งาน Thailand Mobile Expo 2011 Hi-End ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้(2) – 5 มิถุนายน ต้องบอกว่าหลายๆคนคงเตรียมตัวทุบกระปุกเพื่อสอยเอาแอนดรอยด์ตัวใหม่ไปใช้คู่กายสักเครื่อง และแน่นอนว่าหลายๆคนก็มักจะมีคำถามว่าตัวไหนล่ะที่เหมาะสมกับเราที่สุด และถามกันมาบ่อยเหลือเกินจนหลายๆครั้งคนตอบก็ไม่ไหวจะเคลียร์ที่ตอบซ้ำๆคำถามเดิมเช่นกัน บทความนี้ก็ขอสรุปแนวทางในการเลือกซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมาให้อ่านกันคร่าวๆก่อน และเตรียมอ่านแบบฟันธงฉึกๆกันอีกทีว่าจะซื้อตัวไหนอย่างไรดีครับ
ตลาด Android ตอนนี้จะแบ่งได้เป็นสามกลุ่มหลักๆคือ ตำ่หมื่น(5-9พัน) หมื่นกลาง(10-15พัน) และหมื่นปลาย(16+ขึ้นไป) ขอให้มีความคาดหวังต่อโทรศัพท์ในแต่ละกลุ่มที่ต่างกันไป
– โดยกลุ่มต่ำหมื่นนี้ก็อย่าคาดหวังว่ามันจะดีเลิศประเสริฐทุกอย่างขอให้มองมันว่ามีแบบพอกินพอใช้ฉลาดแต่พอตัวตามราคา เหมาะกับผู้เริ่มต้นและต้องการใช้งานทั่วไปอย่างแชท โทร โซเชียล โปรแกรมทั่วไป ส่วนเกมก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง
– ส่วนรุ่นหมื่นกลาง กลุ่มนี้จะให้ประสบการณ์ใช้งานที่น่าพอใจ ใช้งานได้ปีนึงไม่ตกรุ่นสบายๆ แต่ก็อย่าเอาไปเทียบกับไอโฟนเพราะราคาต่างกับเกือบครึ่ง แม้หลังๆจะสามารถทำงานได้ดีเทียบเท่าแล้วก็ตาม เหมาะกับคนทุกกลุ่มทุกแบบ กลุ่มนี้จะเป็นตัวท๊อปของปีที่แล้วจับมาลดราคาให้ได้ใช้งานกัน เป็นกลุ่มที่ส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าเล่นที่สุด
– ส่วนหมื่นปลายนั้น คาดหวังไปเยอะๆได้เพราะจ่ายไปเต็มแล้ว ถ้าไม่ถูกใจก็อย่าเพิ่งซื้อ คนเล่นกลุ่มนี้จะเน้นที่ความพึงพอใจและความรู้สึกอย่างเดียวแล้ว ว่าดีไซน์โอเคมั้ย หน้าจอสวยหรือเปล่า เทคโนโลยีต้องใหม่ล่าสุด ฯลฯ ถ้าตัวท๊อปของแบรนด์ไหนมีเรื่องจุกจิกมากมายก็อย่าไปคบมัน!!
