ตามปกติแล้วสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายหากชำรุดหรือเสียหายขึ้นมา มักมีข้อกำหนดให้ดำเนินการส่งซ่อมกับบริษัทผู้ผลิตโดยตรงหรือศูนย์บริการที่ได้รับการรับรองเท่านั้น มิเช่นนั้นการรับประกันจะถือเป็นอันสิ้นสุดทันที ด้วยข้อจำกัดนี้อาจทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการแพงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งล่าสุด โจ ไบเดน ได้ผุดไอเดีย เสนอให้ร่างกฎหมาย “Right-to-Repair” ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อัปเดต : 22 กรกฎาคม 2564 วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา FTC โหวตร่างกฎหมาย Right-to-Repair แล้ว มติเป็นเอกฉันท์ที่ 5-0 เสียง เพื่อแก้ไขปัญหาการจำกัดการซ่อมแซมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคจากผู้ผลิต (เนื้อหาเดิมอ่านได้ที่ด้านล่างเป็นต้นไป) สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมลงนามคำสั่งให้คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐ (Federal Trade Commission: FTC) ไปร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ์ในการซ่อมแซมภายในไม่กี่วันข้างหน้า รวมถึงมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับแนวทางและขอบเขตของคำสั่ง คาดว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบคือบรรดาผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ รวมถึงผู้รับเหมาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ประโยชน์ทั้งผู้บริโภคโภคและช่างซ่อมอิสระ กฎหมายสิทธิ์ในการซ่อมแซมนี้ในฝั่งของผู้บริโภคจะได้รับอิสระในการซ่อมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ส่วนฝั่งผู้ให้บริการซ่อมที่เป็นบุคคลที่สามจะได้รับสิทธิ์ในการจัดซื้ออะไหล่ เครื่องมือ และคู่มือการซ่อมต่าง ๆ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย เพิ่มความสะดวกสะบาย และอาจลดปัญหาในการรอคิวซ่อมหรือรอเบิกอะไหล่นาน … Continue reading สหรัฐฯ เตรียมร่างกฎหมาย “Right-to-Repair” เปิดให้ผู้บริโภคนำสินค้าไอทีไปซ่อมที่อื่นได้โดยประกันไม่ขาด (อัปเดต : มติเป็นเอกฉันท์แล้ว)
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed