Android เปิดตัวตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2008 ซึ่งก็เป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว และในอีกไม่กี่สัปดาห์เราน่าจะได้ใช้ Android 15 ตัวเต็มกัน ซึ่งนอกจากจะรอดูว่ามีฟีเจอร์ไหนเด็ดๆ ออกมาบ้างในแต่ละเวอร์ชัน ชื่อของ Android ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนรอเช่นกัน แม้ว่าจะมีการยกเลิกใช้ชื่อขนมหวานมาตั้งชื่ออย่างเป็นทางการตั้งแต่ Android 10 เป็นต้นมา แต่ก็ยังจะได้เห็นชื่อโค้ดเนม ที่นักพัฒนาใช้เรียกกันภายในอยู่ทุกเวอร์ชั่น เราจึงจะพาไปย้อนดู ว่าแอนดรอยด์แต่ละเวอร์ชันมีชื่ออะไรกันบ้าง และขนมหวานที่นำมาตั้งชื่อ มีหน้าตาแบบไหนกัน

Ryan Gibson ผู้จัดการโครงการในขณะนั้น ได้คิดที่จะใช้รูปแบบการตั้งชื่อตามธีมขนมหวาน โดยเป็นการเรียงตามตัวอักษร A-Z โดยเริ่มจาก Android 1.5 ตั้งชื่อว่า Cupcake ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2019 ทาง Google ประกาศจะยุติรูปแบบการตั้งชื่อตามธีมขนมหวาน และใช้การเรียงลำดับตัวเลขแทน ซึ่งรุ่นแรกที่ใช้ตัวเลขเป็นชื่อเวอร์ชันทางการ ก็คือ Android 10 นั่นเอง ซึ่งเปิดตัวในเดือนกันยายน 2019

  • Android 1.0 >> ไม่มีโค้ดเนม
  • Android 1.1 >> ไม่มีโค้ดเนม
  • Android 1.5 >> Cupcake
  • Android 1.6 >> Donut
  • Android 2.0 >> Eclair
  • Android 2.0.1 >> Eclair
  • Android 2.1 >> Eclair
  • Android 2.2.x >> Froyo
  • Android 2.3 – 2.3.2 >> Gingerbread
  • Android 2.3.3 – 2.3.7 >> Gingerbread
  • Android 3.0 >> Honeycomb
  • Android 3.1 >> Honeycomb
  • Android 3.2.x  >> Honeycomb
  • Android 4.0.1 – 4.0.2 >> Ice Cream Sandwich
  • Android 4.0.3 – 4.0.4 >> Ice Cream Sandwich
  • Android 4.1.x >> Jelly Bean
  • Android 4.2.x >> Jelly Bean
  • Android 4.3.x >> Jelly Bean
  • Android 4.4 – 4.4.4 >> KitKat
  • Android 5.0 >> Lollipop
  • Android 5.1 >> Lollipop
  • Android 6.0 >> Marshmallow
  • Android 7.0 >> Nougat
  • Android 7.1 >> Nougat
  • Android 8.0.0 >> Oreo
  • Android 8.1.0 >> Oreo
  • Android 9 >> Pie
  • Android 10 >> Quince Tart
  • Android 11 >> Red Velvet Cake
  • Android 12 >> Snow Cone
  • Android 13 >> Tiramisu
  • Android 14 >> Upside Dawn Cake
  • Android 15 >> Vanilla Ice Cream
  • Android 16 >> Baklava

รายชื่อขนมหวานที่ใช้เป็นชื่อ Android แต่ละรุ่น

แม้จะหยุดตั้งชื่อ Android เป็นชื่อขนมอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เวอร์ชัน 10 แล้ว แต่ว่าทีมนักพัฒนาก็ยังมีการตั้งโค้ดเนมของแต่ละเวอร์ชันเพื่อเรียกกันภายใน เป็นชื่อขนมเฉกเช่นเดิมที่เคยทำมา มาดูว่าขนมหวานแต่ละชนิดที่นำมาตั้งงชื่อ คืออะรกันบ้าง