นอกจากนี้ก็จะมีเหล่าโทรศัพท์ที่ตกรุ่นราคาดิ่งไปต่ำกว่าต่ำหมื่นอีกก็มี แต่จะไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่เพราะมักจะมีปัญหาเรื่องการลงโปรแกรมไม่ค่อยได้ หน้าจอความละเอียดต่ำเกิน หรืออาจจะเสียง่ายซะด้วยซ้ำไป
สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกเมื่อต้องการจะซื้อโทรศัพท์แอนดรอย์เครื่องใหม่ คือ
1. ราคา – ตั้งงบประมาณที่แน่นอนเอาไว้ว่ามีงบสูงสุดเท่าไหร่ และพยายามอย่ามองตัวที่มีราคาสูงขึ้นไปเพราะจะทำให้กิเลสขึ้นและตัดสินใจไม่ได้ซักที แนะนำว่าตัวที่น่าเล่นจริงๆตอนนี้จะมีราคา 10,000บาทขึ้นไป
2. อยากได้แบบไหน – เลือกรูปแบบการใช้งานให้แน่นอน เช่น ขนาดหน้าจอที่ต้องการ 3.7″ 5″ หรือ 7″ มีคีย์บอร์ดหรือไม่ ต้องการอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า เพราะถ้าให้เลือกโทรศัพท์ตามเสปกที่บอกมา จะไม่สามารถตอบได้เลยเพราะจุดเด่นการใช้งานมันต่างกันสิ้นเชิง ตีวงลงมาแคบๆหน่อยจะได้เลือกง่ายๆ
3 เน้นด้านอะไร – คิดว่าจะเอาไปทำอะไรก่อน เล่นเกมส์ ถ่ายรูป โซเชียล ดูเว็บ อ่านหนังสือ หรือจะแค่มีไว้ให้เท่ห์ๆไม่ตกยุค โทรศัพท์แต่ละตัวจะมีจุดเด่นที่ต่างกัน เราจะสามารถประหยัดลงได้มากถ้าตัดจุดเด่นบางตัวทิ้งไป เลือกโทรศัพท์แบบเอาทุกอย่าง All-in-One ก็ต้องยอมรับกับราคาที่สูงขึ้นด้วยนะครับ
และนี่ก็เป็นเกร็ดหลักๆสำหรับการเลือกซื้อโทรศัพท์ซักเครื่อง
ของใหม่สุดไม่ได้หมายความว่าดีสุด
1. ถ้าไม่ได้รีบใช้หรือเอาไปเรียกเสียงฮือฮาจากคนรอบข้างก็รอฟังฟีดแบคก่อนเป็นดี
2. เครื่องที่มาไทยลอตแรกมักมีปัญหา (ไม่รู้ว่าเข้าใจกันไปเองหรือเปล่า เพราะเห็นมันก็เจ๊งไม่ต่างกันอ่ะ)
3. ราคาของ Android มักจะเข้าสู่ราคาจริงของเครื่องนั้นๆเมื่อวางขายไปแล้ว 3-6 เดือน
4. ซอฟท์แวร์ที่สมบูรณ์จริงๆของแต่ละเครื่องมักจะสมบูรณ์จริงๆเมื่อวางขายไปแล้ว 3-6 เดือนเช่นกัน แต่หลังๆมานี้ เริ่มสมบูรณ์ตั้งแต่ปล่อยวางจำหน่ายเลย เพราะแต่ละแบรนด์มีความเข้าใจในการพัฒนามากขึ้น
5. ทุกแบรนด์ตอนนี้ลดราคากันสะบั้นหั่นแหลกได้ไม่ต่างกัน อย่าไปดราม่าใส่เค้ามาก เพราะเค้าก็ต้องทำเพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน
CPU แรงๆไม่ได้การันตีประสบการณ์ใช้งาน
1. ตามเสปกแรงจัด แต่ใช้งานจริงช้าเต่าถุยก็มีให้เห็นเยอะแยะไป
2. ยิ่งบอกว่าเร็วแรง ระวังจะสูบแบตหนัก
3. software ที่มากับเครื่องเป็นตัวกำหนดว่าแตะเลื่อนหน้าจอแล้วจะลื่นหรือเปล่า ไม่ใช่ cpu
4. cpu ยิ่งไฮโซเท่าไหร่ แบรนด์ก็ยิ่งเรียกเก็บค่าหรูตรงนี้ได้มากเท่านั้น ถ้าไม่ได้ใช้งานหนักระวังจะเสียเงินฟรี
5. Quadrant หรือผลการทดสอบ benchmark ไม่ใช่ทุกสิ่ง อย่ายึดติดมากไปเพราะสุดท้ายเราดูที่การใช้งานโดยรวมมากกว่าว่าเราพอใจมั้ย เลขสูงแต่ใช้งานแล้วค้างบ่อยๆก็เลิกใช้กันอยู่ดีชิมิ และตัวเลขเหล่านั้นมันไม่ได้การันตีว่าเครื่องแรงขึ้นจริง มีแบรนด์ที่ทำการปรับแต่งเพื่อให้ได้ผลการทดสอบตรงนี้ดีๆโดยเฉพาะก็มี แต่การใช้งานธรรมดาอาจจะห่วยถ้วยเลยด้วยซ้ำ
