HTC One M9 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนที่ทาง HTC ได้เปิดตัวออกมาในปี 2015 นี้ และก็ถูกแทนที่ด้วย Flagship ที่แท้จริงอย่าง HTC One M9+ ไปทีหลัง โดยที่ทาง HTC ประเทศไทยนั้นได้ประกาศเรียบร้อยแล้วว่าจะไม่นำเข้ามาขาย แต่จะนำ HTC One M9+ เข้ามาขายแทน แต่ถึงกระนั้นผมก็ยังคงอยากจะขอทำรีวิวรุ่นนี้อยู่ดี

 

ทำการแกะกล่อง

    กล่องของ HTC One M9 นั้นจะมีรูปทรงคล้ายๆกับ HTC One M8 และ M7 ที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมขอบมน แต่คราวนี้จะไม่มีรูปตัวเครื่องอยู่ที่หน้ากล่องอีกต่อไปแล้ว แต่จะเป็นชื่อรุ่นบนที่ตรงกลางและพื้นหลังเป็นลายจุดสีเทาแทน

 

    ภายในกล่องจะเหมือนกับรุ่นก่อนๆเป๊ะ มีตัวเครื่อง, อะแดปเตอร์ชาร์จ, สาย Micro USB, หูฟัง, เข็มจิ้มถาดซิม และเอกสารคู่มือหลายๆเล่ม

 

    สีตัวเครื่องที่ผมเอามาทำรีวิวเป็นสีแบบ Gold on Silver นะครับ ตัวเครื่องด้านหน้าด้านหลังเป็นสีเงิน และขอบอะลูมิเนียมด้านข้างตัวเครื่องเป็นสีทอง แต่ภาพในรีวิวจะอมส้มเล็กน้อยจึงทำให้สีเพี้ยนไปอยู่บ้าง 

 

    ตัวเครื่องด้านหน้าเรียกได้ว่าไม่เห็นความแตกต่างจาก M8 เลยแม้แต่น้อย บอดี้เป็นอะลูมิเนียมทั้งเครื่องตามแบบฉบับของตระกูล HTC One

 

    ด้านหน้าช่วงบนตัวเครื่องเป็นลำโพง เซ็นเซอร์วัดแสง, เซ็นเซอร์ Proximity, และกล้องหน้า

 

    ลำโพงหน้าจะมี LED Notification ซ่อนอยู่ ซึ่งจะแสดงสถานะดังนี้

    • สว่างเป็นสีเขียว เสียบชาร์จไฟอยู่และแบตเตอรีเต็มแล้ว
    • กระพริบเป็นสีเขียว มีการแจ้งเตือนใดๆเข้ามา
    • สว่างเป็นสีส้ม กำลังชาร์จไฟอยู่
    • กระพริบเป็นสีส้ม แบตใกล้จะหมด

  

    ด้านหน้าช่วงล่างของตัวเครื่องเป็นลำโพง และสัญลักษณ์ HTC

 

    ด้านล่างตัวเครื่องเป็นช่อง Micro USB และช่องหูฟัง 3.5mm

 

    ด้านบนของตัวเครื่องเป็นแถบสีดำๆ ทำเหมือนรีโมตทีวี โดยจะมีตัวส่งสัญญาณอินฟราเรดเพื่อใช้สั่งงาน TV อยู่ตำแหน่งที่ลูกศรชี้ในภาพ 

 

    ด้านขวาของตัวเครื่องจะมีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง, ช่องใส่ Micro SD และปุ่ม Power ที่จากเดิมอยู่ด้านบนตัวเครื่อง ก็ถูกย้ายมาอยู่ด้านข้างแทนเพื่อให้กดได้ง่ายขึ้น ตรงนี้จึงเป็นอีกจุดสังเกตระหว่างกับ M8

 

 

    ด้านซ้ายของตัวเครื่องจะมีแค่ช่องใส่ซิมแบบนาโน

 

    ด้านหลังตัวเครื่องต่างจากเดิมตรงที่เปลี่ยนจากกล้องคู่มาเป็นกล้องตัวเดียวแทน จึงทำให้แยกแยะจาก M8 และ M9+ ที่เป็นกล้องคู่ได้ง่ายหน่อย

 

    ด้านหลังช่วงบนจะมีกล้องหลังที่มีกรอบเป็นสี่เหลี่ยมมุมมนแทนที่จะเป็นวงกลมแบบรุ่นเก่า ส่วนแฟลชยังคงเป็นแฟลชคู่เช่นเดิม

 

    และถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่าตำแหน่งของรูไมค์ตัดเสียงด้านหลังนั่นขยับไปเล็กน้อยจาก M8 (ยังจะสังเกตเห็นอีก)

 

    ตรงกลางเป็นโลโก้ HTC สีดำ

 

    ส่วนอะแดปเตอร์ที่ให้มาเป็น 5V 1.5A เท่านั้น ทั้งๆที่ตัวเครื่องรองรับ Quick Charge 2.0

 

