OPPO F1 series ตอนนี้ยังคงความแรงอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะครองอันดับ 2 ส่วนแบ่งตลาดในจีนแล้ว ในบ้านเราก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เป็นแบรนด์ที่สร้างความแข็งแกร่งในเรื่องกล้องถ่ายภาพและกล้องหน้าเซลฟี่มาอย่างต่อเนื่อง จาก F1 มา F1 Plus และล่าสุดกับ OPPO F1s ที่เอาความเนียนใสของกล้องหน้า 16 ล้านพิกเซลจาก F1 Plus มาปรับดีไซน์นิด เปลี่ยนวัสดุหน่อย แต่ที่ได้มาเพิ่มคือความคุ้มค่าด้วยราคา 9,990 บาท ส่วนจะคุ้มแค้ไหน สู้กับรุ่นอื่นๆ ในช่วงราคาเดียวกันได้ไหม ลองมาชมรีวิว OPPO F1s ไปพร้อมๆ กันได้ครับ
สเปคและอุปกรณ์ภายในกล่อง OPPO F1s
่ก่อนอื่นก็มาเริ่มที่สเปคและกล่องของ OPPO F1s กันก่อน หน้าตากล่องเป็นแบบนี้นะครับ เวลาไปซื้อจะได้ไม่ผิด ตัวเครื่องมีวางจำหน่ายด้วยกัน 2 สีคือสีทองและสีชมพู (มีภาพเปรียบเทียบทั้ง 2 สี ด้านล่าง เดี๋ยวค่อยเลื่อนลงไปดู)
สเปค OPOPO F1s
- OS: Android 5.1 Lollipop พร้อม ColorOS 3.0
- หน้าจอ: IPS 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD 720p
- CPU: MediaTek MT6750 Octa-core 1.5GHz
- GPU: Mali-T860 MP2
- RAM: 3GB
- หน่วยความจำภายใน: 32GB รองรับ MicroSD สูงสุด 128GB
- กล้องหลัง: 13 ล้านพิกเซล f/2.2 , PDAF, เซ็นเซอร์ 1/3.1 นิ้ว, Beautify 4.0
- กล้องหน้า: 16 ล้านพิกเซล f/2.0, เซ็นเซอร์ 1/3.1 นิ้ว, เลนส์กว้าง 78.1 องศา, Beautify 4.0
- มี fingerprint scanner
- รองรับ 4G
- ถาดซิม Triple Slot รองรับระบบ Dual-SIM แบบ nano SIM 2 ช่อง และมีช่อง micro SD 1 ช่อง
- สัดส่วน: 154.5 x 76 x 7.38 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก: 160 กรัม
- แบตเตอรี่: 3,075 mAh (ถอดเปลี่ยนไม่ได้)
- ราคาเปิดตัว 9,990 บาท
- เริ่มวางจำหน่าย 17 สิงหาคม (เปิดจอง 10-15 สิงหาคม)
อุปกรณ์ภายในกล่องก็จะมีตัวเครื่อง OPPO F1s, เคสใสซิลิโคนขนาดพอดีเป๊ะ, สาย micro USB, หูฟังสมอลทอล์ค, หม้อแปลง
เนื่องจาก OPPO F1s ไม่รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วอย่าง VOOC Flash Charge เพราะฉะนั้นเราเลยได้หม้อแปลงจ่ายไฟธรรมดา 5V 2A มา
ตัวเครื่องและดีไซน์
ขนาดตัวเครื่องของ OPPO F1s นั้นถ้าเทียบกับรุ่นพี่อย่าง F1 Plus จะมีขนาดที่ใหญ่และหนากว่านิดหน่อย ก็เพราะว่ามีการปรับดีไซน์จากแบบเดิมที่เป็นโลหะ unibody มาเป็นพลาสติกประกบกับฝาหลังโลหะแทน ความหนาที่เพิ่มขึ้นมาก็เป็นเรื่องของแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 3065 มิลลิแอมป์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น