ขนาด ดีไซน์และการประกอบของโทรศัพท์
1. เลือกขนาดที่พอดีและเหมาะมือ ระวังใหญ่เกินไปหยิบจับไม่สะดวกและทำให้ลื่นหลุดมือง่าย
2. สำหรับนักแชทควรลองเอานิ้วโป้งทาบดูว่าสามารถกดทุกส่วนของหน้าจอได้สะดวกมั้ย
3. การดีไซน์และเลือกใช้วัสดุมีผลมาก พลาสติกอาจทำให้ลื่นหลุดมือง่าย วัสดุมันวาวใช้ไปก็เป็นรอย โทรศัพท์ขอบคมๆก็อาจเจ็บหูเวลาคุยได้ ลองจับเอามาถือๆหรือแนบหูดูกันสักนิดก่อนนะ
4. งานประกอบโทรศัพท์ต้องดูว่าแน่นหนาดีและดูหลายๆเครื่องว่าได้มาตรฐานหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าเครื่องนึงปุ่มเบี้ยว อีกเครื่องขอบเผยอ ซึ่งอาจทำให้ฝุ่นเข้าได้ง่าย แสงลอดเข้ากล้อง ฯลฯ
เลือก UI ที่ชอบใช้งานแล้วใช่
1. Android เปิดให้แต่ละค่ายพัฒนาหน้าตาการใช้งานของตัวเอง ทำให้มีความหลากหลายตรงนี้มาก UI ที่ว่านี้จะรวมถึง Homescreen, การโทรเข้าออก, การผูกรายชื่อเข้ากับ facebook, หน้าตาไอคอนต่างๆ, โปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อ และการใช้งานโดยรวม…ก็ต้องลองไปจับๆดูอ่ะนะว่าชอบของค่ายไหนมากกว่า
2. แต่ละแบรนด์จะมี UI เป็นของตัวเอง เช่น SenseUI(HTC) TouchWiz(Samsung) OptimusUI(LG) StageUI(Dell) TimeScape(SonyEricsson) ซึ่งทำให้ความสะดวกในการใช้งานต่างกันมาก และมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
3. UI ที่ดีจะต้องทำให้การใช้งานเราง่ายขึ้น เช่น การมีระบบค้นหาเบอร์โทรศัพท์ที่สะดวก, เปิดปิดการตั้งค่าต่างๆได้จาก notification bar, ความลื่นไหลเวลาเลื่อนหน้าจอต้องดี, ฯลฯ
5. เราสามารถปรับแต่งเปลี่ยน UI ได้เองแค่ลงโปรแกรมเสริม
4. หลายๆเครื่องแค่เปลี่ยนเอา UI ออกก็ทำให้เครื่องเร็วขึ้นกว่าเท่าตัว
แบตเตอรี่ต้องทนทานใช้งานได้นานอย่างน้อยหนึ่งวัน
1. ควรเลือกแบตที่ให้มาขนาดมากกว่า 1400mAh ขึ้นไป
2. แบตอะไรที่ว่าทน สุดท้ายถ้าเล่นโหดทั้งเกม ภาพ เสียง วิดีโอ ก็ไม่เกินครึ่งวันร่วงหมด
3. แต่ถ้าใช้งานปกติ เปิดเว็บ คุยโทรศัพท์ แชทบ้าง หนึ่งวัน(12ชม.)ควรเหลือๆไม่น้อยกว่า 30%
4. ใช้งานหนักหรือต้องการความแน่นอน พกแบตเสริมเพิ่มอีกก้อนหรือใช้เป็น battery pack สำหรับต่อเป็นกระสือเลยก็ได้
5. ความแตกต่างของแบตสองอย่างนี้คืออันนึงแบตเต็มทันทีแต่ต้องปิดเครื่อง ส่วนอีกอันค่อยๆชาร์จมีสายห้อยระโยงระยาง แต่ไม่ต้องปิดเครื่องเพื่อถอดเปลี่ยนแบตให้วุ่นวาย
เลือกหน้าจอให้เหมาะสม
1. หน้าจอ Touch Screen ขนาดที่เหมาะสมคือ 3.5″ ขึ้นไปเพื่อการอ่านหรือกดได้สะดวก (3.2 พอถัวๆได้และอาจจะเหมาะมือกับสาวๆมากกว่า)
2. จำไว้ว่าขนาดหน้าจอยิ่งใหญ่ยิ่งกินไฟมากขึ้น
