โปรแกรมเมอร์ในสมัยนี้ถือว่าเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด แต่ว่าจำนวนโปรแกรมเมอร์ในไทยนั้นมีจำนวนน้อยมาก และโปรแกรมเมอร์ที่มีคุณภาพก็ยิ่งน้อยลงไปใหญ่ ในทางกลับกันโปรแกรมเมอร์ก็อยากได้งานที่ดีๆ ทำเช่นเดียวกัน วันนี้ทาง สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย จึงได้จัดงาน Code Mania 11 : Raise The Bar รวมพลคนบ้าโค้ด เพื่อที่จะยกระดับและช่วยเหลือเหล่าโปรแกรมเมอร์ในประเทศไทยครับ
ถึงแม้ว่างานครั้งนี้มีชื่อว่า Code Mania 11 แต่ที่จริงแล้วเป็นการจัดงานครั้งที่ 3 เท่านั้น ซึ่งถ้าใครรู้เรื่องฐานก็จะร้อง”อ๋อ”ขึ้นมาเลยทีเดียว เพราะเลข 3 นั้นเมื่อแปลงเป็นเลขฐานสอง (binary) จะเท่ากับเลข 11 (เลข 1 สองตัว) นั่นเอง โดยภายในงานครั้งนี้ก็มีแขกรับเชิญพิเศษมากมาย ส่วนแขกพิเศษก็คือ คุณภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (บอย) CTO ของ Wongnai ที่มาพูดเรื่องระบบที่ Wongnai ใช้ นอกจากนี้ก็มี Akexorcist ของเรามาพูดเกี่ยวกับเรื่อง Android Layout ในงานครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
สำหรับ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย นั้นถูกจดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งทางสมาคมนั้นจะคอยให้ความช่วยเหลือเหล่าโปรแกรมเมอร์ในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ต่างๆ ดังนี้
- เสริมทักษะ
- สร้างเครือข่าย
- ยกระดับภาพลักษณ์
- ช่วยเหลือนักพัฒนาและผู้ว่าจ้าง
- สร้างพื้นที่และโอกาสใหม่ๆ
- สนับสนุนและจัดกิจกรรม
ทาง สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ทำการเปิดให้สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ในราคาเริ่มต้นที่ 300 บาท ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดในคอร์สเรียนเป็นต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมโปรแกรมเมอร์และวิธีการสมาชิกนั้นสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiprogrammer.org ครับ
หากว่าใครเป็นโปรแกรมเมอร์หรือว่าอยากเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมก็ถือว่างาน Code Mania นี้เป็นงานที่ไม่ควรพลาดเลยละครับ เพราะได้ทั้งความรู้มากมาย แถมยังได้เจอกับเพื่อนใหม่ๆ ด้วยครับ ซึ่งถือว่าจำเป็นอย่างมากในสายงานโปรแกรมเมอร์ครับ
อยากให้โรงเรียนมัธยมในไทยสอนวิชาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ อ่านข่าวเห็นมะกันจะให้เป็นวิชาบังคับแล้ว
กำแพงความยาก ค่านิยม ฯลฯ ยังไม่ขอเอ่ยถึงนะครับ
แต่ต้องทะลายกำแพงแรกไปได้ก่อนคือ กำแพงภาษาครับ
การ code มันใช้ภาษาอังกฤษทั้งนั้น error / debug ภาษาอังกฤษหมด (ไม่รวมถึง help และ internet forum ต่างๆ อย่างพวก stackoverflow)
ส่วนหนึ่งที่ผมมักพบบ่อย ๆ ในกลุ่มคนหัดเขียน หรือกระทั้งเด็กวิทย์คอมฯ ที่ต้องเรียนในระดับเริ่มต้นคือ อ่านเมนูไม่ออก ไม่เข้าใจ ตีความ error / debug ไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เพราะไม่อ่าน แต่อ่านแล้วไม่ออกไม่เข้าใจ (ยังไม่รวมถึงการไม่ขวนขวายหาคำแปลคำอธิบายนะ) ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่ศัพท์ยากเลย แต่อาจจะเฉพาะทางไปบ้าง แต่พอเด็กเจอภาษาอังกฤษ ก็ช็อคแล้วครับ กดข้าม ๆ สอนกันเป็นนกแก้วนกขุนทองไป พิมพ์ตามตัวอย่าง กดรัน ผ่านก็จบ ไม่ผ่านก็เกาหัว เรียกเพื่อนเรียนอาจารย์มาช่วย
ก็หวังไว้ว่าใน 5-10 ปีนี้เด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับยุค AEC จะไม่เจออุปสรรคทางภาษาแล้ว
ผมส่งลูกเรียนอินเตอร์เลยครับ แพงแต่ได้ภาษากับได้แสดงออก
ถ้าตามหลักสูตรเดิม แล้วยัดเพิ่ม เด็กจะรับไม่ไหวเอา สุดท้ายก็จบมาแบบไร้คุณภาพ
กลายเป็นแค่หลักสูตรแฟชั่น จ่ายครบจบแน่
ม.ปลาย เอาแค่ให้เข้าใจ Eng, Math, ฟิสิกส์ จริง ๆ จบมาต่อสายวิทย์คอม , software, CG มันก็ไม่สายหรอก