หลังจากที่ Moto X Style, Moto X Play และ Moto G (3rd Gen) ได้เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ล่าสุด Moto ก็ได้กลับมาวางขายเครื่องภายในไทยอีกครั้งแล้ว เฮ (ตบมือแปะๆ) ซึ่งทีมงานของเราก็ไม่รอช้าที่จะหยิบเจ้า Moto X Play มารีวิวให้ได้อ่านกัน [Review] รีวิว Moto X Play มือถือคุณภาพพรีเมี่ยมกับการเริ่มใหม่อีกครั้งของ Moto ในประเทศไทย ซึ่งคราวนี้ก็ทีคราวของผมที่จะหยิบเจ้า Moto X Style มารีวิวกันแบบต่อเนื่องแล้วล่ะนะ

      Moto X Style มีอีกชื่อหนึ่งคือ Moto X Pure Edition ที่เป็นรุ่นวางขายเฉพาะในอเมริกา ส่วน Moto X Style เป็นรุ่นที่วางขายทั่วโลก ดังนั้นทั้งสองชื่อนี้คือตัวเดียวกันครับ และในรีวิวตัวนี้ก็จะขอเรียกว่า Moto X Style เพื่อความกระชับของเนื้อหานะครับ 

 

รูปร่างหน้าตาเป็นยังไงบ้าง

      เรื่องลักษณะของตัวเครื่องและ Unboxing ผมเคยเขียนไปแล้วในบทความพรีวิวนะครับ เพราะงั้นถ้าผู้อ่านคนไหนยังไม่เคยเห็นก็ลองตามไปอ่านกันได้ใน [Preview] พรีวิว Moto X Pure Edition/Style ตระกูล X รุ่นที่ 3 จาก Motorola

      หมายเหตุ – ตัวเครื่องที่ผมใช้ในรีวิวนี้เป็นเครื่องที่ผมสั่งมาเองจากอเมริกา รหัส XT1575 เพราะงั้นอาจจะไม่เหมือนกับที่วางขายในไทยตรงเรื่องของการ Customization ตัวเครื่อง อย่างเช่นสีฝาหลังหรือการสลักข้อความบนฝาหลัง และเครือข่ายมือถือที่รองรับ นอกเหนือจากนั้นก็เหมือนๆกันหมดครับ

 

คุณสมบัติตัวเครื่อง

    • Name : Moto X Style/Pure Edition XT1575
    • Model : XT1570 (China), XT1572 (International), XT1575 (USA)
    • Codename : Clark
    • OS 
      • Pure Android
      • Android 5.1.1 Lollipop
      • ล่าสุดอัพเดทเป็น Android 6.0 Marshmallow 
    • CPU 
      • ใช้เทคโนโลยี Motorola Mobile Computing System
      • Qualcomm Snapdragon 808 (MSM8992) ความเร็ว 1.8GHz
        • Hexa-core (6 Core)
        • Cortex-A57 จำนวน 2 Core
        • Cortex-A53 จำนวน 4 Core
        • 64-bit
      • มี CPU พิเศษอีก 2 ตัวเพื่อทำหน้าที่พิเศษ
        • Contextual Computing Processor
        • Natural Language Processor
    • GPU  
      • Qualcomm Adreno 418 ความเร็ว 600MHz
      • รองรับ OpenGL ES 3.1
      • รองรับ Vulkan 1.0
    • RAM
      • 3GB 
      • มีให้ใช้งานจริง 2.5GB
      • LPDDR3
      • ใช้ชิปของ Samsung
    • ROM 
      • 16/32/64 GB
      • สำหรับ 32GB มีให้ใช้ประมาณ 24GB
      • eMMC Flash memory
      • ชิปของ Samsung อีกเช่นกัน
      • รองรับ SD Card ได้สูงสุดถึง 128GB
      • รองรับ SD Card แบบ microSD, microSDHC และ microSDXC
    • Display 
      • 5.7 นิ้ว
      • ความละเอียด Quad HD 2,560 x 1,440px (~515 DPI) 
      • หน้าจอ LCD (ลาก่อน AMOLED)
      • รองรับ Multitouch 10 จุด
      • กระจก Corning Gorilla Glass 3
      • หน้าจอกินพื้นที่ 75.03 % ของด้านหน้าตัวเครื่อง
    • Camera
      • กล้องหลัง
        • Sony IMX230 BSI CMOS sensor
        • ความละเอียดสูงสุด 21MP (5,344 x 3,006px)
        • Phase Detect Auto-Focus (PDAF)
        • Zero Shutter Lag
        • Dual LED Flash (Color Correlated Temperature)
        • บันทึกวีดีโอความละเอียดสูงสุดถึง 4K (3,840 × 2,160px)
        • Framerate : 4K (30fps) และ 1080p (60fps)
        • รองรับ HDR ทั้งภาพนิ่งและวีดีโอ
        • บันทึกวีดีโอ Slow Motion ที่ความละเอียด 720p (1,280 x 720px)
        • เปิด Flash ระหว่างถ่ายวีดีโอได้
        • รูรับแสง f/2.0 
        • เซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1/2.4″
        • ความยาวโฟกัส (Focal Length) 27mm
        • ซูมดิจิตอลสูงสุด 4 เท่า
        • พิกเซลขนาด 1.1um
        • ไม่รองรับการถ่ายไฟล์ RAW
      • กล้องหน้า
        • ความละเอียดสูงสุด 5MP (2,592 x 1,944px))
        • บันทึกวีดีโอความละเอียดสูงสุดถึง 1080p (1,920 x 1,080px)
        • รองรับ HDR ทั้งภาพนิ่งและวีดีโอ
        • บันทึกวีดีโอ Slow Motion ที่ความละเอียด 720p (1,280 x 720px)
        • เปิด Flash ระหว่างถ่ายวีดีโอได้
        • เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle)
        • LED Flash
        • รูรับแสง f/2.0
        • เซ็นเซอร์รับภาพขนาด (ประมาณ) 1/3.8″
        • ซูมดิจิตอลสูงสุด 4 เท่า
        • พิกเซลขนาด 1.4um
    • Dimension : สูง 15.39 ซม, กว้าง 7.62 ซม, ความหนาของเครื่องที่น้อยที่สุด 0.61 ซม และมากที่สุด 1.10 ซม
    • Weight : 179 กรัม
    • Battery 
      • Li-Po
      • 3,000 mAh
      • รองรับ Quick Charge 2.0
      • ไม่รองรับ Wireless Charging
      • ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้
    • Mobile Network
      • Nano SIM 
      • รองรับ GSM/CDMA/HSPA/LTE หรือ 2G/3G/4G
      • 2G
        • GSM 850/900/1800/1900 สำหรับทุกโมเดล
        • CDMA 800 สำหรับ XT1570
        • CDMA 800/850/1900 สำหรับ XT1575
        • XT1572 ไม่รองรับ CDMA
      • 3G
        • HSDPA 800/850/1700/1900/2100 สำหรับ XT1570
        • HSDPA 800/850/900/1700/1900/2100 สำหรับ XT1572
        • HSDPA 850/900/1700 (AWS)/1900/2100 สำหรับ XT1575
      • 4G
        • Cat6 300/50 Mbps
        • LTE Band 1/3/7/17/20/38/39/40/41 สำหรับ XT1570
        • LTE Band 1/2/3/4/5/7/8/12/17/20/25/28/40/41 สำหรับ XT1572
        • LTE Band 1/2/3/4/5/7/8/12/13/17/25/26/38/41 สำหรับ XT1575
    • Audio
      • ลำโพง Stereo สองช่องที่ด้านหน้าตัวเครื่อง
      • เพิ่มประสิทธิภาพด้วย SmartBoost
      • ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม
    • Sensor
      • Accelerometer
      • Gyroscope
      • Light Sensor
      • Proximity Sensor
      • Magnetic Sensor
      • IR Gesture
    • Other
      • ลำโพงคู่หน้า
      • GPS และ GLONASS
      • Bluetooth 4.1 (รองรับ Bluetooth Low Energy)
      • WiFI 802.11a/g/b/n/ac + MIMO
      • กันน้ำกันฝุ่นตามมาตรฐาน IP52
      • มี NFC
      • รองรับ OTG
      • Micro USB 2.0
      • ไม่มีไฟแจ้งเตือน (ใช้ Moto Display แทน)
      • ไม่รองรับ MHL
      • ไม่มี Fingerprint Scanner

