ดีไซน์ของมือถือ Samsung เป็นเรื่องที่ถูกถกเถียงกันมานานสองนาน มีทั้งคนชอบและไม่ชอบแตกต่างกันออกไป ซึ่งหลังๆมาก็จะเริ่มเห็นคนบ่นกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตัว Galaxy S5 ที่ถูกอิงว่าล้มเหลวจากงานดีไซน์ วันนี้ทาง fastcompany ได้ไปคุยกับ Kevin Lee อดีตหัวหน้าทีมกลยุทธ์ฝ่ายผลิตภัณฑ์และออกแบบประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ ที่ Samsung Design America ถึงปัญหานี้ ซึ่งเค้ากล่าวว่าสาเหตุหลัก คือ “Steve Jobs Syndrome” ??!?

design concept ก่อนที่จะมีเป็น Galaxy S5 ให้คนสรรเสริญ
ของเค้ามีที่มาที่ไป ลองอ่านกันได้ 
Live Your Passion, Samsung Galaxy S5 Design Story. 

คุณลีได้บอกว่า เค้าได้จ่ายเงินให้กับบริษัทดีไซน์ไปแบบนับไม่ถ้วนเพื่อที่จะพัฒนาหน้าตาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้กับซัมซุง แต่ว่าดีไซน์เหล่านั้นกลับถูกเมินไปแม้ว่าจะมีความย่ิงใหญ่สวยงามนำเอาไปใช้ได้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ แต่ทีมบริหารของซัมซุงจะขยำไอเดียเจ๋งๆเหล่านั้นทิ้ง หรือปรับใส่อะไรลงไปมากมายจนกลายเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ไร้ความหมาย เช่นเดียวกับอีกผลิตภัณฑ์อีกหลายร้อยรุ่นที่ซัมซุงกำลังวางจำหน่ายอยู่นี้ 

“ผมได้เห็นคอนเซปท์และโปรโตไทป์ที่เจ๋งๆแบบที่ต้องร้อง ว้าวววว! ซึ่งถ้าซัมซุงมีของชิ้นนี้วางขายในตลาด บริษัทอื่นๆต้องมีล้มละลาย”

แต่ว่าตลอด 18 เดือนที่ร่วมงานกับ Samsung บริษัทกลับล้มเหลวในการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็น The Next Big Thing จริงๆออกมา ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวกับการขาดไอเดียเด็ดๆ หรือซัมซุงไม่มีบุคลากรที่เก่งๆ แต่ว่ามันเกี่ยวข้องกับปัญหาหลายๆส่วน ทั้งวัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างการบริหาร และการบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้คอนเซปท์ที่ดีๆมีคุณภาพนี้ไม่สามารถเกิดได้ และปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของวันนี้คือ ปัญหาด้านความคิดของเหล่านักออกแบบในโลกตะวันตกที่ยึดติดกับตัวตน ต้นแบบ ของอัจฉริยะที่ดื้อด้านที่สุดแห่งยุค นั่นคือ ท่านศาสดาสตีฟจ๊อบส์ ซึ่งคุณลีได้เรียกอาการนี้ว่า  “Steve Jobs Syndrome

ใช่ครับ คุณลีไม่ได้โทษแต่เพียงด้านการบริหารและวัฒนธรรมองค์กร แต่ว่ารวมถึงเหล่าบริษัทดีไซน์ต่างๆที่เค้าได้เคยร่วมทำงานด้วย ซึ่งมีอีโก้สูงกันทั้งหมด มีรูปแบบการทำงานแบบที่ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ ออกแบบอะไรมาแล้วต้องยึดติดกับงานของตัวเองไม่มีการปรับตัวตามที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงออกแบบอะไรที่เกินจริงจากความเป็นไปได้ในปัจจุบัน ทั้งๆที่ Samsung ก็เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมให้หยิบใช้มากที่สุดที่นึงในโลกแล้วก็ว่าได้ (ดังที่เห็นว่าในโทรศัพท์ iPhone ยังเห็นชิ้นส่วนหลายๆใช้เป็นของ Samsung อยู่เลย)

“พวกเมิงก็เป็นส่วนนึงของปัญหาด้วยเหมือนกันนั่นแหละ ไอ่…ตื้ดดดดด…. ตรูไม่ได้บอกให้พวกเมิงต้องมารักกิมจิหรือชอบอะไรที่เป็นเกาหลี แต่ว่าพวกเมิงต้องหาทางแก้ปัญหา ไม่ใช่สักแต่หาทางแก้ตัวให้งานตัวเองไม่โดนแก้ คิดสิคิด ว่าจะทำยังไง มีทางอื่นมั้ย ถ้าพวกเมิงเป็นดีไซน์เนอร์ นั่นคืองานของพวกแก หาความคิดที่สร้างสรรรค์ในกรอบและข้อจำกัดที่มีสิ”

Kevin Lee ที่ปัจจุบันออกจาก Samsung ไปเป็น Head of Design ที่ Visa กล่าวเอาไว้กับ fast company

