ปีนี้ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องพลังงานโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากกระแสความสนใจในด้านพลังงานสะอาดที่ได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และปัจจัยสำคัญคือราคาต้นทุนของโซล่าเซลล์ที่ลดลงอย่างมากจากการแข่งขันระดับโลก โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ผลิตจากประเทศจีน ซึ่งส่งผลให้ราคาแผงและอุปกรณ์ลดลงถึง 20% ภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน หลังจากที่ไปหาข้อมูลที่น่าสนใจมาหลายแหล่งเลยขอเอามาเขียนวิเคราะห์แนวโน้มและโอกาสของตลาดโซล่าเซลล์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
ภาพรวมตลาดโซล่าเซลล์ไทย: เติบโตเร็วในภาวะการแข่งขันสูง
- ศูนย์วิเคราะห์ฯ ระบุว่า ตลาดโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ในประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดดเฉลี่ยปีละ 22% ปัจจุบันสัดส่วนครัวเรือนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ยังน้อย เช่น ในกรุงเทพฯ มีครัวเรือนกว่า 3 ล้านหลัง แต่ติดตั้งไม่ถึง 10% คาดว่าจะเพิ่มเป็น 20% ภายใน 3 ปีข้างหน้า
- ตลาดติดตั้งก่อนหน้านี้ถูกครองโดยภาคโรงงานอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ ซึ่งเน้นระบบขนาดใหญ่กว่า 10 กิโลวัตต์ ส่วนภาคครัวเรือนยังมีสัดส่วนต่ำ เนื่องจากต้นทุนติดตั้งที่ยังสูงและไม่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสนับสนุน
- ปัญหาหลักก่อนหน้านี้คือ ความซับซ้อนในการขออนุญาตเชื่อมต่อกับโครงข่าย การขาดข้อมูลและความเข้าใจในเทคโนโลยีของผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่หลังคาในเมือง
- อย่างไรก็ตามในช่วงปีที่ผ่านมา ตลาดภาคประชาชนและ SME เริ่มขยายตัวมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากโครงการ “โซล่ารูฟภาคประชาชน” ที่ริเริ่มโดย กฟผ. ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถติดตั้งระบบโซลาร์รูฟเพื่อใช้เองและขายไฟส่วนเกินคืนเข้าสู่ระบบสายส่งได้ โดยไม่ต้องลงทุนระดับใหญ่หรือผ่านขั้นตอนราชการที่ยุ่งยากเหมือนในอดีต ส่งผลให้เกิดการเข้าถึงที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านพักอาศัยและธุรกิจรายย่อย
- ปัจจุบันต้นทุนระบบเฉลี่ยขนาด 5 กิโลวัตต์อยู่ที่ราว 120,000-200,000 บาท หรือลดลงกว่า 30% จากปี 2022
มาตรการลดหย่อนภาษีอนุมัติแล้ว
ในเดือนมิถุนายน 2025 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปในบ้านอยู่อาศัย โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการติดตั้งมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ตามเงื่อนไขที่กำหนด
(อ้างอิง: www.thansettakij.com, www.thestandard.co, energy-thaichamber.org, bangkokbiznews.com)

Solar Oversupply จากจีน: ผลสะเทือนสองด้าน
ตั้งแต่ปลายปี 2024 ผู้ผลิตแผงและอุปกรณ์จากจีน เช่น LONGi, JA Solar, Trina Solar และ Hoymiles ได้เพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการที่เร่งตัวในช่วงปี 2021–2023 และการลงทุนในโรงงานผลิตใหม่ในมณฑลเจียงซูและหูหนาน ส่งผลให้มีการปล่อยสินค้าจำนวนมากออกสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะแผงโซล่าเซลล์บางชนิดที่มีต้นทุนลดลงมาก จนเกิดภาวะอุปทานล้นตลาด ซึ่งมีผลให้ประเทศผู้นำเข้าอย่างไทยได้รับอานิสงส์จากราคาที่ต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ผลที่ตามมา:
- ราคาต่อวัตต์ของแผง Tier-1 ลดลงเหลือ 0.12-0.14 USD/W
- ตลาดเกิดใหม่อย่างไทยได้รับผลดี ทำให้ต้นทุนติดตั้งลดลง
อ้างอิง: Global PV Supply Outlook
Hoymiles: จากผู้นำไมโครอินเวอร์เตอร์ สู่ตลาด Smart Energy ไทย
จากที่ได้ไปเดินในงาน Asia Sustainable Energy Week 2025 (ASEW 2025) และได้พบผู้บริหารของทาง Hoymiles ซึ่งค่ายนี้เรียกได้ว่าเป็นเจ้าหลักที่จำหน่ายไมโครอินเวอร์เตอร์ในไทยเลยก็ว่าได้ เค้าได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและตลาดไทยที่น่าสนใจมาก ว่าตอนนี้ทางบริษัทจะไม่ได้เพียงแค่นำเสนออุปกรณ์แยกชิ้น แต่กำลังเปลี่ยนผ่านจากผู้ผลิตไมโครอินเวอร์เตอร์สู่ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานอัจฉริยะแบบครบวงจร ซึ่งประกอบด้วยระบบโซล่าร์ ระบบจัดเก็บพลังงาน และซอฟต์แวร์บริหารจัดการพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบพลังงานมีความฉลาด ปรับตัวได้ตามพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละกลุ่มผู้ใช้ด้วย
Guy Rong, Hoymiles Vice President