 

ไม่ใช่ Qualcomm Snapdragon 810 แต่เป็น 808

      Moto X Style ไม่ได้เลือกใช้ CPU เป็น Qualcomm Snapdragon 810 แต่ทว่าเลือกใช้เป็น 808 แทน ทั้งนี้อาจจะเพราะปัญหาความร้อนใน 810 น่ะแหละ ซึ่งก็ต้องแลกกับประสิทธิภาพที่ลดลงนิดหน่อย ซึ่งโดยส่วนตัวผมถือว่าโอเคนะ เพราะ 808 ก็แรงพอสมควรอยู่แล้ว และปัญหาความร้อนใน 810 ก็ไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยล่ะ โดยเฉพาะเวลาใช้งานในประเทศไทยเมืองร้อนแบบนี้…

      ส่วนเรื่อง GPU ที่ใช้เป็น Qualcomm Adreno 418 ก็จะมีประสิทธิภาพลดลงจาก 430 เช่นกัน (และยังต่ำกว่า 420 อยู่ประมาณ 20%)

      ถึงแม้ว่า Moto X Style จะไม่ได้แรงและเร็วที่สุด แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่เห็นความแตกต่างในเวลาใช้งานเลยซักนิด

 

รับประกันความไหลลื่นด้วย Pure Android 

      ถ้าคุณเป็นคนที่เคยสัมผัสกับ Pure Android อย่างตระกูล Nexus กันมากก่อน บอกเลยว่าบน Moto X Style คุณก็จะได้รับรู้ประสบการณ์แบบนั้นเป๊ะๆครับ

      ถ้าใครยังไม่เคยลองใช้ Pure Android มาก่อน ก็ลองนึกภาพง่ายๆกว่า ROM ของตัวเครื่องนั้นเป็นแบบเดียวกับที่ Google ทำออกมาในตอนแรกเลย ซึ่ง Moto X Style ก็เอา ROM แบบนี้นี่แหละมาใช้เลย เพิ่มแอพของ Moto เข้าไปนิดหน่อย ในขณะที่หลายๆเจ้านั้นเอา ROM มาปรับแต่งอีกที เปลี่ยนหน้าตา เพิ่มฟีเจอร์หลายๆอย่างเข้าไป จึงทำให้ประสิทธิภาพไม่เหมือนเดิมซักเท่าไรนัก

 

      ที่เพิ่มเติมมาก็จะเป็นการตั้งค่า ฟีเจอร์บางอย่าง และแอพบางตัวเท่านั้น แต่หน้าตาของ ROM ก็ยังคงเหมือนเดิมนั่นเอง

      และนอกจากประสิทธิภาพของ Pure Android แล้ว ยังรับประกันในความไวของการอัพเดทแอนดรอยด์เวอร์ชันใหม่ๆด้วยนะ ซึ่งที่ผ่านมาก็เรียกได้ว่าอัพเดทตาม Nexus ได้ไวสุดเมื่อเทียบกับเจ้าอื่นๆ 

 

Benchmark ด้วย AnTuTu, 3DMark และ PCMark

      ทดสอบบน AnTuTu เวอร์ชัน 6.0.1 ซึ่งทดสอบสองรอบด้วยกันคือตอนใช้งานใหม่ๆ และหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 4 เดือน ก็พบว่าผลคะแนน Benchmark ไม่ค่อยต่างกันมากนัก โดยคะแนนสูงสุดที่ได้คือ 71,326 คะแนน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

      Score : 71,326 คะแนน

      3D : 21,091 คะแนน

      UX : 24,445 คะแนน

      CPU : 20,662 คะแนน

      RAM : 5,128 คะแนน

 

      ซึ่งอยู่อันดับที่ 16 จาก Ranking ทั้งหมด ซึ่งไม่ค่อยแปลกใจอะไรมากนัก

 

      ส่วน 3DMark ผมได้ทดสอบให้หมดทุกอันเลย ซึ่งได้ผลดังนี้

    • Sling Shot (ES 3.1) : 966 คะแนน
    • Sling Shot Unlimited (ES 3.1) : 1,031 คะแนน
    • Sling Shot (ES 3.0 ) : 1,274 คะแนน
    • Sling Shot Unlimited (ES 3.0 ) : 1,546 คะแนน
    • Ice Storm Unlimited : 19,315 คะแนน
    • Ice Storm Extreme : Maxed out!
    • Ice Storm : Maxed out!

 

      และ PCMark ได้ 4,505 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ Moto X Style เครื่องอื่นๆทำได้นิดหน่อย (ทำไมฟระ!?)

    • Work Performance Score : 4,505 คะแนน
    • Web Browsing Score : 5,189 คะแนน 
    • Video Playback Score : 4,164 คะแนน
    • Writing Score : 4,434 คะแนน
    • Photo Editing Score : 4,300 คะแนน

 

แอพของ Moto ที่เพิ่มเข้ามา

      Gallery ของ Moto เป็นอะไรที่ผมชอบที่สุดละ จริงๆหน้าตามันก็เหมือนกับ Gallery ของ Pure Android ใน Android 5.0 Lollipop นะ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น Google Photos ซึ่งตัวผมไม่ค่อยชอบ Google Photos ซักเท่าไร เพราะจัดการไฟล์ภาพในเครื่องไม่ค่อยสะดวกเท่า ซึ่ง Gallery ของ Moto นั้นให้ความรู้สึกใช้งานง่ายกว่า และสามารถทำ Slideshow แบบง่ายๆได้อีกด้วย เพื่อทำ Highlight ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องการได้ (บางยี่ห้อก็ทำแบบนี้ได้แล้วเหมือนกัน)

      ซึ่ง Gallery ตัวนี้ผมอยากให้มันขึ้น Store แล้วให้เครื่องอื่นดาวน์โหลดได้ชะมัด เพราะใช้งานมันบ่อยกว่า Google Photos เสียอีก แต่เครื่องอื่นๆที่ไม่ใช่ Moto ดันดาวน์โหลดไม่ได้

      Camera เป็นแอพกล้องที่ทาง Moto ใส่ไว้ให้ในเครื่อง ซึ่งเน้นการใช้งานง่ายเป็นหลัก ด้วย UI ที่ไม่ค่อยมีอะไร Config ค่าต่างๆของกล้องก็ไม่ค่อยได้เช่นกัน จึงทำให้ตัวแอพนี้เน้นสำหรับคนที่ต้องการถ่ายภาพแบบง่ายๆและรวดเร็ว

 

