Samsung GALAXY S4 ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน S4 เข้ามาช่วยในเรื่องของการตั้งเป้าหมายในการออกกำลัง โดยติดตามระดับการออกกำลังตลอดวัน… รวมถึงการเก็บบันทึกข้อมูลการบริโภค ระดับน้ำหนัก (สามารถอัพเดทเองได้ ในแต่ละวัน) แถมยังมีข้อมูลอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ+ความชื้นรอบตัว น้ำตาลในเลือด และความดันอีกด้วย (ข้อมูลน้ำตาลในเลือด กับความดันนั้น เป็น features ที่ต้อง download เพิ่ม)

** บนหน้าจอ (ในภาพ) ยังแอบเห็นมีการติดตาม Sleep efficiency อีกด้วย … น่าสนใจ

ขั้นตอนการใช้งาน
– เข้า app ‘S Health’ [ถ้าใช้งานครั้งแรก แอป จะให้เรากรอกรายละเอียดส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง อื่นๆ]
– กดปุ่ม(ซ้าย) เมนู เพื่อกำหนดเป้าหมาย
– ตั้งเป้าหมาย (Set Goals) ว่าจะก้าวเดิน หรือวิ่งกี่ก้าว
– กดที่ ‘Start’ เพื่อเริ่มการนับ และกด ‘Pause’ เพื่อหยุด หรือพักหากไม่ก้าวหรือวิ่งแล้ว (สามารถ pause/start ได้ตลอดเวลา)

สำหรับ S-Health มีส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้

Calorie management มี 3 ส่วนหลักๆ เลย คือ
> Walking mate : เป็นการติดตามและนับก้าวในการเดิน/วิ่ง
> Exercise mate : เป็นการติดตามและบันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ เช่น Aerobic, Badminton และอื่นๆ (ข้อมูลส่วนนี้ ทดสอบจากหน้าจออย่างเดียว เนื่องจาก เราแค่กรอกรายละเอียดเข้าไปอย่างเดียว ซึ่งจะต่างกับ Walking mate ที่ต้องเปิดใช้งานไปพร้อมๆ กัน)
> Food tracker : เป็นการติดตามการทาน การดื่ม ที่เราสามารถใส่่ทั้งภาพ รวมถึงข้อมูลรายละเอียดชื่ออาหาร รวมถึงปริมาณ calories ที่ได้บริโภคไป

Surrounding
> Comfort level : บอกอุณหภูมิ และความชื้นของสภาพแวดล้อม

Health diary
> Weight : น้ำหนักตัว (สามารถอัพเดทข้อมูลด้วยตัวเองได้ เช่น เมื่อวานน้ำหนักอยู่ที่ … kg วันนี้ น้ำหนักอยู่ที่ … kg เพื่อติดตามความคืบหน้าของน้ำหนักร่างกาย)

** Features อื่นๆ เกี่ยวกับ Blood glucose , Blood pressure และ Sleep efficiency ต้อง download เพิ่มเติม

Health board : แสดงรายละเอียดแบบสรุป ให้เรารู้ว่า
– Calories burnt ปริมาณ Calories ถูกเผาผลาญไปปริมาณเท่าไหร่
– Calories intake ปริมาณ Calories ที่ได้รับไปของวันนั้น
– Weight น้ำหนักของร่างกาย

เราสามารถกำหนดเป้าหมายในการออกกำลังได้ (การก้าวเดิน)

(หน้าจอ ซ้าย) เราสามารถเรียกใช้ widget S-Health ให้มาอยู่ส่วนหน้าจอแรกของเครื่องได้
(หน้าจอ ขวา) เมื่อกดเข้าไปจาก widget จะพบรายละเอียดของ Walking mate
– จำนวนก้าว จนถึงปัจจุบัน
– เป้าหมายของจำนวนก้าวที่กำหนดไว้ (สามารถปรับเปลี่ยนได้)
– ระยะทาง
– ปริมาณ calories ที่เผาผลาญไป
** ทั้งนี้ สามารถใช้งานปุ่ม ‘Pause’ เพื่อหยุดการนับก้าวของ Walking mate ได้ ในกรณีที่โดยสารรถ หรือนั่งเฉยๆ

หน้าจอ Home แสดงจำนวนก้าว พร้อมเป้าหมาย (หากมีการใช้งานอยู่ ตัวเลขก็จะรันไปเรื่อยๆ ตามจำนวนก้าวที่เราเดินไป)

