หาผู้ลองครับ ^_^
http://boston-mania.blogspot.com/2010/11/cyanogenmod-6-rom-22-for-z71-nightly.html
หาผู้ลองครับ ^_^
http://boston-mania.blogspot.com/2010/11/cyanogenmod-6-rom-22-for-z71-nightly.html
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว และการใช้คุกกี้ของเราคลิก
คุกกี้เหล่านี้มีความสำคัญต่อการให้บริการบนเว็บไซต์แก่คุณ และเพื่อให้คุณสามารถใช้คุณลักษณะบางอย่างได้ คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้งานและช่วยป้องกันการปลอมแปลงบัญชีผู้ใช้งาน หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้เราอาจไม่สามารถให้บริการแก่คุณได้ เราใช้คุกกี้ดังกล่าวนี้เพื่อให้บริการแก่คุณ
แม้ว่าอาจเกิดคุกกี้ แต่อาจไม่สามารถบันทึกได้เนื่องจากมีสมุดบันทึกที่คุณสามารถอัปเดตได้เว็บไซต์นี้อาจมีคุกกี้หรืออาจเกิดคุกกี้ใหม่อีกครั้ง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิก
คุณ yumyum ขอวิธีลง 2.2 Full-8 หน่อยครับ
new25311 at hotmail
คุยกันจะสะดวกกว่านะครับ
ลง V8 คืนี้ ฮ่า ๆ
เด๊ว ๆถ้าผมลง 8 งั้นคืนนนี้ ซักพักมันก็ 9 ดิ
เอาไงดี ฮ่า ๆ
อย่าตามมาก เพราะ ตามแปลว่าไม่ทัน -*-
Nightly Build ตามประสา Dev มันจะออกทุกวัน หรือเป็นตัวที่กำลังทำ ทำเสร็จวันนึงก็ออก บั๊กเบิ๊กอะไรไม่สนใจว่าจะปิดหมดหรือเปล่า ออกมาลองกันเรื่อย ๆ และแก้กันไปเรื่อย ๆ ครับ หลังจากนั้นกว่าจะเข้า Alpha จะเข้า Beta จะเข้า RC .. อีกเยอะ
แนะนำว่าถ้า Build ไหนใช้แล้วรู้สึกว่าโอเคแล้วก็ไม่ต้องตามครับ เหนื่อยตอนลงโปรแกรมใหม่มาก ๆ (เปลือง Data สุดยอดจริง ๆ) ว่าจะหยุดที่ Build 8 นี่ล่ะครับ รู้สึกดีกว่า Build 7 นิดนึง (จริง ๆ)
โอ้โห ผมเพิ่งรู้วันนี้แหละครับ ว่าเวลาจะพัฒนาอะไรมันเริ่มจาก Nightly Build -> Alpha -> Beta -> RC
*-*
ก็แล้วแต่น่ะครับ กระบวนการพัฒนาของแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มก็ไม่เหมือนกัน
อย่าง Android นี่มันมีต้นกำเนิดมาจาก OpenSource กระบวนการหลาย ๆ อย่างเลยคล้ายคลึงกัน การพัฒนาเป็นทีมมันไม่ได้นั่งทำงานด้วยกันอะครับ ก็อาศัยช่วย ๆ กันดู ช่วย ๆ กันแก้ มันเลยต้องมี Nightly Build เพื่อที่อัพเดทการแก้ไขจากแต่ละคน ที่จะปิดบั๊ก หรือเพิ่มอะไรเข้า ๆ หรือเอาอะไรออก ๆ จนเริ่มนิ่งขึ้นก็จะถี่ช้าลง เป็นการปิดบั๊ก แก้บั๊ก จนออกตัวจริงครับ
แต่ถ้าสไตล์ของการพัฒนาแบบอื่นก็อาจจะต่างกันไป เช่น Dev คนเดียว พัฒนาโปรแกรมเล็ก ๆ อาจจะออก Alpha – Beta – Final เลยก็ได้ ก็แล้วแต่จะเรียกกันนั่นล่ะคับ
มันมีฟังก์ชั่น USB Tether ในตัวอะครับ ไม่ต้องใช้ PC Tools แบบ 2.1 แล้ว
เชื่อมต่อ USB กับโทรศัพท์ กับคอมพิวเตอร์ จากนั้นไปที่ Settings > Wireless & Network ในนั้นจะมี Tethering อยู่ เข้าไปติ๊กถูกที่ USB tethering ครับ ผมใช้ Windows 7 64 bit และ Ubuntu 10.10 64 bit มันก็ต่อเป็นโมเด็มออกไปได้ทั้งคู่
ต้องเชื่อมต่อ USB ก่อนนะครับ ไม่งั้นถ้าเข้าไปกดมันจะฟ้องว่าไม่ได้เชื่อมต่อ USB
ส่วน Wifi Tether ยังทำไม่ได้ Barnacle ก็ใช้ไม่ได้แล้ว ใช้แล้วเครื่องรีสตาร์ทตลอด (รอมนี้นี่แหละ)