      สำหรับการควบคุมใช้งานของ Camera บน Moto X Style อาจจะแตกต่างจากแอพอื่นๆอยู่บ้าง อย่างเช่นการกดถ่ายภาพนั้นสามารถกดจากตรงไหนก็ได้ของหน้าจอ (แต่ก็เคยเคยมีคนกดปุ่ม Home….) และการโฟกัสหรือปรับแสงนั้นจะใช้วิธีแตะกรอบวงกลมแล้วเลื่อนไปมาแทน 

      แต่ที่ชอบมากๆก็คงจะเป็น Quick Capture นี่แหละ แต่การสะบัดเครื่องเพื่อเปิดใช้งานแอพตัวนี้ (คล้ายๆพวกกดปุ่ม Home สองครั้งเพื่อเปิดแอพกล้องของ Samsung อะไรทำนองนั้น) ซึ่งผมใช้ค่อนข้างบ่อยเพราะมันสะดวกมากไม่ต้องกดเปิดหน้าจอแล้วเลือกแอพให้เสียเวลา

Play video

 

      Moto กลายเป็นแอพที่รวมการตั้งค่าสำหรับการทำงานของฟีเจอร์ต่างๆบน Moto X Style ซึ่งเมื่อก่อนนั้นเป็นแอพที่แยกกัน เช่น Moto Display และ Moto Voice ซึ่งการรวมเป็นแอพตัวเดียวเลยแบบนี้ก็จะทำให้ใช้งานสะดวกมากขึ้น

 

หน้าจอที่โคตรใหญ่และคมชัด  

      ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำจอใหญ่ๆหน้าจอความละเอียดสูงๆไปทำไม แต่สำหรับ Moto X Style นั้นมีขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้วเลยแน่ะ (แต่ก็น้อยกว่า Nexus 6 อยู่นะ) แต่ด้วยตัวเครื่องที่ขอบบางจึงทำให้ไม่รู้สึกใหญ่เทอะทะมากเหมือนตอนที่ผมลองจับ Nexus 6 (อันนั้นจอใหญ่ไม่พอ ขอบหนาอีกต่างหาก)

 

      หน้าจอความละเอียดระดับ Quad HD เพราะงั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความคมชัดครับ (แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการใช้ทรัพยากรเครื่องที่มากขึ้น) เวลาใช้งานรู้สึกว่ากว้างมากไม่ต้องเพ่งมองอะไรมากนัก ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เปิดโซเชียล รู้สึกว่าสะใจดี

 

การพกพาและถือใช้งาน

      น่าจะเป็นเรื่องหลักๆที่หลายๆคนสงสัย ว่าเครื่องใหญ่แบบนี้ใช้สะดวกหรอ? ซึ่งเอาจริงๆถ้าเป็นมือของผู้ชายก็เหมาะมือถือดี ขนาดผมมือไม่ได้ใหญ่แต่ก็รู้สึกว่าถือได้ถนัดดี แต่ถ้ามือผู้หญิงก็คงไม่ค่อยเหมาะซักเท่าไร ด้านข้างตัวเครื่องสามารถจับกระชับได้ง่าย และฝาหลังโค้งเข้ารูปมือพอดีพอดี ไม่ค่อยกังวลว่าจะหลุดมือซักเท่าไร

 

      และชอบความรู้สึกเวลาที่ได้สัมผัสกับพื้นผิวลายเฉียงที่ด้านหลังเครื่องด้วยล่ะ (ปกติมันมีแต่พื้นผิวด้านหลังเรียบๆไง) ชอบเอานิ้วไปถูเล่นอยู่บ่อยๆ

 

      และถ้ายังสงสัยว่ามันใหญ่มากแค่ไหน ให้ลองเทียบกับ Samsung Galaxy Note 5 ก็ได้ครับ เพราะขนาดหน้าจอเท่ากัน แถมตัวเครื่องก็ใกล้เคียงกันมากๆ เพราะงั้นถ้า Note 5 รู้สึกว่าโอเค การใช้งานเครื่อง Moto X Style ก็โอเคเช่นกันครับ

 

      แต่ด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ก็ทำให้ใช้งานมือถือได้โคตรยากหน่อย โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเอื้อมมือไปกดบริเวณมุมหน้าจอทั้ง 4 มุม

 

      และในบางครั้งก็เจอปัญหาจากการที่ขอบจอมันบางมาก นั่นก็คือเวลาถือแน่นๆแล้วบางครั้งนิ้วมันแอบไปแตะโดนขอบจอได้ซะงั้น

      ซึ่งปัญหานี้ต้องบอกว่าซอฟท์แวร์ไม่ฉลาดพอด้วยนะ เพราะจากที่ผมเคยใช้บางเครื่องที่ขอบบางๆแบบนี้ บางรุ่นก็ไม่เจอปัญหานี้เลย เพราะว่าซอฟท์แวร์มันสามารถรู้ได้ว่าอันไหนเป็นการแตะโดนขอบจอโดยไม่ได้ตั้งใจ

 

สวัสดี LCD ลาก่อน AMOLED

      ตั้งแต่สมัยที่ Moto X รุ่นแรกเปิดตัวก็มาพร้อมกับหน้าจอ AMOLED ที่มาพร้อมกับ Moto Display จึงทำให้สามารถแสดงหน้าจอสีดำได้บ่อยๆโดยที่ไม่เปลืองแบตเตอรีมากนัก จนมาถึงรุ่นนี้กลับเปลี่ยนมาใช้เป็นหน้าจอ LCD แทน ซึ่งจริงๆก็อาจจะถูกใจบางคนนะ เพราะผมเจอบางคนไม่ค่อยชอบจอ AMOLED ซักเท่าไร สีมันสดเกินไป เลยมองหาเครื่องที่ไม่ใช่จอ AMOLED มากกว่า 

 

      พอลองใช้งานพักใหญ่ๆก็รู้สึกว่ามันโอเคดีเหมือนกันนะ แต่ก็รู้สึกว่าสู้แสงได้ไม่เท่าจอ AMOLED น่ะแหละ ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนักถ้าไม่ได้เอาไปใช้งานกลางแดดเปรี้ยงๆ

 

      แต่ถ้าใช้งานกลางแดดแรงมากๆก็อาจจะมองจอลำบากหน่อยนึง (ทดสอบ ณ ตอนเที่ยงแดดร้อนๆ)

 

      แต่ถ้ายังรู้สึกว่าสีสดอยู่ ก็ลองเข้าไปเช็คใน Settings > Display ได้นะ จะมีให้ปรับระหว่าง Normal กับ Vibrant

 

 

      และการใช้งานในที่มืดเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผมค่อนข้างซีเรียส เพราะเวลาใช้งานตอนกลางคืน ถ้าหน้าจอสว่างเกินไปก็จะทำให้แสบตา ใช้งานลำบาก ซึ่ง Moto X Style ก็สามารถปรับความสว่างต่ำสุดได้ดีในที่มืด อาจจะไม่มืดเท่า AMOLED น่ะแหละ แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่โอเค ไม่รู้สึกแสบตามากนัก

 

      เพราะอะไรถึงเปลี่ยนมาใช้เป็น LCD อันนี้ผมก็ไม่รู้นะ แต่ผมว่ามันก็ไม่ได้แย่ซักเท่าไร รู้สึกว่าโอเคด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าจะทำให้ Moto Display เปลืองแบตมากกว่าการใช้ AMOLED ก็ตาม อย่างน้อยการใช้ LCD ก็ทำให้จอเบิร์นช้ากว่าแหละนะ เพราะ Moto X 1st Gen ของผมออกอาการจอเบิร์นไปหลังจากที่ใช้งานครบหนึ่งปี (ซึ่งเป็นเรื่องปกติแหละ)

      ส่วน Multitouch สามารถรองรับได้ถึง 10 จุด ซึ่งก็แอบสงสัยมาตั้งนานแล้วล่ะว่าจะรองรับไปทำไมเยอะแยะนะ…

 

ต้องลำโพงหน้าสิ ถึงจะสะใจ!!