Guy Rong, Hoymiles Vice President
“โซลูชันของเราไม่ใช่แค่การรวมโซลาร์กับแบตเตอรี่แบบ 1+1 แต่เป็นการบูรณาการทางเทคนิคที่ลึกซึ้ง เพื่อให้ทั้งระบบสามารถเรียนรู้และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” — ผู้บริหาร Hoymiles
หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ Hoymiles ใช้ในการเจาะตลาดต่างประเทศคือ “การปรับตามท้องถิ่น” (localization) ไม่ใช่แค่การแปลเอกสารหรือเปลี่ยนภาษา แต่รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบเฉพาะของแต่ละประเทศ ตัวอย่างชัดเจนคือประเทศไทย ซึ่งมีกฎบังคับให้ระบบโซล่ารูฟต้องมี Rapid Shutdown (ระบบตัดไฟฉุกเฉิน) ซึ่ง Hoymiles นำเสนออุปกรณ์ที่ตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด
“เราเห็นไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานสะอาดในอาเซียน ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่ นโยบายที่ชัดเจน และมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวด เราจึงตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคของเราไว้ที่กรุงเทพฯ และยังคงขยายทีมในไทยอย่างต่อเนื่อง” — Hoymiles
ในแง่ตลาด Hoymiles ครองตำแหน่งผู้นำไมโครอินเวอร์เตอร์ในไทยด้วยส่วนแบ่งตลาดที่สูง ณ กลางปี 2025 (อ้างอิง: Internal Estimate, Hoymiles Thailand) โดยไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บริษัทให้ความสำคัญควบคู่ไปกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก
แต่บริษัทเองก็มีความแข็งแกร่งอย่างมากในตลาดยุโรป โดยเฉพาะในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนสูง รวมถึงตลาดอเมริกาเหนือที่ Hoymiles ได้รับการยอมรับในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานที่มีความยืดหยุ่นและปลอดภัย โดยกลยุทธ์หลักของบริษัทคือการนำโซลูชันที่พิสูจน์แล้วจากตลาดตะวันตก มาประยุกต์ใช้และปรับให้เหมาะกับบริบทท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค
ในตลาดไทย Hoymiles ตั้งเป้าส่งเสริมการใช้ระบบ Smart Energy ในทุกระดับ ตั้งแต่ระบบ DIY สำหรับครัวเรือน ไปจนถึงระบบขนาดใหญ่ระดับ Utility โดยวางโครงสร้างแบบ 4 กลุ่มตลาดเป้าหมาย ได้แก่:
- DIY และบ้านพักอาศัย – ระบบติดตั้งง่าย พร้อมคู่มือที่ปรับให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้บริโภคทั่วไป
- ภาคครัวเรือนมาตรฐาน – โซลูชันที่เน้นความปลอดภัย ประหยัดไฟ และเชื่อมต่อกับระบบ Monitoring ผ่านแอป
- เชิงพาณิชย์/โรงงาน – โซลูชันขนาดกลางที่รองรับระบบจัดเก็บพลังงาน และการใช้โหลดไฟฟ้าแบบมีการจัดการ
- ระบบสาธารณูปโภค (Utility) – ระบบขนาดใหญ่ที่รองรับการผลิตและส่งพลังงานเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้า
ในภาพรวม กลยุทธ์ของ Hoymiles คือการสร้างระบบพลังงานที่ “ฉลาด ปลอดภัย และปรับใช้ได้จริง” ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการให้บริการหลังการขายอีกด้วย
“จากผู้ผลิตอุปกรณ์ ตอนนี้เราคือผู้ให้บริการพลังงานแบบครบวงจรที่เน้นความฉลาดและการปรับใช้เฉพาะพื้นที่” — Hoymiles

Hoymiles มีสินค้าตั้งแต่ Inverter, Hybrid Inverter, และแบตเตอรี่ ที่ราคาน่าดึงดูดมาก
แนวโน้มในครึ่งปีหลัง 2025
- คาดว่าราคาอุปกรณ์ยังคงลดลงเล็กน้อยจากสต๊อกสะสม
- การติดตั้งจะเน้นระบบแบบ Hybrid ที่มีแบตเตอรี่
- ผู้ให้บริการรายใหญ่จะเน้นไปยังตลาดเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น อาคารสำนักงานและโรงแรม
- ความคาดหวังต่อการบริการหลังการขายจะสูงขึ้น โดยเฉพาะระบบ Monitoring และแจ้งเตือนอัตโนมัติ
บทสรุป: ทิศทางใหม่ของพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย
การเติบโตของตลาดโซล่าเซลล์ในประเทศไทยในปี 2025 เป็นผลลัพธ์ของหลายปัจจัยที่ประจวบเหมาะ ทั้งราคาที่ลดลงจากการแข่งขันโลก นโยบายภาครัฐที่เริ่มมีความชัดเจน รวมถึงการขยายตัวของผู้บริโภคที่ต้องการพึ่งพาพลังงานทางเลือกมากขึ้น
แม้จะยังมีข้อท้าทาย เช่น การเข้าถึงข้อมูล ความซับซ้อนด้านเทคนิค และระบบราชการที่ยังไม่คล่องตัว แต่แนวโน้มโดยรวมชี้ให้เห็นว่าโซล่าเซลล์ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีของอนาคตอีกต่อไป หากแต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของปัจจุบัน
ผู้เล่นอย่าง Hoymiles ซึ่งมีจุดแข็งในด้านเทคโนโลยีและความเข้าใจเชิงพื้นที่ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริษัทที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรอบด้าน
และในท้ายที่สุด ไม่ว่าเราจะเลือกใช้โซล่ารูฟจากแบรนด์ไหน สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการตั้งคำถามว่าเราจะออกแบบพลังงานของตัวเองอย่างไรให้ยั่งยืนและคุ้มค่าที่สุดในระยะยาว เพราะบางทีโซลาร์ที่ประหยัดที่สุด…อาจไม่ใช่ราคาติดตั้งที่ถูกที่สุด แต่คือโซลาเซลล์ที่เราควบคุมปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของเราที่สุดนั่นเอง
Comment