ใครที่กำลังประสบปัญหา การเชื่อมต่ออุปกรณ์ Android ของท่านกับ Computer / Notebook ผ่านสาย Data cable ที่ต้องมาพะว้าพะวงว่า ต้องมานั่งเสียบสายเชื่อมต่ออยู่เรื่อยนั้นคงหมดไปแล้ว

วันนี้ มีทางออกมานำเสนอ เพื่อให้ได้ทดลองและใช้งานกันครับ K.daoust ว่า “เหมือนเสียบ USB กลางอากาศ (WiFi) และจัดการ files ได้แบบคุ้นเคยใน Windows” แค่นี้ก็คงพอจะทำให้อยากรู้สึกลองใช้งานมาแล้วใช่รึเปล่า?

Review นี้ ต้องยกเครดิตให้ K.doust (forum 53 : Galaxy Tab) เพราะเป็นคนที่แนะนำ app นี้ในกระทู้ https://droidsans.com/node/21339 [comment #5]

ด้วยความอยากรู้และอยากลอง ว่ามันต่างกันอย่างไร กับ App ที่ชื่อ ‘WiFi File Explorer’ ที่ใช้งานอยู่แล้วนั้น และที่มี review โดย K.tabshah ตามกระทู้ : https://droidsans.com/node/21402 [WiFi File Explorer แบบ PRO version ไม่ฟรีนะครับ]

===

ด้วยความสามารถของ App ‘Samba Filesharing‘ ที่มาอำนวยความสะดวกในการใช้งาน การจัดการไฟล์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกไฟล์ วางไฟล์ ลบ rename ฯลฯ ทั้งจากเครื่องคอม อุปกรณ์ Andoird ที่มี แต่ข้อสำคัญที่อาจเป็นข้อจำกัดที่สำคัญเช่นกัน คือ ท่านจะต้องมี WiFi Router ที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอม หรือ notebook พร้อมกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Android ของท่านด้วยเพื่อการใช้งาน

Review นี้ จะขอแบ่งการอธิบายออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
#1. ส่วนการทำงานบนอุปกรณ์ Android
#2. ส่วนการทำงานบนคอมพิวเตอร์
#3. เมื่อย้อนกลับมาดูที่อุปกรณ์ Android (แสดงผล)

หมายเหตุ : สำหรับ #1 และ #2 จะต้องอยู่บนระบบ network เดียวกัน [LAN/WLAN]

ภาพรวมของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ => WiFi Router : Android (WiFi) + Computer (LAN) / Notebook (LAN / WiFi) (ตามภาพ)

การทำงาน => เราทำให้อุปกรณ์ Android นั้นเป็น Host ส่วนการใช้งานเราจะควบคุมจากเครื่อง Computer หรือ Notebook เราเมื่อการเชื่อมต่อนั้นสำเร็จ

>>> #1. ส่วนการทำงานบนอุปกรณ์ Android << กดที่ปุ่ม ‘Menu’
> เลือก ‘Settings’
> กำหนด ‘Password’

ซึ่ง Username (ดั้งเดิม) นั้นจะใช้ ‘SDCARD’
ใช้ปุ่ม ‘Back’ เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของค่าต่างๆ

การเริ่มใช้ Samba filesharing ให้กดที่โลโก ‘Samba’ เพื่อสลับกับโหมด ‘Enabled / Disabled’

เมื่ออุปกรณ์นั้นอยู่ในโหมด WiFi tether จะต้องทำการ restart Samba Filesharing โดย
– กดปุ่ม Menu > Enable
– หรือ กดที่โลโก ‘Samba’
หมายเหตุ : การสนับสนุนการใช้งาน WiFi tethering กำลังพัฒนา หากไม่สามารถทำงานได้ ให้ติดต่อกับผู้พัฒนาโปรแกรม

หน้าจอต่อมา แจ้งว่า ‘Password not configued’ ยังไม่มีการเข้าไปกำหนด password ใดๆ เพื่อใช้งาน (ตามภาพ)

ให้กดที่ปุ่ม ‘Menu’ เพื่อการเข้าสู่เมนูย่อย
– Disable เพื่อปิดการใช้งาน
– Enable เพื่อเปิดการใช้งาน
– Settings เพื่อปรับเปลี่ยนค่าในการใช้งานโปรแกรม
– Media scan เพื่อทำการ scan microSD

ให้เลือกที่ Settings หน้าจอ ‘Preferences’ ปรากฏ (ตามภาพ)

User & Filesharing

Password กำหนดได้อิสระ ซึ่งทันทีที่กำหนด ‘Password’ เรียบร้อย รายละเอียดต่อมาในกรอบสีส้ม สามารถปรับ/เปลี่ยนได้แล้ว โดยมีหน้าจอยืนยัน (ตามภาพ)

