ชาว Note II จะทราบกันดีว่า สาย USB สีขาวของ Note II นั้น เวลาใช้ไปนานๆ อัตราการชาร์จไฟจะตกลง และหนักมากถึงขั้นชาร์จช้ามากๆ จนกลายเป็นว่า ชาร์จไปเล่นไป แบตเตอรี่ลดแทนที่จะขึ้นซะงั้น

ถาม : อ้าว… ไม่ใช่เป็นที่ Adapter หรอกหรือ? ที่ทำให้อัตราการชาร์จไฟตก
ตอบ : นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จริงๆ มักจะไม่ได้อยู่ที่หัว Adapter แต่มักจะเกิดกับสาย USB เสียมากกว่า เพราะแค่เปลี่ยนสาย USB ใหม่ อัตราการชาร์จไฟก็กลับมาเต็มประสิทธิภาพดังเดิมแล้ว (แต่ขึ้นกับคุณภาพสายที่นำมาชาร์จด้วย ว่ามีคุณภาพขนาดไหน)

ถาม : แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสาย USB กลับมาใช้ชาร์จไฟได้ดีขึ้นแล้ว?
ตอบ : ผมขอแนะนำให้โหลดแอปฯ ดังต่อไปนี้มาใช้งานครับ
— Galaxy Charging Current Free (ไม่ Refresh อัตโนมัติ) หรือ Pro (https://play.google.com/store/apps/details?id=com.abmantis.galaxychargingcurrent.free) (Refresh อัตโนมัติ)
— Charging Monitor (https://play.google.com/store/apps/details?id=com.lylc.widget.circularprogressbar.example) (Refresh อัตโนมัติ)
— Charging Time (https://play.google.com/store/apps/details?id=com.battery.chargingstatus) (Refresh อัตโนมัติ)
— Charging Report (https://play.google.com/store/apps/details?id=com.playfulgeeks.chargingreport) (ไม่ Refresh อัตโนมัติ)
— ฯลฯ ที่คุณสมบัติเหมือนกัน

ซึ่งแอปเหล่านี้ สามารถเช็กสถานะอัตราการชาร์จไฟได้ว่า ไฟเข้ากี่ mAh ซึ่งหากใช้ ROM ศูนย์กับ Adapter 2.0A ของเครื่อง Note II เอง อัตราการชาร์จไฟก็จะอยู่ที่ 1800 mAh ซึ่งถ้าเห็นอัตราการชาร์ตกจากที่เป็นอยู่ ก็แสดงว่าสายกว่านี้ ก็ต้องมาดูกันครับว่าตกไปมากเท่าไหร่ และมากขนาดไหน เท่าที่ผมเจอมากับตัวเอง ก็มีสายของหลายๆ คน อยู่ในสภาพที่ชาร์จเข้า 100 mAh บ้าง, 300 mAh บ้าง, 500 mAh บ้าง ซึ่งถือได้ว่าต่ำกว่าปกติมากๆ และค่าการชาร์จยิ่งน้อยก็ชาร์จช้า

เอาหละ ใครที่ต้องการเซฟเงินในกระเป๋า และจำนวนสาย USB ที่ใช้งาน เรามาเรียนรู้วิธีการซ่อมสาย USB ของ Note II กันครับ


ภาพที่ 1 – เตรียมอุปกรณ์
— คัตเตอร์
— กรรไกร หรือคีมตัด
— คีม
— ไฟแช็ก (ใช้เป็นแบบพ่นเป็นเส้นเหมือนเตาแก๊สได้ยิ่งดี เพราะควบคุมไฟได้ง่าย)
— ท่อหด (หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป)
— เทปใส หรือสติ๊กเกอร์ใส (เอาไว้พันกรณีที่ทำเขี้ยวของฝาพลาสติกหัก)

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 2 ใช้คัตเตอร์ค่อยๆ แซะร่องของเปลือกนำทาง แล้วใช้เล็บหรือพลาสติกบางๆ รูดตามรอย

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 3 – หลังจากแกะเปลือกออกมา

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 4 – ใช้คัตเตอร์กรีดเบาๆ ที่ยาง แล้วแกะออกมา

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 5 – แกะฝาโลหะ โดยที่…
— ใช้คัดเตอร์แซะร่องของฝาโลหะแล้วแงะให้ง้างออกทั้ง 2 ข้าง
— ใช้คีมแงะเขี้ยวที่ขั้วโลหะที่บีบรัดสายไฟอยู่ออก

——————————————————————————————————————————————————

ภาพ 6 – เอาเล็บแกะที่ขอบพลาสติกทั้ง 2 ข้าง แล้วดึงออกมา

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 7 – ตัดสายไฟ โดยทำดังนี้…
— ปอกฉนวนสายไฟภายนอกออก ก็จะเจอเส้นลวดฝอยพันอยู่
— ตัดเส้นลวดฝอยออก ก็จะเจอแผ่นหุ้มสาย 4 สีอยู่
— ลอกแผ่นที่หุ้ม 4 สีออก ก็จะเจอสาย 4 สีที่อาจจะมีความมันบางอย่างเกาะอยู่ ใช้ทิชชู่เช็ดที่มันๆ ออกให้เรียบร้อย

