ช่วงนี้มิจฉาชีพได้ออกกลลวงมาหลายร้อยรูปแบบจนเราตามไม่ทัน ล่าสุดได้มีข่าวมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่ศาลส่ง SMS แจ้งว่าคุณมีหมายเรียกของศาลยุติธรรมให้กดแอดไลน์เพื่อติดต่อ ล่าสุดทางโฆษกศาลยุติธรรมออกมายืนยันว่า ทางศาลยุติธรรมไม่มี Line Official และไม่มีการส่งข้อความแจ้งหมายคดีผ่าน SMS ย้ำ! ให้ประชาชนระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อเป็นอันขาด
เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้าง สร้างเพจกรมการขนส่งทางบกปลอม หลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินค่าต่ออายุ และทำใบอนุญาตขับขี่ ทางออนไลน์ พร้อมอ้างไม่ต้องรอคิวจ่อพบผู้เสียหายหหลายราย ล่าสุดทางตำรวจไซเบอร์จึงออกมาเตือนเหตุดังกล่าว งั้นเรามาดูกันว่าจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง
อีกหนึ่งข่าวที่เราไม่ควรมองข้าม ล่าสุดแฮกเกอร์รายหนึ่ง นาม ‘9Near’ ประกาศขายข้อมูลส่วนตัวคนไทย 55 ล้านคน พร้อมขายเป็นสกุลเงินบิทคอยน์ XMR ข้อมูลหลุดมีแทบจะครบตั้งแต่ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชนสาเหตุรั่วไหลมาจากหน่วยงานรัฐในไทย
KBank ธนาคารกสิกรไทย ประกาศ ขอแจ้งยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมาก ได้รับความเดือดร้อนจากแก๊งมิจฉาชีพไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมออนไลน์ หรือโทรมาก่อกวนเพื่อหลอกขโมยข้อมูล ทางธนาคารจึงเพิ่มมาตรการใหม่ ทั้งการแจ้งข้อมูลโปรโมชัน , การทำรายการบัตรเครดิต ฯลฯ และจะมีผลทันทีตั้งแต่วันนี้ 20 ก.พ. 66 เป็นต้นไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มมาตรการ Biometric Comparison . เตรียมแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตกับสถาบันการเงินเพื่อ ป้องกันบัญชีม้า ยืนยันตัวตน บน Mobile Banking เข้าไป ให้เราสามารถป้องกันธุรกรรมต้องสงสัย และพวกแก๊ง มิจฉาชีพ ไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ
ช่วงนี้บอกเลยว่าเหล่าแฮกเกอร์ + เหล่ามิจฉาชีพ ขยันทำงานกันเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะมีข่าวแก๊งคอลเซนเตอร์แล้ว ข่าวคนโดนดูดเงินจากแอปธนาคารก็มีให้เห็นกันแบบวันเว้นวัน โดยต้นเหตุที่โดนดูดเงินกันจากมือถือหลัก ๆ เลยก็คือไปโหลดแอปมาลงกันมั่ว ๆ จนแฮกเกอร์เจาะเข้าเครื่องได้นั่นเอง (ไม่ใช่เพราะสาย USB นะจ๊ะ…) ล่าสุดทางกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ก็ได้ออกมาเผยรายชื่อแอปอันตรายกว่า 200 แอป ที่อาจทำให้เราเสี่ยงโดนล้วงข้อมูล...
ช่วงนี้เราคงได้ข่าวมิจฉาชีพที่มากันในหลายรูปแบบจนเราตามไม่ทัน แล้วเผลอตกเป็นเหยื่อโดยที่ไม่รู้ตัว อย่างข่าวล่าสุดเรื่องสายชาร์จปลอม ทีแท้จริงแล้ว มิจฉาชีพหลอกให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปดูดเงินลงเครื่องซึ่งภายในตัวแอปแฝงไปด้วยมัลแวร์ที่เป็นอันตรายต่อมือถือ เรียกว่าได้ว่าพอเข้าควบคุมเครื่องเราได้ก็จะทำการดูดเงินไปค่ะ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีการตรวจสอบว่าเครื่องเราถูกติดตั้งแอปอันตรายหรือดูดเงินหรือไม่ บนมือถือ Android เพื่อความปลอดภัยของเรา
สำหรับใครที่ชอบไปดาวน์โหลดสติกเกอร์ฟรีมาใช้ตอนนี้ให้ระวังไว้นะคะ เพราะมิจฉาชีพเริ่มมาในคราบใหม่ โดยการหลอกให้ผู้เสียหายที่ไม่รู้หลงเชื่อเข้าไปดาวน์โหลดสติกเกอร์ LINE ฟรีมาใช้ เช่นจำพวก สติกเกอร์ปีใหม่ ,สติกเกอร์การ์ตูนยิบย่อย, หรือตามเทศกาลต่าง ๆ ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพบว่ามีผู้ใช้จำนวนมากเผลอเข้าไปโหลดทำให้มิจฉาชีพหลอกรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในทางที่ผิด
จากเหตุการณ์ที่ไปรษณีย์ไทยได้มีการทำข้อมูล Firebase DB หลุดออกมาเมื่อคืนนี้ (และก็ได้มีแถลงการณ์ออกมาแล้ว) ทำให้เราต้องมีวิธีในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวกันอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะทำการให้ข้อมูลนั้นกับผู้ให้บริการต่าง ๆ วันนี้ทาง DroidSans ก็จะมานำเสนอ 6 สิ่งที่ต้องทำเมื่อข้อมูลส่วนตัวของเราหลุดจากผู้ให้บริการกันครับว่าเราควรทำอะไรบ้าง
ทุกวันนี้การทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะมันสะดวกมากๆ ไม่ต้องเดินทางไปทำเรื่องที่ธนาคารเอง แต่ก็ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มิจฉาชีพใช้หากินอีกด้วยค่ะ โดยในช่วงนี้มีข่าว SMS ที่ส่งลิงค์ของธนาคารต่างๆ เพื่อหลอกให้เรากรอกข้อมูลต่างๆ รวมถึงรหัสผ่านบัญชีของเราแบบเนียนๆ จากนั้นจะทำการโอนเงินออกจากบัญชีของเราไป ซึ่งตอนนี้ก็มีข่าวออกมาว่าหลายๆ คนตกเป็นเหยื่อกันแล้วค่ะ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า