หมายเหตุ : ในหน้าจอยืนยันนั้น จะมีรายละเอียดเพิ่มเติม (ในกรณีที่ต้องการปรับค่าใหม่) ผู้ใช้งานอาจต้องทำการเคลียร์ cache บนเครื่อง client (เครื่องคอมของท่านนั่นเอง) ก่อนทำการเชื่อมต่ออีกครั้ง โดยใช้คำสั่ง net use /delete จาก Windows ‘cmd.exe’ (โดยการคลิกที่ Start > Run)

Username อย่างที่ชี้แจงไปตอนแรก ‘SDCARD’ จะใช้เป็น username [ไม่กำหนดว่าจะเป็น upper หรือ lower case] (ตามภาพ)

Workgroup Name ปกติคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ใน Workgroup เดียวกัน ซึ่งในระบบจะตั้งค่าดั้งเดิมไว้ ‘WORKGROUP’ (หากไม่ได้ไปปรับเปลี่ยน) (ตามภาพ)

หมายเหตุ : แต่ถ้าไม่สามารถมองเห็นกันหรือ connect กันได้ คงต้องไปเปิดดูจาก Computer / Notebook ของท่านแล้วว่าอยู่ Group ใด โดยการคลิกขวาที่ ‘My Computer’ > เลือก ‘Properties’ จะเห็นเลยว่าอยู่ใน Workgroup ชื่ออะไร? … หากไม่ตรง ก็ให้เปลี่ยน แล้ว computer จะแจ้งให้ทำการ restart เครื่อง

NETBIOS Name ทำหน้าที่เหมือนเลข IP ของเครื่อง (ซึ่งจะแสดงรายละเอียดในส่วนล่าง ท่านจะเห็นว่า จะมีการเชื่อมต่อได้ 2 วิธี คือ 1. จากเลขชุด IP และ 2. จากชื่อ NEIBIOS นี่เอง

App Behavior

Notification Bar Icon ต้องการให้มี icon บน Notification Bar หรือไม่ (หากต้องการ ก็ให้ทำเครื่องหมายถูกเอาไว้) (ค่าดั้งเดิม)
Enable Wakelock เพื่อป้องกันอุปกรณ์ไม่ให้เข้าสู่ Sleep mode ในระหว่างการใช้งาน (ต้องทำเครื่องหมายถูกเอาไว้) (ค่าดั้งเดิม)
Screen Orientation สามารถปรับได้ตามต้องการ มี 3 แบบ (ดังภาพ)

Display Action Popups เพื่อให้กำหนดให้มี/ไม่มี pop-up เมื่อเปิดหรือปิดการใช้งาน filesharing (เครื่องหมายถูกที่มี มาจากค่าดั้งเดิม)

Other Stuff

About
Create Support Logfile เพื่อสร้าง log file (ตามภาพ)

Uninstall Samba Filesharing สำหรับการถอนการติดตั้ง app Samba

(เมื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ใน Settings เป็นที่เรียบร้อยแล้ว) ให้กดที่ปุ่ม ‘Menu’ แล้วเลือก ‘Enable’ เพื่อเปิดการใช้งาน และจะมีหน้าจอมาให้รายละเอียดของเครื่อง เพื่อการเข้าใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ (ตามภาพ)

>>> #2. ส่วนการทำงานบนคอมพิวเตอร์ <<<

สำหรับบนคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะเป็น PC / Notebook ก็ตาม) จะสามารถเข้าใช้งานได้ก็ต่อเมื่ออยู่บนเครือข่ายเดียวกัน (อยู่ในวง LAN เดียวกัน) จากภาพจะเห็นว่า บนอุปกรณ์ Android นั้นได้แจ้งช่องทางของการเข้าไว้ (ตามภาพ)

\192.168.7.99 (ตัวอย่างของเครื่องที่ผมลอง)
\ANDROID (upper หรือ lower case ไม่มีผล)

ให้เปิด Internet Explorer ขึ้นมา หรือใครที่เคยใช้คำสั่ง ‘Run’ (คลิกที่ Start > Run)
จากนั้นให้พิมพ์ตามที่ปรากฏบนหน้าจออุปกรณ์ของท่าน เมื่อพิมพ์เสร็จก็กด ‘Enter’

1. \192.168.7.99 (กด ‘Enter’) (ตามภาพ) หรือ

2. \ANDROID (กด ‘Enter’)

Pop-up Windows ปรากฏขึ้นมาเพื่อให้ได้กรอก ‘Username’ และ ‘Password’ แล้วกด ‘OK’ (ตามภาพ)

หมายเหตุ :
– Username คือ SDCARD (หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในขั้นตอนการตั้งค่าบนอุปกรณ์)
– Password คือ ค่าที่ท่านได้ทำการใส่ลงไปในตอนแรกบนอุปกรณ์

(หลังจากที่กรอก Username + Password เรียบร้อย) จะได้พบกับหน้าจอ Windows Explorer โดยเราจะเห็น Address ที่อยู่ด้านบน (ตามภาพ)

