1. แนะนำ Basic4Android
ก่อนหน้าที่ผมจะมารู้จักกับ Basic4Android นั้น ภาษา Java เป็นภาษาหลัก ที่ผมใช้ในการพัฒนาแอพบน Android มาก่อนครับ แต่เมื่อมารู้จักกับ Basic4Android ทำให้ผมได้เปรียบเทียบจากประสบการณ์จริงระหว่าง Basic4Android กับ Java ซึ่งเป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการจะพัฒนาแอพ Android โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีน้องๆนักศึกษาหลายคนที่มาปรึกษาพูดคุยกับผม ในการที่จะพัฒนาแอพ Android ว่าจะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมตอบเลยว่า ต้องเรียนหรือรู้ Java มาก่อนนะ ส่วนใหญ่มักจะถอยครับ เพราะไม่ได้เรียน Java มาก่อน ตอนนั้นผมไม่รู้จะแนะนำอย่างไรดี เพราะมันก็ต้องเรียน Java น่ะครับ ก็เมื่อก่อนผมรู้จักแค่ Android คู่กับ Java แต่หลังจากที่ผมได้รู้จัก Basic4Android และได้ทำการศึกษามาพักนึง ก็ได้รู้ว่า Basic4Android นี่ไม่ธรรมดาเลยนะครับ ทำได้ทุกอย่างที่ Java ทำได้เลยครับ เพราะจริงๆใส้ในมันคือ Java แล้วใช้ Basic4Android ไปเรียกใช้น่ะครับ แต่อย่างไรก็มันก็ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้นอยากจะเขียนแอพ Android หรือผู้ที่ศึกษาการเขียนแอพ Android มาสักระยะแล้วแต่ก็ไปไม้ถึงไหนเพราะภาษา Java มันต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจกับมันมากน่ะครับ จะว่ายากมันก็ไม่ได้ยากนะแต่มันก็ใช้เวลามากกว่า เมื่อเทียบกับ ภาษา BASIC ซึ่งโปรแกรมเมอร์หรือคนที่เรียนมาทางสายไอทีส่วนใหญ่จะคุ้นหู คุ้นตา คุ้นมือกัน เอาล่ะ ลองมาดูวีดีโอข้างล่างนี้ดูครับ ว่า Basic4Android นั้นง่ายขนาดไหน จะดีกว่าไหมครับ ถ้าคุณใช้เวลาในการพัฒนาแอพ Android น้อยลง แล้วเอาเวลาที่เหลือๆ ไปหาไอเดียในการทำแอพตัวอื่นๆ ขอให้สนุกกับการใช้ Basic4Android ในการพัฒนาแอพ Android นะครับ 🙂
2. Basic4Android มาสร้างแอพแอนดรอยด์แอพแรกกันครับ
มาเขียนแอพแรกกันครับ เป็นแอพที่อยู่ในคู่มือของ Basic4Android ครับ หลักการคือ ทำการสุ่มค่าตัวเลข 2 ค่า โดยใช้ฟังก์ชั่น Rnd(min,max) แล้วมาแสดงผลที่ Label 2 label แล้วจะมี Edittext ให้ป้อนคำตอบ ตามด้วยปุ่มสำหรับตรวจสอบว่าคำตอบที่เราป้อนตรงกับผลบวกของเลขสองค่าที่ได้จากการสุ่มหรือไม่
ขั้นตอนหลังจากเปิดโปรแกรม Basic4Android ขึ้นมาครับ
1. บันทึกและตั้งชื่อโปรเจค MyFirstApp
2. กำหนด Package name โดยไปที่ Project -> Package name
3. สร้าง Layout โดยไปที่ Designer แล้วบันทึกเป็นชื่อ Main
4. เพิ่มส่วนประกอบต่างๆ ลงในหน้า Designer มี Label 4 ตัว, Edittext 1 ตัว และ Button 1 ตัว โดยไปที่ Add view แล้วเลือกส่วนประกอบต่างๆ แล้วตั้งชื่อของ Label, Edittext และ Button ให้ตรงกับหน้าที่ ดังนี้ lblValue1 แสดงเลขที่สุ่มตัวที่ 1, lblOperator แสดงเครื่องหมาย +, lblValue2 แสดงเลขสุ่มตัวที่ 2, lblResult แสดงข้อความตรวจสอบคำตอบ, txtAnswer ช่องให้ป้อนคำตอบ, และ btnCheckAnswer ปุ่มตรวจสอบคำตอบ
5. ทำการเชื่อมโยงส่วนของ Layout ไปที่ส่วน Code โดยที่ในหน้า Designer ให้ไปที่ Tools -> Generate members ติ๊กเลือก Label, Edittext และ Button ส่วน Button ให้คลิ๊กที่สัญลักษณ์ + แล้วติ๊กที่ Click เพื่อเพิ่มส่วนการตรวจจับ Even click ด้วย
[youtube]wU8CMwjrcKk[/youtube]
3. Basic4Android IOIO LED Moving
แอพเชื่อมต่อ Hardware โดยใช้ IOIO Board ซึ่งวีดีโอนี้เป็นการพัฒนา Android App โดยใช้ Basic4Android เป็นแอพควบคุมไฟวิ่ง LED 9 ดวง โดยมีปุ่มควบคุม 3 ปุ่ม คือ ปุ่มเลื่อนซ้าย ปุ่มหยุด และปุ่มเลื่อนขวา มาดูโค้ดโปรแกรมกันเลยครับ
[youtube]Bk6gGauPXAU[/youtube]