ส่วนถ้าเทียบกับ F1 ละก็ถือว่าดีไซน์ OPPO F1s นั้นคล้ายๆ กันเลยก็ว่าได้ แต่ที่ได้เพิ่มเติมมาคือสเปค แบต กล้องหน้าที่มีความละเอียดมากขึ้น และเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
ฝาหลังมีชิ้นกลางที่เป็นโลหะ คาดผ่านแบ่งด้วยเส้นสีเงินตัดแบ่งส่วนบนและล่างที่เป็นพลาสติกเพื่อใช้รับสัญญาณโทรศัพท์ รวมถึง WiFi และ GPS มีการเล่นสีแบบทูโทนคือฝาโลหะจะมีสีอ่อนกว่าส่วนบนล่างและขอบด้านข้างตัวเครื่องนิดหน่อย อ่อ.ฝาหลังถอดไม่ได้นะครับ ไม่ต้องหาทางแกะกันหละ
กรอบรอบตัวเครื่องนั้นก็เป็นพลาสติก ด้านล่างมีการเจาะช่องเอาไว้ 2 ข้างโดยข้างหนึ่งใช้งานเป็นลำโพงและอีกด้านเป็นช่องไมโครโฟน มีช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรอยู่ด้านซ้ายสุด (ในภาพนั้นอยู่ด้านขวาสุดเพราะคว่ำเครื่อง) ส่วนช่อง micro USB นั้นอยู่ตรงกลางเครื่องพอดี
ด้านซ้ายของ OPPO F1s นั้นมีปุ่มปรับเสียง ใช้สำหรับปรับระดับเสียงแจ้งเตือนของตัวเครื่อง และใช้เป็นปุ่มชัตเตอร์ในโหมดกล้องถ่ายภาพได้ โดยปุ่มลดเสียงนั้นสามารถใช้งานร่วมกับปุ่มพาวเวอร์เพื่อจับภาพหน้าจอได้ หรือถ้าใช้ปุ่มเพิ่มเสียงร่วมกับปุ่มพาวเวอร์ก็จะเป็นการจับภาพหน้าจอแบบยาวต่อเนื่องหรือแบบพิเศษได้
ด้านขวามีปุ่มพาวเวอร์สำหรับเปิดปิดเครื่อง ซึ่งตำแหน่งของปุ่มนั้นตรงกับปุ่มปรับเพิ่มเสียงทางด้านซ้ายของตัวเครื่องพอดี ส่วนบนสุดเป็นช่องถาดซิมแบบ triple slot หรือมีให้ด้วยกัน 3 ช่อง
โดยทั้ง 3 ช่องนั้นแบ่งออกเป็นช่องซิม 1 ซิม 2 (ใช้ nano SIM ทั้งคู่) และช่อง micro SD สำหรับเติมเมมนั่นเอง โดย OPPO F1s นั้นมีการยิงโฆษณาว่าเมม 64GB คือเป็นการแถม micro SD ความจุ 32GB มาให้ รวมกับ ROM ที่มีในเครื่อง 32GB ก็เป็น 64GB
กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล f/2.0 สามารถใช้ไฟจากหน้าจอเป็น Screen Flash เวลาถ่ายภาพได้ ส่วนกล้องหลังมีความละเอียด 13 ล้านพิกเซล f/2.2, PDAF และ LED Flash 1 ดวง โดยทั้งกล้องหน้าและหลังนั้นใช้เซนเซอร์ขนาด 1/3.1 นิ้ว
เคสซิลิโคนใสที่แถมมาในกล่องนั้นพอดีกับเครื่องเป๊ะ คือรัดแน่นไม่มีอาการหลวม และลองจับๆ ดูก็ไม่มีอาการย้วยให้เห็นเหมือนบางยี่ห้อที่ใส่แล้วสักพักแทบจะลื่นหลุดออกมาเองได้ ออกแบบมาได้ฟิตพอดีเป๊ะ
ช่องไมค์ตัวที่สองสำหรับตัดเสียงรบกวนก็กลับมาแล้ว หลังจากหายไปไหนไม่รู้ในรุ่นก่อนๆ ของตระกูล F1
