การจะซื้อโน้ตบุ๊คสักเครื่องสิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการเลือกเลยก็คือ ซีพียู (CPU) ซึ่งจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องนั้นได้เป็นอย่างดีว่าเหมาะกับทำงานประเภทไหน แรงหรือเปล่า แน่นอนว่าซีพียู Intel บนโน้ตบุ๊คเองก็มีหลายประเภท หลายรุ่นให้เลือกใช้งาน และมีจุดเด่นกว่าที่เหนือกว่าคู่แข่งหลายด้าน โดยจะแบ่งเป็นรุ่นอะไรบ้าง ลักษณะการใช้งานเป็นยังไงมาดูกันครับ
ซีพียู คือ อะไร ?
หลายคนน่าจะเคยได้ยินเป็นประจำกันเสมอๆ เวลาจะซื้อโน้ตบุ๊คต้องดูที่ “ซีพียู” แต่รู้หรือไม่ว่าความหมายจริงๆ ของมันย่อมาจาก Central Processing Unit หมายถึงหน่วยประมวลผลกลางที่เปรียบเสมือนสมองหลักของตัวโน้ตบุ๊ค ในอดีตยิ่งเป็นรุ่นสูงๆ ที่มี Clockspeed จำนวนคอร์ จำนวนเทรด เยอะๆ ก็ยิ่งประมวลผลเร็ว แต่ในปัจจุบัน ซีพียูที่มีแกนที่มากกว่า และความถี่ที่สูงกว่า ใช่ว่าจะแรงกว่า ต้องให้ดูที่ชุดคำสั่งและเทคโนโลยีต่างๆที่ผู้ผลิตพัฒนาขึ้นมาให้สามารถตอบสนองกับโปรแกรมที่ซับซ้อนและเหมาะสมกับงานนั้นๆได้หรือไม่ อีกด้วย
และที่สำคัญคือประเด็นที่กำลังถูกพูดถึงในตอนนี้ซึ่งดูเหมือนว่าการให้ความสำคัญกับโหนดการผลิต 7nm/10nm/14nm เหล่านี้เป็นเพียงแค่ตัวเลข ไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของทรานซิสเตอร์ตามที่บอกต่อๆ กันมา เราควรหันไปมองที่ประสิทธิภาพที่แท้จริงจะเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานมากกว่านั่นเองครับ
ซีพียู Intel ดียังไง ?
ต้องบอกก่อนว่าซีพียู Intel ในโน้ตบุ๊คที่มีขายปัจจุบันคือ Gen 10 ใช้ชื่อโค้ดเนมว่า Ice Lake ที่มีตัวอักษร G ต่อท้าย และ Comet Lake ที่มีตัวอักษร U ,Y และ H ต่อท้าย ซึ่ง Intel คืออันดับหนึ่งของผู้ผลิตซีพียูในวงการโน้ตบุ๊คมาอย่างยาวนาน ทำให้ใช้งานกับโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ มีความเสถียร Stable กับทุกๆ โปรแกรม โดยสิ่งที่เป็นจุดเด่นของซีพียู Intel เลยคือ
- มีเทคโนโลยี Intel Deep Learning Boost (AI) โค้ดเนม Ice Lake ในซีพียูช่วยในเรื่องของการประมวลผลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น บนโปรแกรม Microsoft Office และ Adobe ต่างๆ
- สามารถเล่นวิดีโอระดับ 8K60 HDR ได้ลื่นไหลไม่มีสะดุด
- รองรับการเชื่อมต่อ integrated Wi-Fi 6 ประสิทธิภาพรวดเร็วกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับ WiFi 5 รุ่นเก่า
- รองรับการใช้งาน Thunderbolt 3 ที่สามารถใช้ได้ทั้งชาร์จไฟ, ต่อจอแยก, โอนถ่ายข้อมูลความเร็วสูง 40Gbps และจ่ายไฟได้ถึง 100W (ใช้งานคู่กับ eGPU ได้)