อ๋อ ครับๆ ความรู้ใหม่ ^^
ขอบคุณครับ
Build ไหน Wireless ก็ยังไม่ค่อยเวิร์ค
นั่งอยุ่ที่เดิม(ชั้น 2) คิดจะเจอ AP(ชั้น 1) ก็ขึ้นมาให้ต่อ พอต่อได้ซักพัก คิดจะหลุดก็หายไปเฉยๆ 555
แต่พอไปนั่งใกล้ๆ AP ก็ใช้ได้ตลอดซะงั้น
ผมต่อแล้วมันก็ไม่ได้อะครับ ทำอย่างที่ คุณpexzaแล้วมันให้หา ไดร์เวอร์ ผมหาใน a88_tools แล้วมันก็ไม่เจอครับ ไม่ทราบว่าต้องเป็นไดร์เวอร์ตัวไหนครับ รบกวนอัพให้น่อยครับ เครื่องเป็นXP ครับ
ถ้า จะ adb shell ต้องไปโหลด android sdk มาลงที่เครื่องนะครับ
http://developer.android.com/sdk/index.html
สำหรับคนที่ต้องการนะครับ
ขอบคุณคะ
เคยเซฟข้อความนีี่มา จำไม่ได้แล้วจากไหน เผื่อใครยังสงสัยเรื่อง app2sd ของ froyo
There are essentially 3 forms of A2SD:
1. Froyo A2SD – moves the application (from /data/app) to the FAT32 partition of the SD card. Does not touch the Dalvik cache (data/dalvik-cache) or the application data (/data/data).
2. Legacy A2SD – moves the application (from /data/app) to an EXT partition of the SD card. Does not touch the Dalvik cache (data/dalvik-cache) or the application data (/data/data).
3. Legacy A2SD+ – moves the application (from /data/app) and the Dalvik cache (data/dalvik-cache) to the EXT partition of the SD card. Does not touch the application data (/data/data).
Options 1 and 2 should be pretty much identical in terms of internal storage usage, and option 3 should save the most space.
Anecdotal evidence suggests that any attempt to move /data/data to SD card causes a lot of instability, which is surprising because I would have thought that the Dalvik cache would have been more problematic.
The long and short of it is that there is no way to stop applications from consuming storage if they use /data/data. A prime example is Google Earth, which still consumes a lot of internal memory regardless of A2SD because of the data in /data/data.
Personally, I use Froyo A2SD, with the fusecompress mod to compress the Dalvik cache in internal memory.
สรุปง่ายๆ ใน froyo official เป็นแค่ a2sd ไม่ใช่ a2sd+ อย่างที่เราเคยใช้ใน 2.1 แต่ก็สามารถทำได้เหมือนกัน
ทำ A2SD+ แบบ 2.1 ใน 2.2 ยังไงเหรอครับ
เผื่อว่าอยากทำขึ้นมา 555
เจอวิธี App2SD แล้วครับ
ต้องแบ่ง SD parttion ก่อนนะครับ เหมือน 2.1
1.ไปหน้าปกติ กด Setting
2. เลือก CyanogenMod Settings
3. Application settings
4. ติ๊กถูกตรง Allow application moving
5. ตรง Install location ก็ให้เลือกเป็น External แค่นี้ละครับ เสร็จ แจ่มมากๆๆ
“5. ตรง Install location ก็ให้เลือกเป็น External แค่นี้ละครับ เสร็จ แจ่มมากๆๆ”
แนะนำนิดนึงครับ install location ถ้าให้ดีควรเลือก auto จะดีกว่าครับ widget บางตัวอาจมีปัญหาได้ ให้เครื่องมันเลือกเองดีกว่าว่าโปรแกรมไหนควรอยู่ในไหน
ถ้าตามโพสต์ที่หน้าหลัก CPU รุ่นของเรามันใช้ไม่ได้นะ