อย่างที่หลายๆคนรู้กันว่า dtac ได้รับการเลือกจากทาง TOT ให้มาเป็นคู่ค้านำเอาคลื่น 2300MHz ที่ทางทีโอทีมีอยู่เตรียมเอาออกมาให้บริการกัน แต่หลายๆคนน่าจะมีคำถามที่เกิดขึ้นในหัวมากมายในความร่วมมือนี้ และเท่าที่เห็นก็มีความเข้าใจผิดในหลายๆส่วน ทางผมจึงขอรวบรวมข้อมูลที่ได้จากงานแถลงข่าวมาเล่าสู่กันฟังเพื่อผู้ใช้ทั่วไป และเหล่านักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจว่าการมาของคลื่น 2300 MHz นี้ จะมีผลทำให้ dtac น่าใช้และน่าลงทุนมากขึ้นขนาดไหนครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดีลคลื่น 2300 MHz ระหว่าง TOT – Dtac

  • คลื่นความถี่ 2300 MHz (B40) ช่องสัญญาณกว้าง 60MHz ความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด  300Mbps
  • ให้บริการในระบบ 4G LTE-TDD (ที่ให้บริการในเมืองไทยก่อนหน้านี้เป็น FDD ทั้งหมด)
  • ดีแทคจะเป็นคนจัดให้มีสถานีฐานมากกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ
  • dtac จะใช้งานโครงข่ายเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น อีก 40 ที่เหลือ TOT จะใช้ทำของตัวเอง, MVNO, และ Fixed Wireless Broadband
  • dtac จะสร้างรายได้ให้ TOT ปีละ 4,510 ล้านบาท
  • TOT สามารถใช้งานคลื่นนี้ได้ถึงปี พ.ศ. 2568 หรืออีก 8 ปี

ลูกค้า Dtac จะได้ใช้คลื่นเร็วสุดปีหน้า หรืออาจจะไม่ได้เลย…

มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในข่าวนี้กันเยอะ(รวมถึงผมเองในตอนแรกด้วย)ว่า Dtac เตรียมขยายสัญญาณบนคลื่น 2300MHz และเปิดให้ใช้งานเร็วๆนี้ แต่ในความจริงคือ ทั้งสองฝ่ายยังไม่ตกลงเซ็นสัญญากันเลยด้วยซ้ำ การประกาศในตอนนี้เป็นเพียงแค่การประกาศจากทาง TOT ว่าเลือก Dtac มาเป็นคู่ค้าในการสร้างเครือข่ายบนคลื่น 2300MHz แต่ในทางปฎิบัติแล้วยังต้องมีการคุยในรายละเอียดของสัญญา ส่งเรื่องขึ้นบอร์ดของ TOT และรายละเอียดยิบย่อยทางราชการอีกมากมาย ซึ่งมีความเป็นห่วงว่าสัญญาของทั้งสองฝ่ายนี้อาจจะเป็นไปได้ยากเพราะมีบางคนไม่อยากให้ดีลนี้เกิด และหาทางทำบางอย่างเพื่อล้มดีลนี้ให้ได้

อย่างไรก็ดี ทางคุณมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัททีโอที ได้ให้สัมภาษณ์ในงานแถลงข่าวนี้ว่าดีลนี้น่าจะไม่มีปัญหาอะไร มีการใช้ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ หลักการและเหตุผลที่หนักแน่นพอ คาดว่าจะบรรลุข้อตกลงทั้งหมดได้ในไตรมาส 4 (ต.ค. – ธ.ค.) ของปีนี้ตามแผนที่วางเอาไว้ได้

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการเปิดเผยว่าการติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณของ Dtac นี้ จะใช้เสาของ TOT ที่มีอยู่เลยได้หรือไม่ แต่ทาง dtac จะเริ่มเตรียมการทันทีตั้งแต่ตอนนี้เมื่อเซ็นสัญญาเรียบร้อยก็จะเริ่มลงเน็ตเวิร์คอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงลูกค้าดีแทคก็น่าจะได้เริ่มใช้งานจริงได้ภายในต้นปีหน้า (พ.ศ. 2561) นี้เลยครับ

คลื่น 2300 MHz จะช่วยให้คนเมืองใช้งานได้ดีขึ้น

ด้วยลักษณะของคลื่น 2300 MHz ไม่สามารถกระจายสัญญาณได้ไกลเหมือนคลื่นความถี่ต่ำ ทำให้การพัฒนาคุณภาพสัญญาณในพื้นที่ห่างไกลอาจจะทำได้ยาก หรือต้องลงทุนเป็นอย่างมากเพื่อให้สัญญาณมีความครอบคลุม ใครอยู่ในตัวเมืองที่มีการลงเสาสัญญาณก็น่าจะเห็นผลชัดเจน ความเร็วพุ่งปรี๊ด แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ห่างไกลคงต้องรอติดตามกันต่อไป แต่ตามสัญญาที่ทาง Dtac ได้ให้ไว้กับทาง TOT ก็คือจะต้องพัฒนาสัญญาณให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งประเทศ (ตัวเลขของทาง AIS – True จะอยู่ที่ราวๆ 90 นะ :P)

lte coverage range comparison

infographic จากทาง Verizon แสดงให้เห็นถึงระยะความครอบคลุมของสัญญาณในแต่ละคลื่นความถี่ โดยความถี่สูงจะมีระยะสัญญาณที่ค่อนข้างสั้น และคลื่นความถี่ต่ำจะมีระยะที่ไกลกว่า 2-3 เท่า ทำให้การลงทุนเพื่อวางเครือข่ายคลื่นความถี่สูงจะต้องใช้เงินมากกว่าเพื่อให้ได้ความครอบคลุมของสัญญาณที่เท่ากัน

มีโทรศัพท์ที่รองรับคลื่น 4G LTE TDD เยอะขนาดไหน

ตรงนี้เราได้ทำการรวบรวมข้อมูลเอาไว้ให้แล้ว สามารถไปติดตามกันเพิ่มเติมได้ที่ รายชื่อมือถือ 125 รุ่นที่รองรับ 4G บนคลื่น 2300 MHz ของ TOT และ dtac

dtac 4G 2300 MHz

ช่องสัญญาณ 60 MHz ในระบบ TDD เท่ากับเท่าไหร่ของ FDD?

