สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เตรียมจัดงาน KMITL Innovation Expo 2023 ในวันที่ 27-29 เมษายน 2566 และเป็นงาน Open House ไปด้วย ซึ่งจะมีนวัตกรรมมากถึง 1,111 ชิ้น มาโชว์ ซึ่งเป็นผลงานจากอาจารย์และนักศึกษาของพระจอมเกล้า จากทุกคณะ ทุกวิทยาลัย โดยการจัดแสดงและกิจกรรมต่างๆ จะกระจายอยู่ทั่วทั้งสถาบัน ซึ่งจะมีอะไรเด็ดบ้าง ลองมาดูไฮไลต์บางส่วนกันก่อน

โดยจุดประสงค์ของงาน ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เข้ามาชมนวัตกรรมและเกิดการจับคู่ทางธุรกิจ รวมถึงยังเป็นงาน Open House ของพระจอมเกล้าลาดกระบังอีกด้วย ที่ให้น้องๆ มัธยมปลายที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชม ขอคำแนะนำ และร่วมกิจกรรมได้ภายในงาน หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปที่สนใจนวัตกรรมก็สามารถเข้าไปชมได้เช่นกัน

 

กิจกรรมภายในงาน

  • จัดแสดงผลงานนวัตกรรม
  • Workshop
  • การจับคู่ธุรกิจ (Startup Pitching)
  • Hackathons
  • เสวนาเปิดมุมมอง

 

นวัตกรรมภายในงาน

แบ่งออกเป็น 6 Cluster

  1. BCG (Agriculture & Food)
  2. Industry
  3. Health & Wellness
  4. Digital & AI
  5. Smart City
  6. Creative Economy

 

โซนจัดแสดงงาน แบ่งเป็น 3 โซน

 

Zone 1 หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

  • จัดแสดงนวัตกรรม
  • เสวนาเปิดมุมมอง
  • Hackathons
  • Workshop

 

Zone 2 สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิต พระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (KLLC)

  • จัดแสดงนวัตกรรม
  • Workshop
  • เสวนา

 

Zone 3 หอประชุมใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • จัดแสดงนวัตกรรม
  • Workshop

ซึ่งนอกจากโซนการจัดแสดงหลักทั้ง 3 โซนแล้ว ยังมีกิจกรรมทุกคณะ ทั่วทั้งสถาบัน ใครสนใจคณะไหน ก็ลองแวะกันไปได้

 

นวัตกรรมที่น่าสนใจที่นำมาจัดแสดง

แบตเตอรี่กราฟีน

เป็นนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่เกิดจากการใช้วัสดุ กราฟีน เป็นผลงานรางวัลการวิจัยแห่งชาติ(วช): รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เชรษฐา รัตนพันธ์ หน่วยวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์

Plasma Bubble

นวัตกรรมตรวจจับพลาสมาบับเบิ้ล (Plasma Bubble) เพื่อคาดการณ์ภัยพิบัติ นำร่องอากาศยาน และใช้ GPS ได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย ผลงานทีมวิจัยนำโดย ศ.ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ หัวหน้าทีมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. 

Upcycle ออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

เป็นโปรเจ็กต์ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ด้วยกระบวนการ Upcycle ภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการอุตสาหกรรมท้องถิ่น โดย อาจารย์ ดร.ชดชัย ควรเดชะคุปต์ สังกัดภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ERA-ATOM (3 ล้อ ฝีมือคนไทย)

รถสามล้อไฟฟ้า ชื่อว่า อะตอม ภายใต้แบรนด์อีร่า (ERA รุ่น ATOM) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิต พันธุ์ใหม่ซึ่งก่อให้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง และนักศึกษาและอาจารย์คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ และ คุณศตวรรษ ลิ้มกอปรไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ Electric Racing Automotive ร่วมออกแบบและพัฒนาต้นแบบ เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจ

Workshop

 

ตัวอย่างหัวข้อเสวนาภายในงาน

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่  https://expo.kmitl.ac.th/ หรือสแกนคิวอาร์โค้ดด้างล่างนี้ได้เลย