ลองมาเปรียบเทียบสีของ OPPO F1s ระหว่างสีทองกับสีชมพูดูกันสักหน่อย อย่างที่บอกว่าในส่วนของฝาหลังนั้นสีจะอ่อนกว่าและมีการเหลือบของสีเวลาพลิกเครื่องไปมารวมถึงแสงที่มาสะท้อนด้วย ในบางภาพเลยออกจะดูเป็นสีชมพูอมส้มนิดๆ
ถ้าสังเกตุที่ขอบรอบตัวเครื่องจะเห็นสีได้ชัดกว่า เพราะบริเวณนี้สีจะเข้มหน่อย
นอกจากสีที่ฝาหลังและขอบข้างจะต่างกันแล้ว บริเวณเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือก็มีการเลือกขลิบสีที่ต่างกันคือเป็นสีชมพูและสีทองด้วย งานนี้จะเลือกสีไหนก็แล้วแต่ชอบละครับ ^ ^
ระบบ Color OS และประสบการณ์การใช้งาน
OPPO F1s นั้นมาพร้อมกับ Color OS 3.0 (บน Android 5.1) ในใจผมก็แอบสงสัยว่าทำไมยังไม่อัพขึ้นไปเป็น Android 6.0 ซะที แต่นอกจากเรื่องเวอร์ชั่นแล้ว การใช้งานทั่วไปไม่เจอปัญหาเลย ลื่นไหลดีงาม UI ติดนิ้ว จะจิ้มจะลากไปทางไหนก็เชื่องตามตลอด ว่านอนสอนง่ายนะเรา ส่วนหน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD 720p นั้นก็ใช้งานได้สบายๆ การเล่นเกมหรือดูหนังนี่ไมมีปัญหา เนียนตาดี แต่ในบางอารมณ์ก็รู้สึกว่ามันขาดความคมไปหน่อย
สำหรับใครที่ใช้งาน OPPO อยู่แล้วก็คงไม่เจอปัญหาอะไร เพราะน่าจะคุ้นเคยกับ Color OS กันดี โดยหน้า UI นั้นไม่มี App drawer แอพหรือเกมที่ลงไปทุกตัวก็จะปรากฏบนหน้า Home และหน้าถัดๆ ไปทันที
แถบแจ้งเตือนด้านบนนั้นถ้าดึงลงมาก็สามารถเลื่อนไปมาซ้ายขวา เพื่อดูการแจ้งเตือนต่างๆ หรือสลับมาดู toggle switch เปิดปิดพวก wi-fi, bluetooth, internet หรือ GPS รวมถึงโหมดลดแสงสีฟ้า ถนอมสายตาก็สามารถเลือกเปิดได้จากตรงนี้
หน่วยความจำ 32GB ในตัวเครื่องนั้นมีพื้นที่เหลือให้ใช้งานราวๆ 23GB ครับ ส่วน RAM 3GB นั้นเหลือให้ใช้ราวๆ 1.7-1.8GB ถือว่าตัวระบบนั้นใช้งาน RAM ไปไม่เยอะ เหลือให้เราเปิดแอพและสลับไปมาได้มากหน่อยด้วยการกดปุ่มสี่เหลี่ยมหรือปุ่ม Recent Apps นั่นเอง และจากตรงนี้นอกจากจะเลือกสลับแอพแล้วยังสามารถเลือกเคลียร์แอพทั้งหมดออกจาก RAM ได้ด้ด้วย
บน OPPO F1s ยังมีแอพศูนย์ความปลอดภัยของ OPPO ที่มาคอยช่วยในการกำจัด cache หรือหน่วยความจำที่ถูกเก็บสะสมเอาไว้เพื่อคืนพื้นที่หน่วยความจำให้กับตัวเครื่อง และยังมีระบบสแกนไวรัสหรือ malware ภายในตัวด้วย งานนี้ไม่ต้องไปโหลดแอพไหนๆ มาติดเพิ่มก็ได้ ใช้ที่ติดมากับระบบ Color OS ก็เพียงพอ
ผลทดสอบประสิทธิภาพ
OPPO F1s ที่ใช้ชิป Mediatek MTK 6750 1.5GHz octa-core และ GPU Mali-T860 MP2 สามารถทำคะแนนไปได้ 41277 หรืออยู่ในช่วงราวๆ 4 หมื่นต้นๆ ครับ จากการที่ลองเล่นเกมยอดฮิตอย่าง Pokemon Go ก็เล่นได้ไม่มีปัญหา แต่ไม่สามารถเปิดโหมด AR หรือจับ Pokemon พร้อมถ่ายภาพคู่ได้ เนื่องจากไม่มี Gyroscpoe ก็จะไม่รู้ทิศทางการหมุนของตัวเครื่องนั่นเอง
