สำหรับใครที่มีรายได้เป็นประจำอยู่แล้ว เป็นเรื่องธรรมดาที่เราต้องเสียภาษีในการใช้จ่ายสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตถึงแม้ว่าภาษีจะมีมูลค่าสูงเกินไปในบางครั้ง แต่ทุกคนรู้มั้ยว่าเราสามารถจัดการให้เราเสียภาษีได้น้อยลงได้ด้วยการวางแผนทางภาษีในการลงทุน SSF และ RMF  แต่ละครั้งในระยะยาวอีกด้วย ทางเราเลยรวมรวบเว็บไซต์ลงทะเบียนขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี มาให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมกันค่ะ จะได้ไม่เสียสิทธิตรงนี้ไปในอนาคต

ลงทะเบียนลดหย่อนภาษีคืออะไร ?

เงื่อนไขที่ผ่านมาเวลาที่เราซื้อกองทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น SSF และ RMF ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรแต่เดิมแล้วธนาคารจะแจ้งลดหย่อนกับกรมสรรพภากรให้เราโดยตรง แต่ว่าปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขค่ะ

ซึ่งมีการประกาศใช้ปีนี้เป็นปีแรกผู้ลงทุนใน RMF หรือ SSF  ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 65 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนคนจะต้องแจ้งความประสงค์เพื่อให้ บลจ.หรือ(บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) นำส่งข้อมูลการซื้อหน่วยลงทุน RMF/SSF ให้กับกรมสรรพากร เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีนั่นเอง

  • ผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุน RMF หรือ SSF ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป จะต้องแจ้งความประสงค์ถึงจะใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามเงื่อนไขและต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 (หากแจ้งความประสงค์หลังจากนี้ จะทำให้ได้รับการคืนภาษีล่าช้า)
  • ผู้ลงทุนสามารถแจ้งขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุน SSF/RMF โดยแจ้งกับ บลจ.ที่เราซื้อกองทุน SSF/RMF ไว้ ตามช่องทางที่บริษัทกำหนด หรือจะเป็นช่องทางออนไลน์ก็มีให้ผู้ลงทุนได้แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF ด้วยตัวเอง
  • และการทำเรื่องลดหย่อนภาษีไม่จำเป็นต้องทำใหม่ทุกปี โดยแจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวสามารถใช้ไปได้ตลอดหรือ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ

ทำไมต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

เพื่อให้เราไม่พลาดสิทธิ์ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมอื่น ๆ ที่อาจ ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร จึงจำเป็นต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้กับทางบริษัทฯ เพื่อยินยอมให้บริษัทฯเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อกรมสรรพากร

 Link ลงทะเบียนขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

  1. ABERDEEN – บลจ. อเบอร์ดีน คลิกที่นี่
  2. ASSETFUND – บลจ. แอสเซท พลัสคลิกที่นี่
  3. BBLAM – บลจ. บัวหลวง คลิกที่นี่
  4. DAOL INVESTMENT – บลจ. ดาโอ คลิกที่นี่
  5. Eastspring – บลจ. อีสท์สปริง คลิกที่นี่
  6. KAsset – บลจ. กสิกรไทย คลิกที่นี่
  7. KKPAM – บลจ. เกียรตินาคินภัทร คลิกที่นี่
  8. KSAM – บลจ. กรุงศรี คลิกที่นี่
  9. KTAM – บลจ. กรุงไทย คลิกที่นี่
  10. KWIAM – บลจ. เคดับบลิวไอ คลิกที่นี่
  11. LHFUND – บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คลิกที่นี่
  12. MFC – บลจ. เอ็มเอฟซี คลิกที่นี่
  13. ONEAM – บลจ. วรรณ คลิกที่นี่
  14. PHILLIP – บลจ. ฟิลลิป คลิกที่นี่
  15. Principal – บลจ. พรินซิเพิล คลิกที่นี่
  16. SCBAM – บลจ. ไทยพาณิชย์ (เริ่มลงทะเบียนได้วันที่ 28 พ.ย. 65 เป็นต้นไป) คลิกที่นี่
  17. TISCOAM – บลจ. ทิสโก้ คลิกที่นี่
  18. UOBAM – บลจ. ยูโอบี คลิกที่นี่
  19. XSpring AM – บลจ. เอ็กซ์สปริง (เริ่มลงทะเบียนได้วันที่ 1 ธ.ค. 65 เป็นต้นไป) คลิกที่นี่

ถ้าคนไหนมีพอร์ตอยู่หลายแพลตฟอร์ม ควรลงทะเบียนให้ครบทุก Unitholder ID ของแต่ละแพลตฟอร์มนะคะ ที่เหลือเราสามารถทำตามเงื่อนไขของ บลจ.ได้เลยที่สำคัญอ่านรายระเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบด้วยนะทุกคนจะได้ไม่เสียสิทธิในการลดหย่อนภาษี

ที่มา : The Financial Doctor