- รองรับการใช้งานกับโปรแกรมได้หลากหลาย ไม่ต้องกังวลเรื่องความเข้ากันไม่ได้ของซีพียู
รหัสซีพียู Intel แต่ละรุ่นดูยังไง
ตัวอย่างจากรูปข้างต้นก็พออธิบายคร่าวๆ ได้ดังนี้ คือ
- Brand – กลุ่มซีพียู ในรูปคือกลุ่ม Intel Core นอกเหนือจากนี้ยัง Intel Pentium และ Intel Celeron (เรียงตามลำดับความแรง)
- Brand Modifier – ซีรีส์ของซีพียูในกลุ่มนั้น ในรูปคือ i7 เรียงตามลำดับความแรงจากน้อยไปมากคือ i3, i5, i7 และ i9
- Generation Indicator – รุ่น ในรูปคือ Gen 10 ซึ่งถือเป็นรุ่นล่าสุดที่มีขายในปัจจุบัน
- SKU Numeric Digits – ลำดับชื่อของซีพียู ในรูปคือ 65 เป็นเลขสองหลัก แต่บางกรณีอาจจะเป็นเลขสามหลัก เช่น i5-62ooU จะเป็น i5 Gen 6 ชื่อ 200 แทน
- Product Line Suffix – รหัสตระกูล ในรูปคือ G7 ซึ่งอยู่ในรหัส U-series เป็นสายประหยัดพลังงาน ส่วนสายประสิทธิภาพสูงจะเรียกว่า H-Series มีรหัสต่อท้ายคือ H, HK
เลือกซีพียู Intel รุ่นไหนให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ก่อนที่เราจะซื้อโน้ตบุ๊คสักเครื่องสิ่งที่ต้องดูก่อนเป็นอันแรก ก่อนที่จะไปดูสเปคคือ โจทย์การใช้งานว่าเน้นด้านอะไร หลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ สายทำงานเน้นพกพา และสายเล่นเกมทำงานหนักๆ ซึ่งซีพียู Intel เองก็จะแบ่งสายทำงานนี้ชัดเจนโดยแบ่ง รหัสตระกูลออกเป็น 2 รุ่นหลักๆ คือ U-series และ H-Series ดูได้จากตัวอักษรท้ายสุดของเลขรหัสซีพียู เช่น i7-10510U, i7-10750H เป็นต้น
U-series
คำว่า U-series ตัว U ย่อมาจากคำว่า Ultra-low power หรือพูดง่ายๆ ก็คือซีพียูรุ่นประหยัดพลังงาน ซึ่งจะใช้กับโน้ตบุ๊คที่มีดีไซน์บางเบา เน้นพกพาสะดวก อะแดปเตอร์ชาร์จไฟขนาดเล็ก แบตเตอรี่ใช้ได้เป็นเวลานาน เหมาะสำหรับใช้ทำงานทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง สตรีม หรือจะเอามาเล่นเกมนิดๆ หน่อยๆ ก็ย่อมได้
ยกตัวอย่างเช่น เปิดไฟล์ Excel พร้อมทำ Photoshop และ ดู YouTube ทำงาน 3 อย่างไปพร้อมกันแบบนี้ บอกเลยว่าซีพียู Intel Gen 10 รหัส U นี่เอาอยู่สบายๆ ลื่นไหลไม่มีสะดุด จะเปิดไฟล์เยอะแค่ไหนก็ไม่หวั่น เพราะมี AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
**เพิ่มเติมคือ รหัส G ก็จะอยู่ในหมวดของ U-series เหมือนกัน แต่จะมีการ์ดบอร์ด Iris Plus เข้ามา ซึ่งมีประสิทธิภาพเรื่องของกราฟิกสูงกว่า U ธรรมดา / ส่วนรหัส Y จะเป็นซีพียูประหยัดพลังงานกินไฟน้อย ความร้อนต่ำ ซึ่งไม่ค่อยนิยมขายในบ้านเราเท่าไร
H-series