อายุของแบตเตอรี่และระยะเวลาในการชาร์จ
ทดสอบเล่นเกม Pokemon Go ยาวๆ 1 ชั่วโมง แบบเปิดหน้าจอต่อเนื่องไม่ปิดเลยครับ เริ่มเล่นตอน 02:30 แบต 100% เต็ม ยาวไปจนถึง 03:30 แบตเหลือ 83% สรุปคร่าวๆ ถ้าเปิดหน้าจอเล่น Pokemon Go ต่อเนื่องก็น่าจะได้ราวๆ 5 ชั่วโมง
ส่วนอีกการทดสอบนึงก็คือเปิด YouTube ยาวหน้าจอเปิดตลอดเช่นกัน โดยอันนี้เน้นการเชื่อมต่อผ่านเสามือถือ 4G/3G ไม่ได้ต่อ Wi-Fi ผ่านไปชั่วโมงครึ่งหรือ 90 นาที แบตลดจาก 78% เหลือ 56% ลดไปราวๆ 22% ถ้าเปิดดูยาวๆ ผ่าน 4G/3G ก็น่าจะอยู่ได้ราวๆ 7-8 ชั่วโมง
ส่วนการใช้งานทั่วไปในแต่ละวันนั้นยังไม่เจอปัญหาอะไรและแบตสามารถอยู่ได้ 1 วันสบายๆ แต่เรื่องชาร์จนี่กินเวลาพอสมควร เหมาะสำหรับเสียบชาร์จก่อนนอน เพราะจากที่ทดสอบตอนแบตเหลือประมาณ 4% ตัดสินใจปิดเครื่องชาร์จเลย ดูว่า OPPO F1s จะใช้เวลาชาร์จจริงนานเท่าไหร่ เพราะโดนตัด VOOC Flash Charge ออกไป ก็พบว่าใช้เวลา 3 ชั่วโมงกว่าจะเต็ม 100% ครับ ซึ่งถ้าเปิดเครื่องไปด้วยก็อาจจะใช้เวลามากขึ้นอีกหน่อย
ระบบสแกนลายนิ้วมือ OPPO F1s
OPPO F1s มาพร้อมกับเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ด้านหน้าบริเวณปุ่ม Home จากที่ทดสอบมาคือสแกนติดง่าย และเปิดเข้ามาที่หน้าจอหลักได้รวดเร็วมากคือแตะปุ๊บมาปั๊บเหมือนเราไม่ได้ล็อกหน้าจอด้วยระบบสแกนลายนิ้วมือเลยด้วยซ้ำ
โดยการสแกนนิ้วเพื่อบันทึกนั้นอาจจะใช้เวลาเยอะหน่อย เพราะต้องแปะเข้าแปะออกอยู่ประมาณ 8 รอบ แล้วยังขอแปะเพิ่มกันพลาดวางนิ้วไม่ตรงอีก 4-5 รอบได้ แต่มั่นใจได้ว่ามันอ่านเร็วและแม่นยำจริงจัง โดยรองรับสูงสุด 5 ลายนิ้วมือครับ
ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาของการสแกนนิ้วใน OPPO F1s คือเราสามารถเพิ่มทางลัดให้กับการสแกนนิ้วได้ เช่นเราอาจจะใช้นิ้วโป้เป็นนิ้วหลักเอาไว้ปลดล็อคเฉยๆ แต่สามารถเลือกใช้นิ้วอื่นๆ เช่น ชี้ กลาง นาง ก้อย มาเพิ่มทางลัดเข้าแอพได้ เช่นนิ้วชี้เข้า Facebook นิ้วนางเข้า LINE หรือจะใช้นิ้วก้อยปลดปุ๊บโทรหาแฟนทันทีก็ทำได้
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ และ Gesture
การจับภาพหน้าจอแบบพิเศษ ปกติแล้วเราสามารถใช้ปุ่ม power + vol down ในการจับภาพหน้าจอได้อยู่แล้ว แต่ใน OPPO F1s เราสามารถจับภาพหน้าจอแบบพิเศษเช่นเลือกเอาเฉพาะบางส่วนหรือจับภาพหน้าจอที่ยาวต่อเนื่องกันได้ด้วยการใช้ปุ่ม power + vol up แทน โดยเมื่อกดลงไปแล้วก็จะมีแถบโปร่งใสด้านข้างโผล่มาให้เลือก
