สำนักงานตำรวจแห่งชาติอัปเดตสถิติแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ปี 2565 – 31 กรกฎาคม ปี 2567 พบยอดแจ้งความสะสมมากถึง 612,603 เรื่อง โดยใน 14 ประเภทคดีออนไลน์พบว่าการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ, การหลอกให้โอนเงินเพื่อสมัครงาน และ การหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์เป็นอันดับต้น ๆ นอกจากนี้ยังแจกฟรี AIS Secure Net นาน 1 ปี เอาไว้เป็นตัวช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ได้อีกแรงนึง
ส่องสถิติ 14 คดีออนไลน์ที่คนไทยโดนหลอกมากสุดปี 2565 – 2567
- หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการไม่เป็นขบวนการ 296,042 คดี
- หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ 82,162 คดี
- หลอกให้กู้เงิน 63,878 คดี
- หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 45,787 คดี
- ข่มขู่ทางโทรศัพท์ (Call center) 42,404 คดี
- หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 25,344 คดี
- หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลฯ 22,342 คดี
- หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบฯ 15,344 คดี
- หลอกลวงเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัล 3,525 คดี
- กระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ฯ 2,306 คดี
- หลอกรักแล้วโอนเงิน (Romance Scam) 4,568 คดี
- หลอกให้ลงทุนความผิดตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน 3,749 คดี
- หลอกซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นขบวนการ 2,966 คดี
- เข้ารหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนอื่น (Ransomware) 547 คดี
แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะว่ายังมีคดีออนไลน์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากนี้อีก 19,760 คดี และจากสถิติรวมคดีออนไลน์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ปี 2565 – 31 กรกฎาคม ปี 2567 มีการแจ้งความทั้งหมด 612,603 เรื่อง สร้างมูลค่าความเสียหายรวมทั้งสิ้น 69,186,829,589 บาท โดยแจ้งความผ่านแต่ละช่องทาง ดังนี้
- แจ้งความทาง ThaiPoliceOnline.go.th จำนวน 324,166 เรื่อง
- แจ้งความแบบ Walk In จำนวน 134,185 เรื่อง
- แจ้งความทางสายด่วน AOC 1441 จำนวน 154,252 เรื่อง
ที่น่าสนใจคือเป็นเรื่องของการอายัดบัญชี ซึ่งก็มีส่วนนึงที่สามารถอายัดได้ทัน โดยแจกแจกข้อมูลได้ ดังนี้
- จำนวนบัญชีที่ขออายัด 463,399 บัญชี
- ยอดเงิน 39,754,813,148 บาท
- อายัดได้ทัน 7,428,020,982 บาท นับเป็น 10.74% ของจำนวนเงินทั้งหมด
6 อันดับประเทศที่มีอาชญากรรมออนไลน์ ปี 2566
- อินเดีย
- ไนจีเรีย
- ซาอุดิอาระเบีย
- สหรัฐฯ
- ออสเตรเลีย
- ไทย
เคสตัวอย่างการหลอกลวงที่เกิดขึ้นในไทย
จริง ๆ ปัจจุบันนี้ คือ แทบจะมีข่าวการหลอกลวงออกมาให้เห็นเกือบทุกวัน เพื่อเป็นการเตือนภัยประชาชนให้ระมัดระวังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นไปจนถึงวัยชราก็ควรที่จะรู้เท่าทันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ซึ่งก็มีตัวอย่างการหลอกลวงที่เคยเกิดขึ้นในไทยมาให้ดู ดังนี้
- เคสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมตัวเป็นตำรวจวิดีโอคอลมาหาเหยื่อ (ส่วนมากใช้เป็นเทคโนโลยี Deep Fake)
- เคสหลอกติดตั้งแอป ทำสูญเงินกว่า 1 ล้านบาท
- เคสหลอกเก็บเงินปลายทาง แต่ส่งพัสดุไม่ตรงปกมาให้
- เคสแฮกบัตรเครดิต เพื่อไปเติมเกมออนไลน์
- เคสจัดฉาก หารายได้เสริม ให้โอนเงินให้ร้านค้า เพื่อแลกเงินคืนในจำนวนที่มากกว่า (อารมณ์เหมือนได้ดอกเบี้ย)
AIS พร้อมแจกฟรี Secure Net นาน 1 ปี
นอกจากนี้ AIS ยังได้มีส่วนร่วมในการปกป้องประชาชนให้รอดพ้นจากภัยออนไลน์ด้วยการแจก Secure Net นาน 1 ปี โดยลูกค้าสามารถดรับได้ที่
- กด *689*6# และกดโทรออก
และเพิ่มทากเลือกให้ลูกค้าด้วยการเพิ่มออพชัน Secure Net+ Protected by MSIG 0จะป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้แก่ ไวรัส, มัลแวร์, เว็บไซต์ปลอม เป็นต้น ซึ่งเมื่อซื้อแพ็กเกจนี้จะได้รับฟรี ประกันภัน Personal Cyber จาก MSIG (มูลค่า 39 บาท/เดือน) ที่จะคุ้มครองพวกการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว, โจรกรรมเงิน ตลอดจนการหลอกลวงรูปแบบอื่น ๆ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท โดยลูกค้าสามารถดรับได้ที่
- กด *689*10# และกดโทรออก
สายด่วนภัยออนไลน์
หากใครที่เจอเหตุด่วนสามารถติดต่อสายด่วน AOC 1441 ซึ่งจะคอยช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง โดยลักษณะการแจ้งก็มีทั้ง
- แจ้งระงับ/อายัดบัญชีคนร้าย
- ติดตามสถานะการแก้ไขปัญหาได้ทุกขั้นตอน
- เร่งติดตามคืนเงินให้ผู้เสียหาย
- เพิ่มประสิทธิภาพการจับกุมและดำเนินคดี
Comment