ข้อมูลเบื้องต้น

  • OS
    • Android 5.0 Lollipop (ล่าสุดอัพเดทเป็น 5.0.2)
    • ทำงานแบบ 64-bit
    • UI ใช้เป็น HTC Sense UI 7.0
  • CPU
    • Qualcomm Snapdragon 810 MSM8994 Octa-core ความเร็ว 2.0 Ghz
    • รองรับการทำงานแบบ 64-bit
    • ทำงานแบบ big.LITTLE
    • ใช้ ARM Cortex-A57 และ ARM Cortek-A53 รวมกัน 8 Core
    • ARM Cortex-A57 Quad-core ความเร็ว 2.0 Ghz สำหรับงานหนัก
    • ARM Cortex-A53 Quad-core ความเร็ว 1.5 Ghz สำหรับงานเบา
  • GPU
    • Qualcomm Adreno 430
    • ความเร็วประมาณ 650 MHz
    • รองรับการ Encode/Decode ไฟล์วีดีโอระดับ 4K
    • รองรับ Open GL ES 3.1
    • รองรับ Open VG 1.1
    • รองรับ Open CL 1.2
    • รองรับ Direct3D 11.2
  • Display
    • Super LCD 3 ขนาด 5 นิ้ว
    • ความละเอียด Full HD 1,920×1080 พิกเซล
    • ความหนาแน่นของเม็ดพิกเซลอยู่ที่ 441 ppi
    • กระจก Corning Gorilla Glass 4
  • RAM
    • LPDDR4 ขนาด 3 GB
    • มีให้ใช้งานจริง 2,793 MB
    • เริ่มใช้งานครั้งแรกจะใช้ไป 700 MB
    • ใช้งานปกติจะใช้ประมาณ 1.5 GB ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
  • ROM
    • eMMC NAND flash 32 GB (ผมได้รุ่น 32 GB)
    • เสียพื้นที่ให้กับตัวระบบไป 11 GB
    • มีเหลือให้ใช้งานจริง 21 GB
    • รองรับ Micro SD ได้สูงสุดถึง 128 GB และรองรับ Class U3
  • Camera
    • Back
      • ความละเอียด 20.7 ล้านพิกเซล (5,376×3,752 พิกเซล)
      • อัตราส่วนภาพ 10 : 7 (ภาพใหญ่ที่สุด), 16 : 9, 1 : 1
      • ไฟ LED แฟลชคู่แบบสองโทนสี (Dual LED with Dual Tone)
      • รองรับการถ่ายไฟล์ RAW
      • รองรับการบันทึกวีดีโอ 2160p@30fps, 1080p@60fps และ 720p@120fps
      • ใช้เซ็นเซอร์ภาพของ Toshiba T4KA7 BSI CMOS Image Sensor
      • เซ็นเซอร์ภาพขนาด 1/2.4″ หรือ 5.96×4.16 mm
      • Pixel size 1.12 µm x 1.12 µm
      • Aperture f/2.2
      • Focal Length 4.73 mm
      • เส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์ 27.8 mm
      • เปิดหน้ากล้องได้นานสูงสุด 2 วินาที
      • ตรวจจับใบหน้าได้พร้อมกันสูงสุด 10 คน
      • ป้องกันด้วยกระจกแซฟไฟร์
    • Front
      • ความละเอียด 4 ล้านพิกเซล (2,688×1,520 พิกเซล)
      • อัตราส่วนภาพ 16 : 9 (ภาพใหญ่ที่สุด), 4 : 3, 1 : 1
      • รองรับการบันทึกวีดีโอ 1080p@30fps และ 720p@60fps
      • ใช้เซ็นเซอร์ภาพของ HTC Ultrapixel BSI CMOS Image Sensor
      • เซ็นเซอร์ภาพขนาด 1/3″ หรือ 5.31×3.01 mm
      • Pixel size 2.0 µm x 2.0 µm
      • Aperture f/2.0
      • Focal Length 3.82 mm
      • เส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์ 26.8 mm
      • Fixed Focus ไม่รองรับ Auto Focus
  • Communication
    • Mobile Data
      • SIM Type : Nano SIM
      • 2G : GSM 850 / 900 / 1800 / 1900 MHz
      • 3G : HSDPA 850 / 900 / 1900 / 2100 MHz
      • 4G : Cat6 Band 1 / 3 / 5 / 7 / 8 / 20 / 28 / 38 / 40 / 41
    • WiFi : 802.11 a/b/g/n/ac + Dual band (ชิป Broadcom BCM4356)
    • Bluetooth : Bluetooth 4.1 + aptX (ชิป Broadcom BCM4356)
    • GPS : GPS + GLONASS
    • รองรับ NFC​ (ควบคุมด้วยชิป NXP 47803)
    • รองรับ MHL 3.0 (ชิป Silicon Image SIL8620)
    • รองรับ USB OTG
    • รองรับ IR Remote (ควบคุมด้วยชิป MAXQ614)
    • รองรับ FM Radio โดยใช้หูฟัง และรองรับ RDS
  • Battery
    • Li-Po ความจุ 2840 mAh (10.87 Whr)
    • รองรับ Quick Charge 2.0
  • อื่นๆ
    • ลำโพงสเตอริโอคู่หน้าด้วยเทคโนโลยี HTC Boomsound และ Dolby Surround
    • น้ำหนัก 157 กรัม
    • ขนาดตัวเครื่อง 44.6 x 69.7 x 9.6 mm
    • เพิ่มพื้นที่ใน Google Drive ฟรีเป็นระยะเวลา 2 ปี
    • HTC Thailand ไม่ได้นำเข้ามาจำหน่าย
    • บริการ UH OH Protection (เฉพาะในสหรัฐฯ)
    • ไม่รองรับ Wireless Charging

 

หน้าจอใหญ่และคมชัด

    HTC One M9 ใช้หน้าจอเทคโนโลยี Super LCD 3 ให้สีสวยสดบนหน้าจอขนาด 5 นิ้ว และมีความละเอียด Full HD ใช้กระจก Corning Gorilla Glass 4 ที่พัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งกว่ารุ่น 3

 

 

    ถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ QHD ตามสมัยนิยม แต่สำหรับหน้าจอขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด Full HD ก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง FHD กับ QHD ได้อยู่แล้ว

 

    หน้าจอสู้แสงได้ดี โดยเฉพาะช่วงนี้ที่แดดเรียกได้ว่าแทบจะเป็นมะเร็งในทันที 

 

    แต่พอปรับความสว่างต่ำสุดก็แอบผิดหวังเล็กน้อย เพราะว่ามันยังสว่างเกินไปเมื่ออยู่ในที่มืดๆ

 

   หน้าจอสัมผัสได้พร้อมกันถึง 10 จุด โดยไม่มีอาการสะดุดหรือทัชเพี้ยนแต่อย่างใด

 

 

HTC Sense UI 7.0 เป็นยังไงบ้าง?

    ตัวเครื่องนั้นจะมาพร้อมกับ Android 5.0 โดยจะใช้เป็น Sense UI ที่ทาง HTC ทำขึ้นมา โดยในเวอร์ชันนี้จะเป็นเวอร์ชัน 7.0 แล้ว ซึ่งมีการปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับ Android 5.0

 

    BlinkFeed ไม่ได้ต่างไปจากเดิมมากนัก ก็ยังคงเน้นสำหรับฟีดข่าวสารจากแหล่งข่าวและรวมไปถึง Social ของเราเองตามที่กำหนดไว้

 

    HTC Theme เรียกได้ว่าในตอนนี้มือถือ Hi-end เกือบทุกเจ้านั้นต้องสามารถเปลี่ยนธีมเครื่องได้ ซึ่ง HTC ก็เช่นกัน โดยมีแอพ HTC Theme ติดมากับเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนธีมเครื่องได้ตามต้องการ โดยมีธีมให้ดาวน์โหลดได้ฟรีภายในแอพ (เฉลี่ยขนาดไฟล์ธีมประมาณ 20 – 30 MB) ผมชอบก็ตรงที่ธีมมันเปลี่ยนกระทั่ง Navigation Bar นี่ล่ะ 

 

    และยังมี Widget สุดเจ๋งที่ชื่อว่า Sense Home มาให้ด้วย ซึ่ง Widget ตัวนี้จะสามารถเปลี่ยนไอคอนที่แสดงตามสถานที่ที่เราอยู่ สำหรับสถานที่จะมีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ Home, Out และ Work

 

    โดย Widget ตัวนี้จะต้องใช้ Location Access ของเครื่องด้วยเพื่อ Track ตำแหน่งตลอดเวลา เมื่อเราอยู่ที่บ้าน Widget ตัวนี้ก็จะกลายเป็น Home และแสดงแอพที่ใช้งานบ่อยๆเมื่ออยู่ที่บ้าน ซึ่งสามารถ Customize เองได้ อันไหนอยากให้อยู่บนหน้า Widget ถาวรก็ให้กดค้างเพื่อทำการ Pin (เพราะการแสดงรายชื่อแอพในนี้จะขึ้นอยู่กับว่าใช้งานบ่อยมากน้อยแค่ไหน)

 

    เป็น Widget ที่ผมชอบมาก เพราะบางแอพก็ใช้งานเฉพาะบางสถานที่จริงๆ แต่ถ้าอันไหนใช้บ่อยๆใช้ประจำก็รวมไว้ในโฟลเดอร์แล้วยัดไว้ในทุกสถานที่แทน และยังสามารถเพิ่มสถานที่สำหรับ Home และ Work ได้มากกว่าอย่างละหนึ่งที่อีกด้วยล่ะ แต่ทว่า Sense Home สามารถลากวางไว้บนหน้าจอได้เพียงแค่อันเดียวเท่านั้นนะ

 

    สำหรับการจัดหน้า Homescreen อย่างไวและง่ายก็ให้หุบนิ้วที่หน้า Homescreen แล้วจัดวาง App, Widget หรือ Shortcut ได้ตามใจชอบ

 

 

    สำหรับคีย์บอร์ดใช้ชื่อว่า HTC Sense Input มากับเครื่องและไม่ได้มีลูกเล่นอะไรมากนัก

 

    แต่มีข้อเสียตรงที่เลย์เอาท์ตัวอักษรภาษาไทยไม่ได้อิงมาตรฐาน เลยทำให้การพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ดตัวนี้ต้องปรับตัวเอา

 

   และตัวอักษรพิเศษบางตัวที่ใช้บ่อยๆก็ดันอยู่หน้าสอง ทำให้ไม่ค่อยสะดวกมากนักที่ต้องกดไปที่อีกหน้าก่อนถึงจะพิมพ์ได้

 

    Notification เปลี่ยนมาใช้รูปแบบที่คล้ายกับ Android 5.0 Lollipop มี Quick Settings ที่จะมีปุ่มสามจุดในแต่ละอันเพื่อเข้าหน้าตั้งค่าของเมนูนั้นๆหรือจะกดค้างที่รูปไอคอนเลยก็ได้ แต่ที่ไม่ชอบอย่างหนึ่งก็คือเพิ่ม/ลบเมนูบางอันที่ไม่ต้องการไม่ได้ (หรือหาไม่เจอเองหว่า)

 

    แอพต่างๆที่มากับเครื่อง

  

    Zoe ลูกเล่นสุดเจ๋งของ HTC ที่มาใน HTC One M8 ตอนนี้บน M9 กลับเหลือแค่การทำ Slideshow แบบสั้นๆ ไม่มีลูกเล่นไฮโซแบบเก่าๆแล้ว เพราะไปอยู่ใน M9+ แทน

    ลองเข้าไปดู Zoe ที่ผมทำไว้ได้ที่ https://www.zoe.com/v/2UC1UwFaslXoRZoU5T9eRgA/

    สำหรับ Music ผมชอบที่สุดก็คงจะเป็นการเลือกเล่นไฟล์เพลงตามโฟลเดอร์ ส่วนลูกเล่นอื่นๆไม่ได้ถูกใจอะไรเป็นพิเศษ แต่จะมี HTC Connect ในนี้ด้วยเพื่อ Stream เพลงไปยังอุปกรณ์อื่นๆ 

 

    น่าจะถูกใจหลายๆคนที่ชอบบ่นว่าเครื่องราคาก็แพงแต่ทำไมไม่มีวิทยุ เพราะตัวนี้มีแอพ FM Radio ให้ด้วย โดยใช้หูฟังเป็นตัวรับสัญญาณวิทยุ สามารถเปิดออกลำโพง BoomSound ได้เลย

 

    Photo Editor มีลูกเล่นแจ่มดีครับ โดยเฉพาะการซ้อนภาพทำเป็น Overlay แต่เมนูปรับแต่งภาพแบบปกติอยู่ลึกไปหน่อย หาไม่ค่อยจะเจอ เพราะบ่อยครั้งก็แค่อยากปรับแสงให้สว่างขึ้น เพิ่ม Contrast นิดหน่อยก็เท่านั้นเอง

 

    One Gallery ที่จะเป็นแหล่งร่วมภาพจากที่ต่างๆของผู้ใช้ ไม่ว่าจะ Google Drive, Dropbox, Facebook และอื่นๆ ที่ทำให้คุณสามารถเปิดดูภาพจาก Gallery เพียงแค่แอพเดียวก็ดูได้เกือบทั้งหมดแล้ว

 

    Car เป็นแอพสำหรับใช้งานเครื่องในขณะที่ขับรถอยู่ โดย Navigation จะใช้ Google Maps ในการนำทาง และสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้

 

    Help ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้มือใหม่ เพราะสามารถศึกษาการใช้งานจากแอพตัวนี้ได้หมด โดยแอพนี้จะมีสอนแทบเกือบทุกอย่างรวมไปถึงฟีเจอร์ที่มีในเครื่อง

  

    Fun Fit แอพสำหรับเหล่าผู้รักสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย พูดแบบสั้นๆก็คือเหมือน Google Fit น่ะแหละ

 

    เนื่องจากผมไม่ได้ Dot View Case มาใช้รีวิวด้วย จึงอธิบายอะไร HTC Dot View ได้ไม่มากนัก ซึ่งเป็นลูกเล่นของ HTC ที่ใช้ร่วมกับเคสฝาพับที่มีรูเจาะเป็นตารางอยู่ด้านหน้า เพื่อให้หน้าจอสามารถแสดงผลผ่านตัวเคสได้

 

    การตั้งค่าการแจ้งเตือนและเสียงจะเปลี่ยนเป็นแบบ Android 5.0 ดังนั้นไม่ต้องตกใจถ้าเห็นสัญลักษณ์ดาวหรือเครื่องหมายห้ามอยู่บนแถบแจ้งเตือนข้างบน เพราะมันคือ None, Priority และ All นั่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเสียงแยกต่างหากได้อีกด้วย

 

    นอกจากนี้ยังมี Kid Mode และ Parent Dashboard ด้วย สำหรับพ่อแม่ที่ให้ลูกเล่นเครื่อง เพื่อกำหนดการทำงานของเครื่องให้เหมาะสมกับเหล่าลูกน้อยได้ แต่ทว่าฟีเจอร์นี้ยังใช้งานไม่ได้ ต้องรออัพเดทจากทาง Google Play Store อีกที

 

    การใช้เป็นรีโมตจะใช้แอพที่ชื่อว่า Peel Smart Remote

    นอกจากนี้ยังมีแอพอื่นๆติดเครื่องมาอีกด้วย อย่าง KK Box, Music Store, Facebook, Google Apps, Skype, Polaris Office 5, Clean Master และ Dr.eye