ถัดมา H-series ตัว H ย่อมาจากคำว่า High-performance หรือก็คือซีพียูประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะอยู่ในโน้ตบุ๊คตระกูลเกมมิ่งหรือสายทำงานหนักๆ เหมาะกับเอามาเล่นเกมกราฟิกสูงๆ ทำงานตัดต่อวิดีโอ ทำงานกราฟิก 3D อนิเมชัน โดยตัวเครื่องโน้ตบุ๊คจะมีน้ำหนักที่มากกว่ารหัส U และมีอะแดปเตอร์จ่ายไฟขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด เพราะต้องใช้ไฟเลี้ยงมากกว่า และมีความเร็ว GHz ที่สูงกว่านั่นเอง
เรียกได้ว่าเพื่อนๆ คนไหนที่มีโจทย์ว่าจะซื้อโน้ตบุ๊คมาเพื่อเกม ทำงานหนักๆ ตัดต่อวิดีโอ หรือเน้นสเปคแรงไว้ก่อน ยังไงถ้าจะต้องจัดโน้ตบุ๊คสักเครื่องก็ต้องดูเป็น H-series ไว้ก่อนนะครับผม
**วิธีเช็คว่าซีพียู Intel รุ่นไหนเล่นเกมอะไรได้บ้าง สามารถกดเข้าไปดูได้ที่ : https://gameplay.intel.com
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อนๆ ก็พอจะทราบถึงบอกถึงข้อดีและวิธีการเลือกรุ่นซีพียู Intel บนโน้ตบุ๊คกันแล้ว ซึ่งการที่จะซื้อโน้ตบุ๊คสักเครื่องไม่ใช่ดูแค่ราคาถูกแพง หรือแค่ตัวเลขคะแนน Benchmark แต่ควรดูลักษณะการใช้งานให้ตรงกับที่เราต้องการ และดูประสิทธิภาพการใช้งานจริง ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ว่ามีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่าเรื่องของความเสถียร ความเข้ากันได้ของโปรแกรมซีพียู Intel ตอบโจทย์กว่าแน่นอนครับ
และถ้าหากเพื่อนๆ คนไหนสนจะซื้อโน้ตบุ๊คสักเครื่องตอนนี้ทางร้าน BaNANA IT ก็มีโปรโมชันต่างๆ มากมาย โดยสามารถเข้าดูรายละเอียดก่อนได้ที่ : https://www.bnn.in.th
ต้องบอกก่อนว่าซีพียู Intel ในโน้ตบุ๊คที่มีขายปัจจุบันคือ Gen 10 ใช้ชื่อโค้ดเนมว่า Ice Lake ที่มีตัวอักษร G ต่อท้าย และ Comet Lake ที่มีตัวอักษร U และ Y ต่อท้าย
ที่ถูกคือ H ใช่ไหมครับ
ที่มีตัวอักษร U และ H ต่อท้าย
ขอบคุณมากครับผม ทีมงานทำการแก้ไขละครับ
.
จริงๆ Comet Lake มีทั้ง U, Y และ H เลยครับผม แต่ซีรีย์ Y ไม่ค่อยมีขายในบ้านเราเท่าไร ซึ่งเป็นซีพียูแบบ Mobile extremely low power เน้นประหยัดพลังงานเป็นหลักครับผม
"การให้ความสำคัญกับโหนดการผลิต 7nm/10nm/14nm เหล่านี้เป็นเพียงแค่ตัวเลข"
ไถลงไป เค้าจะไป 3nm กันแล้ว intel ยังติดอยู่ที่ 10nm อยู่เรย ณ จุดๆนี้เทียบราคาต่อประสิทธิภาพแล้ว ยกให้ค่ายแดงยาวๆจร้า
ไม่ผิดครับ เพราะล่าสุด เห็นมีคนเอา 7nm AMD กับ Intel 14nm มาเปรียบเทียบ ก็พบว่า ขนาดของ Transitors ก็มีขนาดพอ ๆ กันครับ เพียงแต่ว่า 7nm งานจะดูดีกว่านิดหน่อยครับ
แต่ราคาต่อประสิทธิภาพ , ประสิทธิภาพต่อพลังงาน AMD ทำได้ดีจริง ๆ
เอาจริงๆก็ nm ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความแรง ถ้า 90nm จะแรงกว่า 7nm ก็ได้นะ ถถ
เสียดาย AMD ราคาไทยคุมไม่ค่อยได้ หลายๆรุ่นคุ้มราคาในตปท แต่ราคาไทยอาจจะไม่คุ้ม