มาเร็วเกินคาดสำหรับ Android Q Beta หรือ Developer Preview 1 (DP1) ในรอบนี้ ซึ่งทาง Google เองก็ได้มีการปรับปรุงระบบปฏิบัติการณ์ยอดฮิตของโลกใหม่ในหลายๆ ด้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ก็คือเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy), การใช้งาน (User Features) และเรื่องของภาพและเสียง (Imaging)

Privacy ความเป็นส่วนตัวคือเรื่องใหญ่

Android Q มีการปรับเปลี่ยนเรื่องสิทธิ์ของ App Permission ใหม่ คล้ายๆ กับใน iOS คือสามารถเลือกได้ว่าจะให้สิทธิ์นั้นๆ ตลอดเวลา, เฉพาะตอนใช้งาน หรือไม่ให้สิทธิ์เลย เช่นแอปเรียกรถหรือส่งอาหารที่ขอสิทธิ์เข้าถึงตำแหน่งหรือ Location Service นั้น เราอาจจะเลือกให้เฉพาะตอนที่ต้องการเรียกรถ หรือส่งอาหารเท่านั้น

ส่วนแอปที่ขอสิทธ์เข้าถึงรูปภาพและวิดีโอหรือไฟล์เสียง ก็จะไม่ได้สิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์โดยตรง แต่ต้องผ่านระบบ System File Picker เพื่อป้องกันแอปที่อาจจะแอบทำงานในเบื้องหลัง นอกจากนั้นใน Android Q ยังจำกัดการเข้าถึง IMEI, Serial number และการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นการยืนยันอุปกรณ์ แถมยังมีระบบสุ่ม MAC Address เวลาเชื่อมต่อ Wi-Fi อีกต่างหาก

 

User Features ฟีเจอร์ในการใช้งานใหม่ๆ

ระบบ Sharing Shortcut หรือทางเลือกในการแชร์ข้อมูลนั้นถูกเปลี่ยนใหม่ นักพัฒนาสามารถสร้างทางลัดที่ชอบและวางไว้ในอันดับต้นๆ ของตัวเลือกได้

หน้าจอ settings แบบใหม่สามารถเปิดซ้อนทับขึ้นมาเป็น Floating UI ได้ผ่านฟีเจอร์ Slice ที่ถูกแนะนำไปเมื่อตอน Android 9 Pie

โดยใน Android Q นั้นจะสามารถโชว์การเชื่อมต่อเครือข่าย, NFC , ระดับเสียง หรือค่าอื่นๆ เช่น Airplane Mode โดยทั้งหมดนี้จะถูกเรียกซ้อนทับขึ้นมาในหน้าแอป ไม่ต้องกระโดดออกจากแอปไปที่การตั้งค่าเหมือนเมื่อก่อน

เห็นหน้าจอแบ่งครึ่งแปลกๆ ได้แบบนี้ แน่นอนว่ามันคือฟีเจอร์ที่รองรับมือถือจอพับหรือ Foldable Display นั่นเอง พอเป็นมือถือจอเดียวมันก็เลยจดูแปลกๆ แต่ถ้านึกภาพว่ามันคือ Galaxy Fold หรือ Huawei Mate X ก็น่าจะเห็นภาพมากขึ้นว่าแอปนึงอยู่จอซ้าย ส่วนอีกแอปอยู่จอขวา

 

Imaging การปรับปรุงด้านภาพ

Depth Map มาแล้วจ้า ใน Android Q แอปสามารถเรียกข้อมูลภาพ JPG และรายละเอียดของความลึกใน XMP Meta data ได้ โดยจะฝังอยู่ในไฟล์เดียวกัน ซึ่งจะช่วยในการปรับภาพและการทำ Bokeh ต่างๆ รวมถึงภาพ 3 มิติหรือภาพ AR โดยทาง Google พยายามทำให้เป็น Open format และกำลังเจรจากับค่ายมือถือให้มาร่วมทำให้มันเหมือนกันเป็นมาตรฐานเดียว

Android Q ยังรองรับไฟล์วิดีโอใหม่ AV1 open source video codec ที่บันทึกไฟล์ความละเอียดสูงได้โดยใช้แบนด์วิทธ์น้อยลง พร้อมกับการรองรับไฟล์แบบ HDR10+ และการบันทึกเสียงและเพลงบน Opus codec

 

สำหรับใครที่สนใจอยากทดสอบ Android Q Beta DP1 ก่อนใคร งานนี้ต้องบอกว่ายังจำกัดให้กับเฉพาะ Pixel เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Pixel ตัวไหนรุ่นใด ก็สามารถเข้าร่วมโครงการ Android Beta ได้ ตามนี้เลย >> วิธีอัพเดท Android Q Beta

 

source : 9to5google