 

    และสำหรับ Android 5.0 จะมีฟีเจอร์เล่นเนตได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด ถ้าคุณเปิด WiFi ใช้งานเน็ตอยู่แล้วเกิดมีปัญหาติดขัดขึ้นมา ถ้าเครื่องเปิดใช้งานเนตมือถือด้วย มันก็จะสลับไปใช้งานเนตมือถือทันที ซึ่งฟีเจอร์นี้น่าจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ซะมากกว่าเพราะเนตโดนสูบจนหมด ดังนั้นทางที่ดีเพื่อความปลอดภัยก็ให้ปิด Mobile Data เวลาที่ต่อ WiFi นะครับ

 

 

มาดูการตั้งค่าต่างๆกัน

    ขอแยกออกเป็นอีกหัวข้อดีกว่า เพราะมันเยอะเหลือเกิน โดย UI ของ Settings จะมีลักษณะคล้ายกับ Android 5.0 ต้นฉบับ ไม่ได้แยกหมวดหมู่ยิบย่อยออกเป็นหลายๆส่วนเหมือน Samsung หรือ LG 

    ในส่วนของ Wireless & Networks ก็จะมีการตั้งค่าการเชื่อมต่อต่างๆตามมาตรฐานปกติ ที่เพิ่มเข้ามาจะมี HTC Mini+ ซึ่งเป็นโทรศัพท์จิ๋วสำหรับใช้งานแทนเครื่องหลัก ซึ่งในบ้านเราจะหาได้ยากหน่อย

 

 

    ในส่วนของ Personal จะมีเมนูย่อยค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเพิ่มมาจาก Android 5.0 ก็จะมี Personalize กับ Get content from another phone ที่เอาไว้ดึงข้อมูลจากเครื่องอื่นเวลาย้ายเครื่อง

 

    สำหรับ Personalize เป็นการปรับแต่งเครื่องตามใจเรา ซึ่งมีให้ปรับเยอะพอตัว ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าพื้นฐานๆอย่าง Homescreen Launcher, Wallpaper, Ringtone, Font Size ไปจนถึง Theme (เปิดแอพ HTC Theme), Ascent Color มีให้เปลี่ยนสีคีย์บอร์ดกับ Dialer ด้วย แต่ดันมีแค่ Default ให้เลือก

 

    ผมชอบตรงที่สามารถเพิ่มปุ่มลงใน Nav Bar ได้ปุ่มนึง และสามารถสลับตำแหน่งของปุ่มใน Nav Bar ได้ ถึงแม้ลูกเล่นในการปรับอาจจะทำได้ไม่เยอะเท่าตระกูล LG

 

    ในส่วนของ Phone ก็จะมีบางเมนูเพิ่มเข้ามาจาก Android 5.0 อย่างเช่นใน Display & gestures จะมี Glove Mode ให้เลือกสำหรับใช้งานในขณะที่ใส่ถุงมือ และตั้งค่า Motion Launch Gestures ได้

 

    Motion Launch Gesture นี้มีมาตั้งแต่บน M8 แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ก็ขออธิบายทวนอีกครั้งสำหรับผู้อ่านที่ยังไม่รู้นะครับ โดย Motion Launch Gestures จะทำงานในระหว่างที่ปิดหน้าจอ ซึ่งมีทั้งหมด 6 แบบด้วยกัน

    • แตะหน้าจอสองทีเพื่อเปิด (ฟีเจอร์ที่เครื่องรุ่นใหม่ๆต้องมีกัน)
    • ปัดนิ้วลงเพื่อเปิดหน้าโทรออก
    • ปัดนิ้วขึ้นเพื่อปลดล็อคหน้าจอเข้าสู่ Homescreen ที่เคยแสดงอยู่ 

 

    • ปัดไปทางซ้ายเพื่อเข้าสู่หน้าหลักของ Homescreen
    • ปัดไปทางขวาเพื่อเปิด BlinkFeed
    • ถือเครื่องในแนวนอนแล้วกดปุ่มเพิ่มเสียงเพื่อเปิดแอพกล้อง

     ซึ่ง Gesture เหล่านี้มันก็ดีนะ แต่ติดที่ว่าค่อนข้างจำกัดทิศทางเครื่องไปหน่อย เพราะต้องถือเครื่องแนวตั้งในทิศทางที่ถูกต้องเท่านั้น กลับหัวไม่ได้ และสำหรับเปิดกล้องก็จะต้องถือเครื่องตั้งฉากกับพื้นด้วย เอียงมากเกินไปก็เปิดไม่ติด หรือถ้าเปิดเพลงอยู่ก็จะเป็นการเพิ่มเสียงแทน

 

    สำหรับเมนู BoomSound ถ้าไม่เสียบหูฟังจะเปลี่ยนโปรไฟล์เสียงได้แค่สองแบบคือ Music Mode กับ Theter Mode แต่ถ้าเสียบหูฟังอยู่จะสามารถเลือกโปรไฟล์เสียงสำหรับหูฟังแต่ละแบบของ HTC ได้ และมี Other ให้เลือกด้วย แต่จากที่ลองก็ปรับค่าเสียงอะไรไม่ได้เลย (หรือหาไม่เจอล่ะเนี่ย)

 

    และที่ลำโพงข้างบนของตัวเครื่องจะมี LED Notification อยู่ สามารถตั้งค่าการทำงานได้ในเมนู Sound & Notification แต่ก็ตั้งค่าอะไรได้ไม่มากนัก 

 

    เมนู Storage สามารถแสดงข้อมูลพื้นที่ได้ทั้งพื้นที่ในเครื่อง (Phone Storage), SD Card (External Storage 1) และ USB Storage (External Storage 2) ระบบไม่ได้เปิด Data Encryption ไว้ให้ตั้งแต่แรกนะครับ เพราะงั้นจะหายห่วงว่าเป็นแบบ Nexus 6 ที่บังคับเปิดไว้จนเครื่องช้า

 

    เมนู Battery สามารถเปิด/ปิด Power Saver หรือ Extreme Power Saving Mode ได้ที่นี่ ดูประวัตการใช้พลังงานของแต่ละแอพได้ สามารถดูแยกกันระหว่างตอนเปิดหน้าจอกับปิดหน้าจอ และยังตั้งค่าให้เครื่องปิดการเชื่อมต่อข้อมูลเมื่อปิดหน้าจอได้อีกด้วย

 

 

เร็วและแรงด้วยขุมพลังจาก Qualcomm Snapdragon 810

    HTC One M9 นั้นใช้ CPU เป็น Qualcomm Snapdragon 810 MSM8994 ที่ถือว่าเป็นตัวท็อปของ CPU Qualcomm ณ ตอนนี้เลยก็ว่าได้ โดยมาพร้อมกับ Qualcomm Adreno 430 ที่เป็น GPU ตัวท็อปเช่นกัน จึงทำให้ HTC One M9 ทำงานได้ลื่นไหลไม่มีสะดุด 

