สาธารณรัฐเช็ก – องค์กรกำกับดูแลของสาธารณรัฐเช็ก ตัดสินใจยกเลิกการประมูล เนื่องจากราคาประมูลพุ่งสูงถึง 1,030 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่คาดว่าจะมีรายได้จากการประมูลเพียง 377 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศอินเดีย – ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ 2G แต่เนื่องจากมีการตั้งราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไป โดยเฉพาะคลื่น 1800 MHz ในบางบล็อคความถี่ ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล และรายได้จากการประมูลต่ำกว่าที่คาดไว้มาก และในปี 2013 ถึงแม้จะมีการลดราคาเริ่มต้นการประมูลลงจากปี 2012 โดยคลื่น 1800MHz มีการลดราคาลง 30% และคลื่น 800 MHz ลดราคาลง 50% ซึ่งถึงแม้จะมีการลดราคาลงแต่คลื่น 1800MHz บางบล๊อคก็ยังไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ส่วนคลื่น 800MHz มีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลเพียงรายเดียวเท่านั้น

ออสเตรเลีย – การประมูลคลื่นความถี่ 4G ย่าน 700 MHz ในเดือนเมษายน 2013 โดยก่อนเริ่มต้นการประมูล Vodafone ผู้ให้บริการอันดับสาม ประท้วงไม่เข้าร่วมการประมูล เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับราคาตั้งต้นการประมูล ส่วน Optus ผู้ให้บริการอันดับสองเข้ามาขอรับการจัดสรรความถี่เพียงครึ่งเดียวของ Telstra ผู้ให้บริการอันดันหนึ่ง เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการตั้งราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงเกินไป ทำให้คลื่นความถี่เหลือหนึ่งในสาม (2×15 MHz) ที่ไม่สามารถจัดสรรออกไปได้

สิงคโปร์ – พยายามหาผู้ประมูลรายที่ 4 เข้าตลาด แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้น IDA จึงได้ยกเลิกการประมูลและให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ได้แก่ Singtel, M1 และ Starhub ได้รับการจัดสรรในราคาขั้นต่ำในการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ (Reserve Price) ที่มูลค่า 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 500 ล้านบาท)

เกาหลีใต้ – ในปี 2011 มีการตั้งกำแพงไม่ให้ผู้ให้บริการรายหลักสองรายเข้ามาประมูลในคลื่น 2100 MHz เพื่อให้เกิดความน่าสนใจสำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ ดังนั้น LG Uplus เป็นเพียงรายเดียวที่เข้าร่วมประมูลคลื่น 2100 MHz และชนะการประมูลในราคาขั้นต่ำที่ทาง KCC ได้ตั้งไว้ที่ 4.45 แสนล้านวอน

ประเทศนอร์เวย์ – มีการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยมีผู้เข้าร่วมประมูลสามราย โดยหนึ่งในสามรายเป็นผู้ได้รับการจัดสรรความถี่ไว้แล้ว 15MHz ในอดีต โดยการประมูลกำหนดให้แต่ละรายจะมีความถี่ในครอบครองได้ไม่เกิน 20MHz ซึ่งการประมูลได้จบลงในรอบเดียวและทุกรายได้รับการจัดสรรความถี่ตามที่ต้องการในราคาขั้นต่ำในการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ หรือ 5 ล้านโครนเนอร์นอร์เวย์ ต่อ 1 บล็อกความถี่

บังกลาเทศ – จัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ทั้งหมด 50 MHz โดยมีการจัดสรรให้ผู้ประกอบการของรัฐ 10 MHz อีก 40MHz จัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน แต่ประมูลออกไปได้เพียงเพียง 25 MHz คงเหลือคลื่นความถี่อีก 15 MHz โดยไม่มีผู้สนใจจะประมูลต่อ โดยบริษัท CityCell ผู้ประกอบการรายที่เก่าแก่ที่สุด ไม่ได้เข้าประมูล เนื่องจากไม่สามารถจัดหาเงินลงทุนได้

บาห์เรน – ยกเลิกการประมูลคลื่นความถี่ LTE โดยใช้วิธีจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับผู้ให้บริการรายเดิมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้ง 3 รายแทน (Bahrain Telecommunications Co. (Batelco), Kuwait’s Zain และ Viva Bahrain)

จาเมกา – จัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700MHz เมื่อเดือนตุลาคม 2013 แต่การประมูลคลื่นความถี่ได้ถูกล้มเลิกไป เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคาแม้แต่รายเดียว ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวของการประมูล

เดนมาร์ก – ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 800MHz ผู้ชนะประมูลมีเพียง 2 รายเท่านั้น จากผู้เข้าประมูลทั้งสิ้น 3 ราย โดยบริษัท Hi2G นั้นแพ้การประมูล

โรมาเนีย – ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 800MHz ได้ผู้ชนะการประมูล 3 ราย โดยเหลือคลื่นความถี่อีกจำนวน 2x5MHz ที่ไม่สามารถประมูลออกไปได้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000030014