เป็นเรื่องที่เข้าใจคลาดเคลื่อนกันเยอะอีกเช่นกันว่า 60MHz ที่ dtac ได้รับมานี้ จะมีจำนวนมากกว่าคลื่น 1800MHz ที่ทาง AIS – truemove ประมูลได้ไปถึง 4 เท่า แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้านับตามคลื่นที่ถือครองจริงๆ AIS – true จะมีจำนวนคลื่นที่ถือครองไม่ได้ต่างจาก dtac ขนาดนั้น เพราะคลื่นที่ AIS และ true มีนั้นอยู่ในระบบ FDD ที่จะมีคลื่นคู่ในจำนวนเท่ากันสำหรับ Uplink อยู่ด้วย กล่าวคือ

คลื่น 1800MHz ที่ประมูลไปรวม 30MHz และ AIS – True ได้ไปคนละ 15MHz นั้น จะมีคลื่นจริงรวม 60MHz เพราะการนำคลื่นไปใช้จะมีเป็นคู่สำหรับ Downlink (download) และ Uplink (upload) อย่างละ 30MHz ทำให้ทาง AIS – True ต่างจะมีคลื่นจริงรวมเป็น 30MHz นั่นเอง

Thailand frequency spectrum allocation

มาดูการถือครองคลื่นความถี่ในแต่ละช่วงกัน จะเห็นว่าในแบบ FDD จะมีการถือครองคลื่น 2 ช่วงเสมอ เพราะคลื่น FDD ต้องมีช่วงคลื่นคู่นั่นเอง ซึ่งจะมีจำนวนเป็นอีกเท่าตัวของคลื่นที่มี

  • 1800MHz @ 30MHz จะมีคลื่นในมือจริง 60MHz (DL 30MHz : UL 30MHz)
  • 900MHz @ 20MHz จะมีคลื่นในมือจริง 40MHz (DL 20MHz : UL 20MHz)

การที่ช่วงคลื่น 2300MHz ของ TOT ถูกเรียกเป็น 60MHz แบบเต็มๆไปเลยนี่ก็เพราะในระบบ TDD ทางผู้ให้บริการสามารถจัดสรร Uplink และ Downlink ได้เป็นอิสระมากกว่า FDD ที่ต้องแบ่งใช้เท่าๆกัน ซึ่งเรื่องนี้ถ้ามีโอกาสจะมาอธิบายเพิ่มเติมภายหลังนะครับ เพราะยาวใช้ได้อยู่ ส่วนเรื่องความเร็วที่ 4G LTE TDD ที่ dtac จะเลือกใช้นั้น สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ราวๆ 300Mbps โดยใช้เทคโนโลยี 2CA 40MHz, 2×2 MIMO, 256/64 (กดลิงก์อ่านรายละเอียดของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้)

ค่าใช้จ่ายที่ dtac จ่ายให้ TOT แพงขนาดไหน?

สรุปต้นทุนด้านใบอนุญาตของแต่ละเครือข่าย และสัมปทานใบอนุญาตที่มีในมือ

frequency

(MHz)

bandwidth

(รวม)

expire

(ค.ศ.)

value

(ล้านบาท)

avg.cost / year

(ล้านบาท)

avg.cost / 5MHz / year

(ล้านบาท)

AIS

900 10MHz (20) 2030 75,6545,043.61260.9

1800

15MHz (30)

2033

40,986

2,277

379.5

2100

15MHz (30)

2027

14,625

975

162.5
(TOT)

2100

15MHz (30)

2025

31,200

3,900

650

DTAC

850

10MHz (20)

2018

สัมปทาน

ส่วนแบ่งรายได้ 30%

N/A

1800

25MHz (50)

2018

สัมปทาน

ส่วนแบ่งรายได้ 30%

N/A

2100

15MHz (30)

2027

13500

900

150
(TOT)

2300

60MHz2025 36,0804,510375.8

TRUE

850

15MHz(30)

2025

4350

(ซื้อ Hutch)

310

51.67

900

10MHz(20)

2030

76,298

5086.53

1271.63

1800

15MHz(30)

2033

39,792

2210.67

 368.44

2100

15MHz(30)

2027

13,500

900

150

จากข้อมูลข้างต้น เมื่อนำเอามูลค่าของข้อเสนอที่ทาง Dtac ยื่นให้ทาง TOT ที่ 4,510 ล้านบาทมาหารเฉลี่ยเทียบเป็นต่อ 5MHz แล้วนั้น ก็จะมีมูลค่าใกล้เคียงกับของคลื่น 1800MHz ที่ทาง AIS – Truemove H ประมูลไปได้เมื่อปี 2015 ซึ่งก็นับว่าเป็นมูลค่าที่แพงไปสักนิดนึง แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีคลื่นให้ใช้ในมือเลย ในวันที่อนาคตไม่แน่นอนเช่นนี้