งขึ้น

“ในภาวะที่เศรษฐกิจของบ้านเมืองกำลังซบเซาเช่นนี้ ยังมีโครงการใหญ่ๆ ของประเทศอีกโครงการหนึ่งเท่านั้น คือ การประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งถือเป็นความหวังเดียวของประเทศชาติ และประชาชนว่าโครงการประมูลคลื่นความถี่ในช่วงปลายปีนี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งจากความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการลงทุนสร้างโครงข่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาคึกคักได้อีกครั้งจากการประมูลคลื่นความถี่ ดังนั้น จะต้องประมูลให้สำเร็จเท่านั้น”

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000109513