เพื่อนหลายๆ คนน่าจะได้สอยและเป็นเจ้าของ OPPO N1 สมาร์ทโฟนกล้องหมุนได้จากทาง OPPO ที่เปิดตัวและวางจำหน่ายเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมากัไปแล้ว แน่นอนว่าด้วยเอกลัษณ์เฉพาะตัวอย่างกล้องความละเอียด 13 เมกะพิกเซลที่สามารถหมุนมาด้านหน้าเพื่อถ่ายภาพตัวเองได้ รวมถึงลูกเล่น gesture control ต่างๆ ของ Color OS น่าจะถูกใจสาวๆ และใครหลายๆ คนที่ชอบมือถือหน้าจอใหญ่และกล้องหน้าที่คมชัด

เรื่องกล้องเรื่องลูกเล่นต่างๆ ของ OPPO N1 อาจจะไม่ได้มีความหมายมากนักสำหรับพาวเวอร์ยูสเซอร์ หรือผู้ที่นิยมชมชอบในกาารรูทเครื่อง แฟลชรอมทั้งหลาย ถึงแม้คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ทาง OPPO เองก็เลือกที่จะเจาะตลาดคนกลุ่มนี้ โดยการจับมือกับทีมของ Cyanogen Mod หรือ CM เพื่อออก OPPO N1 CM Edition สำหรับพาวเวอร์ยูสเซอร์ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ชอบรอมจากทีมนี้ และยังนับว่าเป็นสมาร์ทโฟนตัวแรกของ Cyanogen Mod อีกด้วย

OPPO N1 CM Edition นั้นเป็นการใช้ชุดฮาร์ดแวร์ของ OPPO N1 ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ Full HD ขนาด 6 นิ้ว, ใช้ CPU Qualcomm Snapdragon 600, หน่วยความจำภายใน 16 GB, RAM 2 GB, กล้อง 13 ล้านหมุนได้ 206 องศาพร้อมไฟ LED คู่แยกกันทำงานตามสภาพแสง (สเปคแบบละเอียดของ OPPO N1) เพียงแต่เปลี่ยนจาก Color OS ของ OPPO มาเป็น CM Rom เท่านั้นเอง แต่แค่ตัวซอฟต์แวร์ก็สามารถสร้างความแตกต่างให้กับประสบการณ์การใช้งานได้หลากหลายแล้วครับ

 

กล่องและอุปกรณ์ต่างๆ ของ OPPO N1 CM Edition นั้นเป็นแบบเดียวกับของรุ่นปกติท้งหมด ซึ่งตอนแรกผมเองก็ไม่คิดว่าตัว CM Edition จะรองรับเจ้า O-Click Bluetooth แต่กลับกลายเป็นว่าทางทีมของ CM เลือกใช้งานฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นเลย รวมถึงอุปกรณ์เสริมด้วย 

 

หูฟังพรีเมี่ยมที่แถมมาในกล่อง

อุปกรณ์ทั้งหมดในกล่องพลาสติก เหมือนกันเป๊ะ

 

เจ้า O-Click Bluetooth นั้นใช้งานได้เหมือนกัน 100% สามารถนำไปใช้เป็นพวงกุญแจ ร้องหรือสั่นแจ้งเตือนเวลาที่ N1 และ O-Click อยู่ห่างกันได้ (ในกรณีที่เราลืมวางมือถือ หรือพวงกุญแจทิ้งไว้) และใช้เป็นชัตเตอร์กล้องถ่ายภาพได้ แต่จากที่ได้ทดลองมาเหมือนจะยังทำงานได้แค่บางฟังก์ชั่นเท่านั้น ไม่รู้ว่าเป็นบั้กหรือเปล่า

 