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 8 – ดึงสาย 4 สี ทั้ง 4 เส้นออกมาจากหัวพลาสติกสีเขียว
ป.ล. อันที่จริง เราสามารถดึงสายออกจากหัวพลาสติสีเขียวก่อนปอกสายในขั้นตอนที่แล้วก็ได้ แถมสะดวกกว่าด้วย

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 9 – ตัดสายทั้ง 4 เส้นออกประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร โดยไม่ต้องปอกฉนวน

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 10 – นำสายไฟทั้ง 4 เส้นมาใส่หัวพลาสติกสีเขียวกลับคืน โดยตรวจสอบให้ดีด้วยนะครับ ว่าใส่สายแต่ละสีถูกช่องหรือเปล่า? เพราะหากใส่สายผิดช่อง อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ !! แล้วนำหัวสีเขียวที่ใส่สายไฟเสร็จแล้วมาเข้าหัว micro USB …ซึ่งมี 2 วิธี
ใช้คีมบีบ :: ใช้นิ้วกดกับหัวให้สายไฟไม่เคลื่อนก่อน แล้วจึงใช้คีมบีบให้เข้าล็อก …ต้องระวังนิดนึง ถ้าใช้คีมบีบเลยจะทำให้หัวและสายมีการขยับเขยื้อน จนทำให้ตอนบีบสายไม่เข้าที่ได้ และก่อนจะใช้คมบีบ แนะนำให้หาอะไรมารองปากคีม เพื่อไม่ให้พลาสติกเกิดรอยจากการบีบของคีม เช่นกระดาบพับ 2-3 ทบ)
ใช้ด้ามกรรไกรหรืออื่นๆ ไว้กด :: กรณีที่ไม่มีคีมใช้งาน ก็ให้ใช้นิ้วกดให้สายไม่เคลื่อนก่อน แล้วนำด้านพลาสติกสีเขียววางบนโต๊ะเรียบๆ หรือพื้นกระเบื้องก็ได้ แล้วใช้ด้ามกรรไกรหรือหาอะไรมากดที่ด้านบนให้พลาสติกสีเขียวเข้าล็อก

เมื่อเข้าหัวเสร็จแล้ว ให้นำมาลองมาเช็กกับแอปดูว่า ชาร์จเข้า 1800 mAh หรือไม่? หากยังไม่ได้ก็ให้แกะมาตัดสายแล้วเข้าหัวใหม่อีกครั้ง

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 11 – นำฝาโลหะด้านที่ถูกง้าง มาดัดให้เข้ารูปแบบเดิม แล้วใส่ฝาโลหะ …ส่วนด้านไหนใส่ก่อนใส่หลังนั้น ให้ย้อนกลับไปดูภาพที่ 4, 5, 6 เปรียบเทียบ

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 12 – นำท่อหดที่ใส่เอาไว้ก่อนหน้านี้ มาลนด้วยไฟแช็กเพื่อให้ท่อหดรัด …กรณีที่ใช้ไฟแช็กประเภทพ่นเหมือนเตาแก๊ส ให้ใช้ไฟส่วนใกล้ๆ กับปากยิงแก๊ส เคลื่อนผ่านขึ้นลงเร็วพอประมาณ พอให้เห็นได้ว่าท่อหด เพราะถ้าเคลื่อนผ่านช้าเกินไป อาจทำให้ท่อหดและสายเสียหายได้ เนื่องจากไฟแบบนี้จะพ่นไฟแรงกกว่าไฟของไฟแช็กทั่วไป

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 13 – ปิดเปลือกพลาสติก

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 14 – ถ้าตอนที่แกะเปลือกครั้งแรกแล้วเขี้ยวล็อกหัก ก็ให้หาเทปใสหรือสติ๊กเกอร์ใสพันไว้

——————————————————————————————————————————————————

ภาพที่ 15 – ผลลัพธ์การชาร์จจากแอป Galaxy Charging Current หลังจากที่ซ่อมสายเสร็จ ก็จะได้ 1800 mAh
 
 
—– CREDIT —–
บทความนี้ ขอยกเครดิตให้กับคุณ Jaranthorn Sikheawdang (https://www.facebook.com/jaranthorn?fref=nf)
จาก Facebook กลุ่ม Galaxy Note2 Club, Thailand (https://www.facebook.com/groups/Note2)
ที่เป็นผู้เรียบเรียงบทความเป็นรูปภาพครับ (เจ้าของบทความอนุญาตให้โพสต์เผยแพร่แล้ว)