Network 192.168.7.99
Folder ‘sdcard’ ที่เห็น คือ สิ่งที่ท่านสามารถเข้าไปจัดการได้เหมือนกับการจัดการบนเครื่องคอมพิวเตอร์เลย

(เมื่อกด double-click ที่ folder ‘sdcard’) จะเข้ามาในส่วนของ folder และ files ต่างๆ ที่อยู่ในเครื่องแอนดรอย+external card ของเรา (ตามภาพ)

ตัวอย่าง : ‘copy file’ จาก desktop คอม (ตามภาพ) รองรับการลาก+การวางได้เหมือนที่เราใช้งาน Windows ปกติทั่วไป

ตัวอย่าง : ‘paste file’ จากที่ copy มาจาก desktop (ตามภาพ) จะลาก+วางก็ได้เหมือนกัน

ตัวอย่าง : หลังจากที่ paste file ลงใน folder ‘external_sd” (ตามภาพ

>>> #3. เมื่อย้อนกลับมาดูที่อุปกรณ์ Android <<<

(ผมเข้าจากไฟล์ข้อมูล เดิมๆ ที่มากับเครื่อง) เห็นได้เลยว่า ไฟล์ที่ได้ทำการ copy จาก desktop คอม + paste ลงใน folder 'external_sd' บนอุปกรณ์ นั้นอยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว (ตามภาพ)

เมื่อเราเปิดไฟล์นั้นดู ก็จะเป็นดังที่เห็น (ตามภาพ)

หมายเหตุ : ทางเจ้าของภาพ ไม่อนุญาตให้เปิดเผยใบหน้าใด เพราะอาจมีผลต่อการเข้าร้าน Buffet ตลอดชีวิตเขา จึงจำเป็นต้องทำการปาดดำเอาไว้ครับ จึงเรียนมาเพื่อทราบ

===

[[[ * ]]] ความเห็นส่วนตัว หลังจากการใช้งาน [[[ * ]]]

App ‘Samba Filesharing‘ [FREE]
1. ความสะดวก และความคุ้นเคย เสมือนกับว่า เราใช้งานอุปกรณ์ Android ของเราบนคอมพิวเตอร์ (อาจมองว่าเหมือนเป็น Drive หนึ่ง Drive เลย หรือ Thumb drive หรือ HDD Drive … แต่ถ้าเพื่อนคนไหนที่ใช้งานระบบ network บ่อยๆ ก็มองในลักษณะเหมือน Mapped Drive แบบนั้นเลยครับ
2. การลาก การคัดลอก การวาง การลบ การทำงานต่างๆ บนเครื่องคอมฯ ที่สามารถเข้าดูไฟล์ในเครื่อง Android นั้น มีความสะดวกมาก
3. เป็น App FREE : https://market.android.com/details?id=com.funkyfresh.samba

เมื่อเทียบกับ

App ‘WiFi File Explorer‘ [FREE] ที่ผมใช้งานอยู่ ซึ่งไม่ใช่ตัว Pro ($1.61 หรือ 50 B.)
1. การใช้งานมาในรูปของ Webbased (เหมือนเวลาเราใช้งานพวก Mediafire.com / Webhosting)
2. ข้อจำกัดในการ upload (ได้ทีละไฟล์ แต่หากต้องการ upload หมดทุกไฟล์ ต้องทำ zip ก่อน แล้ว upload จึงค่อยไป upzip บนอุปกรณ์ หรือ ไปจัดซื้อ WiFi File Explorer แบบ Pro version
3. เป็น App FREE : https://market.android.com/details?id=com.dooblou.WiFiFileExplorer

หมายเหตุ : ถ้าซื้อเป็น Pro version ก็จะสามารถ upload ได้มากกว่า 1 ไฟล์ ดังนั้นถ้าท่านใดซื้อไปใช้งาน ก็ได้ครับ มี features + functions ที่เพิ่มมากขึ้นตาม link https://market.android.com/details?id=com.dooblou.WiFiFileExplorerPRO

Ref Thanks : market.android.com

จับภาพหน้าจอบน Android โดย App ‘Screen Shot It’ (การปรับให้มันรองรับการเขย่าแล้วจับภาพ)
จับภาพหน้าจอบน Notebook พร้อมตกแต่งและแก้ไข โดยโปรแกรม Snagit
ไฟล์ภาพต่างๆ อยู่บน Mediafire.com

Device ที่ใช้ในการ review : Samsung Galaxy Tab 7″
=====

1. การใช้งาน JuiceDefender : https://droidsans.com/node/16053
2. การใช้งาน Green Power FREE battery saver : https://droidsans.com/node/16451
3. การใช้งาน Autorun Manager : https://droidsans.com/node/16446
4. การใช้งาน Battery by Dr to save Battery : https://droidsans.com/node/21059
5. การใช้งาน Samba Filesharing : https://droidsans.com/node/21455

[จาก Mod] แก้ไขส่วนหัวเรื่องเล็กน้อย เพื่อการอ่านที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นจากหน้าแรกครับ