3. ความลื่นเวลาปัดเลื่อนหน้าจออาจจะเป็นที่ hardware หรือ software ก็ได้ แต่โดยมากเป็นที่ software ลองหยิบจับเล่นของจริงดูเองก่อน
4. ความละเอียดของหน้าจอควรเป็นระดับมาตรฐานคือ 480×320 หรือ 800(854)x480 เพื่อรันโปรแกรมทั่วไปได้อย่างเหมาะสม และควรให้สี 16M หรือไม่น้อยกว่า 262K
5. หน้าจอ AMOLED, Super LCD, TFT หรืออะไรก็ช่าง ไม่ได้ต่างกันมาก ชอบแบบไหนก็เลือกอันนั้นเถิด
6. กระจกกอริลล่า มันไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นเพราะสุดท้ายก็ต้องมาหุ้มกันรอยรอบเครื่องกันอยู่ดี
กล้องที่ความละเอียดสูงๆไม่ได้ดีเสมอไป
1. ความละเอียดของภาพ 8 ล้านภาพที่ออกมาสู้ 3 ล้านไม่ได้มีเยอะไป ดูภาพทดสอบก่อนดีที่สุด
2. การให้สีที่ถูกต้องสำคัญที่สุด จะมี contrast จัดมากจัดน้อยไม่เป็นไร สังเกตได้ว่าของไม่ดีสีจะตุ่นๆ ติดฟ้าบ้าง ติดเหลืองบ้าง หรืออาจจะติดเขียว ซึ่งการแก้สีเหล่านี้ทำได้แต่วุ่นวาย
3. กล้องแย่ๆแต่ความละเอียดสูงๆภาพที่ขยายออกมาจะไม่ค่อยคม ภาพดูเบลอๆตลอดเวลา
4. ด่านอรหันต์ที่สุดของการทดสอบกล้องคือภาพในที่มืด ถ้าทำได้ดีก็แทบเทใจให้ได้เลย
5. การถ่ายวิดีโอสำหรับราคาต่ำหมื่น น่าจะได้ความละเอียด 480p มากกว่าหมื่นควรได้ 720p ขึ้นไป และควรมี fps ไม่น้อยกว่า 24 เพื่อความลื่นของภาพ
6. ฟีเจอร์ที่มีมาให้พร้อมกล้องเป็นแค่ส่วนเสริม ไม่สำคัญเท่าคุณภาพภาพเวลาถ่ายปกติ
เฟิร์มแวร์ล่าสุดสำคัญเสมอ
1. เลือก android ที่มาพร้อมกับเฟิร์มแวร์ใหม่เสมอ อย่าเชื่อที่ว่าจะได้อัพเกรดเร็วๆนี้มาก ระวังดราม่า
2. แต่ละแบรนด์มีความเร็วช้าในการอัพเดทต่างกัน
3. ตามสถิติ แบรนด์ที่มีการอัพเดทไวสุด คือ HTC ที่เหลือก็ระวังโดนลอยแพหรือกว่าจะอัพทีก็ตัวใหม่ออก แต่ปีนี้ SonyEricsson มาแรงอัพเดทไวมาก
4. อย่าหวังน้ำบ่อหน้ารอ custom rom ถ้าไม่ชัวร์ว่าเป็นตัวยอดนิยมคนเล่นทั่วโลกเยอะ
พื้นที่หน่วยความจำต้องมากเพียงพอ
1. หน่วยความจำจะแบ่งเป็นสามส่วนหลัก – storage(ลงโปรแกรมและเก็บข้อมูลสำคัญ), internal memory(เก็บไฟล์ทั่วไป,ภาพ,เสียง,ฯลฯ), external memory(เก็บไฟล์ทั่วไป,ภาพ,เสียง,ฯลฯ) โดยตามใบเสปกที่บอกว่ามือถือมีหน่วยความจำภายใน 16GB หมายถึงจะนำเอาไปแบ่งเป็น storage และ internal memory ส่วน external memory มักจะใช้เป็น MicroSDcard เพื่อเพิ่มขนาดให้สามารถเก็บข้อมูลทั่วไปได้มากขึ้น
2. ส่วนลงโปรแกรม(storage) ควรมีเหลือไม่น้อยกว่า 500MB เมื่อเปิดเครื่องใช้งานจริง ไม่ใช่เขียนตามกระดาษ หากชอบลงโปรแกรมเสริมมากๆพื้นที่น้อยๆจะเป็นปัญหาปวดหัวสุดๆ
3. internal memory มีหน้าที่เก็บข้อมูลเหมือน external memory แค่เราไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้
4. อย่าหวังพึ่ง App2SD ให้มาก ไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่หรอก
เสปกแปลกๆเจ๋งๆอย่าไปให้ความสำคัญมาก
1. HDMI port, multimedia dock, 3D Screen, บลาๆๆ