Android 1.5 : Cupcake

เบเกอรี่ที่มีลักษณะเหมือนถ้วยเล็กๆ มีทั้งแบบมีแค่ตัวเค้กโรยด้วยไอซิ่ง หรือจะตกแต่งหรือใส่ไส้ด้วยรสอื่นๆ ก็ทำได้ ทั้งครีมสด แยม ผลไม้เชื่อม ผลไม้สดต่างๆ นิยมนำไปเป็นของว่างจัดเลี้ยง เพราะหยิบทานง่าย สะดวก

Android 1.5 : Cupcake
Android 1.5 : Cupcake

Android 1.6 : Donut

ขนมรูปวงกลมแล้วมีรูตรงกลาง นวดแป้งขึ้นโดวแล้วนำไปทอดจนฟูหอม จะทอดเฉพาะตัวแป้งทอดเปล่าๆ หรือจะโรยน้ำตาล หรือท็อปปิ้งอื่นๆ ก็ได้ หาซื้อได้ง่าย ตั้งแต่บนห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงตลาดนัด มีหลากหลายแบรนด์จำหน่าย

Android 1.6 : Donut
Android 1.6 : Donut

Android 2.0 : Eclair

เอแกลร์ ขนมที่ทำมาจากแป้งชู เวลาอบข้างในจะเป็นโพรง เมื่อรอทิ้งให้หายร้อน ก็จะนำมาสอดไส้ต่างๆ ในบ้านเราจะทำเป็นกลมๆ เล็กๆ แต่ที่ต่างประเทศ จะนิยมอบแบบยาวๆ ไส้ที่นิยมนำมาใช้ จะเป็นคัสตาร์ดครีม

Android 2.0 : Eclair

Android 2.2 : Froyo

โฟรโย ย่อมาจาก โฟรซเซนโยเกิร์ต (frozen yogurt) เป็นของหวานแช่แข็งคล้ายไอศกรีม ที่มีส่วนผสมหลักคือโยเกิร์ตโดยจะแตกต่างจากไอศกรีมคือมีส่วนประกอบของไขมันที่น้อยกว่า เนื่องจากใช้นมบริสุทธิ์แทนที่ใช้ครีม

Android 2.2 : Froyo

Android 2.3 : Gingerbread

ไทยเราจะเรียกว่า ขนมปังขิง ที่ไม่ค่อยได้ใช้ขิงเป็นส่วนประกอบ เป็นการแปลตรงตัวมาจากคำภาษาอังกฤษ Ginger bread ส่วนมากจะใช้เครื่องเทศพวกอบเชย และถั่วเป็นวัตถุดิบ นิยมอบกินในช่วงเทศกาลคริสต์มาส กินกับชา หรือกาแฟ

Android 2.3 : Gingerbread

Android 3.0 : Honeycomb

รังผึ้ง ขนมหวานที่หลายคนบอกว่าดีต่อสุขภาพ เพราะมาจากธรรมชาติ บ้านเราจะนิยมทานส่วนน้ำผึ้ง น้อยมากๆ ที่จะได้กินทั้งรัง แต่จะมีร้านไอศรีมบางร้าน นำมาใช้เสิร์ฟแบบติดรังคู่กับไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟ

Android 3.0 : Honeycomb
Android 3.0 : Honeycomb

Android 4.0 : Ice Cream Sandwich

ถ้าในบ้านเรา จะเป็นขนมที่เป็นกระแสมากช่วงยุค 80 90 ใครได้ทานไอศครีมแซนด์วิช จะฟินไป 3 วัน 7 วัน เพราะสมัยก่อนถือว่ามีราคาสูงพอสมควร และหาทานได้ยาก จะเป็นการนำไอศครีมมาประกบด้วยคุกกี้บ้าง วัฟเฟิลบ้าง ได้เทกเจอร์การกินที่เย็นๆ สลับความหนึบๆ หรือกรอบ ๆ ของตัววัตถุดิบที่นำมาประกบ

