internet of Things (IoT) ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ

บทความโดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม

เทคโนโลยี IoT ได้เข้ามาเป็นผู้เปลี่ยนเกมในระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่การเริ่มติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน IoT ให้เป็น platform ขององค์กรต่างๆ โดยได้มีการเริ่มต้นใช้งานและทดสอบระบบ IoT ให้สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในอดีต เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าใหม่ๆแก่อุตสาหกรรม ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อลดต้นทุนด้วยการแทนการใช้แรงงานคน แต่ได้ประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการใช้แรงงานคนด้วยการตอบสนองต่อปัญหาแบบ Realtime

ตัวอย่างเช่น Rockwell Automation ผู้ให้บริการระบบอัตโนมัติในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งมีระบบและอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งมีการนำเสนอวิธีการช่วยเหลือองค์กรในการเก็บรวบรวม การบูรณาการ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบเซ็นเซอร์จากอุปกรณ์ระยะไกล เพื่อทำให้สามารถตัดสินใจได้แบบ real-time วิเคราะห์คาดการณ์, ป้องกันและดูแลรักษา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเช่น อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

บริษัท Milwaukee ได้มีแนวทางในการนำ IoT มาใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การขุดเจาะน้ำมัน การสูบ ถังพักน้ำมัน มาตรวัด หน้าจอมอนิเตอร์ และท่อส่งน้ำมันหรือก๊าซในระหว่างการทำเหมือง การกลั่น การขนส่ง และการขาย

ตัวอย่างการนำ IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน
ในขั้นตอนการสกัดน้ำมันนั้นมีหลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น บริษัทฮิลคอร์ป เอ็นเนอร์จี (Hilcorp Energy) บริษัทผู้สำรวจและผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ ได้ใช้เครื่องสูบไฟฟ้าในแท่นขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่แปรเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของเครื่องสูบ และในการขับเคลื่อนจะต้องเชื่อมต่อด้วยระบบคลาวด์และมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากระบบเซ็นเซอร์ เช่น ความดัน อุณหภูมิ อัตราการไหล และปัจจัยอื่นๆ จะถูกส่งไปยังทีมวิศวกรบน digital dashboards ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าอุปกรณ์ทำงานอย่างถูกต้องแบบ real time และตอบสนองปัญหาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องใช้วิธีโทรศัพท์บอกทีมซ่อมบำรุงว่ามีอะไรชำรุด ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 5 นาที นอกจากนี้วิศวกรของฮิลคอร์ป ยังรายงานว่าอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงในการแก้ปัญหา เพื่อให้เครื่องจักรสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งถือว่าเมื่อนำเอา IoT มาใช้แล้วทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปในทางที่ดีอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

หลังจากสกัดก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันจากใต้พื้นมหาสมุทรได้แล้ว น้ำมันดิบจะถูกส่งไปยังโรงกลั่น ผ่านการขนส่งทางเรือ, ท่อส่งน้ำมัน, รถไฟ และรถบรรทุก พร้อมด้วยเครือข่ายที่เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำมันที่มีการถ่ายโอนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยควบคุมติดตามแบบ realtime บน IoT platform

การใช้ข้อมูลร่วมกันของบริษัททำให้สามารถดำเนินการระบบอัตโนมัติบนเครื่องจักรจำนวนมากๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง และปัจจุบันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถบันทึกข้อมูลรายการอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที สามารถบริหารควบคุมในระยะไกลได้อย่างแท้จริง สามารถวิเคราะห์ได้อย่างทันที

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ บริษัท Trigg Technologies, a Pampa และ Texas-based company ซึ่งมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน ทั้งในการอัพเกรดอุปกรณ์ระยะไกลโดยใช้เซ็นเซอร์ส่งสัญญาณไปยังระบบคลาวด์ การปรับปรุงรักษาระบบให้ดีขึ้นจากระยะไกล การตรวจสอบสินค้าคงคลัง และใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมต่อกันแบบ realtime

บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ได้มีการเปิดตัวโครงการ IoT ที่ใช้ระบบคลาวด์ในการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามปั๊มน้ำมัน ทำให้การวิเคราะห์คาดการณ์ดีขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการที่แต่ละปั๊มน้ำมันใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจ่ายน้ำมัน และส่งไปยังระบบคลาวด์เพื่อตรวจสอบอัตราการบริโภคน้ำมันและปริมาณน้ำมันคงเหลือ ซึ่งในระยะยาวโครงการนี้คาดว่าจะส่งผลให้มีการปรับปรุงการออกแบบสถานีบริการน้ำมันและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใหม่ทั้งระบบ เพราะได้เห็นถึงประโยชน์ของ IoT อย่างชัดเจนแล้ว

การใช้ IoT ในอุตสาหกรรมจะสามารถสร้างคุณค่า โดยเฉพาะกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงๆ อย่างเช่น แท่นขุดเจาะ ท่อส่งน้ำมัน มาตรวัดปริมาณน้ำมัน ฯลฯ ที่มีการควบคุมระยะไกล เช่น การตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินการ การวิเคราะห์ ความเข้าใจตลาดอย่างถ่องแท้ก่อนการผลิต ด้วยความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการที่มีความชาญฉลาดโดยใช้ขีดความสามารถด้าน Big Data Analytics

การเชื่อมโยงถึงกันในอุตสาหกรรมพลังงานเชื้อเพลิงมีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้ระบบ IoT มีความจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน (collaboration) และทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งในการทำงานร่วมกันจะต้องอาศัยวิธีการและมาตรฐานในการสื่อสารที่สอดคล้องกัน การแลกเปลี่ยนและการใช้ข้อมูล ระหว่างระบบ IT และซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกันจะต้องเชื่อมต่อกันได้ (ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จและมีความยืดหยุ่น ไม่ว่าจะสร้างระบบ IoT ด้วยองค์กรเอง หรือใช้วิธีการจ้างให้บริษัทภายนอกพัฒนาระบบ IoT ให้ก็ตาม

ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของ IoT platform ที่จะต้องมีการวิเคราะห์ และพิจารณาอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุตสาหกรรมสามารถที่จะใช้ประโยชน์ IoT ได้อย่างสูงสุด ด้วยความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด

ขณะนี้การเติบโตของการให้บริการ IoT platform กำลังก้าวหน้าอย่างยิ่ง ในยุโรปไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สเปน, เนเธอแลนด์, เดนมาร์ค และอีกหลายประเทศ ส่วนในเอเชีย ทุกประเทศชั้นนำด้านไอทีที่ผู้อ่านคิดชื่อได้ทันทีนั้น IoT ได้เริ่มคืบเข้ามาวาง platform ให้แก่อุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นแล้ว และคาดว่าจากนี้ไป IoT จะเป็นการให้บริการดาวรุ่งในทุกอุตสาหกรรม และแน่นอน ผู้เขียนขอกระซิบเบาๆว่า บริษัท IoT platform กำลังฟอร์มทีมและกำลังคืบเข้ามาเพื่อร่วมทำธุรกิจในประเทศไทยอย่างจริงจัง ขอให้ผู้อ่านติดตามอย่างใกล้ชิด ต่อไป

Reference
http://readwrite.com/2017/01/12/microsoft-industrial-automation/
—————-
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
22 มกราคม 2560
www.เศรษฐพงค์.com
(เขียนที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ระหว่างรอสวดในงานศพพ่อ)
—————–
หากท่านสนใจความรู้ด้านดิจิทัล
เข้าร่วมกับเราและทักเข้ามาที่
LINE id : @march4g

ขอบคุณที่มา: http://www.it24hrs.com/2017/internet-of-things-iot-oil-gas-industry/