      เมื่อก่อนผมก็ไม่ค่อยสนใจอะไรมากกับเรื่องลำโพงหรอก แต่พอตอนที่ซื้อ Nexus 10 มาใช้ก็เริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย มันแจ่มมากๆเวลาดูหนัง ฟังเพลงหรือเล่นเกม แต่ตอนที่ใช้ Moto X (1st Gen) ก็ขัดใจตรงที่ลำโพงอยู่ด้านหลังนี่แหละ ต้องมานั่งคอยเอามาป้องจากด้านหลังเครื่องเพื่อให้เสียงมาด้านหน้าชัดเจนมากขึ้น (ผมรู้นะว่าคุณก็เคยทำ)

      พอมาใช้ Moto X Style ปัญหาเรื่องลำโพงก็หมดไป เพราะมันกลายลำโพงคู่หน้าที่สามารถเสพอรรถรสของเสียงได้เต็มที่ (ตอนนี้เปลี่ยนจาก Nexus 10 มาเป็น Nexus 9 ก็ยังคงเป็นลำโพงคู่หน้าเช่นกัน) จนรู้สึกว่าขัดใจเหมือนกันเวลาที่กลับไปใช้เครื่องที่มีลำโพงอยู่ด้านข้างหรือด้านหลัง

      และสำหรับเรื่องเสียงนั้น ให้ความรู้สึกเหมือนตอนใช้ Nexus 6 นิดหน่อย โดยเฉพาะเวลาปรับระดับเสียง รู้สึกว่าความดังของเสียงสามารถปรับได้ละเอียดมาก ถ้านึกไม่ออกลองดูวีดีโอตอนสมัยที่ลองใช้ Nexus 6 ก็ได้ครับ

Play video

      ไม่ชอบอย่างเดียวก็ตรงร่องลำโพงที่ฝุ่นเข้าไปได้ง่ายแค่นั้นแหละ…

 

Moto Display การแจ้งเตือนสุดแสนจะสะดวก

      หรือที่เรียกกันในชื่อ Active Display นั่นเอง ซึ่งตอนนี้ Moto ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Moto Display ไปแล้ว ซึ่งเป็นการแสดงแจ้งเตือนต่างๆในขณะที่ไม่ได้เปิดหน้าจอ ซึ่งความพิเศษของมันก็อยู่ตรงที่หน้าจอที่ว่าเป็นสีขาวดำนี่แหละ (ทำให้ประหยัดแบตมากเมื่อใช้กับจอ AMOLED) 

 

      ถ้าใครนึกไม่ออกก็ลองนักถึง Always On Display ที่มาใน Samsung Galaxy S7 ละกันนะ แบบนั้นเลย แต่ของ Moto นั้นมีตั้งแต่สมัย Moto X (1st Gen) แล้ว และสามารถแตะหน้าจอเพื่อดูได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเปิดหน้าจอ

      อยากให้แสดงข้อความแจ้งเตือนจากแอพไหนบ้างก็สามารถกำหนดได้ ทุกสิ่งอย่างที่เป็น Notification สามารถแสดงใน Moto Display ได้หมดครับ ถ้าอยากจะเปิดดูก็แค่แตะแล้วลากขึ้น ถ้าอยากเปิดหน้าจอมือถือเฉยๆก็แค่แตะแล้วลากลง แต่ถ้าอยากเคลียร์แถบแจ้งเตือนต่างๆทิ้งก็แค่แตะแล้วปัดไปด้านข้าง บอกเลยว่าโคตรสะดวก เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์หลักที่ทำให้ผมใช้ Moto เลยก็ว่าได้

      ซึ่งการแสดงของ Moto Display ก็ทำได้ดีมาก ถ้าวางไว้บนโตีะเฉยๆหน้าจอก็จะไม่แสดงอะไรจนกว่าจะมีข้อความใหม่ แต่ถ้าปิดหน้าจออยู่แล้วยกเครื่องขึ้นมาก็จะทำให้ Moto Display ทำงานได้ทันที ซึ่งตรงนี้ผมสามารถหยิบเครื่องขึ้นมาแล้วเปิดหน้าจอเข้ามือถือได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องนั่งกดปุ่ม Power เลยซักนิด

      และถ้ามือถือวางอยู่บนโต๊ะแล้วอยากดู Notification ที่เข้ามาในเครื่อง ผมก็แค่เอามือปาดผ่านหน้าเครื่อง เพราะตัวเครื่องเซ็นเซอร์อินฟราเรดอยู่ที่ด้านหน้าถึง 3 ตำแหน่ง เพื่อคอยจับการเคลื่อนไหวผ่านหน้าจอ ดังนั้นเมื่อเราเอามาปาดผ่านข้างหน้าเครื่องก็จะทำให้ Moto Display แสดงขึ้นมาได้ทันทีเหมือนกัน (ใส่มาทำไมเยอะแยะเนี่ย)

 

สั่งงานด้วยเสียงผ่าน Moto Voice 

      ชื่อเก่าคือ Touchless Control ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ให้เราสามารถสั่งงานผ่านเสียงได้ ก็เหมือน Command Voice ของ Google Now แหละ แต่ว่า Moto Voice จะมีคำสั่งเยอะกว่าและทำได้หลายอย่างกว่า มีทั้งส่งข้อความผ่าน Instragram, โพสเตตัสบน Facebook, เช็ค Voice Mail หรือ SMS ฯลฯ ซึ่งสามารถสั่งงานได้แม้กระทั่งปิดหน้าจออยู่ (ตั้งค่าได้)

Play video

      แต่ก็ยังสั่งค้นหาข้อมูลใน Google ได้เหมือนเดิมนะ เพราะทั้งหมดนี้ครอบอยู่บน Google Now อีกชั้นหนึ่งน่ะแหละ สามารถปรับ Launch Phrase ได้ด้วยว่าจะใช้เป็น OK Moto X หรือว่า OK Google Now 

      เวลาหามือถือไม่เจอก็ลองตะโกนสั่งว่า Find My Phone ก็จะทำให้เครื่องส่งเสียงออกมา ช่วยให้ตามหาได้ง่ายขึ้นนะ (มีตั้งแต่ Moto X ตัวแรกๆน่ะแหละ)

      น่าเสียดายอย่างเดียวก็ตรงนี้ไม่สามารถสั่งงานด้วยเสียงภาษาไทยได้นี่แหละ เพราะงั้นส่วนใหญ่เวลาใช้งานก็มักจะสั่งเป็นเสียงภาษาอังกฤษ

 

เล่นเกมได้อย่างเพลิดเพลิน

      ถึงแม้สเปคจะไม่ได้แรงเป็นอันดับต้นๆมากนัก แต่ด้วยความที่เป็น Qualcomm Snapdragon 808 จึงไม่ต้องห่วงเลยว่าเกมไหนจะเล่นได้บ้าง เพราะเล่นได้ทุกเกมครับ ยกเว้นเกมที่เค้าไม่ได้ดาวน์โหลด ฮา 

      แต่บางเกมก็พบว่าอาจจะปรับ Quality สูงสุดไม่ได้ อาจจะต้องลดระดับลงมานิดหน่อยเพื่อให้ได้ Framerate ตอนเล่นที่ไหลลื่น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่เกมน่ะแหละ เพราะเกมส่วนใหญ่เล่นได้สบายๆ

      จอก็ใหญ่ ลำโพงคู่หน้าก็แจ่ม บอกเลยครับว่าไม่ผิดหวังแน่ๆถ้าเอามาเล่นเกมแบบนี้ 😀

 

แบตเตอรีที่เยอะขึ้น การใช้งานที่ยาวนานขึ้น (หรือป่าว?)

