ถ้าจะมีการนับว่าค่ายไหน? แบรนด์ใด? คือเจ้าแห่ง Wearable Device แล้วละก็ ชื่อของ Samsung นั้นต้องติดอันดับ 1 ใน 3 เป็นแน่ เพราะจนถึงตอนนี้พี่แกทำมาหลายรุ่นแล้ว ตั้งแต่สายพันธุ์ Gear ทั้ง 3, Gear fit, Gear Live และล่าสุดกับ Samsung Gear S ที่มาแปลกกว่าใคร เพราะนอกจากจะ sync กับมือถือได้แล้ว ยังสามารถใส่ซิมใช้งานแยกต่างหากโดยไม่ต้องพึ่งสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย

สำหรับ Samsung Gear S นั้นใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Tizen ที่ทาง Samsung พัฒนาขึ้นมาเองโดยถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานร่วมกับ Samsung Galaxy ที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android ได้ด้วย หน้าจอของ Gear S นั้นถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดแล้วในบรรดา wearable ทั้งหมด โดยเป็นจอโค้ง Curved Super AMOLED ขนาด 2 นิ้ว ความละเอียด HVGA 480×360 ตัวเรือนของ Gear S สามารถถอดออกมาจากสายได้ ในกรณีทีต้องการจะเปลี่ยนสายเป็นสีหรือลวดลายอื่นๆ โดย Gear S ที่จะเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมี 2 สีด้วยกันคือขาวและดำ ราคา 11,900 บาท เริ่มวางจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน

สเปคของ Gear S นั้นมาพร้อมกับ CPU dual-core 1.0 GHz หน่วยความจำภายใน 4GB และ RAM 512MB ด้านหลังตัวเครื่องมีช่องใส่ซิมและเครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจแบบดียวกับ Gear รุ่นก่อนหน้านี้ 

ซิมที่ใช้งานกับ Gear S ต้องเป็น นาโนซิม เท่านั้น คลื่นความถี่ที่รองรับคือ 3G 900/2100 และ 2G 900/1800 

ส่วนส่วนของสายนาฬิกาที่แถมมาด้วยนั้นเป็นสายพลาสติกอ่อน การปรับสายใช้วิธีเลื่อนหมุดล็อคที่สายอีกฝั่งนึง และการล็อคสายก็จะใช้หมุดของอีกฝั่งเป็นตัวล็อค ซึ่งการออกแบบสายของ Gear S นั้นถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ โดยจะมีช่องให้สวใตัเรือนเข้าไป ไม่สามรถใช้กับสายนาฬิกาทั่วไปแบบยี่ห้ออื่นๆ ได้ เพราะฉะนั้หากต้องการจะเปลี่ยนสายก็ต้องหาที่มันรองรับกับ Gear S เท่านั้น 

ถึงแม้ว่า Gear S จะถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานด้วยตัวเองผ่านซิมการ์ดและไม่ต้องพึ่งสมาร์ทโฟนก็ได้ แต่ปรากกว่าเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาครั้งแรก กลับต้องทำการ Sync ข้อมูลผ่านแอพ Gear Manager ซะก่อน 

อธิบายง่ายๆ คือไม่สามารถจะแกะกล่องมาแล้วใช้ได้เลย หรือจะนำ Gear S ไปใช้กับสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ ก็คงจะลำบาก เพราะจริงๆ แล้วมันก็สนับสนุนเฉพาะ Samsung Galaxy เท่านั้น

แน่นอนว่าจุดเด่นของ Wearable Device หลักๆ  คือเรื่องของการแจ้งเตือนต่างๆ ซึ่งจากที่ลองใช้งานพบว่าทำงานได้ค่อนข้างครบ และในหลายๆ แอพสามารถใช้ Gear S พิมพ์ข้อความตอบกลับไปได้เลยเช่น SMS เป็นต้น

หน้าตา Keyboard บนหน้าจอขนาด 2 นิ้วที่หลายคนสงสัยว่ามันจะพิมพ์ได้เหรอ พอได้ลองจิ้มๆ ดูแล้วสำหรับภาษาอังกฤษถือว่าพิมพ์ได้ง่ายและไว หน้าจอเล็กๆ แบบนี้ใช้ระบบเดาคำช่วยได้เยอะ ไม่ต้องพิมพ์เองทุกตัวอักษร แต่พอลองเปลี่ยนเป็นภาษาไทยแล้วก็พิมพ์ยากขึ้น เพราะแป้นพิมพ์มันเล็กลง เพราะตัวอักษรไทยเรามีมากกว่า

สำหรับแอพต่างๆ ที่มีฝังมาในตัวของ Gear S นั้นก็ค่อนข้างครบ มีทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานเป็นโทรศัพท์, การรับส่งข้อความ sms, email หรือแม้แต่แอพ Chat ประจำอย่าง LINE หรือ ChatOn (อันนี้มีคนใช้ปะ) ก็ครบ นอกจากนั้นก็มีแอพออกกำลังกายอย่าง S Health

ส่วนฟังก์ชั่นที่หลายๆ คนสนใจตั้งแต่ตอนเปิดตัวก็น่าจะเป็นระบบนำทางของ Here Maps ที่ฝังมาในตัวเครื่องนั่นเอง เพราะ Gear S นั้นมี GPS มาด้วย แถมยังรองงรับ A-GPS และ GLONASS ด้วย แต่จากที่ลองเหมือนจะมีอาการแกว่งๆ อาจจะเป็นเพราะ software ที่ยังไม่สเถียรหรือเปล่าอันนี้ก็ยังไม่คอนเฟิร์ม ไว้ขอลองอีกทีแล้วจะมาบอกในรีวิวฉบับเต็มครับ

ส่วนของฟังก์ชั่นการโทรนั้น เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ซิมของตัวเครื่องหรือจะใช้ซิมของมือถือ Galaxy ที่เราเชื่อมต่ออยู่ก็ได้ โดยที่การคุยผ่าน Gear S จะเป็นการคุยผ่าน speakerphone ครับ แต่ก็สามารถเลือกโยนไปรับสายด้วยมือถือของเราก็ได้

นี่คือการพรีวิวคร่าวๆ ของ Samsung Gear S ที่ผมได้ลองเล่นมา รวมๆ แล้วก็มีหลายๆ จุดที่ประทับใจแต่ก็ยังมีอีกหลายๆ จุดที่ยังสงสัยและอยากจะทดลองใช้งานให้มากกว่านี้ เอาไว้ได้เครื่องตัวเป็นๆ มาแล้วจะมารีวิวการใช้งานให้ได้อ่านกันอีกรอบแล้วกันนะครับ