 

    ไม่ว่าจะเป็นเกมไหนๆก็สามารถเล่นได้อย่างราบลื่น

 

 

    และด้วย RAM 3 GB จึงทำให้ Multitasking ทำได้ค่อนข้างดี สลับไปมาระหว่างเกมได้ แต่ถ้าใช้งานกล้องก็อาจจะโดนเคลียร์ RAM ง่ายหน่อย เพราะแอพกล้องใช้ทรัพยากรค่อนข้างเยอะ 

    การใช้งานปกติแบบหนักหน่วง (ทั้งเกมและโซเชียลออนไลน์) ก็มี RAM ให้ใช้งานแบบเหลือเฟือ

    สำหรับการทดสอบ Benchmark ผมจะไม่ทดสอบในทันทีที่ได้เครื่องมานะครับ แต่ว่าใช้งานเครื่องไปซักพักหนึ่งก่อนถึงจะเริ่มทดสอบ ดังนั้นคะแนนอาจจะต่ำกว่าปกติ แต่คะแนนที่ได้ก็ทำให้เห็นว่า ถึงแม้ HTC One M9 จะใช้ Qualcomm Snapdragon 810 แต่ทว่าก็ทำคะแนน Benchmark ในบางอย่างได้ไม่ดีซักเท่าไร

  • AnTuTU Benchmark : 49,469 คะแนน (มีสถานชิกในคอมเม้นได้ 53,876 คะแนน)
  • 3DMark 
    • Ice Storm Unlimited : 22,123 คะแนน
    • Sling Shot Using ES 3.0 : 1,482 คะแนน
    • Sling Shot Unlimited Using ES 3.0 : 1,611 คะแนน
    • Sling Shot Using ES 3.1 : 1,386 คะแนน
    • Sling Shot Unlimited Using ES 3.1 : 1,188 คะแนน
  • PCMark  : 4,117 คะแนน
  • GeekBench 3
    • Single-Core Score : 959 คะแนน
    • Multi-Core Score : 3,727 คะแนน
  • GFXBench GL Benchmark 3.0 
    • Manhattan : 1,118 คะแนน
    • 1080p Manhattan Offscreen : 1,069 คะแนน
    • T-Rex : 2,075 คะแนน
    • 1080p T-Rex Offscreen : 1,978 คะแนน
    • ALU : 1,766 คะแนน
    • 1080p ALU Offscreen : 14,734 คะแนน
    • Alpha Blending : 8,758 คะแนน
    • 1080p Alpha Blending Offscreen : 9,408 คะแนน
    • Driver Overhead : 1,121 คะแนน
    • 1080 Driver Overhead Offscreen : 2,450 คะแนน
    • Fill : 5,640 คะแนน
    • 1080p Fill Offscreen : 5,135 คะแนน
    • Render Quality : 2,503 คะแนน
    • Render Quality (High Precision) : 3,628 คะแนน
  • GFXBench GL Benchmark 3.1
    • Manhattan ES 3.1 : 800.3 คะแนน
    • 1080p Manhattan Offscreen ES 3.1 : 760 คะแนน
    • Manhattan ES : 1,127 คะแนน
    • 1080p Manhattan Offscreen : 1,064 คะแนน
    • T-Rex : 2,076 คะแนน
    • 1080p T-Rex Offscreen : 1,936 คะแนน
    • ALU 2 : 1,765 คะแนน
    • 1080p ALU 2 Offscreen : 3,198 คะแนน
    • Driver Overhead 2 : 245.5 คะแนน
    • 1080 Driver Overhead 2 Offscreen : 504.5 คะแนน
    • Texturing : 6,170 คะแนน
    • 1080p Texturing Offscreen : 4,447 คะแนน
    • Render Quality : 2,503 คะแนน
    • Render Quality (High Precision) : 3,628 คะแนน

 

ร้อนแรงสะใจ

    ถึงแม้ CPU Snapdragon 810 จะขึ้นชื่อในเรื่องของความแรงและความร้อนของตัวชิป แต่ HTC ก็ไม่หวั่น ได้หยิบเจ้าชิปตัวดังกล่าวนี้มาใช้ใน HTC One M9 จนเคยมีข่าวเกี่ยวกับปัญหาเรื่องความร้อนของตัวเครื่องแล้วก็ได้แก้ไขด้วยซอฟต์แวร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

    แล้วตัวเครื่องมันยังร้อนอยู่หรือป่าวล่ะ?

    ก็ยังร้อนอยู่ดีน่ะแหละครับ เพราะว่าตัวเครื่องทำด้วยอะลูมิเนียมที่ระบายความร้อนได้ดีจึงทำให้มันดูดความร้อนภายในตัวเครื่องแล้วระบายออกมาข้างนอก และผู้ใช้ที่ถือเครื่องอยู่ก็รู้สึกว่าเครื่องมันร้อนนั่นเอง

 

    แต่ก็ใช่ว่ามันจะดีซักเท่าไรกับการที่มันระบายความร้อนได้ดี เพราะเมื่อตัวเครื่องอยู่ในที่โดนแดดร้อนๆ ตัวเครื่องก็จะร้อนเช่นกัน หรือก็คือร้อนจากความร้อนภายนอก (โดยเฉพาะแสงแดดอันเจิดจรัสในประเทศไทย)

    และผมก็ได้ลองทดสอบแบบง่ายๆด้วยการใช้ Infrared Thermometer ที่เอาไว้วัดอุณหภูมิของวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัสตัวนี้

 

    ถ้าคุณมีความคิดชั่ววูบว่านี่มันคล้ายๆกับเครื่องมือบางอย่างที่เคยเห็นมาก่อน ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่ามันไม่ใช่อย่างที่คิด โปรดไปพบจิตแพทย์ด่วน (ผมก็ว่าจะหาเวลาไปหาจิตแพทย์อยู่เหมือนกัน)

    สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ไม่ได้วัดได้แม่นเป๊ะ เพราะมันไม่ใช่ของเทพขนาดนั้น ซื้อมาราคาถูกๆเพื่อมาใช้วัดคร่าวๆ โดยคลาดเคลื่อนประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่น่าใช่เรื่องใหญ่อะไรมากกับการทดสอบของผม

 

    ลองเอาเครื่องเปิดหน้าจอทิ้งไว้แล้วไปย่างให้สุกด้วยแสงแดดตอนใกล้เที่ยงของวันหนึ่งที่ร้อนแรง พบว่าวัดอุณหภูมิได้ 41.9 องศาเซลเซียส 