2. ให้ชัวร์ว่าพวก spec แปลกๆที่มีเขียนมานั้นได้ใช้งานจริง ไม่งั้นจะเสียเงินเพิ่มโดยใช่เหตุ
การเลือกซื้อ SD Card
1. เลือกที่ class สูงๆเอาไว้เพื่อการส่งถ่ายข้อมูลที่รวดเร็ว แนะนำ 4 ขึ้นไป แต่ของห่วยแบรนด์โนเนมมักจะแปะ class สูงแต่ก็วิ่งได้แย่พอๆกับ class 2 ก็มีนะ
2. เลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพได้ยินชื่อเสียงหรือมีคนการันตี อย่าซื้อยี่ห้อแปลกๆ
3. ความทนทานสำคัญที่สุด ประกันเปลี่ยนตัวใหม่ไม่ได้หมายถึงการประกันข้อมูลภายใน หายไปไม่มีใครรับผิดชอบนะ
4. ขอเป็นม้าแนะนำตัวที่ชอบคือ SanDisk, Transcend ถ้าธรรมดาหน่อย Kingstone ก็พอถูไถ นอกเหนือจากนี้ลองอ่านรีวิวทดสอบจากสื่อที่น่าเชื่อถือจริงๆก่อนนะ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับการเลือกซื้อมือถือสมาร์ทโฟนซักเครื่องนะครับ โดยเฉพาะสายแอนดรอยด์ แต่ไม่ว่าจะรีวิวสำนักไหนต่อสำนักไหน ยังไงก็ไม่ดีเท่าลองสัมผัสเองหรอกครับ หาเวลาลองเล่นสัก 10-30 นาทีก่อนซื้อได้จะดีเป็นที่สุด แต่ถ้าไม่ได้ก็ลองสังเกตตามบอร์ดที่คนทั่วไปรีวิวเพื่อดูว่าเครื่องมีปัญหาอะไรหรือเปล่า พวกคนที่เขียนรีวิวเป็นอาชีพหลายๆคนไม่ได้ใช้จริงขนาดนั้นหรอก บางครั้งหยิบจับได้สองวันก็เปลี่ยนเครื่องแล้ว แต่คนที่ซื้อใช้งานจริงตามบอร์ดสะท้อนปัญหาหรือความประทับใจได้ดีที่สุดครับ อย่าไปหลงยึดติดกับคำโฆษณาชวนเชื่อมากนัก และท้ายสุดนี้ก็ขอให้ทุกคนได้โทรศัพท์ที่ตัวเองพอใจ ตรงตามความต้องการของตัวเองครับ 😀
ถ้าดูแล้วชอบ แนะนำไปเล่นตัวจริงเลยก็จะช่วยได้มากครับ 😉
แหล่มมากครับ…แต่ ซื้อไปแล้วก่อนมีงานTME…เศร้า
เป็นคำแนะนำที่สุดยอดมากครับ ช่วยได้เยอะเลย
ผมว่าถ้าซื้อแล้วอย่าได้ไปมองสิ้นค้าอื่นอีกเลยจนกว่าคุณจะใช้เครื่องเดิมจนเบื่อแล้ว ไม่งั้นคุณได้จ่ายอีกรอบแน่ๆ
เห็นด้วยอย่างที่สุด ( >,.<")
เป็นข้อแนะนำที่ดีมากครับ…ผมซื้อไปก่อนหน้านี้แล้วแต่ก็ตัดสินใจโดยใช้หลักข้างต้นพอสมควรซัก6-7ข้อได้
ปล. "ตามเทคโนโลยีควรตามเพื่อรู้…มิใช่ตามเพื่อซื้ออย่างเดียว"
เจ๋งงงงงงงงงงงง !!! XD
สมัยก่อนคุณพ่อบอกว่า เวลาเลือกซื้อต้องดูที่ก้านยังแน่นๆ อยู่ ลองเอานิ้วดีด เสียงต้องแน่นๆ ก้องๆ นั่นแปลว่าสุกแล้ว กลิ่นต้องไม่แรงเกินไป เนื้อจะไม่เละมาก แต่ถ้าอยากได้เนื้อกรอบๆ เสียงต้องแน่นๆ ทึบๆ
ฟังดูเหมือนเลือกองุ่นเลยนะ…
ช่ายๆ แบบไม่มีเมล็ดนี่กรอบๆ หย่อยๆ มากๆ
ทุเรียน!!!! ช่วยตบมุขครับ^^
555+
มีประโยชน์มากครับพี่กิม
แนะนำให้ลองเล่นตัวจริงก่อนครับ บางที การจับ สัมผัส ลูบไล้ ก็อาจเปลี่ยนใจเราได้ครับ การดูสเปคภายในอย่างเดียวอาจจะทำให้เราไม่ได้โทรศัพท์ที่เราถูกใจที่สุดก็ได้ครับ
สเปคแรงดูเร้าใจแต่บางทีการใช้งาน ความประทับใจ สู้ตัวที่สเปคต่ำกว่าไม่ได้ นุ่มนวลกว่าอ่อนหวานกว่าเอาใจเก่ง
เลือกดีๆครับเพราะเราต้องอยู่กินกับมันเกือบตลอด 24 ชม.