Android 4.0 : Ice Cream Sandwich
Android 4.0 : Ice Cream Sandwich

Android 4.1 >> Jelly Bean

เจลลี่บีน ขนมหวานรูปทรงคล้ายเมล็ดถั่ว สีสันสวยงาม โดยมีส่วนผสมจากน้ำตาล น้ำเชื่อมข้าวโพด และแป้ง ผสมสีและกลิ่นผลไม้ต่างๆ ทำให้มีรสชาติที่ต่างกันไปในแต่และสี โดยมีต้นกำเนิดจาก ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

Android 4.1 >> Jelly Bean

Android 4.4 >> KitKat

ขนมเวเฟอร์เคลือบช็อกโกแล็ต ที่คงไม่มีใครไม่รู้จัก ซึ่งมีสตอรี่ในการตั้งชื่อของเวอร์ชั่นว่า จริงๆ แล้ว Key Lime Pie เป็นชื่อที่คิดเอาไว้ตอนแรก แต่ว่าน้อยคนที่รู้จักรสชาติของมัน จึงมีคนเสนอชื่อ KitKat ขึ้นมา เพราะเป็นขนมที่เหล่านักเขียนโค้ดของ Android ชอบกันอยู่แล้ว หลังจากได้เคาะชื่อกันแล้ว ว่าจะใช้ชื่อนี้ Google จึงได้ติดต่อ Nestle ว่าอยากทำการตลาดร่วมกันไหม และข้อตกลงก็เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วใน 24 ชม. เราจึงได้เห็นรูปน้องด๋อยบนแพ็คเกจของ KitKat นั่นเอง อ่านเรื่องราวนี้เพิ่มได้ที่ >> Android KitKat ดีลนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงิน! 

Android 5.0 >> Lollipop

Android 4.4 >> KitKat

Android 6.0 >> Marshmallow

มาร์ชแมลโลว์ ขนมหวานที่มีลักษณะนุ่มฟู มีรสหวาน หนุบหนิบเวลาเคี้ยว ในปัจจุบันทำมาจากน้ำตาล, น้ำ เจลาติน แล้วเคลือบด้วยแป้งข้าวโพดกันติด มีทั้งแบบสอดไส้แบบไม่มีไส้ จะกินเปล่า หรือนำไปย่างไฟ หรือจะโรยบนเครื่องดื่มร้อน อย่างเช่น ช็อกโกแล็ตร้อน นมร้อน ก็อร่อยไปอีกแบบ แต่ว่าที่มาของชื่อมาร์ชแมลโลว์ เพราะว่าสมัยก่อนขนมชนิดนี้ ทำมาจากต้นมาร์ชแมลโลว์จริงๆ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป กระจายพันธุ์จนถึงเอเชียตะวันตกและแอฟริกา

Android 7.0 >> Nougat

นูกัต ขนมหวานที่ทำมาจากน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง, ถั่ว (ส่วนมากนิยมใช้อัลมอนด์, วอลนัต, พิสตาชีโอ, เฮเซลนัต และแมคาเดเมีย), ไข่ขาว และบางครั้งใส่ผลไม้แห้ง เนื้อมีลักษณะเคี้ยวหนึบ

Android 7.0 Nougat

Android 8.0 >> Oreo

บิด ชิมครีม แล้วจุ่มนม หลายๆ คนน่าจะคุ้นประโยคเหล่านี้ จากโฆษณาโปรโมท คุกกี้สีดำสอดใส่ครีมสีขาว ที่ฮิตตั้งแต่เปิดตัว จนถึงปัจจุบัน ปั่นกับนมรสจืดคือเดอะเบสต์ เพราะตัวไส้ครีมหวานมากกกก ไม่ต้องเติมน้ำเชื่อมเพิ่ม เพื่อกลายเป็นภาระคุณหมอ