เมื่อเราทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ถ้ายังคงใช้งานอยู่ จำนวนก้าวก็จะยังคงนับต่อไป ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยน กำหนดเป้าหมายใหม่ได้ (ตลอดเวลา)

สิ่งสำคัญเลยของการดูแลสุขภาพและการออกกำลัง คือ การที่เรารู้ว่าเราได้ก้าวไปกี่ก้าวแล้ว (จริงๆ ไม่มีใครมาคอยนับก้าวให้) รวมถึงระยะทางที่เราได้เดิน และปริมาณ calories ที่เผาผลาญไป และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ สิ่งที่เราดื่ม เราทาน หรือบริโภคเข้าไปด้วยเช่นกัน โดยเราเองสามารถบันทึกข้อมูลรายละเอียดสิ่งที่เราบริโภคเข้าไป (ภาพ ชื่อ และปริมาณ calories)

นอกจากนี้ เราสามารถดูรายละเอียดของการก้าว ในรูปแบบกราฟได้ด้วย (ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่การก้าวเท่านั้น มีข้อมูลทั้ง Up/Down และ Running ด้วย)


สำหรับ Food tracker ก็เช่นกัน เลือกดูแบบกราฟด้วยได้

Comfort level แสดงรายละเอียด ณ ปัจจุบันเกี่ยวกับ อุณหภูมิ และความชื้นของสภาพแวดล้อมของเรา

หน้าจอแสดงรายละเอียดที่ปรับตามช่วงเวลา (กลางวัน และเย็นค่ำ)

Exercise mate แสดงข้อมูลของปริมาณ calories ที่เผาผลาญไป ตามแต่ประเภทของกิจกรรม และระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม

(เมื่อกด ‘+Enter’) เราสามารถเข้าไปเลือกประเภทกิจกรรมจากรายการได้เลย โดยในแต่ละกิจกรรมจะมี default ที่ 30 นาที (พร้อมปริมาณ kcal กิโลแคลลอรี่ ที่เผาผลาญ เราสามารถกำหนดระยะเวลาได้ด้วยเช่นกัน

(เมื่อเลือกกิจกรรม และระยะเวลาแล้ว) กลับมาสู้หน้าจอแสดงรายละเอียดปริมาณ calories ที่เผาผลาญไป จำนวน % และระยะเวลา สามารถเพิ่มกิจกรรมอื่นๆ เข้าไปได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังสามารถเรียกดูเป็นแบบกราฟได้เช่่นกัน

ข้อมูลต่างๆ สามารถนำออกไปด้วยหนทางอื่น เพื่อนำไปใช้แสดง เก็บข้อมูล หรืออื่นๆ ตามแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ด้วยการ แชร์

สรุปจากการทดลองใช้งานภายใน 1 วัน

ถือว่าเป็น application ที่ดี แถมติดมากับตัวเครื่องด้วยเลย ไม่ต้องไปนั่งควานหา ทดสอบ ทดลอง ได้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการจัดการเรื่องของการเผาผลาญ calories โดยการวิ่ง / เดิน หรือ exercise และการบริโภค อีกทั้ง ข้อมูลต่างๆ สามารถ share ไปใน social ต่างๆ ที่มีอยู่ได้ด้วย

หมายเหตุ : ไม่ต้องใช้งาน data ร่วมด้วย (สำหรับใครที่กังวลว่า S Health นี่ต้องเปิด data / internet ใช้งานไปด้วยหรือไม่) … แต่จะใช้งาน data / internet ต่อเมื่อเราค้นหาชื่ออาหารในส่วนของ Food tracker และการแชร์ผ่าน Social (เช่น Facebook, Dropbox และช่องทางที่ต้องใช้งาน data / internet


จุดดีของ S Health

แน่นอนว่า สำหรับคนที่ต้องการมีตัวช่วยในการติดตาม monitor การออกกำลัง และการบริโภค ถือว่าเป็น application ที่ติดมากับเครื่องที่ดี app หนึ่งเลยครับ โดยส่วนตัว ไม่ได้ออกกำลังแนวนี้ ไมว่าจะเป็นการวิ่ง jogging หรือเดินออกกำลังก็ตาม แต่ก็เคยคิดอยู่ว่า “ทุกวันนี้ แต่ละวัน เดินไปเดินมา กี่ก้าว”