      ตัวเครื่องมาพร้อมกับ 3,000 mAh ที่ทาง Moto โฆษณาว่าสามารถใช้งานได้นานเต็มวัน แต่จากที่ผมใช้งานอยู่พักใหญ่ๆกลับรู้สึกว่าแบตเตอรีเยอะขึ้นนั้นไม่ได้ช่วยอะไรมาก เมื่อเทียบกับหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น ความละเอียดหน้าจอเยอะขึ้น และ CPU ที่กินไฟมากขึ้น จึงทำให้ใช้งานได้เต็มวันก็จริง แต่ถ้าใช้งานหนักๆก็อยู่ไม่รอดหนึ่งวันเช่นกัน เพราะตอนที่เล่นเกมหนักๆเห็นได้ชัดเจนว่าแบตลดเร็วมาก

      แต่เพื่อไม่ให้มโนไปเอง ก็เลยลองเทสด้วยการชาร์จแบตให้เต็ม 100% แล้วเล่นเกมจนแบตหมด โดยเล่นเกมหลายๆเกมแล้วสลับไปเรื่อยๆทุกชั่วโมง (เผื่อบางเกมกินแบตเยอะเกิน) 

 

      ผลที่ได้ก็คือแบตหมดภายใน 3 ชั่วโมง (จับเวลาตอนเล่น แล้วคอยจด % แบตที่ลดลงไว้ด้วย)

      ซึ่งผมรู้สึกว่ามันหมดเร็วไปหน่อยนะ เมื่อเทียบกับเครื่องอื่นๆอย่าง Samsung Galaxy Note 5 เพราะงั้นถึงจะบอกว่าอยู่ได้เต็มวันก็จริง แต่ก็คงใช้งานหนักมากๆไม่ได้ เน้นพวกการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่างๆก็อยู่ได้ถึงวันสบายๆ และส่วนหนึ่งที่หมดไวก็อาจจะเพราะ Moto Display ด้วยแหละที่ใช้กับ LCD แทนที่จะเป็น AMOLED แต่ก็สามารถยืดอายุได้นิดหน่อยโดยเปิด Power Saver ซึ่งทำให้อยู่ได้หลายชั่วโมงอยู่ (อยู่ในสถานะ Standby)

      แต่ทาง Moto ก็ชดเชยด้วย Quick Charge 2.0 เพื่อให้สามารถชาร์จ Moto X Style ได้รวดเร็ว ซึ่งเค้าบอกมาว่าชาร์จแค่ 15 นาทีใช้งานได้นานถึง 10 ชั่วโมง ก็เลยรู้สึกตลกนิดๆตรงที่ทำออกมาให้เน้นชาร์จบ่อยและไวซะงั้น แทนที่แบตจะใช้ได้นาวนาน

      Moto X Style นั้นมาพร้อมกับ TurboPower Charger ซึ่งเป็นอะแดปเตอร์จ่ายไฟที่จ่ายกระแสได้เยอะมาก แถมรองรับ Quick Charge 2.0 จึงทำให้ใช้เวลาชาร์จ Moto X Style ให้เต็มได้ในเวลาไม่นานมากนัก จากที่ผมลองทดสอบดูก็พบว่าสามารถชาร์จจาก 0% ไป 100% โดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้นเอง

      การชาร์จด้วย Quick Charge จะทำให้ชาร์จได้ไวมากๆในช่วงแรก แต่พอใกล้จะเต็มก็จะใช้เวลาชาร์จนานมากขึ้นหน่อย (เป็นปกติของการชาร์จแบตเตอรี)

      ก็ดีนะ ชาร์จเต็มไว แต่ก็อยากให้แบตเตอรีอยู่ในนานกว่านี้หน่อย 

 

เห็นเค้าบอกว่ากล้องเทพมาก 

      ตอนที่ Moto X Style เปิดตัวนั้นกล้องของรุ่นนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆของเว็ป DxOMark เลยทีเดียว ซึ่งทำให้ฮือฮาพอสมควร แต่พอเจ้าอื่นๆพากันเปิดตัว Flagship กันจนหมดแล้ว ก็กลายเป็นว่า Moto X Style ก็ไม่ได้กล้องเทพซักเท่าไรนัก (ฮ่าๆ) แต่ก็ไม่ใช่ว่ากล้องห่วยนะครับ เพราะเห็นแบบนี้ก็ยังติดอยู่ในบรรดา Top 10 ของทั้งหมดอยู่นะ

      เนื่องจากผมไม่ใช่คนเล่นกล้องอะไรมากมายขนาดนั้น เพราะงั้นคงอธิบายแบบเจาะลึกไม่ได้นะครับ แต่ก็จะขอเล่าถึงความรู้สึกจากการใช้กล้องของ Moto X Style เวลาถ่ายในสถานการณ์ต่างๆแทน โดยจะอิงจากแอพ Camera ที่มากับเครื่องนะครับ ซึ่งจะไม่สามารถปรับค่าใดๆของกล้องได้ (Auto ล้วนๆนั่นเอง)

      สำหรับความละเอียด 21MP เนี่ย ผมว่ามันเยอะไปหน่อยนะ จริงๆไม่ต้องเยอะขนาดนั้นก็ได้ เพราะไฟล์ภาพมันใหญ่ทำให้เปลืองพื้นที่เก็บไฟล์ภาพอีก เวลาถ่ายภาพจะได้ขนาดไฟล์ประมาณ 3-6MB (ขึ้นอยู่กับภาพ) แต่สำหรับภาพที่ได้ผมชอบนะ แต่ชอบเวลาถ่ายกลางแจ้ง เพราะรู้สึกว่าภาพที่ได้เก็บแสงและสีได้ดีมาก 

 

      และการเปิด HDR ก็สามารถช่วยให้ถ่ายภาพได้ดีมากขึ้นในยามที่แสงแดดแรงเกินไป ซึ่งช่วยลด Contrast ของภาพได้พอสมควร

 

      ซูมดิจิตอลได้สูงสุด 4 เท่า ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นประโยชน์ที่กล้องความละเอียด 21MP ก็ว่าได้ เอาไว้ถ่ายบางอย่างจากระยะไกลแล้ว Crop ภาพเอา

 

      LED Flash ที่เป็นแบบ CCT หรือ Dual Tone ก็ทำออกมาได้สว่างดีครับ รู้สึกว่าเหมาะแก่การเป็นไฟฉายมากกว่ายิงแสงตอนถ่ายรูปเสียอีก ฮ่าๆ

      และการถ่ายรูปในที่มืดบางครั้ง การใช้ Night Mode ก็อาจจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่าเปิด Flash เสียอีก… (แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งเสมอไป)

 

      แต่ผมกลับไม่ค่อยชอบ White Balance ของเครื่องซักเท่าไร ส่วนหนึ่งก็เพราะแอพ Camera ของ Moto นั้นไม่มีให้ปรับ White Balance เพราะงั้นมันจะถูกกำหนดเป็น Auto ทันที แต่สิ่งที่ไม่ชอบคือบ่อยครั้งตัวกล้องปรับ White Balance ในห้องที่แสงจากหลอดไฟสีส้มๆกลับถูกปรับให้กลายเป็นสีขาวซะงั้น ทำให้ไม่ค่อยสะดวกมากเวลาที่ถ่ายอาหาร (เพราะแสดงสีส้มช่วยให้ดูสวยและน่ากินขึ้น)

      จากภาพข้างบนนี้ จริงๆแสงในห้องมันออกสีส้ม ซึ่งทำให้อาหารดูน่ากิน แต่พอใช้กล้อง Moto X Style ถ่าย ก็ถูก White Balance ปรับซะจนจานกลายเป็นสีขาวเลย

      และ Autofocus ทำงานช้า ตรงนี้น่าจะเป็นเพราะ Software ของกล้องมากกว่า เนื่องจากกล้องใช้ Focus แบบ PDAF ที่ทำให้โฟกัสได้ไวขึ้น  ดังนั้นถ้า Manual Focus ก็จะไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่พอให้ Autofocus ทำงานก็รู้สึกได้เลยว่ามันโฟกัสช้า บ่อยครั้งกดหน้าจอเพื่อถ่าย แต่ต้องรอเกือบ 1 วินาทีเพื่อรอให้ Autofocus ทำงาน

      การถ่ายแบบต่อเนื่องจะทำได้เร็ว เพราะไม่ต้องโฟกัสใหม่ (อาจจะช้าเพราะตอนแรก) และการทำ Burst Shot ก็ไม่ได้เร็วมากเท่า Flagship ตัวอื่นๆ ซึ่งจากที่ผมทดสอบทำความเร็วได้ประมาณ 5 ภาพต่อวินาที 

      เวลาเปิดแอพ Camera ของ Moto จะบังคับปรับความสว่างสูงสุดให้ตลอดเวลา เพราะงั้นอาจจะรำคาญนิดหน่อย 

      นอกจากนี้ยังมีปัญหาเวลาถ่ายในที่มืดหรือแสงน้อยโคตรๆ เพราะดูเหมือนแอพ Camera จะไม่สามารถดึงแสงได้ (ชดเชยด้วยแอพตัวอื่นแทนละกันนะ) ทำให้ภาพที่ถ่ายออกมามืดสนิท.. ถึงแม้ว่าจะลองใช้ Google Camera ถ่ายเทียบกับ Nexus 5 แล้วก็ตาม

 

      แต่ที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ไม่น่าโมโหเท่ากับการที่กล้องของ Moto X Style ไม่รองรับการถ่ายไฟล์แบบ RAW นี่แหละ รู้สึกขัดใจมากๆ รวมไปถึงการพบว่า Moto X Style ไม่รองรับแอพ Manual Camera ด้วย ทั้งๆที่ตัวเครื่องรองรับ Camera API 2

 

      ภาพถ่ายต้นฉบับจากกล้องหลังทั้งหมด 

 

      ส่วนกล้องหน้าไม่ได้ลองอะไรมากครับ เพราะว่าไม่ได้มีอะไรพิเศษมากนัก นอกจากการถ่ายปกติ และค้นพบว่าการมี LED Flash อยู่ข้างหน้าก็ไม่ค่อยได้ใช้มากนัก เพราะส่วนมากการถ่าย Selfie ก็ไม่ค่อยชอบใช้แฟลชอยู่แล้ว แต่ HDR นี่สิที่ได้ใช้บ่อยๆเวลา Selfie ย้อนแสง

 

      แต่การเอากล้องหน้าถ่ายในยามค่ำคืนหรือแสงน้อย คงไม่ใช่เรื่องดีซักเท่าไร ดังนั้นในบางครั้งการมีแฟลชที่กล้องหน้าก็อาจจะเป็นตัวช่วยที่ดีครับ และที่ผมชอบก็คือสามารถเปิด Flash แล้วถ่ายวีดีโอได้เลย ซึ่งสะดวกมากเวลาที่เอาไปถ่ายวีดีโอในที่มืดๆ

 

      สำหรับการบันทึกวีดีโอแบบ 4K ก็มีปัญหาเรื่องความร้อนเหมือนทุกๆรุ่นที่ไม่สามารถถ่ายได้นานๆ และเมื่อเครื่องร้อนก็จะทำให้การบันทึกวีดีโอเกิดอาการกระตุกไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติแหละ

Play video

 

      ส่วนการบันทึกวีดีโอแบบ Slow Motion จะถ่ายความละเอียดสูงสุดที่ 720p เท่านั้น และภาพที่ได้ก็รู้สึกแตกๆยังไงก็ไม่รู้…

Play video

 

      การบันทึกวีดีโอแบบ 1080p ก็โอเคดีครับ ไม่มีปัญหาอะไร แถมยังใช้ HDR ได้ด้วยนี่สิ ค่อนข้างชอบเลยล่ะ

Play video

Play video

Play video

Play video

Play video

 

Motorola Migrate ของดีนะ แต่ใช้ใน Android M ไม่ได้แล้ว

      Moto Migrate เป็นแอพสำหรับถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ ซึ่งเป็นแอพที่ผมชอบมากเวลาที่ย้ายเครื่อง เพราะตอนที่ย้ายจาก Moto X 1st Gen มาเป็น Moto X Style ก็ใช้ Moto Migrate นี่แหละ ข้อมูลทุกอย่างถูกโอนมาทั้งหมดเลย ที่ผมทำก็แค่ต้องรอมันโอนข้อมูลแค่นั้นแหละ เสร็จแล้วก็หยิบเครื่องไปใช้งานได้ทันที

       แต่น่าเสียดายตรงที่ล่าสุดทาง Moto ได้ประกาศว่า Motorola Migrate ไม่สามารถใช้กับ Android 6.0 Marshmallow ขึ้นได้แล้ว เวลาเข้าแอพก็จะเจอหน้าจอแจ้งเตือนแล้วปิดแอพทันที ก็เลยต้องไปหา 3rd Party App เพื่อโอนข้อมูลแทน

 

      ส่วนข้อมูลทั่วไปก็สามารถโอนผ่านตอน Setup ใช้งานเครื่องครั้งแรกก็ได้นะ

 

Spotlight Stories โปรเจคที่เริ่มจาก Moto แต่ตอนนี้ Moto กลับใช้ไม่ได้

      ตอนที่ผมใช้ Moto X (1st Gen) ตอนนั้นจะมีแอพตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Motorola Spotlight Player ซึ่งเป็นแอพสำหรับดูเรื่องราวต่างๆแบบ 360 องศา สามารถหมุนเครื่องไปรอบๆเพื่อดูเนื้อเรื่องในแต่ละเรื่องได้

Play video

      ซึ่งโปรเจคนี้ทาง Google ก็ได้นำไปสานต่อกลายเป็น Google Spotlight Stories เพื่อรองรับกับเครื่องอื่นๆ แต่กลับกลายเป็นว่ามันไม่รองรับบน Moto X Style ซะงั้น (LG Nexus 5X ก็ด้วย) ก็เลยแอบแปลกใจนิดหน่อย…แต่แอพพวก Cardboard ใช้งานได้ปกติดีนะ

 

