พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การลงทุนด้านเทคโนโลยีต้องใช้งบประมาณมหาศาล แถมประสิทธิภาพที่ได้ก็ยังไม่คุ้มค่า แต่ปัจจุบันเราจะพบว่า smartphone มีราคาที่ทุกคนสามารถซื้อหาได้ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยให้เราสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยธุรกิจใหม่ๆ มากมาย

เทคโนโลยีในปัจจุบันที่หลากหลายได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสนับสนุนงานให้แก่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตัวอย่างเช่น การใช้โดรนบินเหนือถนนหลวงเพื่อติดตามสภาพการจราจรและรายงานอุบัติเหตุ, การขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน, การค้นหาผู้รอดชีวิต เป็นต้น

ในยุโรปในช่วงปี 2000 ได้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากมายเนื่องจากความเร็วเกินกำหนด และหลายเหตุการเกิดจากสาเหตุพนักงานขับรถพักผ่อนไม่เพียงพอจนเกิดอาการหลับใน จึงเกิดอุบัติเหตุที่มีการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์, วิศวกร, อาจารย์, นักวิทยาศาสตร์, นักศึกษา และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก และหากคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากจนรับไม่ได้ จนทำให้มีการประชุมในระดับ EU เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

จนในที่สุด สหภาพยุโรปได้มีการออกกฎ EU regulation (EC) No 561/2006 มีผลบังคับใช้เมื่อ 11 เมษายน 2007 โดยมีสาระสำคัญคือ การขับรถต่อเนื่องจะต้องขับไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง และต้องพักผ่อนอย่างน้อย 45 นาที อย่างไรก็ตามเวลาพักผ่อน 45 นาทีนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 เบรค คือ 15 นาทีเป็นเบรคแรก และ 30 นาทีเป็นเบรคที่สอง และในแต่ละวันจะต้องขับรถรวมแล้วไม่เกิน 9 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามจำนวนชั่วโมงขับรถสามารถขยายได้แต่จะต้องไม่เกิน 10 ชั่วโมง และไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และชั่วโมงขับรถรวมต้องไม่เกิน 56 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รายละเอียดเพิ่มเติมอีกมากใน [1])

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในระบบดังกล่าวเป็นรูปแบบอุปกรณ์ติดในรถและมีศูนย์ควบคุมเครือข่ายเพื่อควบคุมพนักงานขับรถให้ขับรถและพักผ่อนตามกฎดังกล่าว โดยจะมีการบันทึกทั้งความเร็ว ระยะทางและเวลา ทำให้ระบบสามารถคำนวณและทราบได้ว่าพนักงานขับรถได้ทำตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเรียกระบบดังกล่าวว่า “Techograph” โดยขณะนี้ได้พัฒนาเป็นระบบดิจิทัลแล้ว (อ่านเพิ่มเติม [2])

ดู video
https://m.youtube.com/watch?v=nch2UBgtDxM

นอกจากระบบควบคุมพนักงานขับรถแล้วยังต้องปรับสถานที่พักข้างถนนหลวง (rest area) ปรับผิวการจราจร ไปจนถึงสร้างระบบควบคุมการจราจรอัจฉริยะที่สามารถนำเอาโดรนและ IoT เชื่อมโยงเป็นระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart city) ซึ่งฟังดูแล้วเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่มันเริ่มเกิดขึ้นจริงแล้วในเมืองใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก (อ่านเพิ่มเติม [3], [4])

การสร้างระบบ Techograph ก็ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบเล็กๆของ Smart city และตามหลักการของการพัฒนาระบบ digital platform ดังกล่าว รัฐจะไม่ลงทุนเอง เพียงแต่รัฐต้องออกนโยบายด้านภาษีและการสร้างระบบจากสถาบันอาชีวะ ด้วยการสร้างนโยบายสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดธุรกิจและการลงทุนโดยภาคเอกชน และถ้าเกิดกลไกด้านนโยบายและกฎหมายที่ถูกทางจากรัฐ ก็จะทำให้ระบบ Smart city ระเบิดขึ้นทั่วบ้านเมืองไทย คล้ายๆ กับการประมูลคลื่นความถี่ 3G และ 4G ที่รัฐไม่ต้องลงทุน แต่รัฐจัดเก็บรายได้การประมูลเป็นค่าใบอนุญาต และเอกชนจะลงทุนสร้างโครงข่ายและการให้บริการทุกรูปแบบบน mobile digital platform เพื่อประกอบกิจการทางการพาณิชย์ให้แก่ประเทศเอง และยังส่งผลให้เกิดธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆพร้อมกับการจ้างงาน โดยรัฐติดตามความก้าวหน้าและยังได้รับภาษีจากการเกิดธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ อีกด้วย

และเราจะได้ไม่ต้องได้ยินคำว่า “หวังว่ามันจะเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย” อีกต่อไป

Reference
[1] https://en.m.wikipedia.org/wiki/Drivers’_working_hours
[2] https://en.m.wikipedia.org/wiki/Tachograph
[3] https://urbantide.com/fullstory2/blog/2014/11/5/5-smart-cities-case-studies
[4] http://www.forbes.com/sites/peterhigh/2015/03/09/the-top-five-smart-cities-in-the-world/#3ad625d05a0e
—————-
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
www.เศรษฐพงค์.com
5 มกราคม 2560 08:00
—————–
หากท่านสนใจความรู้ด้านดิจิทัล
เข้าร่วมกับเราและทักเข้ามาที่
LINE id : @march4g
——————
http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000001102