เปิดเครื่องมาแล้วแน่นอนว่าใครๆ ที่ชอบ UI แนวๆ Pure Google หรือคนที่เคยเล่น Nexus 4 หรือ Nexus 5 มาก่อนนั้นจะต้องชอบแน่นอน เพราะ UI ของทาง CM นั้นแทบจะไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงหน้าตาของ Google Android เลย (แต่มีการปรับแต่งรูปแบบของฟังก์ชั่นเพิ่มเติมเข้าไปเล็กน้อย) ซึ่งหลังจากที่ผมได้ลองเล่น OPPO N1 CM Edition แล้วก็แทบจะหลงรักในความลื่นไหลของมันทันที เพราะบอกได้เลยว่าความเร็วในการตอบสนองของหน้าจอและระบบต่างๆ นั้น เร็วและสมูทกว่ารุ่น Color OS อยู่พอควร 

 

ส่วนของตัวกล้องทีหมุนได้นั้น ผมชอบไอเดียนี้ตั้งแต่รุ่นเดิมอยู่แล้ว โดยเฉพาะการที่เราสามารถเปิดเข้าไปใช้งานกล้องได้ทันทีเมื่อหมุน แต่กลับกลายเป็นว่า CM Edition นั้นได้ตัดฟังก์ชั่นตรงนี้ออกไป เลยแอบเคืองเล็กๆ เพราะต้องเปิดเครื่องเข้าไปเพื่อเปิดแอพกล้องอีกที

 

แต่ต้องบอกว่าฟังก์ชั่น gesture control พวกเคาะจอ 2 ครั้งเพิ่อเปิดหน้าจอ, ลากนิ้วเป็นตัว V เพื่อเปิดไฟฉาย

และลากนิ้วเป็นตัว O เพื่อเปิดกล้องนั้นยังมีอยู่นะครับ (แต่ส่วนตัวผมชอบหมุนกล้องไปมาเพื่อเปิดแอพกล้องมากกว่าก็เท่านั้นแหละ ^^)

 

ส่วนหน้า Lock screen นั้น เราสามารถเลือกตั้งแอปทางลัดได้ 4 แอปด้วยกัน สะดวกดีครับ ในตอนแรกจะมี เว็บบราวเซอร์, โทรศัพท์, เครื่องเล่นเพลง, และข้อความมาให้ แต่เราสามารถเข้าไปปรับแต่งได้ใน Setting > Lock screen > Slider shortcut

 

จุดเด่นของรอม Cyanogen Mod นั้นนอกจากความล่นไหลแล้ว ยังมีเรื่องของการปรับแต่งที่หลากหลายซึ่งเราสามารถจะปรับตั้งค่าอะไรหลายๆ อย่างได้ เช่นส่วนของปุ่มอย่าง Home, Menu เราสามารถเข้าไปที่ Setting > Buttons แล้วเลือกว่าเมื่อกดปุ่มค้างจะทำอะไร กดปุ่มซ้ำ 2 ครั้งจะเกิดอะไรขึ้น อย่างเช่นปุ่ม Home เราสามารถตั้งค่าให้กดค้างแล้วเรียก Google Now ขึ้นมา แต่ถ้ากด Home 2 ครั้งติดกันก็จะกลายเป็นแถบแอปพลิเคชั่นที่เปิดล่าสุด (Recent Apps) ตั้งค่าได้แม้แต่ปุ่ม menu หรือปุ่มปรับเสียง เรียกว่าปรับแต่งได้เยอะจริงๆ

 

ส่วนแถบสัมผัสด้านหลังตัวเครื่องที่เรียกว่า O-Touch นั้น ผมกลับรู้สึกว่าในรุ่น CM Edition ทำงานได้ดีกว่าของ Color OS ซะด้วยซ้ำ สาเหตุนึงเพราะว่า O-Touch ของ CM Edition นั้นไม่ได้เซนซิทีฟมากแบบของ Color OS ที่เผลอไปแตะบางๆ เบาๆ ก็ทำงาน เลื่่่อนไปมาโน่นนี่ไปหมด แต่คำสั่งที่ไม่แนะนำเลยจริงๆ ของ O-Touch คือการแตะ 2 ครั้งเพื่อถ่ายภาพครับ เพราะโอกาสที่ภาพจะสั่นมีสูงถึง 50% เลยทีเดียว

 