Android 9 >> Pie

จะเรียกว่าเป็นขนมหรืออาหารก็ได้ เพราะทำได้ทั้งแบบคาวและแบบหวาน

หลังจาก Android 10 ไปจะเป็นโค้ดเนมที่นักพัฒนาใช้เรียกกันภายใน

Android 10 >> Quince Tart

วิธีการทำเหมือนทาร์ต แต่ต่างกันตรง ขอบจะมีการพับเข้า คล้ายๆ การควินซ์ผ้า

Android 11 >> Red Velvet Cake

เค้กเนื้อสีแดง รสหวานอมเปรี้ยว เพราะตัวครีมที่นำมาตกแต่งจะใช้เป็นครีมชีส ไม่ใช่บัตเตอร์หรือวิปปิ้งครีม ส่วนสีแดงของเนื้อเค้ก บางทีก็มาจากบีทรูท หรือสีผสมอาหาร ตามแต่ร้านนั้นๆ จะใช้

Red Velvet Cake

Android 12 >> Snow Cone

ไอศครีมเกล็ดหิมะ ฟีลน้ำแข็งไสบ้านเรา แต่ว่าจะราดแค่น้ำหวาน ไม่ได้มีราดนมหรือกะทิ หรือมีท็อปปิ้งต่างๆ เหมือนไทยเรา แต่ก่อนจะใส่ในกรวยอัดแน่นๆ ทานเหมือนไอศครีม แต่ตอนนี้ ก็มีเปลี่ยนภาชนะที่ใส่ไปตามสมัย

Android 13 >> Tiramisu

ขนมหวานรสกาแฟยอดฮิต ที่น้อยคนจะไม่รู้จัก มีถิ่นกำเนิดจากอิตาลี ก่อนจะโด่งดังไปทั่วโลกแม้แต่ไทยเรา ก็เป็นขนมขายดีในหลายๆ ร้าน ตัวขนมจะประกอบไปด้วยเท็กเจอร์ที่มีทั้งความกรอบและนุ่มละมุน

Tiramisu

Android 14 >> Upside Down Cake

เบเกอรี่อบแบบกลับด้าน โดนจะวางเรียงท็อปปิ้งหรือหน้าไว้ด้านล่าง ก่อนจะเทเนื้อแป้งลงไป จากนั้นนำเข้าอบ เวลาเสิร์ฟก็กลับด้านขึ้น ตัวท็อปปิ้งก็จะกลับมาอยู่ด้านบนนั่นเอง ตัวท็อปปิ้งมักนำผลไม้เชื่อมมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นสับปะรด พีช แพร์ เชอร์รี่

Upside Down Cake

Android 15 >> Vanilla Ice Cream

ไอศกรีมวานิลลา ไอศกรีมรสชาติพื้นฐานที่ทุกร้านต้องมี แล้วทุกคนน่าจะเคยลิ้มลองมาบ้าง เหมือนกลายเป็นรสออริจินัลขนมหวานเย็นหมวดนี้ไปแล้ว ด้วยรสและสัมผัสนุ่มๆ นวลๆ จากนม ที่ผสมกลิ่นหอมอ่อนๆ จากวานิลลา ยิ่งเป็นวานิลลาจากฝักแท้ๆ ไม่ใช่แบบแต่งกลิ่น ยิ่งหอมละมุนสุดๆ

Vanilla Ice Cream

Android 16 >> Baklava

บาคลาวา (Baklava) เป็นขนมหวานที่มีต้นกำเนิดมาจากจักรวรรดิออตโตมัน ปัจจุบันนิยมรับประทานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แล้วยังเป็นขนมขึ้นชื่อของเมืองกาเซ็นเทรป ประเทศตุรกี มีลักษณะคือ เป็นขนมที่ทำด้วยแผ่นฟีลโลเป็นชั้นบางๆ กรอบๆ ซ้อนกันคล้ายๆ พาย สอดไส้ด้วยถั่วเปลือกแข็งบด เช่น พิสตาชิโอ วอลนัท หรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผสมกับน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง รสชาติหวานมัน กรอบนอก นุ่มใน

ว่าแต่นอกจากขนมที่นำมาจะน่ากินทุกอย่าง ใช้ Android กันมาตั้งแต่เวอร์ชันไหน แล้วชอบอะไรมากที่สุด

ที่มา : android