    ลองเล่นเกมแล้วตากแดดไปด้วยก็อยู่ที่ประมาณ 44.6 องศาเซลเซียส ถ้าทำงานหนักสุดๆแล้วตากแดดไปด้วยก็คงจะแตะ 48 – 50 องศาเซลเซียสได้ไม่ยากนัก ส่วนการปิดหน้าจอวางทิ้งไว้ในสภาพห้องปกติ (ไม่ใช่ห้องแอร์) อยู่ที่ 34 – 36 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเล่นเกมหรือใช้งานหนักก็จะอยู่ประมาณ​ 39 – 42 องศาเซลเซียส

    ซึ่งถ้าเทียบเรื่องความร้อนแล้ว Moto X 2013 ที่ผมใช้มาอายุหนึ่งปีนั้นร้อนได้ง่ายและร้อนกว่า HTC One M9 อยู่พอสมควร (เสื่อมตามอายุการใช้งาน) ดังนั้นความร้อนประมาณนี้ผมจึงไม่ซีเรียสมากนัก เพราะมันแค่รู้สึกว่าร้อนเนื่องจากตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมก็เท่านั้นเอง

 

การเปลี่ยนแปลงของกล้อง

    HTC One M9 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้จาก M8 นั่นก็คือกล้องหลังที่เดิมทีใช้ HTC Ultrapixel ก็ถูกย้ายไปอยู่ข้างหน้าแทน (จริงๆผมว่ามันก็ควรใช้เป็นกล้องหน้านี่แหละถึงจะเหมาะ) ส่วนลูกเล่นกล้องคู่ที่ตัวนึงถ่ายภาพอีกตัวนึงวัดระยะภาพเพื่อทำเป็นลูกเล่นก็ถูกเอาออกไปจนเหลือกล้องหลังตัวเดียว (กล้องคู่ไปอยู่ใน HTC One M9+ แทน) โดยกล้องหลังใช้เซ็นเซอร์ภาพของ Toshiba ความละเอียด 20.7 ล้านพิกเซลแทน

    ภาพที่ได้ก็ถือว่าสวยใช้ได้ เพียงแต่ว่าอาจจะสู้กับตัวท็อปของยี่ห้ออื่นไม่ได้ ภาพที่ได้จะมีการปรับ Contrast และ Sharpness ค่อนข้างเยอะ ทำให้เสียรายละเอียดของภาพไปพอสมควร 

    และ OIS ก็ไม่มีใน M9 ด้วย จึงทำให้ไม่ค่อยสะดวกนึก โดยเฉพาะตอนกลางคืนถือว่าเป็นเรื่องยากพอตัวที่จะยืนถือเครื่องถ่ายให้นิ่งๆ ถ้าซูมก็ยิ่งแล้วใหญ่

    สำหรับตัวแอพกล้องที่มากับเครื่อง ถูกตัดลูกเล่นหลายๆอย่างที่เคยมีใน M8 ไปค่อนข้างเยอะ จนเหลือแค่ Normal Camera, Selfie, Panorama, Bokeh, Photo Booth และ Split Camera

 

    Bokeh ถ่ายภาพแบบละลายหลัง (หน้าชัด หลังเบล๊อเบลอ) โดยให้วัตถุข้างหน้าห่างจากวัตถุข้างหลังพอสมควร

 

    Photo Booth ถ่ายรูปสี่แช๊ะแบ่งเป็นสี่ช่อง

 

    Panorama ถ่ายภาพรอบตัว 360 องศามีเส้นแนวระดับให้ดูตอนถ่ายด้วย หรือจะถ่าย 720 องศาแบบ Photosphere ก็มีให้เลือก

 

    Split Capture เปิดกล้องหน้ากล้องหลังแล้วถ่ายพร้อมๆกัน

 

    Normal Camera เป็นโหมดกล้องธรรมดาที่สามารถปรับโหมดการถ่ายภาพได้เยอะพอตัว ไม่ว่าจะเป็น Manual, Night , HDR, Manual, Portrait, Landscape, Text และ Macro

 

    การบันทึกวีดีโอก็จะมี Normal, Slow Motion Video และ Fast FullHD

 

    และยังสามารถปรับค่าการถ่ายภาพได้หลากหลาย เพราะเป็น Android 5.0 ที่ใช้เป็น Camera API 2 แล้ว จึงปรับแบบกล้อง Manual ได้เลย 

 

    ถ้ายังไม่สะใจก็มี Raw Camera ให้ใช้ด้วย พึ่งอัพเดทมาใหม่ๆ ทำให้สามารถถ่ายไฟล์ RAW ได้เลย แต่ไฟล์ RAW ของ HTC One M9 จะมีขนาดไฟล์ 40 MB นะ ดังนั้นเวลาถ่ายภาพแล้วจะเก็บภาพลง SD Card ก็แนะนำให้ใช้ Class U3 ไปเลย Class 10 หรือ U1 เอาไม่อยู่แล้ว โดยจะบันทึกเป็นสองไฟล์ให้อัตโนมัติคือ JPG กับ DNG

 

    จากการลองให้เพื่อนที่เป็นตากล้องเอาไฟล์ RAW ไปแต่งเล่นๆ ก็พบว่ามี Noise ค่อนข้างเยอะพอสมควร แต่ต้องซูมดูเท่านั้นถึงจะเห็น ซึ่งการอัพขึ้น Social ก็มองไม่เห็น Noise ที่ว่าแล้ว 

 

        สามารถดาวน์โหลดไฟล์ RAW ที่ผมถ่ายไว้ได้ที่นี่ Dropbox 

 

    โหมด Selfie จะเป็นการใช้กล้องหน้าถ่ายภาพนั่นเอง โดยจะมีลูกเล่นหลักคือหน้าเนียนใส โดยปรับระดับได้ตามใจชอบ ส่วนโหมดการถ่ายภาพจะมีสามแบบ Normal, HDR และ Portrait

 

    กล้องหน้านั้นมีจุดเด่นคือใช้ HTC Ultrapixel ที่ความละเอียด 4 ล้านพิกเซล แต่ภาพที่ได้นั้นมีคุณภาพค่อนข้างดี ซึ่งเป็นจุดเด่นของกล้องตัวนี้อยู่แล้ว การนำมาใช้เป็นกล้องหน้าก็ตอบโจทย์ได้ดีพอสมควร เพียงแต่ว่ามันดันออโต้โฟกัสไม่ได้ซะแล้ว 

 

ภาพตัวอย่างจากกล้องหลัง

 

ภาพตัวอย่างจากกล้องหน้า

 

ภาพตัวอย่าง Panorama

 

 

    ในการถ่ายวีดีโอจะสามารถบันทึกความละเอียดได้ถึง 4K แต่ก็ไม่แนะนำให้บันทึกนานๆ เพราะเครื่องจะทำงานหนักและร้อนได้ แต่เอาเข้าจริงการใช้งานทั่วไปแค่ 1080p หรือ Full HD ก็เพียงพอแล้ว หรือจะลองบันทึกแบบ Slow Motion ก็ได้เหมือนกัน

