หลังจากที่โหมกระแสกันมาอย่างเข้มข้นในที่สุดก็เสร็จสิ้นการประมูล 5G ของเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ไปเป็นที่เรียบร้อย สร้างรายได้เข้ารัฐจากการประมูลคลื่น 700 MHz, 2600 MHz และ 26GHz ทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท โดย AIS กวาดไปหนัก 1310MHz คิดเป็นมูลค่าร่วม 42 พันล้านบาท ส่วน dtac มาเบาสุด น้อยกว่า CAT และ TOT เสียอีก

รายละเอียดการประมูลของแต่ละคลื่นความถี่

  • ลื่น 700 MHz เฉลี่ยคลื่นละ 17,153,000,000 ล้านบาท (3 ชุด) รวม 51,459 ล้านบาท 
    • จำนวนใบอนุญาต 3 ใบ ประมูลได้ทั้งหมด 3 ใบ
    • ผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย สิ้นสุดรอบที่ 20
    • เลือกความถี่แล้วเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านบาท* ทำให้มียอดรวม 51,460 ล้านบาท
  • คลื่น 2600 MHz เฉลี่ยคลื่นละ 1,956 ล้านบาท (19 ชุด) รวม 37,433 ล้านบาท
    • จำนวนใบอนุญาต 19 ใบ ประมูลได้ทั้งหมด 19 ใบ
    • ผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย สิ้นสุดรอบที่ 2
    • เลือกความถี่แล้วเพิ่มขึ้นอีก 269,888,888 บาท* ทำให้มียอดรวม 37,433,888,888 บาท
  • คลื่น 26 GHz เฉลี่ยคลื่นละ 445 ล้านบาท (26 ชุด) รวม 11,570 ล้านบาท
    • จำนวนใบอนุญาต 27 ใบ ประมูลได้ทั้งหมด 26 ใบ (เหลือ 1 ชุด)
    • ผู้เข้าร่วมประมูล 4 ราย สิ้นสุดตั้งแต่รอบแรก
    • เลือกความถี่แล้วเพิ่มขึ้นอีก ทำให้มียอดรวม 11,627,288,889 ล้านบาท
  • รวมสร้างรายได้ 100,521,177,777 บาท ยังไม่รวม VAT

หมายเหตุ

  • คลื่น 1800 MHz ไม่มีรายใดสนใจที่จะประมูล
  • คลื่น 3500 MHz ติดสัมปทานกับไทยคมจนถึง กันยายน 2564
  • หลังจากประมูลแล้ว จะมีการให้แต่ละค่ายเลือกคลื่นความถี่ที่ต้องการ ซึ่งจะต้องมีการจ่ายค่าส่วนต่างเพิ่ม เพื่อให้ได้สิทธิ์เลือกก่อน
  • true จะมีการใส่ตัวเลขที่ลงท้าย 888,888 บาท (เข้าใจว่าตามความเชื่อ หรือให้ดูสวยงามนะ)

ตารางสรุปการประมูลคลื่น 5G ใครได้คลื่นความถี่ใดไปบ้าง (16 ก.พ. 2563)

 

AIStruedtacTOTCATรวมรายได้
700 MHz
2x15MHz
(3 lots)
733-748 MHz/788-803 MHz
17,154 ลบ.
2x5MHz
(1 lot)
733-738 MHz/788-793 MHz
ไม่ได้รับการจัดสรรไม่เข้าร่วมไม่เข้าร่วม34,306 ลบ.
2x10MHz
(2 lots)
738-748 MHz/793-803 MHz
51,460 ลบ.
2x15MHz
(3 lots)
2600 MHz
190MHz
(19 lots)
2500-2690 MHz
19,561 ลบ.
100MHz
(10 lots)
2500-2600MHz
17,872,888,888 บ.
90MHz
(9 lots)
2600-2690MHz
ไม่เข้าร่วมไม่เข้าร่วมไม่ได้รับการจัดสรร37,433,888,888 บ.
190MHz
(19 lots)
26 GHz
2700MHz
(27 lots)
24.3-27.0 GHz
5345 ลบ.
1200MHz
(12 lots)
25.2-26.4GHz
3,576,888,888 บ.
800MHz
(8 lots)
24.3-25.1GHz
910,400,001 บ.
200MHz
(2 lots)
26.8-27.0GHz
1,795 ลบ.
400MHz
(4 lots)
26.4-26.8GHz
ไม่เข้าร่วม11,627,288,889 บ.
2600MHz
(26 lots)
รวม42,060 ลบ.
1310MHz
(23 lots)
21,449,777,776 บ.
890MHz
(17 lots)
910.4 ลบ.
200MHz
(2 lots)
1,795 ลบ.
400MHz
(4 lots)
34,306 ลบ.
20MHz
(2 lots)
100,521,177,777 บ.
2970MHz
(48 lots)


สรุปแล้วจากการประมูลคลื่น 5G ทั้ง 3 ความถี่ 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz ที่สำนักงาน กสทช. เปิดประมูล 49 ใบอนุญาต เคาะขายออกได้ทั้งสิ้น 48 ใบอนุญาต รวมเป็นเงิน 100,193 ล้านบาท 

สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะมีการประชุมร่วมกันเพื่อตรวจสอบและรับรองผลการประมูลวันที่ 19 ก.พ. 2020 ในลำดับถัดไป  โดยการประมูล 5G ครั้งนี้ถือว่าประเทศไทยเองถือเป็นประเทศลำดับต้นๆ ของโลกที่จะใช้ได้คลื่น 5G อีกด้วย

โดยทาง กสทช.คาดการณ์จะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2563 ขั้นต่ำ ประมาณ 177,039 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.02% ของ GDP ในปี 2563 สำหรับในปี 2564 คาดว่าจะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจขั้นต่ำประมาณ 332,619 ล้านบาท และในปี 2565 จะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประมาณ 476,062 ล้านบาท