กันน้ำกันฝุ่นระดับ IP52

      ถึงแม้ว่า Moto X Style จะไม่ได้เกิดมาเพื่อลุยน้ำอย่างสมบุกสมบั่นเท่าตระกูล Sony แต่ก็สามารถกันน้ำได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งปกติแล้ว Moto X รุ่นก่อนหน้าจะเคลือบสารกันน้ำไว้ที่ข้างในตัวเครื่องให้ถึงแม้จะไม่ได้บอกว่ากันน้ำได้ก็ตาม แต่พอมารุ่นนี้ก็ประกาศเลยว่าเป็นมาตรฐาน IP52 ซึ่งสามารถกันน้ำเวลาลุยฝนตกได้ 

      และก็มีผู้ใช้งานคนอื่นๆแอบเอาไปลองจุ่มน้ำมากันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็สามารถใช้งานได้ปกติดีไม่มีปัญหาอะไร แต่ผมก็ไม่แนะนำให้เอาไปลุยน้ำแบบจับแช่ในสระน้ำอะไรแบบนั้นนะครับ เพราะเค้าไม่ได้บอกมาว่ามันเอาไปลงใช้งานในน้ำได้ มันแค่กันน้ำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

 

ตัวเครื่องทนไม้ทนมือได้แค่ไหน?

      จริงๆไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้นะ แต่ดันไปเจอวีดีโอบน YouTube ของ JerryRigEverything ที่ลองทดสอบความทนทานของตัวเครื่อง ก็พบว่าไม่ได้พังกันง่ายๆนะเออ (ยกเว้นทำตกจอแตก)

Play video

      จริงๆตอนที่ผมใช้งานใหม่ๆก็แอบทำตกไปสองรอบ แต่เป็นการตกจากบนโต๊ะลงพื้นกระเบื้อง เพราะตั้งนาฬิกาปลุกไว้ แล้วตอนที่มันปลุกเครื่องมันก็สั่นแรงจนไหลตกลงมาจากโต๊ะ…(ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแหละครับ) แต่ก็มีรอยเล็กน้อยตรงมุมเครื่องเท่านั้น มีรอยหน้าจอกระแทกพื้นนิดหน่อย เพราะตกครั้งแรกเอามุมเครื่องลง ตกครั้งที่สองเอามุมหน้าลง

 

      เนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ อาจจะหลุดมือได้ง่าย (และมีถือเครื่องใหญ่ๆหนักๆมักจะจอเสียหายได้ง่ายกว่า) ดังนั้นทางที่ดีควรติดฟิล์มและใส่เคสให้ดีนะครับ ซึ่งเคสผมซื้อแบบ Ultra Thin แทน เพราะไม่อยากให้ตัวเครื่องหนาไปมากกว่านี้ แค่รับแรงกระแทกนิดหน่อยก็พอ ซึ่งไม่รู้ในบ้านเราจะเอาเข้ามาขายกันมากมั้ย เพราะผมสั่งจากใน Ebay ทั้งคู่ 

 

อื่นๆ 

      GPS นำทางได้ดีมาก ซึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผมชอบมาก เพราะว่าปกติผมมักจะใช้ Google Maps นำทางอยู่เป็นประจำ

 

      รองรับ OTG ได้ปกติสุข สามารถต่ออุปกรณ์ต่างๆโดยใช้งาน USB OTG ได้เลย หรือจะซื้อ Flashdrive ที่เป็น OTG ในตัวมาเสียบใช้งานก็ได้เช่นกัน 

 

      WiFi รองรับได้ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz ซึ่งใช้งานได้ปกติสุขดี ไม่มีปัญหาเรื่องต่อสัญญาณไม่ติดเลย เว้นแต่ว่าไปต่อ WiFi ในที่ที่มีคนใช้งานเยอะ

 

      การกดบันทึกภาพหน้าจออาจจะไม่ชินหน่อยก็ตรงที่ต้องกด Power + Volume Down พร้อมๆกัน ทั้งๆที่ทั้งสองปุ่มนี้มันอยู่ฝั่งเดียวกัน (ส่วนมากจะอยู่ฝั่งตรงข้าม) เพราะงั้นอาจจะต้องฝึกใช้สองนิ้วกดไปซักพัก เดี๋ยวก็จะชินเอง

      หรือไม่ก็ใช้ Google Now On Tap เพื่อบันทึกภาพหน้าจอเลยก็ได้นะ (กดปุ่ม Home ค้าง) เป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใน Android 6.0 Marshmallow

 

      สำหรับการ Unlock Bootloader ก็ยังคงเป็นแบบฉบับของ Moto ครับ คือต้องเอารหัสจากตัวเครื่องไปขอรหัส Unlock อีกที แต่ทาง Moto ก็ได้แจ้งไว้ว่าการ Unlock Bootloader ไม่ทำให้หลุดประกันล่ะ (เย้) และเมื่อ Unlock เสร็จแล้ว หน้า Bootscreen ตอนแรกสุดก็จะเปลี่ยนเป็นคำเตือนแทน เพราะงั้นถ้าใคร Custom หน้านี้ (อย่างเช่นผม) มันก็จะหายไปทันที


      ถ้าอยากจะ Unlock Bootloader ก็สามารถเข้าไปอ่านวิธีในเว็ปของ Moto ได้เลยจ้า

      และเนื่องจากสามารถใส่ SD Card ได้ และอัพเดทเป็น Android 6.0 Marshmallow แล้ว จึงทำให้สามารถใช้งาน Adoptable Storage ได้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยน SD Card ที่มองเป็น External Storage ให้กลายเป็น Internal Storage ซึ่งผลที่ตามมาก็คือสามารถย้ายข้อมูลในเครื่องไปไว้ในนั้นได้ทั้งหมด เปรียบเสมือนว่ามันคือ Internal Storage ยังไงยังงั้น ซึ่งผมก็ถอย SD Card ความจุ 32GB มา แล้วย้ายแอพไปไว้ในนั้นให้หมดซะ

 

บ่นทิ้งท้าย

      ถ้าใครที่ดูในตอน Preview อาจจะเห็นว่าผมสั่ง Moto X Style มา 2 เครื่อง ซึ่งจริงๆเกิดมาจากปัญหาออเดอร์ซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากสั่งของไปที่ลงอเมริกาแล้วทีนี้ออเดอร์มีปัญหากับทาง Citybank (ที่ใช้รูดบัตรจ่ายเงิน) ตอนนั้นก็กลัวว่าของจะส่งไม่ทันวันกลับประเทศไทย จึงให้พี่ที่อยู่ที่อเมริกาช่วยกดสั่งให้แทน แต่ปรากฏว่าออเดอร์ทั้งสองเสือกผ่านฉลุยจ้า ผลที่ได้ก็คือทาง Moto รับออเดอร์และสั่งผลิตออกมาให้ 2 เครื่องในทันที 

      นั่นก็หมายความว่าต้องจ่ายเงินสำหรับ 2 เครื่องเลย? ก็ใช่นะ เพราะเจ้าหน้าที่ของทาง Moto เค้าบอกว่ายกเลิกไม่ได้แล้ว เพราะสั่งผลิตเครื่องแล้ว (เครื่องจะเริ่มผลิตเมื่อมีการสั่งซื้อ) แต่เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าให้ลอง Refund หลังรับเครื่องแล้วก็ได้ ด้วยเหตุผลง่ายๆว่า “ไม่ชอบ” ก็จะสามารถส่งเครื่องกลับไปให้ทาง Moto แล้วได้ Refund เต็มจำนวนล่ะ! (เชื่อว่าไม่มีอะไรแบบนี้ในประเทศไทยแน่ๆ) นั่นก็เลยทำให้ผมรอดตายจากเครื่องที่ 2 ไม่งั้นคงกินแกลบยาวๆ