Play video

Play video

Play video

Play video

Play video

Play video

Play video

 

    ที่ผมไม่ชอบเกี่ยวกับกล้องก็คงจะเป็นที่ตัวแอพมากกว่า เพราะเวลาสลับกล้องหน้ากับกล้องหลังค่อนข้างลำบาก ต้องกดเปลี่ยนโหมดตลอดเวลา (ถึงแม้จะปัดซ้ายขวาเพื่อเปลี่ยนโหมดแบบรวดเร็วได้) รวมไปถึงเมนูยิบย่อยค่อนข้างเยอะ (เพราะความสามารถเยอะ) รู้สึกว่าบางเมนูก็อยู่ลึกเกินไป 

    และอีกปัญหาที่เจอคือเวลาเข้าสู่โหมด Manual ภาพที่ถ่ายออกมากับภาพที่แสดงบนหน้าจอมีความสว่างและสีไม่ตรงกัน 

    ส่วนเรื่อง Contrast และ Sharpness ที่สูงก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรมาก เพราะเจ้าของบล็อกเน้นการอัพขึ้น Social เป็นหลัก และปกติก่อนจะอัพก็จะปรับ Brightness และ Contrast เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่กล้องของ M9 นั้นปรับให้เองจึงเป็นเรื่องสะดวกสำหรับผมไปโดยปริยาย

    ถึงแม้กล้องหลังจะมีกระจกแซฟไฟร์ปิดอยู่ แต่เจ้ากระจกที่ว่านี้ก็ดันเลอะง่ายเหลือเกิน ทำให้มีรอยนิ้วมือได้ง่าย ต้องเช็ดทุกครั้งก่อนจะถ่ายภาพ ไม่งั้นเวลาถ่ายภาพจะมัว ถ้าถ่ายตอนกลางคืนจะเห็นแสงเป็นแฉกกันเลยทีเดียว

 

    อ๊ะ…..ลืมลองเรื่องแฟลชคู่ของกล้องหลังเลย…..

 

แบตอยู่ได้นานมั้ย

    เรื่องแบตนี่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับหลายๆคนเลยก็ว่าได้ เพราะส่วนใหญ่ก็ต้องการมือถือซักเครื่องที่สามารถใช้งานได้เต็มวัน แต่สำหรับ HTC One M9 ผมลองใช้แล้วรู้สึกอยู่รอดในบางวันเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวแบตเตอรีจะมีความจุ 2,840 mA ก็ตาม

 

    โดยทดสอบการใช้งานในชีวิตประจำวันของผมเอง นั่งรถไฟฟ้าไป-กลับก็เล่นเกม นอกจากนั้นก็มีการเช็คข่าวสารเป็นระยะๆ แบตก็ยังพอเหลืออยู่เมื่อถึงบ้าน แต่บางครั้งก็ใช้งานมากเป็นพิเศษก็ต้องชาร์จเผื่อไว้ด้วย แต่ HTC One M9 ก็มี Battery Saver กับ Extreme Battery Saver จึงทำให้สามารถลากอายุการใช้งานไปได้มากพอสมควร

    สำหรับ Battery Saver จะปิดการทำงานบางส่วนที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อลดการใช้พลังงาน 

 

    แต่ถ้าอยากให้แบตอยู่รอดได้นานขึ้นก็มี Extreme Power Saving Mode ที่จะเข้าสู่โหมดโคตรประหยัดพลังงานที่จะปิดการทำงานทุกอย่างลงหมดจนเหลือหน้าเมนูพิเศษที่มีแค่ 6 เมนูด้วยกัน เพราะโหมดนี้มีไว้รักษาแบตเท่านั้น จึงมีแต่เมนูที่สำคัญต่อการใช้งานโทรศัพท์เท่านั้น

    ตอนแบตเหลือ 10% ผมได้ลองเปิด Extreme Power Saving Mode ดูพบว่าอยู่ได้นานถึง 9 ชั่วโมง (ตั้งแต่หนึ่งทุ่มจนถึงตีสี่)

    สำหรับการชาร์จ HTC One M9 สามารถชาร์จด้วยกระแสสูงสุด 1.5A (ลองกับอะแดปเตอร์ 2A แล้ว ก็ยังชาร์จที่ 1.5 A อยู่ดี) รองรับ Quick Charge 2.0 แต่ดันให้อะแดปเตอร์แบบธรรมดามา แต่ก็เดาว่าเวลาชาร์จด้วย Quick Charge 2.0 คงจะร้อนน่าดูสำหรับตัวเครื่องอะลูมิเนียม

    ระยะเวลาในการชาร์จจาก 0 ถึง 100% ด้วยอะแดปเตอร์ 5V 15A (ที่แถมมากับเครื่อง) โดยปิดเครื่องชาร์จ จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 20 นาที ดังนั้นถ้าเปิดเครื่องไปชาร์จไปก็จะใช้เวลามากกว่านี้

 

BoomSound คุณภาพแห่งเสียงจาก HTC

    ความแจ่มของลำโพงคู่หน้า BoomSound คงรู้กันดีอยู่แล้ว ถึงแม้ผมจะไม่ใช่เทพหูทองคำ แต่ความที่รู้สึกได้คือเสียงดังชัดเจนและเสียงดีมีคุณภาพครับ 

    ถึงแม้ว่าจะปรับแต่งตั้งค่าอะไรเกี่ยวกับเสียงไม่ได้ก็ตาม แต่การฟังเพลงหรือดูหนังก็ให้อรรถรสที่ดีมากๆ

 

 

    ผมไม่ได้ลองหูฟังที่แถมมากับเครื่องนะครับ ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

 

อื่นๆ

    GPS จับตำแหน่งได้ดีมากๆ อาจจะเพราะตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมด้วยมั้ง

 

    การใช้งาน WiFi ไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณหลุดหรือขาดหาย เว้นแต่ว่าระยะไกลเกินเอื้อม และรองรับทั้ง 2.4 และ 5 GHz 

 

    ผมชอบการปล่อย WiFi Hotspot ของ HTC One M9 ที่สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เครื่องไหนเชื่อมต่อ เพื่อป้องกันการแอบเชื่อมต่อใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยคุณสมบัตินี้สามารถเปิด/ปิดได้ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน WiFi Hotspot 

 

    สามารถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้ด้วยโปรแกรม HTC Sync Manager ที่รองรับทั้ง Windows และ OSX 

 

    เวลาถือด้วยมือซ้าย ปุ่มปิดและเพิ่มลดเสียงจะอยู่ช่วงนิ้วกลางและนิ้วชี้พอดี (สำหรับมือขนาดผู้ชายทั่วไป)

 

 

