ยังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับความขัดแย้งระหว่างอินเดีย และจีน หลังจากที่ได้มีการแบนแอปพลิชั่นยอดนิยมสัญชาติจีนอย่าง TikTok, Wechat, Mobile Legend และแอปอื่น ๆ รวม 59 แอปพลิเคชั่นเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอินเดียก็ยังไม่หยุดอยู่แค่นี้ เพราะล่าสุดมีข้อมูลออกมาว่าเตรียมจะแบนแอปพลิเคชั่นจีนเพิ่มอีกถึง 275 แอป โดยหนึ่งในนั้นคือเกมกระโดดร่มชื่อดังจากค่าย Tencent อย่าง PUBG Mobile

ดูเหมือนความขัดแย้งระหว่างจีนกับอินเดียไม่มีท่าทีจะคลี่คลายลงเลยแม้แต่น้อยเพราะก่อนหน้านี้ได้มีการแบนแอปพลิเคชั่นของประเทศจีนไปแล้ว 59 แอป เช่น TikTok Lite, Camscanner และ UC Browser และล่าสุดทางรัฐบาลอินเดียได้มีการพิจารณาแบนแอปจากจีนเพิ่มอีก 275 แอป โดยตอนนี้รัฐบาลจีนยังไม่ได้มีการเปิดเผยรายชื่อแอปพลิเคชั่นเหล่านั้น แต่ก็มีข้อมูลเผยออกมาว่าจะมีทั้งแอปยอดฮิตอย่าง Aliexpress และเกม Battle Royale อย่าง Player Unknown Battleground (PUBG) จากค่าย Tencent ที่มียอดผู้เล่นมากอันดับหนึ่งในอินเดีย

PUBG Mobile ใช่แอปพลิเคชั่นจีนหรือเปล่า ?

โดยสิ่งที่ทุกคนสงสัยกันก็คือ ในขณะที่เกม PUBG Mobile ถูกบริหารโดยบริษัทสื่อ Entertainment ยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Tencent  แต่ตัวเกมจริง ๆ นั้นถูกดึไซน์และพัฒนาผ่านทางบริษัท Bluehole ที่ตั้งอยู่ที่เกาหลีใต้ ทำให้เกิดคำถามว่า Tencent มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลผู้เล่นมากขนาดไหน และสมควรโดนรัฐบาลอินเดียแบนจริงหรือไม่

ซึ่งการพิจารณาการแบนครั้งนี้ก็นับว่ามีเหตุผลในระดับนึงเพราะ PUBG Mobile เป็นเกมมือถือที่ผู้เล่นปัจจุบันสูงสุดในอินเดีย ทำให้ตัวเกมนั้นมีข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของประชากรอินเดียมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม Tencent เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท Bluehole เพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้การแบนครั้งนี้อาจไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่นัก

แต่ที่แน่ ๆ คือการแบน PUBG Mobile จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างให้กับวงการ E-sports ในอินเดีย เนื่องจากเกม PUBG Mobile มีการจัดการแข่งขัน และผู้ชมที่ค่อนข้างมากนั่นเอง

หากรัฐบาลอินเดียพิจารณาแบนเกม PUBG Mobile จริง ๆ ก็จะทำให้ทั้ง Bluehole และ Tencent เสียฐานผู้เล่นเกม PUBG Mobile ไปอย่างมหาศาลเลยทีเดียว แถมเหล่าผู้เล่น และผู้ชมของเกมดังกล่าวก็น่าจะไม่พอใจกันแน่นอน ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ ว่าสุดท้ายแล้วทั้ง 2 ประเทศนี้จะตกลงกันยังไงต่อไป

 

Source: Economictimes