จับกระแสหุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์

ในวันนี้ ทางวิชาการด้านการบริหารงานนวัตกรรมนั้นถือว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถไปถึงจุดที่ใช้งานได้ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการที่เทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile broadband) สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ในระดับ Gigabyte ภายในเวลาไม่กี่วินาทีจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง จนทำให้เราสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อัตโนมัติจากที่ใดก็ได้ในโลก อีกทั้งความชาญฉลาดของ AI ได้เติบโตถึงจุดที่สามารถเรียนรู้และพยากรณ์การทำงานในสถานการณ์ต่างๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็วด้วยการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่พยายามทำให้มีความผิดพลาดในการตัดสินใจของหุ่นยนต์ให้เข้าใกล้ 0% ไปทุกขณะ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แทบจะทุกอุตสาหกรรม

เท่านั้นยังไม่พอ ณ วันนี้ เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ได้เริ่มวาง business model ที่สามารถนำมาใช้ในการพาณิชย์อย่างเต็มตัวแล้วทั่วโลก จนสำนักวิจัยหลายสำนักได้คาดการณ์ว่า จะมีอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมโยงกันบนเครือข่าย IoT platform ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านชิ้น ทั่วโลก จึงทำให้หุ่นยนต์มีศักยภาพที่จะถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เมื่อเราได้ยินคำว่า “หุ่นยนต์” หรือ “Robot” เราคงคิดภาพเจ้า “ASIMO” ที่เป็นคำย่อมาจาก “Advanced Step in Innovative Mobility” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบของบริษัท Honda เพียงแค่เป็นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ทำในบางสิ่งที่มนุษย์ทำได้ แต่จากการบรรจบกันของเทคโนโลยีหลากชนิดดังกล่าว จึงทำให้เป็นการปลุกชีวิตให้เทคโนโลยีหุ่นยนต์สามารถลุกขึ้นมาทำงานแบบอัตโนมัติได้หลากหลาย จนสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ ไม่เพียงแต่เป็นรูปแบบคล้ายตัวมนุษย์หรือมีแขนกล แต่เป็นในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น call center, web bot, Chatbot เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในหลายประเทศแล้วทั่วโลก เพียงแต่รอการตัดสินใจของผู้นำและผู้บริหารในการยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนี้ได้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งการคิด business model ที่เหมาะสมในการทำให้เกิดผลเชิงพาณิชย์นั้นได้เกิดขึ้นแล้วทั่วโลกเช่นกัน และเชื่อว่าจะส่งผลต่อตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการในทุกองค์กรและทุกอุตสาหกรรมนับล้านตำแหน่งภายใน 1-2 ทศวรรษจากนี้

Boston Consulting Group ได้พยากรณ์ไว้ว่า ตำแหน่งงาน 1 ใน 4 จะถูกซอฟท์แวร์หรือหุ่นยนต์เข้าแทนที่ภายในปี 2025 และการศึกษาจาก Oxford University ได้เตือนว่าตำแหน่งงานถึง 35% ในสหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกแทนด้วยระบบอัตโนมัติ (Automation) ภายใน 20 ปีนี้

ตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ เช่น
ชาวนายุคต่อไปในญี่ปุ่นอาจเป็นหุ่นยนต์
https://www.bloomberg.com/news/articles/2016-04-23/robots-replacing-japan-s-farmers-seen-preserving-food-security

งานที่หุ่นยนต์จะเข้าไปแทน
http://www.nbcnews.com/id/42183350/from/42183592/

งานที่หุ่นยนต์จะเข้าไปแทนเป็นงานแรกๆ
http://www.bbc.com/news/technology-33327659

7 บริษัทที่นำเอาหุ่นยนต์เข้าแทนงานของมนุษย์
http://www.businessinsider.com/companies-that-use-robots-instead-of-humans-2016-2/#quiet-logistics-robots–quickly-find-package-and-ship-online-orders-in-warehouses-2

ตำแหน่งงาน 95 ล้านตำแหน่งจะถูกแทนด้วยหุ่นยนต์ ภายใน 10-20 ปี
http://bgr.com/2015/11/16/robots-replacing-human-jobs/

ผู้เชี่ยวชาญยัน หุ่นยนต์แทนตำแหน่งงานคนได้เกือบทั้งหมดภายใน 30 ปี
http://www.telegraph.co.uk/news/science/science-news/12155808/Robots-will-take-over-most-jobs-within-30-years-experts-warn.html

Professor Moshe Vardi ศาสตราจารย์และอาจารย์มหาวิทยาลัย Rice University ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีผลการวิเคราะห์สรุปใน The annual meeting of the American Association for the Advancement of Science annual meeting ในสหรัฐอเมริกา ว่าอาชีพระดับ middle-class จะมีรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไปมากภายใน 2-3 ทศวรรษจากนี้ ซึ่งการใช้งานหุ่นยนต์แทนมนุษย์จะกระทบต่อการจ้างงานถึง 50%

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ภายใน 10-30 ปีต่อจากนี้ ความมั่นคงของมนุษย์อาจจะมีนิยามที่เปลี่ยนไป การวาง roadmap ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออนาคตของประเทศไทย จึงแขวนไว้อยู่บนวิสัยทัศน์ของประเทศ ที่จะมองขาดถึงโอกาสและภัยคุกคามของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหรือไม่

“เรากำลังผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อทำงานในปี 2025 หรือเพื่อทำงานในปี 2017…นั้นคือคำถามที่ผู้นำทุกประเทศต้องหาคำตอบ”
—————
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
29 มกราคม 2560
www.เศรษฐพงค์.com
——————-
หากท่านสนใจความรู้ด้านดิจิทัล
เข้าร่วมกับเราและทักเข้ามาที่
LINE id : @digital4u
——————-

www.เศรษฐพงค์.com