ผลการจับหน้าจอแบบยาวติดต่อกัน 3 หน้าก็จะได้ออกมาแบบนี้ครับ เอาไว้จับภาพหน้าจอ chat หรือเวบยาวๆ ก็ทำได้เช่นกัน
Gesture การสั่งงานด้วยท่าทาง จากหน้าจอที่ดับอยู่เราสามารถเพิ่มคำสั่งหรือท่าทางในการเรียกแอพเข้าไปได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะใช้งานได้สะดวกกว่าถ้าเราไม่ได้ล็อกหน้าจอด้วยรหัสหรือสแกนลายนิ้วมือครับ โดยสามารถใช้การวาดสัญลักษณ์หรือรูปร่างต่างๆ เพื่อเปิดแอพได้ทันที แต่ถ้าเราใส่รหัสล็อคหหน้าจอหรือมีการสแกนนิ้วเอาไว้ก็จะต้องทำการปลดล็อคเครื่องอีกต่อนึง ส่วนตัวเลยมองว่าถ้างั้นเราใช้ สแกนนิ้ว+คำสั่งเปิดแอพ น่าจะสะดวกมากกว่า
แต่ก็มีบางคำสั่งเช่นการวาดตัว V เพื่อเปิดไฟฉายหรือวาดตัว O เพื่อเปิดกล้องนั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องปลดล็อคหน้าจอ
วิทยุ FM สมาร์ทโฟนหลายรุ่นไม่ค่อยใส่มาให้แล้ว แต่ OPPO F1s ยังจัดวิทยุ FM มาให้คนที่ชอบอยู่ แต่ต้องเสียบหูฟังก่อนถึงจะสามารถเปิดใช้งานรวมถึงสแกนหาคลื่นได้นะ
โหมดแบบง่าย เป็นโหมดการใช้งานที่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่หรือคนที่ไม่เน้นเล่นแอพ แต่เน้นการโทร ส่งข้อความ ถ่ายภาพอะไรแบบนั้นมากกว่า โดยจะแบ่งเป็น 2 หน้าจอหลักเท่านั้นคือฟังก์ชั่นต่างๆ ส่วนอีกหน้าจอหนึ่งก็จะเป็นรายชื่อผู้ติดต่อที่เราใช้ติดต่อบ่อยๆ
ส่วนแอพต่างๆ นั้นสามารถเข้าไปเรียกใช้งานได้จากในแกลลอรี่โปรด (ภาษาไทยที่แปลมาแอบงงๆ นะ)
ระบบแสดงผลแบบถนอมสายตา หรือ Blue light filter นั้นเป็นการลดทอนเอาแสงสีฟ้าบนหน้าจอซึ่งอาจเป็นอันตรายกับดวงตาลงไป ซึ่งการเปิดหน้าจอแบบถนอมสายตานั้นอาจจะทำให้ภาพบนหน้าจอเป็นโทนเหลือง เพราะมีการลดแสงสีฟ้าที่จะช่วยให้ภาพหน้าจอสว่างและขาวขึ้นนั่นเอง
ระบบ Dual SIM ของ OPPO F1s
ถามกันมาเยอะเหมือนกันว่า OPPO F1s นั้นรองรับการจับสัญญาณ 3G พร้อมกันทั้ง 2 ซิม (Full NetCom 3.0) หรือไม่ ข้อนี้ตอบได้ว่าไม่ครับผม เมื่อเวลาเราใช้งานจะเป็นลักษณะ 4G/3G/2G + 2G คือซิมหลักสามารถเลือกเกาะได้ว่าจะเป็น 4G หรือ 3G ส่วนซิมรองนั้นจะเกาะได้แค่สัญญาณ 2G เท่านั้น
กล้องถ่ายภาพของ OPPO F1s
มาถึงเรื่องกล้องถ่ายภาพกันแล้ว ส่วนใหญ่เราจะเห็นในโฆษณาของ OPPO F1s นั้นชูจุดขายที่กล้องหน้า 16 ล้านพิกเซลซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เอาจริงๆ แล้วกล้องหลังของเค้าก็ทำได้ดีเหมือนกัน โดยจุดเด่นของกล้องหลัง OPPO นั้นคือเรื่องของความสว่างของภาพรวมถึงหน้าจอ เรียกว่ามีการปรับออกมาให้เล็งถ่ายภาพง่าย ไม่ว่าจะแสงน้อยหรือแสงมากก็เห็นภาพและวัตถุบนหน้าจอได้ชัด