ขนาดแค่ตอนเริ่มทดลอง ลงจากรถโดยสาร เริ่มการใช้งาน แค่เดินข้ามฝั่งมาสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถึงหน้าร้าน Amazon ปาเข้าไปตั้ง 500 กว่าก้าว ซึ่งระยะทางก็ไม่ได้ไกลมาก แต่ถือว่าเป็นตัวเลขที่ดี ที่ได้รู้

  1. มี widget ที่อยู่หน้า Home สามารถแสดงรายละเอียดได้ดี
  2. user friendly เรียกว่า ใช้งานง่าย ไม่วุ่นวาย ยุ่งยาก ข้อมูลสามารถเรียกดูเป็นแบบกราฟได้
  3. ความยืดหยุ่น (flexible) สามารถปรับตั้งเป้าหมายใหม่ได้ แม้จะมีเป้าหมายเดิมอยู่ก่อนแล้ว (ไม่ต้องไปเริ่มใหม่อะไรให้วุ่นวาย และเสียเวลา)
  4. (Walking mate) บางที มันอาจไม่ได้นับก้าว ณ เวลานั้น แต่มันมีการนับแบบในใจด้วย 555+ แล้วพอมันเริ่มนับได้ มันก็จะเอาไอ้ที่นับในใจเมื่อกี้ มารวมกับตัวเลขปัจจุบันที่มันนับอยู่ (มันนับแหละ แต่แค่เราใจร้อน เปิด app ไวไป มันเลยมีช่วงหน่วง ซึ่งถ้าผู้ใช้งานไม่สังเกต อาจคิดได้ว่า “มันไม่นับเหรอ ช่วงนั้น” แต่จริงๆ มันนับอยู่
  5. (Exercise mate) มีกิจกรรมในการ exercise ให้ได้เลือกมาก แทบบอกได้ว่า ครบเลยทีเดียว
  6. ข้อมูลที่มีทั้งการก้าว การออกกำลัง และการติดตามการบริโภาค (ไหนๆ เราก็ชอบถ่ายภาพก่อนกินอยู่แล้ว คงไม่ใช่เรื่องยากในการใส่ข้อมูลส่วนนี้)
  7. ข้อมูลต่างๆ นั้นถูกเก็บไว้เป็นวันๆ (หากเรายังคงต้องการเก็บไว้) และข้อมูลของวันก่อนๆ ก้สามารถนำมารวมกับข้อมูลปัจจุบันได้ โดยการเลือกดูรวมว่า “กี่ก้าวแล้ว ทั้งหมด หลายวันมานี้ total steps”
  8. สามารถแชร์ข้อมูลไป social หรือที่อื่นๆ ได้ตามแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน
  9. ไม่ต้องใช้งาน data ร่วมด้วย (สำหรับใครที่กังวลว่า S Health นี่ต้องเปิด data / internet ใช้งานไปด้วยหรือไม่) … แต่จะใช้งาน data / internet ต่อเมื่อเราค้นหาชื่ออาหารในส่วนของ Food tracker และการแชร์ผ่าน Social (เช่น Facebook, Dropbox และช่องทางที่ต้องใช้งาน data / internet

หมายเหตุ : อุปกรณ์เสริมอื่น เช่น S-Band หรือ/และ HRM ก็รออยู่่ เพราะอยากรู้ว่า มันสามารถ sync และติดตามได้อย่างไร น่าสนใจอยู่มาก


ข้อจำกัดของการใช้งาน

  1. ส่วน Walking mate มันจะนับตลอด แม้กระทั่งอยู่บนรถ ทั้งนี้ อย่าลืมหยุดการทำงาน (‘Pause’) เมื่อเลิกใช้งาน มิเช่นนั้น ข้อมูลที่ได้ จะไม่มีความน่าเชื่อถือ
  2. ส่วนของ Food Tracker
    • การใส่รายละเอียดของอาหาร ขนม เครื่องดื่มลงไปคู่กับภาพ (เราต้อง search ข้อมูลด้วยภาษาอังกฤษ และชื่อเมนูนั้นอาจไม่มีในระบบ)
    • การกรอกข้อมูล เพิ่มเติมเอง ถ้าเป็นอาหารที่ปรุงเอง หรือซื้อจากตลาด แวะกินข้างทาง มันก็คงยากในการกำหนดปริมาณแคลลอรี่ (ส่วนอาหารที่ซื้อแบบแพค ตามห้าง ก็จะมีระบุอยู่บนภาชนะ)

==

ทดสอบ S Health เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2556 (ตลอดวัน)