      แต่เรื่องราวก็ยังไม่จบครับ เมื่อค้นพบว่าโรงงานผลิตได้ย้ายไปที่จีนเรียบร้อยแล้วเนื่องจาก Lenovo ซื้อไป นั่นก็หมายความว่า ผมถ่อไปที่อเมริกาเพื่อให้โรงงานที่จีนส่งเครื่องมาให้….(อ้อมโลกดีวุ้ย) ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ เพราะทาง Moto จะใช้เวลาส่งราวๆ 3-4 วันเท่านั้นเอง ถือว่าไวมากและไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งด้วยล่ะ

      ทีนี้เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อเครื่องที่ส่งมาดันไม่ผ่าน ตม. เพราะเอกสารการจัดส่งของทาง Moto เค้าไม่ครบ เลยยังไม่ถูกส่งมาที่พักของผม ในขณะเดียวกันนั้นวันที่ Moto เริ่มส่ง Moto X Style มาให้ผม พี่อีกคนที่ผมพักอาศัยอยู่ก็ได้สั่ง OnePlus X มาจากจีนเช่นกัน (ซึ่งผมก็เอามาเขียนเป็น Unboxing นั่นเอง) โดยที่เครื่องส่งมาถึงก่อนโดยใช้เวลาแค่ 3 วันและไม่มีปัญหาอะไรเลย!!! ส่วนของผมใช้เวลา 5 วันทั้งๆที่ส่งมาจากที่เดียวกัน (ได้ในวันสุดท้ายที่กำลังจะขึ้นเครื่องกลับประเทศไทย) และผมเสียตังเยอะกว่า..

      ก็นั่นล่ะครับ สาเหตุที่ได้ Moto X Style มาสองเครื่อง (และส่งคืนไปแล้วหนึ่งเครื่อง) และปัญหาการส่งของจากทาง Moto

 

สรุป มันดีหรือไม่ดี?

     ต้องบอกว่าเรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ความชอบของแต่ละคนเนอะ ซึ่งกรณีของผมเผอิญว่าได้ Samsung Galaxy Note 5 มาใช้งานชั่วคราว จึงทำให้มีตัวเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียได้ง่าย

ข้อดี

    • มันคือแบรนด์ Moto ที่กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะในประเทศไทย
    • ใช้ Snapdragon 808 แทนที่จะเป็น 810 (ถ้าคุณคิดว่าความร้อนเป็นปัญหา)
    • Build Your Own สามารถเลือกสีที่ชอบได้ เหมือนเป็นเครื่องที่ทำมาเพื่อตัวเรา แต่เสียดายที่ในไทยทำแบบนี้ไม่ได้
    • Pure Android ที่เบาและลื่น แถมยังได้อัพเดทไว ถ้าเคยใช้ Nexus มาก่อนแล้วชอบ นี่แหละคืออีกหนึ่งตัวเลือก
    • หน้าจอใหญ่ได้ใจ และคมชัดในรายละเอียดของภาพ (ถ้าคุณชอบจอใหญ่)
    • Moto Display การแสดง Notification โดยไม่ต้องมากดเปิดหน้าจอที่โคตรสะดวก แถมใช้ปลดล็อคหน้าจอโดยไม่ต้องกดปุ่ม Power ได้ด้วย
    • กล้องหลังใช้การโฟกัสแบบ PDAF ทำให้โฟกัสได้ไว
    • กล้องหน้าและกล้องหลังรองรับ HDR ทั้งการถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอ
    • Quick Capture เปิดใช้งานกล้องได้ไวทันใจเพียงแค่สะบัดข้อมือ
    • ลำโพงสเตอริโอคู่หน้าจะทำให้คุณได้รับอรรถรสทางเสียงอย่างเต็มที่ 
    • ตัวเครื่องด้านหลังโค้งกระชับมือ ขอบด้านข้างสามารถจับได้ง่าย (ถ้าคุณมือใหญ่พอ)
    • หน้าจอสีไม่ฉูดฉาดเกินไป (ถ้าคุณไม่ชอบ AMOLED)
    • ชาร์จโคตรไว ด้วยพลังของ Quick Charge 2.0 และ TurboPower Charger
    • GPS แม่นยำไม่ค่อยเพี้ยน
    • กันน้ำกันฝุ่นถึงแม้จะไม่ได้เอามาลุยอะไรแบบนั้น แต่ป้องกันได้ก็ย่อมดีกว่า
    • สั่งงานด้วยเสียงได้ทันทีด้วย Moto Voice (แต่หลายๆคนอาจจะไม่ค่อยได้ใช้)
    • รองรับเครือข่ายได้ครอบคลุมมากๆ (ถ้าใช้ XT1572 และ XT1575)
    • งานประกอบดีและทนทาน ถึงแม้ว่าจะเป็นพลาสติกซะส่วนใหญ่
    • ใส่ SD Card ได้ ทำให้สามารถใช้งาน Adoptable Storage ได้

ข้อเสีย

    • สเปคไม่แรงเท่า Flagship ตัวอื่นๆ
    • หน้าจอเป็น LCD สีไม่สดเท่า AMOLED และเปลืองแบตมากกว่าเวลา Moto Display ทำงาน (ถ้าคุณชอบ AMOLED)
    • ตัวเครื่องใหญ่เกินไป พกพาลำบาก (ถ้าคุณเป็นคนมือเล็ก)
    • กล้องหลังไม่ได้เทพเท่าที่คิด เพราะ Flagship ตัวอื่นๆก็เหนือกว่าเยอะ และความละเอียดเยอะเกินจำเป็น
    • กล้องหน้าเฉยๆ ถึงแม้จะได้เลนส์มุมกว้าง
    • White Balance ของกล้องชอบปรับแสงสีส้มให้เป็นสีขาว
    • ไม่รองรับการถ่ายไฟล์ RAW
    • แอพกล้องที่มากับเครื่องปรับอะไรไม่ค่อยได้เลย
    • ร่องหลุมที่เป็นโลโก้ตัว M ทำมาก็ตั้ง 3 รุ่นแล้ว แต่ดันไม่ใส่ Fingerprint Scanner มาซะที
    • ไม่รองรับ Wireless Charging
    • ไม่รองรับ MHL
    • แบตเตอรีหมดไวเกินไป ทั้งๆที่ให้มาก็เยอะ
    • ถอดเปลี่ยนแบตเตอรีไม่ได้

      สำหรับ Moto X Style บอกได้เลยว่าไม่ใช่มือถือที่ดีที่สุดอยู่แล้วล่ะ แต่ก็ไม่มีมือถือไหนที่ดีที่สุดอยู่แล้ว มีแต่มือถือที่เหมาะกับตัวเราเองที่สุดต่างหาก และนั่นแหละครับที่ผมเลือก Moto X Style เพราะผมคิดว่ามันเป็นมือถือที่เหมาะกับ Life Style ของผมที่สุดแล้ว

“แล้วมือถือแบบไหนล่ะที่เหมาะกับตัวคุณ?” 

 

      สุดท้ายนี้ ต้องขอบคุณ Samsung Galaxy Note 5 ที่ทำให้ได้ภาพประกอบการรีวิวที่สวยๆแบบนี้ 😛