    รองรับ USB OTG ได้อย่างไม่มีปัญหา สามารถใช้งานแฟลชไดร์ฟผ่าน File Explorer ที่มากับเครื่องได้เลย

 

    ใช้งาน 4G ในประเทศไทยได้ฉลุย โดยผมทดสอบกับ DTAC 4G

 

    สำหรับ HTC One M9 ที่ในประเทศอเมริกาจะมีบริการที่ชื่อว่า UH OH Protection โดยจะเปลี่ยนเครื่องให้ฟรีหนึ่งครั้งถ้าเครื่องนั้นๆเกิดอุบัติเหตุจนพังหรือเสียหายใช้งานไม่ได้ และถ้าใช้งานอยู่รอดปลอดภัยครบหนึ่งปี เมื่อเปิดตัว HTC One รุ่นใหม่ก็จะสามารถใช้เป็นส่วนลด $100 ได้ทันที

 

    และเมื่อเปิด Google Drive ขึ้นมาก็รับไปเลยพื้นที่ 100GB ฟรีๆนาน 2 ปี

 

 

สรุปความรู้สึกจากการใช้งาน

    ปัญหาเรื่องความร้อนไม่ใช่เรื่องสำคัญมากนัก เพราะเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความรู้สึกจากการใช้งานซะมากกว่า เนื่องจาก HTC Sense UI 7.0 มี UX ที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากเจ้าอื่นๆ การใช้งานบางอย่างดันใช้วิธีปัดขึ้น/ลงแทนการปัดซ้าย/ขวา หรือบางเมนูที่สำคัญแต่ก็ดันอยู่ลึกเกินไป ซึ่งให้ความรู้สึกขัดใจพอสมควร

    ส่วนเรื่องกล้องถ้าไม่ได้คิดจะเทียบกับรุ่นอื่นๆ HTC One M9 ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่มีกล้องที่ใช้งานได้ดี แต่ UX ของแอพกล้องที่มากับเครื่องใช้ลำบากไปหน่อย ถึงแม้ UI จะดูเรียบง่ายก็ตาม แต่ผมแค่อยากจะสลับไปใช้กล้องหน้า ผมก็ต้องเข้าเมนูแล้วกดเลือก Selfie Mode แทน

    ส่วนความแรงของเครื่องอาจจะไม่ได้ดีที่สุด แต่ก็สามารถทำให้คุณได้รับประสบการณ์ความลื่นไหลได้ดีไม่น้อยหน้ารุ่นอื่นๆเช่นกัน และฟีเจอร์อันไหนดีๆใน M8 ก็ถูกนำมาใช้ใน M9 ทั้งหมด ยกเว้นกล้องคู่ที่เอาไปใส่ใน M9+ แทน

    ท้ายที่สุดแล้ว HTC One M9 ก็เป็นรุ่นที่ทาง HTC Thailand ไม่นำเข้ามาจำหน่าย เพราะว่าเอา HTC One M9+ เข้ามาแทน เนื่องจากเป็น Flagship ที่แท้จริงของ HTC มากกว่า มีกล้องคู่ มีสแกนลายนิ้วมือ และอื่นๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ทาง HTC Thailand เลี่ยงที่จะเอา M9 มาขาย เพราะสุดท้ายแล้วผู้คนก็จะเลือก M9+ ที่มีฟีเจอร์ที่ดีกว่าแทน

 

ข้อดี

  • ทำงานได้ลื่นไหลไม่มีติดขัด
  • กล้องหลัง 20.7 ล้านพิกเซลและรองรับ RAW
  • กล้องหน้าเป็น HTC Ultrapixel แบบ Wide
  • Dual LED Flash แบบสองโทนสีเพื่อให้ได้แสงที่สมจริง
  • รองรับบันทึกวีดีโอระดับ 4K
  • Motion Launch Gesture ใช้งานบ่อย เพราะสะดวกดี
  • FX Editor แต่งภาพได้แหวกแนวไม่เหมือนใครดี
  • BoomSound อันทรงคุณค่า รวมไปถึงเสียงดังดี
  • ใช้เป็นรีโมตได้นะ แต่ตอนตั้งค่ายุ่งยากหน่อย
  • มี FM Radio ที่หลายๆยี่ห้อได้หมางเมินไป
  • One Gallery จัดการภาพด้วยแอพนี้เพียงตัวเดียว
  • ปรับแต่ง Theme และ Font ได้เยอะพอสมควร
  • ได้พื้นที่ Google Drive 100GB ฟรี 2 ปี
  • รองรับ Quick Charge 2.0

 

ข้อเสีย

  • ไม่มีกล้องหลังคู่ ทำให้ฟีเจอร์กล้องที่เป็นลูกเล่นของ HTC หายไปด้วย
  • กระจกกล้องหลังเป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายเกินไป
  • หน้าจอสว่างเกินไปสำหรับการใช้งานในที่มืด
  • ตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมจึงทำให้รู้สึกร้อนได้ง่าย
  • HTC Sense UI 7.0 ใช้แล้วรู้สึกขัดใจในหลายๆจุด
  • คีย์บอร์ดภาษาไทยพิมพ์ลำบากเป็นบางครั้งเพราะไม่ได้เรียงตามมาตรฐาน ฟหกด แบบเป๊ะๆ
  • ต้องซื้ออะแดปเตอร์ Quick Charge 2.0 เอง เพราะไม่ได้แถมมาให้
  • เขยิบไปใช้ M9+ เลยดีกว่า
  • ไม่ขายในประเทศไทย

 

    ถึงแม้ว่า HTC One M9 จะไม่ใช้มือถือที่ดีที่สุด แต่มันอาจจะเป็นมือถือที่ตอบโจทย์ใครบางคนที่ดีที่สุดก็เป็นได้นะครับ แต่ถ้าจะให้ดีก็ขอแนะนำเป็น HTC One M9+ แทน เพราะหาซื้อในประเทศไทยได้ รวมไปถึงการรับประกันด้วย

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม

  • http://www.htc.com/us/smartphones/htc-one-m9/
  • http://www.htc.com/us/uh-oh-protection/
  • https://droidsans.com/htc-officially-announces-htc-one-m9
  • http://dl3.htc.com/downloads/white-paper/HTC-One-Ultrapixel-Whitepaper.pdf
  • http://www.toshiba.com/taec/adinfo/cmos/pdf/14I01_T4KA7_ProdBrief.pdf
  • http://www.gsmarena.com/htc_one_m9-6891.php
  • http://connect.dpreview.com/post/7218921014/htc-one-m9-comes-with-20mp-sensor-and-4k-video
  • http://www.gsmarena.com/htc_one_m9-review-1230.php
  • http://www.trustedreviews.com/opinions/htc-one-m9-vs-htc-one-m8
  • https://www.ifixit.com/Teardown/HTC+One+M9+Teardown/39166
  • https://www.blognone.com/node/66850