กรณีศึกษาการประมูลคลื่นความถี่ ในต่างประเทศ

24 มีนาคม 2559
โดย พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
—————

สหราชอาณาจักร
หน่วยงานกำกับดูแลของสหราชอาณาจักร ได้เคยจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ในเดือนมีนาคม 2000 มีผู้ชนะการประมูล 5 ราย ได้แก่ BT Cellnet, Orange, One2One (O2), Vodafone ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดิม และ TIW หรือ 3UK ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ มีมูลค่าการประมูลสูงถึง 22.47 พันล้านปอนด์ หรือ 35.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการประมูลที่สูงเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่อย่าง 3UK ต้องพยายามดินรนแข่งขันในตลาด แต่ไม่สามารถทำกำไรได้ในช่วง 10 ปีหลังจากการประมูล ต่อมาจึงได้มีการควบรวมกิจการเกิดขึ้นในตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถประกอบการได้ โดย T-mobile ควบรวมกับกิจการกับ Orange ในปี 2010 กลายเป็น บริษัท Everything Everywhere แสดงให้เห็นว่า แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะได้เงินจำนวนมากจากการประมูลคลื่นความถี่ แต่ในระยะเวลาภายหลังที่ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการสร้างโครงข่ายได้ครอบคลุมหรือมีปัญหาการดำเนินธุรกิจต่อไปทำให้สภาพการลงทุนในตลาดโทรคมนาคมมีผลกระทบเป็นอย่างมาก จึงทำให้เห็นได้อยากชัดเจนจากหลายกรณีศึกษาว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูล ถึงแม้ว่าเป็นวิธีการที่เป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ แต่ก็มิได้หมายความว่า จะส่งผลดีได้ในทุกกรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขของอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศ ซึ่งยากยิ่งที่จะคาดการณ์ได้

Reference
Analysis group, “Spectrum Auctions Around the World: An Assessment of International Experiences with Auction Restrictions,” July 2013.

https://www.facebook.com/ICT-Thailand-1644769879108351/?ref=br_rs