ในบทความก็จะมีเหล่าบริษัทดีไซน์ต่างๆที่เคยทำงานร่วมกับ Samsung มาให้ความคิดเห็นต่อประสบการณ์ที่เคยทำงานร่วมกับ Samsung ว่ามีความยากลำบากเพียงใด และบางคนก็ให้ข้อมูลที่ไม่ได้ต่างจากที่คุณลีพูดนัก ทั้งในด้านของความวุ่นวายในการนำเสนองานให้ผ่าน ระดับชั้นของการบริหาร วัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงอีโก้ของตนที่มีต่องานดีไซน์ ซึ่งจริงๆก็ค่อนข้างสะท้อนถึงภาพรวมของบริษัทในฝั่งเอเชียทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ ถ้าสนใจลองเข้าไปอ่านกันได้ที่ต้นทางครับ 

FAST COMPANY : Why Samsung Design Stinks

มีข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆอีกจากบทความนี้ ซึ่งถ้าใครเป็นผู้ประกอบการก็น่าอ่านเรียนรู้เอาไว้ครับ

วัฒนธรรมองค์กรของของบริษัทเกาหลีค่อนข้างเป็นแบบศักดินา มีระดับชั้น รวมอำนาจ และมักจะใช้วิธีตัดสินใจร่วมกันแทนที่จะยึดติดกับคนๆเดียว ต้องมีการรายงานจากหัวหน้าไปผู้จัดการ และผู้จัดหารไปผู้อำนวยการอะไรต่างๆอีกมากมาย ซึ่งมีความวุ่นวายและทำให้การตัดสินใจล่าช้า 

Samsung เป็นบริษัทที่ค่อนข้างเลี่ยงความเสี่ยง ส่วนนึงที่ทำให้ดีไซน์ไม่ไปไหนก็เพราะเรื่องนี้ด้วย ถ้าดีไซน์มีการฉีกแหวกแนวไปมากๆ ทางผู้บริหารก็จะไม่กล้าที่จะเสี่ยงทำ และยึดติดกับการทำอะไรซ้ำซาก พวกเขาจะไม่ยอมทุ่มเงินลงกับไปการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ โดยเฉพาะเหล่าดีไซน์ที่ต่างไปจากแอปเปิ้ลมากๆ ทำให้เงินเอาไปลงกับเรื่องฟีเจอร์และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากกว่า ซึ่งสิ่งนี้แหละที่ดึงความก้าวหน้าของบริษัทเอาไว้


ดีไซน์ที่เดิมๆมาโดยตลอด ไม่ว่าจะรุ่นเล็กรุ่นใหญ่จนหลายๆคนเบื่อกัน

ซัมซุงมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่เรียกได้ว่าบ้าคลั่ง ถ้าของชิ้นนี้ไม่ใช่สำหรับเราก็หารุ่นที่เล็กกว่า ฟีเจอร์น้อยกว่า ราคาถูกกว่ามาให้ได้เลือกสรรค์ ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีคิดที่แตกต่างแบบสุดขั้วไปอีกด้านจากแอปเปิ้ล และทำให้แอนดรอยด์เกิดขึ้นมาได้จนถึงตอนนี้ 

ความคิดแบบสตีฟเน้นไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์น้อยชิ้นแต่ทุกชิ้นต้องโดน ดังที่เราเห็นว่าในยุคที่สตีฟยังอยู่จะมีของออกมาน้อยชิ้นน้อยแบบมาก แต่ของทุกชิ้นโคตรจะโดนใจผู้บริโภค ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันแอปเปิ้ลจะกลับมาทำหลากหลายรุ่นหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น แต่พวกเขาก็ยังถูกยกให้เป็นตัวอย่าง ตัวเปรียบเทียบ ถึงการสร้างบริษัทอยู่เรื่อยๆ ซึ่งในไตรมาสล่าสุด (Q4 2014) Samsung และ Apple มีรายได้พอๆกันที่ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ว่า Apple กลับมีกำไรที่สูงกว่ามาก ซึ่งก็มีผลมาจากกำไรต่อชิ้นสูงและค่าบริหารจัดการที่ต่ำกว่าชาวบ้านเค้านั่นเอง2

ความคิดแบบศาสดาที่มีความมั่นคงแน่วแน่ในสิ่งที่ตัวเองทำนั้น ทำให้เกิดผลงานระดับโลกขึ้นมาได้มากมาย แต่ว่าคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณเจ๋งพอ และจะไม่ทิ้งความคิดของคุณเองไปจนกว่าจะทำมันสำเร็จ?

 

ปัจจุบัน Samsung ได้เปลี่ยนหัวหน้าทีมดีไซน์เป็น Lee Don-tae ผู้ซึ่งมีภูมิหลังมาจากที่เดียวกับ Jonathan Ive หัวหน้าทีมดีไซน์ของ Apple แต่คุณลีก็มองว่า Samsung น่าจะยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เพราะสุดท้ายการดีไซน์มันก็ไปขึ้นกับสตูดิโออิสระที่บริษัทจ้างมาออกแบบอยู่ดี…จบซะหักมุม

แล้ว Samsung Galaxy S6 มันจะออกมาเป็นยังไงเนี่ย -__-“

 

เพื่อนๆมีความเห็นอย่างไรบ้างกับข้อมูลนี้ ขอเชิญมาคุยกันใน comment ครับ 🙂

 

อ่านต่อ

1 Samsung สั่งย้ายหัวหน้าทีมออกแบบมือถือแล้ว หลังสื่อไม่ประทับใจ Galaxy S5 อย่างแรง

2 Apple กินส่วนแบ่ง 93% ของผลกำไรทั้งหมดในอุตสาหกรรมมือถือ