ส่วน UI กล้องนั้นปลายเป็นแบบ Nexus Camera ไปเลย ซึ่งถ้าหากไม่คุ้นชินกับมันก็ต้องบอกว่าอาจจะมีการสับสนมึนงงขณะที่พยายามปรับตั้งค่าแน่นอนครับ เพราะรูปแบบการตั้งค่ากล้องแบบ Nexus Camera นั้นจะใช้นิ้วแตะค้างไปที่หน้าจอเพื่อเรียกการตั้งค่า จากนั้นเลื่อนนิ้ไปซ้ายขวาเพื่อเลือกค่าที่ต้องการ หรือถูขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนหมวดการตั้งค่า อย่างที่บอกครับ แรกๆ มีงงแน่นอน แต่ถ้าคล่องแล้ว มันปรับตั้งค่าได้ไวกว่าการเปิดเมนูขึ้นมาเลือกเยอะเลย

 

หลายคนอาจจะยังไม่เคยเห็นหน้าตาหรือ UI ของ OPPO ตัวเดิมที่เป็น Color OS เลยขอนำมาให้ดูกัน และก็จะขอเปรียบเทียบ Color OS กับ CM Edition ให้ฟังกันสักหน่อย


OPPO N1 Color OS

บอกตรงๆ ว่าถึงแม้รูปแบบการใช้งานของแอนดรอยด์มันจะคล้ายๆ กัน แต่ Color OS ก็สรรหาอะไรใหม่ๆ มาให้ OPPO และผู้ใช้งานได้เยอะแยะมากมาย ฟีเจอร์บางอย่างอาจจะใช้ได้ดีบ้าง หรือบางอันมีไว้โชว์บ้าง แต่ก็ถือว่ามีการพัฒนาจาก UI แบบเดิมของ OPPO มากมาย และเนื่องจากว่ามันเพิ่งจะพัฒนาเสร็จทันพอที่จะใช้งานบน N1 เลยยังดูเหมือนจะมีปัญหาและบั้กอยู่พอสมควร อาจจะต้องรอให้ตัว Color OS มันเติบโตไปอีกสักพัก มีการออกซอฟต์แวร์มาแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพทั้งในเรื่องความลื่นไหลและความสเถียรให้มากกว่านี้จะน่าใช้ขึ้นอีกเยอะ

 

OPPO N1 CM Edition

เพราะมันคือ CM Edition และมันเป็นร่างแยกของ Pure Google UI เรื่องความลื่นไหลนั้นกินขาด ยิ่งทาง CM มาพัฒนาให้แบบเต็มตัวและรองรับฮาร์ดแวร์ทุกอย่างแบบ 100% (แต่บางอย่างอาจจะเอ๋อๆ ไปบ้าง) แต่ก็ต้องบอกว่ามันคือแอนดรอยด์เครื่องแรกที่เกิดมาโดยมีทีม Cyanogen คอยสนับสนุนแบบเต็มตัว ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจสำหรับคนที่ชอบ UI แบบ Pure Google แต่อาจจะยังไม่ค่อยชอบใจ Nexus 4 หรือ Nexus 5 ในเรื่องของวัสดุ อายุของแบตเตอรี่ที่ีน้อยไปหน่อย เพราะเท่าที่ได้เล่นมา OPPO N1 CM Edition แบตอึดกว่า Nexus 2 รุ่นล่าสุดครับ 

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก OPPO N1 CM Edition


อ้อ เกือบลืมบอกไป OPPO N1 CM Edition บ้านเราไม่มีการนำเอาเข้ามาจำหน่ายนะครับ แต่เพื่อนๆ สามารถไปซื้อ OPPO N1 รุ่น Color OS ที่ขายในบ้านเรามา flash เอารอม CM Edition ลงไปเพื่อใช้งานได้ โดยทีทาง OPPO Thai ยังรับประกันในตัวสินค้าเหมือนเดิมครับ

 

บล็อกที่เกี่ยวข้อง : [Review] รีวิว OPPO N1 มาพร้อมกล้องบิดได้แบบ 206 องศา! ถ่ายมุมไหนก็ง่ายแค่บิดกล้อง