มันอยู่ที่ ลีลา ครับ ไม่ใช่ รูปร่างหน้าตา
ถั่วต้มนะค้าบ
แถว SGS II ยาวมากมายยยย เอิ้กๆ
ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ( V _ V ) ยืนจนเมื่อย
มา register ด้วยคน T^T
มีประโยชน์มากสำหรับคนที่กำลังจะซื้อ เครื่องแรก หรือแม้แต่เครื่องถัดไป ยิ่งใช้จะยิ่งแน่นข้อมูลค่ะ
2. ส่วนลงโปรแกรม(storage) ควรมีเหลือไม่น้อยกว่า 500MB เมื่อเปิดเครื่องใช้งานจริง ไม่ใช่เขียนตามกระดาษ หากชอบลงโปรแกรมเสริมมากๆพื้นที่น้อยๆจะเป็นปัญหาปวดหัวสุดๆ
3. internal memory มีหน้าที่เก็บข้อมูลเหมือน external memory แค่เราไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้
4. อย่าหวังพึ่ง App2SD ให้มาก ไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่หรอก
โดนใจอย่างแรง
SanDisk,สมัยก่อนดี ล็อตใหม่ไม่ประทับใจเลยซื้อมาเทส 4 ตัวแล้ว 4Gสองตัว 8Gหนึ่งตัว 16Gสองตัว
Transcend ราคาต่างกับ Kingston พอสมควรแต่ประสิทธิภาพไม่หนีกันเท่าราคาที่ต่าง
ราคา SanDisk กับ Kingston ราคาจะพอๆกัน
แพ็คเกจ เวลาซื้อให้ดูด้านหลังที่ระบุว่า นำเข้าโดยบริษัท…. ไม่งั้นถ้าไม่มีสติ๊กเกอร์สีขาวๆอันนี้จะไม่สามารถเคลมได้
แนะนำของ synnex ครับ อิอิ
เห็นด้วยกับ synnex ครับ
ingram บริการช้า
ผมไปสอย Kingston class 10 8GB มา….ไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่นะ เดิมทีใช้ sandisk 1GB
สุดยอดแนวคิด
ไม่ทัน ได้อ่าน ไปจองมาแล้ว Samsung Galaxy SII
3. software ที่มากับเครื่องเป็นตัวกำหนดว่าแตะเลื่อนหน้าจอแล้วจะลื่นหรือเปล่า ไม่ใช่ cpu
3. software ที่มากับเครื่องเป็นตัวกำหนดว่าแตะเลื่อนหน้าจอแล้วจะลื่นหรือเปล่า ไม่ใช่ cpu
โดนใจ 555
อ่านแล้วลดกิเลสลงได้ นิสนึง-*-
ชอบอย่างแรงตรง ต่อ battery pack เป็นกระสือนี่ละครับ (ฮา)
storage กับ ram นี่เหมือนกันมั้ยคะ แล้วเราจะดูว่ามีเหลืออยู่เท่าไหร่ได้ที่ตรงไหนอะคะ
สองอย่างนี้มันคนละเรื่องกันน่ะครับ
เอาง่ายๆว่า
storage เป็นชั้นเก็บเอกสาร มีข้อมูลอะไรเราก็ยัดเก็บใส่ในนั้น
ram เป็นโต๊ะทำงาน มีอะไรก็เอามากองรวมกันให้หยิบจับง่าย แต่ทำงานเสร็จก็โยนทิ้งหรือเก็บเข้าชั้น
ยิ่งมี storage มาก ก็ยิ่งมีพื้นที่เก็บข้อมูลมาก
ยิ่งมี ram มากก็ทำให้เรามีพื้นที่ทำงานมาก ทำงานได้เร็วขึ้นครับ
อยากรู้ว่ามี storage มากน้อยเท่าไหร่ก็ไปที่ settings –> sd card & phone storage
อยากรู้ว่ามี ram เท่าไหร่ก็ให้โหลดโปรแกรม android info มาดูครับ
รายละเอียดดีครับ เอาที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่ใช่เอากิเลสเป็นตัวตั้ง ๕ ๕ ๕
ต้องได้ไปเล่นจริง จึงจะรู้ ^_^
ทำไมคีย์บอร์ดในลิ้นชักเบี้ยวแปลกๆ?
