ในที่สุดก็เดินทางมาถึงตอนจบสักทีสำหรับคดีใหญ่ที่ทาง Oracle ได้ฟ้อง Google ไปตั้งแต่ปี 2010 กรณีที่มือถือระบบปฏิบัติการ Android ละเมิดลิขสิทธิ์ในการใช้ Java Codes คิดเป็นมูลค่าความเสียหายร่วม 3 แสนล้านบาท ซึ่งล่าสุดศาลสูงสุดสหรัฐฯ (US Supreme Court) ได้ตัดสินแล้วว่า Google ชนะคดีด้วยคะแนน 6 ต่อ 2 เสียง
คดี Oracle ฟ้อง Google เริ่มต้นได้ยัง ?
ก่อนอื่นต้องขอเท้าความกันสักนิดในช่วงแรกก่อนที่จะเกิดคดีความใหญ่โตนี้ คือทาง Oracle ได้เข้าซื้อกิจการ Sun Microsystems ซึ่งแต่ก่อนเป็นเจ้าของภาษา Java อยู่ในขณะนั้นในปี 2010 หลังจากนั้นไม่นาน Oracle ก็ได้ยื่นฟ้อง Google ข้อหาละสิทธิ์แอบใช้ Java API Codes ความยาวกว่า 11,000 บรรทัดโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเอาไปพัฒนาระบบปฏิบัติการ Android คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสมัยนั้นกว่า 9,000 ล้านเหรียญ หรือราว 280,000 ล้านบาท
ในช่วงแรก ศาลชั้นต้นตัดสินให้ Google ชนะคดี เพราะเป็นการใช้โดยชอบธรรม (fair use) แต่ทาง Oracle ก็ยังยื่นฟ้องศาลอุทธรณ์ต่อ กลายเป็นว่าศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ Google แพ้คดี เพราะกูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์ที่เป็นของ Oracle โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการใช้งานเพื่อการพาณิชย์อีกต่างหาก
คำตัดสินศาลสูงสุด
พอมาถึงศาลสูงสุด ศาลตัดสินว่า Google ได้คัดลอกโค้ดบางส่วนของ Java เฉพาะในส่วนของ Open Source เพื่อไปใช้ในระบบ Android จริง ซึ่งถ้ามองเป็นกรณีแนวคิดละเมิดลิขสิทธิ์แบบดั้งเดิมมันอาจจะผิด แต่ถ้ามองแบบในโลกของเทคโนโลยีนั้นอาจจะไม่ละเมิดหรือดูไม่แฟร์เท่าไร เพราะโค้ดส่วนนี้ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรม และทาง Google เองก็นำอินเทอร์เฟซนี้มาปรับใช้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ เท่านั้น เพื่อทำให้เกิดโปรแกรมใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของโปรแกรมให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้น การคัดลอกโค้ด Java ของ Google เป็นการใช้เนื้อหาดังกล่าวโดยชอบธรรมตามกฎหมาย
ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ Austin Powers ที่ถูกมองเป็นหนังล้อเลียนเจมส์บอนด์ 007 มากกว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ลอกมาทั้งดุ้น แม้ว่าจะเป็นหนังสายลับเหมือนกันก็ตาม โดยสุดท้ายแล้วศาลสูงสุดก็ตัดสินว่า Google ชนะคดีไปด้วยคะแนนเสียง 6:2 ดังการที่กูเกิ้ลเอาโค้ด Java มาใช้ตามที่ฟ้องมานั้นถือว่าไม่ผิด เพราะเป็นการใช้ประโยชน์โดยชอบธรรม (fair use) และไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตัวโค้ดด้วย
เรียกได้ว่าคำตัดสินของ ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะที่สำคัญต่อผู้บริโภคและนักพัฒนาโปรแกรม เพราะจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาโปรแกรมต่างๆ และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาได้มากขึ้นนั่นเอง โดยเพื่อน ๆ สามารถไปอ่านคำตัดสินของศาลทั้งหมดได้ ที่นี่
ที่มา : axios androidpolice
นั่นคือ Harmony OS ก็มีความชอบธรรมด้วยไปในตัว 555
จริงๆ มันไม่ผิดอยู่แล้วนะครับ เพราะ AOSP เป็น open source ใครจะเอาไปใช้ก็ได้ แต่ที่คนเขาว่าๆกัน น่าจะเพราะตอนแรกบอกว่าจะทำใหม่ขึ้นมาเองเลยมากกว่า
Harmony OS เสียแค่ตรงที่โม้ไว้เยอะแค่นั้นเองครับ แต่ไม่ได้ทำผิดหรือไม่ดีอะไร
การลงทุนสร้าง OS ใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจากศูนย์มันไม่ได้ถูกๆ (ขนาด Android หรือ iOS เองก็ไม่ได้เริ่มจากศูนย์) เพราะงั้นการเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วและเป็น Open Source อย่าง AOSP มาพัฒนาต่อก็เป็นเรื่องที่ทำได้และเข้าใจได้
และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เอา AOSP ไปโมเป็นอย่างอื่น พวกอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นระบบเดียวกับ Android แต่ไม่มี Google นั่นก็เอา AOSP มาโมแทบทั้งนั้นครับ ทั้งมือถือที่ขายในจีนเอง หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ใช่มือถือ เช่น e-reader, dap อะไรพวกนี้
ที่เค้าแซวหรือด่า Harmony OS เพราะดันปากดีเองนี่แหละครับ ตอนแรกบอกว่าจะทำขึ้นเองใหม่ทั้งหมด แต่เอาเข้าใจจริงมันไม่ใช่
ถ้าบอกแบบนี้แต่แรกว่าเราจะ folk AOSP ออกมาเป็นของเราเพื่อยังคงความเข้ากันได้อยู่ มันก็จบแบบเท่ห์ๆไปแล้ว
ทั้งนี้ทั้งนั้นการชนะหรือแพ้คดี ไม่ได้มีผลอะไรกับภาษา Kotlin นะ (ดักไว้ก่อน)
บางทีสิทธิบัตรก็ขวางทางการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