โหมดกล้องหลักๆ มีด้วยกัน 5 แบบที่สามารถเลื่อนสลับได้จากหน้าจอ ไล่จาก Timelapse, ถ่ายวิดีโอ, ถ่ายภาพแบบปกติ, โหมดบิวตี้ และปิดท้ายด้วยพาโนรามา
ส่วนที่นอกเหนือไปจากนั้นก็ยังมี โหมด Double Exposure ถ่ายภาพซ้อน 2 ครั้ง, โหมดกรองสีฟิลเตอร์ต่างๆ, โหมดโปรที่สามารถปรับตั้งค่าได้, การถ่ายภาพ GIF สั้นๆ และปิดท้ายด้วยโหมดภาพความละเอียดสูง Ultra HD
ตัวอย่างภาพจากโหมดกรองสี ที่สามารถเลือกฟิลเตอร์ได้ รวมถึงมีข้อความลายน้ำต่างๆ ให้เล่น
ภาพถ่ายปกติเราคงจะซูมเข้าไปดูรายละเอียดไม่ได้มาก แต่ถ้าเราใช้โหมด Ultra HD เราสามารถเพิ่มความละเอียดภาพได้ถึง 2 ระดับ คือ 24 ล้านพิกเซล และ 50 ล่านพิกเซล
จะเห็นว่าในโหมด 24 ล้านพิกเซลตัวภาพมีความละเอียดมากขึ้น และก็เก็บรายละเอียดในภาพได้สูงขึ้นด้วย ไม่ใช่การเพิ่มพิกเซลหลอกๆ แต่มีการถ่ายภาพหลายๆ ภาพมารวมกันให้เป็นภาพใหญ่
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหลัง OPPO F1s
กล้องเซลฟี่ 16 ล้านพิกเซล
มาถึงกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซลที่ว่ากันว่าเซลฟี่ยังไงก็เนียน จะย้อนแสงหรือแสงน้อยมันก็ปรับให้หน้าเราสว่างอัตโนมัติ อันนี้ทดลองแล้วใช้งานได้จริง ขอแต่มันตรวจจับใบหน้าเราเจอเมื่อไหร่ การวัดแสงของกล้องหน้าก็จะถูกปรับโดยอัตโนมัติให้หน้าของเรามีความสว่างขึ้นมาทันที
5 โหมดหลักการถ่ายภาพนั้นยังอยู่ครบ แต่โหมดเสริมอาจจะน้อยกว่ากล้องหลัง เหลือแค่ตัวกรองสี, GIF และ Double Exposure เท่านั้น
แต่นอกเหนือไปจากนั้นเราสามารถให้สัญญาณการกดชัดเตอร์ด้วยการแบมือได้ เรียกว่ายกฝ่ามือขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็นับถอยหลัง 3 – 2 – 1 แชะได้ทันที
อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของภาพเซลฟี่ที่ได้ทดลองถ่ายมาทั้งในโหมด Auto ที่เน้นหน้าสด ความเนียนไม่เอา อยากได้แบบธรรมชาติจริงๆ
เทียบกับการเปิดโหมด Beauty ที่ค่ามาตรฐานคือ Level 4 แค่นี้ก็เห็นแล้วซึ่งความแตกต่าง
ลองไล่ระดับของโหมด Beauty จาก 1 ไป 4 จนถึง 7 บอกเลยว่าสุดมากๆ ก็ไม่กลายเป็นเอเลี่ยน แต่จะเริ่มโบ๊ะหน้าหนานิดหน่อยละ คือเกลี่ยนซะเนียนจนไม่เหลือริ้วรอยใดๆ ทั้งสิ้น
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหน้า OPPO F1s
สรุปปิดท้ายหลังจากทดลองใช้ OPPO F1s
