ตามติด “แท็บเล็ตนักเรียน” ที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ ออกมายอมรับว่าแป้ก!

ตอนแรกว่าจะไม่เขียนข่าวนี้ แต่ก็ต้องขอเขียนซะหน่อย เพราะมันเป็นเรื่องใกล้ตัวของลูกๆ หลานๆ เราทั้งนั้น นั่นก็คือเรื่องราวของแท็บเล็ตนักเรียน ที่ตอนนี้ รมว. กระทรวงศึกษาธิการ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ออกมายอมรับแล้วว่ายังไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะใช้ประกอบการสอนได้เพียง 20% เท่านั้นเองมีการวิจัยจากสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เก็บจากนักเรียนที่ใช้แท็บเล็ทในปี 2554-2555 พบว่าข้อดีของการใช้แท็บเล็ต คือ เด็กสนุกสนานมีแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ส่วนปัญหาที่พบ คือ เนื้อหาในแท็บเล็ตกับหนังสือเรียนเหมือนกัน และปัญหาทางเทคนิค เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว เครื่องร้อน และหลายพื้นที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ รวมถึงครูบางส่วนยังไม่มีแท็บแล็ต และไม่มีทักษะด้านไอทีทำให้ไม่สามารถสอนนักเรียนได้ (อ้างอิงจาก posttoday)ซึ่งปัญหาเหล่่านี้ทางเราได้เคยวิเคราะห์เอาไว้แล้วว่ามันต้องเกิดแน่ๆ เพราะทีมงานเองก็สนใจและติดตามโครงการ OTPC มาตลอด และเห็นเม็ดเงินส่วนใหญ่ หว่านลงไปในด้านของแท็บเล็ตล้วนๆ คือจะต้องประมูลนะต้องสั่งซื้อมาให้ได้ ส่วนการลงทุนในด้านของ software หรือระบบหลังบ้านที่จะนำมาใช้ควบคู่กันนั้นแทบจะไม่เห็นเม็ดเงินหลุดออกมาหรือเป็นข่าวให้ได้ยินเลย ด้านเนื้อหาที่เตรียมมาในตอนแรกนั้นก็เห็นแค่เอาไฟล์สื่อการสอนต่างๆ ที่เป็น flash บ้างเป็น video บ้าง มาแปลงลงแท็บเล็ทเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะมาตามติดเรื่องระบบหลักสูตรการสอนและระบบหลังบ้านของ OTPC...