ข้อดี

อย่างที่ทราบกันอยู่ว่ามันสามารถสลับการใช้ ROM ได้ทำให้เรามี ROM 2 ชุดใช้ในเวลาเดียวกันง่ายต่อการใช้งานไม่ต้อง Flash บ่อยๆ เมื่อเบื่อ ROM ใดก็กด System Changer เพื่อทำการเปลี่ยน ROM ได้เลย และเทคนิคของท่านอาจารย์ kw101d แก้เอา ROM ตัวหนึ่งไว้เป็นตัวกู้เครื่องเวลาเกิดอาการ semi brick ซึ่งเทคนิคนี้ผมก็ยังมีข้อสงสัยอยู่เล็กน้อยว่าในเมื่อมัน Semi Brick แล้วมันจะ Boot ROM ตัวที่จะเอามาแก้ไขได้อย่างไรเรื่องนี้ผมยังไม่ได้ปรึกษากับท่านอาจารย์และยังไม่ได้ทดลองทำ เอาเป็นว่ามองในข้อดีก่อนก็แล้วกันนะครับ

ข้อเสีย (อันนี้เป็นความคิดของผมเอง)

อย่างที่รู้ว่าเราจะต้องลง ROM 2 ชุดในเครื่องเดียวกัน ถ้าคนปรับแต่ง ROM ทั้ง 2 ตัวเป็นคนเดียวกันกลุ่มเดียวกันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรแต่ใครล่ะครับจะใช้ ROM 2 ตัวที่มาจากแหล่งเดียวกัน ส่วนใหญ่ก็คนละแหล่งที่มา คนละค่าย เช่นของผมตอนนี้จะอยู่ที่

[ICS] DjangoManouche X 1.3 – 30a/b – Kovalski Kernel 010 + KingOfBirds 0.4
กับ
[Android 4.2.1] SIII look and feel NEW BOOTLOADER V1.3

ปัญหาที่เจอคือการสร้างพื้นฐาน ROM ที่ไม่เหมือนกัน เช่นการ เรียกชื่อ SD Card หรือการวาง Application บน SD Card ที่ต่างกัน ทำให้เมื่อใช้ ROM แต่ละตัวการลง App การเก็บข้อมูล จะมีทั้งที่อยู่บน External SD Card และ Internal SD Card สิ่งที่เจอคือเมื่อใช้ ROM หนึ่งจะมีการ Update data ของ Application เมื่อทำการ update ไปแล้วเมื่อสลับมาอีก ROM หนึ่งทาง Play Store ก็จะพบว่ามีการ update ROM ตัวนั้นอีก จึงได้ทำการตรวจสอบฐานข้อมูลในเครื่องผลที่ได้คือ ทั้งใน external SD Card และ Internal SD Card มีข้อมูลของ App ทั้งสองที่แต่ใช้งานกันในคนละ ROM
สรุปก็คือ ผมพบว่าการใช้ Dual Boot ทำให้เปลื้องเนื้อที่ในการใช้งานมากขึ้นเป็นสองเท่า แต่เชื่อว่าหลายๆท่านคงรับได้เมื่อเทียบกับข้อดีที่สามารถสลับการใช้ ROM ได้

จบการรายงาน

..