ความประทับใจที่ได้จากการใช้ OPPO F1s นั้นอย่างนึงที่บอกได้เลยว่าเป็นเรื่องกล้องถ่ายภาพ กล้องหน้านั้นสอบผ่านและการันตีชื่อเสียงมาหลายรุ่นแล้ว และรุ่นนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ยังคงความดีงามเนียนใสเอาไว้ได้เหมือนเดิม ส่วนกล้องหลังที่ OPPO เหมือนจะแอบทำให้มันกลายเป็นลูกเมียน้อยใน F1 series ด้วยพิกเซลทีน้อยกว่ากล้องหน้า แต่มันก็ยังคงทำงานได้ดีไม่ว่าจะเป็นการโฟกัสที่รวดเร็วขึ้น การโฟกัสระยะใกล้หรือไกลก็จับระยะได้ค่อนข้างดี ส่วนดีไซน์ตัวเครื่องนั้นอาจจะดูสวยสู้ F1 Plus ไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจเพราะทำราคาออกมาถูกกว่า และก็ได้เรื่องของอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นเพราะแบตเตอรี่ที่ให้มามากกว่าเดิม ส่วนการใช้งานราวๆ 1 สัปดาห์ยังไม่เจออาการค้างหรือหน่วงเลย แต่มี restart ตัวเองไป 1 รอบตอนเปิดกล้องเท่านั้นครับ
สิ่งที่ประทับใจ
- กล้องหน้าและหลังทำงานได้รวดเร็วและถ่ายภาพออกมาได้ดีทั้งคู่
- ระบบเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือแม่นยำและปลดล็อคได้เร็วมาก เร็วกว่าหลายๆ รุ่นที่ราคาสูงกว่าด้วยซ้ำ
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานกว่าที่คาดไว้ อายุแบตดีกว่า F1 Plus พอสมควร
- Color OS ทำงานได้ลื่นไหล ไม่เจอปัญหาหน่วงหรือค้าง นอกจาก restart ตัวเองไปตอนเข้ากล้องครั้งนึงแล้วก็ยังไม่เจออาการหรือปัญหาอื่นๆ นะ
สิ่งที่ไม่ค่อยประทับใจ
- การชาร์จแบตที่พอไม่มี VOOC Flash Charge แล้วทำให้ต้องเสียบชาร์จนานมาก
- หน้าจอ HD สวยงามพิกเซลละเอียดพอก็จริง แต่ก็แอบอยากให้มันคมกว่านี้
- ดีไซน์ดูเก่าไปหน่อย (คล้าย F1 รุ่นแรก) และวัสดุน่าจะดีกว่านี้อีกนิดนึง
- ทำไมไม่มี Gyroscope ?
การที่ OPPO จับเอา F1s มาทำตลาดในช่วงราคา 9,990 บาทนั้นถือว่าน่าสนใจ โดยการชูจุดขายเรื่องกล้องหน้าเซลฟี่ที่เคยสร้างชื่อและเป็นสโลแกนหลักของตัวเองได้ถูกที่ถูกเวลามากๆ เพราะในตลาดสมาร์ทโฟนราคาต่ำหมื่นนั้นตอนนี้หลายๆ ค่ายเน้นความคุ้มค่าในด้านสเปคกับราคาซะมากกว่า ไม่มีใครชูจุดเด่นในเรื่องกล้องออกมาเลย ไม่ว่าจะเป็น Lenovo VIBE K5 Note หรือ Motorola G4 Plus ก็ตาม ซึ่งใครที่มีงบไม่เกินหมื่นแล้วเล็งอยากได้สมาร์ทโฟนกล้องสวยที่ถ่ายแล้วเป๊ะทั้งหน้าและหลังก็น่าจะมี OPPO F1s เป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ในช่วงราคานี้ครับ
อีกข้อนึง ทำไมไม่เป็นMarshmellow ครับ มือถือครึ่งปี2016 แถมยังไม่ทราบว่าจะได้อัพเดตบ้างไหม
ยี่ห้อนี้ไม่มีแน่นอน 1,000,000% R1 ยังกิน Kitkat ตั้งแต่เกิดจนตาย -.-
Color OS อัพช้ามากครับ ถ้าอยากอัพจริงๆ ไปเล่น Project Spectrum ดีกว่า
เราสั่งออนไลน์ ราคาถูกดีนะคะ ลองดูที่ http://hyperurl.co/oppo-sale
.