natural keyboard by microsoft
ออกแบบมาให้มีรูปร่างเข้ากับสรีระของร่างกายเราน่ะ
ขอบคุณมากครับ
ช่วยทำให้เห็นจุดเล็กน้อยที่เราอาจมองข้ามไป มีประโยชน์มาก ๆ ครับ
THX สำหรับคำแนะนำคร๊าฟฟฟฟฟ
และการทดสอบว่าลื่นอย่าแค่เลื่อน home screen
ให้เปิดโปรแกรมไปเรื่อยๆเยอะๆแล้วดูว่าถ้าเราใช้จริงจะเปิดพร้อมกันเยอะขนาดนั้น จะยังลื่นมั้ย จัดการ ram เร็วมั้ย
ถ้า ram น้อยแต่ชอบเปิด app เยอะ ให้ตัดทิ้งเอาที่ ram เยอะเป็นหลัก เลข cpu ไม่ช่วยอะไร
ram น้อยชอบเปิด app เยอะ แล้วมือถือตัวนั้นมีการจัดการแรมที่ดีพอก็ไม่มีปัญหานะ
เพราะมันจะไปปิดตัวเก่าๆทิ้งได้ทันเวลาอ่ะ
เจ้าตัวเก่า spica มันจัดการแรมไม่ทัน จนต้องสอย incredible s มาใช้ละครับ
เหอๆ
เจ๋งมากกกกกกก
keyboard สวยดีครับ เอามาจากไหนเนี่ย (ของคอมนะ)
ตรงไปตรงมาดีครับ อ่านแล้วได้ประโยชน์มากๆ
ขอบคุณครับ
ไม่ทันละ เพราะสอยมาตั้งแต่วันแรกเลยย
อยากทราบเรื่อง root
lagfix
flash rom อ่า
แบตหมดเร็วจริงๆ เห็นวิธีทำแล้วยังไม่ใจ เพราะยังไม่เข้าใจดีพอ
แต่ควรให้หมดประกันเจ็ดวันก่อนใช่ไม๊
พอเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผมนะ กำลังสุ่มเลือกที่จะซื้ออยู่ระหว่าง HTC Wildfire S กับ Samsung Galaxy Cooper ไม่รู้ว่าจะใช้อันไหนดี ใครก้อได้ครับช่วยนำทางให้ผมหน่อย ^^
wildfire s กับ cooper มันตกรุ่นแล้วครับ แต่ปัญหาคือมันยังไม่ยอมลดราคา ถ้ามีงบ เกือบๆ หมื่น แนะนำ sony ตอนนี้คุ้มสุดแล้ว ได้ ics ด้วย มีให้เลือกหลายรุ่น
ประโยชน์มากเลยนะครับ
ผมซื้อ Desire S ก่อนเจอกระทู้นี้ แต่ก็ไปลูบๆคลำๆมันที่ศุนย์ Dtac พระราม2 อยู่นานทีเดียว หุหุ
งุงิงุงิ
อ่านจบระงับกิเลศได้เลย… ฮาาา
รายละเอียดดีค่ะ ช่วยได้เยอะแต่ งบนี่แหละฮืออออออปานหาหย่ายยยย
ขาย samsung galaxy s3 ราคา 18000 ของแท้
มือ1 ของใหม่แกะกล่อง
มีสินค้าพร้อมส่งนะคะ ทั้งขาว และน้ำเงิน
ติดต่อ คุณส้ม
โทร 0802002003
hothitphone@gmail.com
http://www.hothitphone.com