หาโค้ดลดที่นี่ได้อีก http://hyperurl.co/discount-code
.
จอ 5.5 นิ้ว HD มันไม่คมจริงๆอ่ะคับ รู้สึกเหมือนย้อนยุค
ไปใช้ Note2 นี่ราคาเกือบหมื่น น่าจะลงทุนจอ FHD ซะหน่อย
เรื่องกล้องหน้าไว้ใจเขาเลย แถมซอฟแวร์ปรับเนียนดูไม่เวอร์ดีแฮะ
Galaxy J7 Prime ผมว่าสเปคกล้องหน้ายังไม่ดีคับ..ราคาอัด Oppo หรือ F1s
ดีกว่าคับ.. แนะนำตอนนี้เห็นลดราคาอยู่น่ะคับ
มีงบ 9 พัน อยากได้มือถือกล้องดี ๆ … มีรุ่นไหนบ้าง ณ ปัจจุบัน สิ้นปี 2016
ถ้าจะไปซื้อ ไม่เอาสเปคเกมส์ ตอนนี้ แบบเอา Presenter มาว่าชอบคนไหน
– Huawei GR5 2017 ( มิว นิษฐา ) จุดเด่น กล้องคู่ ได้มาแบบ Huawei GR5 ได้กล้องแบบเทพในราคาไม่ถึงหมื่นตัวนี้ GR5 ออกทิ้งทวนของ
Huawei ปล่อยหมัดเด็ด ประมาณ 8,290
– Oppo F1s ( ใหม่ ดาวิกา ) ตอนนี้ราคาลงมาแล้วมาตีคู่กัน
– Vivo V5 ( อั๊ม พัชราภา )
– Nubia Z11 Max ส่วนตัว แอดว่า Software กล้องยังไม่ดีเท่าที่ควร ไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพดีได้ในส่วนของกล้อง พวกโหมด HDR หรือ software กล้องยังสู้ แบรนด์ด้านบน แต่เอาเรื่องสเปครวมตัวนี้คุ้มจริง ๆ ไม่เถียงกัน…
คห.ส่วนตัว ของแอด ไม่เกี่ยวกับคหใด ๆ ของท่านผู้อ่าน..
หลังจากตกผลึกแล้ว มี 3 ตัวนี้แหล่ถ้าจะซื้อ..
ถ้าเลือกกล้องหลัง ของ Huawei GR5 2017 แอบเชียร์ตัวนี้สำหรับ คนชอบถ่ายวิว ๆ หรือใช้กล้องหลังเป็นหลัง ถือว่าคุ้มค่า..
ถ้าเลือกกล้องหน้าสวยหน้า เลือก Oppo F1s หรือใช้กล้องหน้าเป็นหลักบ่อย ๆ
Nubia Z11 Max ถ้าชอบแบบจอใหญ่สเปคแรง ๆ กล้องถ่ายออกมาใช้ได้..
ในระดับหนึ่งเล่นเกมส์ได้
Huawei-GR5-201
[size=20]แนะนำ > [url]http://bit.ly/Huawei-GR5-2017-discount[/url][/size]
ประมาณ 8,290 ได้ของแถม power bank ด้วย
Oppo F1S ราคา 8,150 บาท ลาซ้าด้า
[size=20][url]http://bit.ly/oppo-f1s-8150baht[/url][/size]