การเขียนแอพเนี่ยใครๆก็สามารถไป take คอร์สเรียนที่ไหนก็ได้ การเขียนแอพได้จึงอาจจะง่ายกว่าการเขียนแอพได้ดีค่ะ ซึ่งคำว่า “ดี” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าไอเดียในการทำแอพ หรือ การรันแอพได้ดีเท่านั้นนะคะ แต่ว่ายังหมายรวมไป ถึงการออกแบบแอพพลิเคชั่นที่ดีด้วย ดังนั้นกวิสราจึงขอไปเอาบทความเกี่ยวกับการออกแบบแอพพลิเคชั่นที่น่าจะมีประโยชน์กับเหล่า Dev มาฝากกันค่ะ
เชื่อหรือไม่คะว่าการออกแบบแอพพลิเคชั่นที่ดีนั้นนอกจากจะสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้แล้วยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งานให้กับผู้ใช้ด้วยนะ ซึ่งในการออกแบบที่ดีนั้นเราจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานหลัก 3 ประการอันเป็นหัวใจของการออกแบบอันได้แก่ ทำให้ทึ่ง , ทำให้ง่าย และ ทำให้ว้าว
ทำให้ทึ่ง
เชื่อหรือไม่ว่าหากเราพูดถึงเรื่องของความงามสำหรับแอพพลิเคชั่นนั้นก็ไม่ได้ต่างจากความงามของคนหรือสิ่งอื่นๆเลยเพราะว่ามันสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระดับเช่นกันนะคะ จะงามทั้งทีก็ต้องงามให้ครบ สำหรับแอพพลิเคชั่นเองเราก็ต้องดูให้ช่วง transitionเร็วและชัดเจน , layout และ ตัวหนังสือต่างๆ จะต้องจัดวางอย่างมีความหมายและเป็นที่เป็นทาง , ไอคอนเองก็ต้องถูกมองว่าเป็นงานศิลป์ที่จะต้องมีความหมายในตัวเองด้วย จงจำไว้เสมอนะว่าแอพพลิเคชั่นที่ทำออกมานั้นจะต้องมีส่วนผสมของความงาม ความง่าย และ และมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดี
-ทำเซอไพรซ์ให้คนใช้แฮปปี้
นั่นหมายถึงว่าเราจะต้องจัดการทั้งเรื่องหน้าตาของแอพ , การจัดวางภาพเคลื่อนไหวต่างๆ หรือแม้แต่การเลือกใช้เสียงประกอบในเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มอรรถรสในการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆด้วย จะว่าไปแล้วการใส่ effects ต่างๆเข้าไปในแอพนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนนะคะเพราะ
ว่ามันจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าแอพนั้นๆใช้งานง่ายแถมยังรู้สึกดีที่ได้แอพนั้นๆมาเป็นผู้ช่วยด้วยนะ
-ทำให้สนุกและเป็นมากกว่าแค่ปุ่มและเมนู
ลองเพิ่มความสนุกให้กับผู้ใช้ด้วยการให้เขาได้จับและปรับเปลี่ยนสิ่งต่างในแอพพลิเคชั่นด้วยตัวเองเพราะการทำแบบนี้นอกจากจะช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้แล้วยังช่วยลดความพยายามในการเรียนรู้การใช้แอพด้วยนะคะ
-แอพนี้ของฉันนะ
แน่นอนว่าผู้ใช้ทุกคนเนี่ยชอบที่จะปรับแต่งแอพให้เหมาะกับไสตล์ของตัวเอง เพราะว่านอกจากจะทำให้รู้สึกว่า “นี่คือแอพของฉัน” แล้วยังทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและใช้งานแอพได้ง่ายขึ้นอีกด้วยนะคะ โดยจัดการให้การปรับตั้งค่าต่างๆนั้นมีความสวยงามและเข้าใจได้ง่าย อ้อ! แล้วอย่าลืมว่านอกจากจะใส่ความสนุกและให้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งส่วนต่างๆของแอพได้แล้วยังต้องคงหน้าที่หลักของแอพไว้ให้ครบถ้วนด้วยนะคะ
-หาได้ เจอง่าย
จงเรียนรู้การเลือกตั้งค่าของผู้ใช้แทนที่จะตั้งคำถามมากมายให้ผู้ใช้ต้องเลือกตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า และที่สำคัญคุณควรทำให้ตัวเลือกต่างๆของคุณง่ายต่อการค้นหาด้วยนะ
ทำให้ง่าย
จุดประสงค์หลักของแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ก็คือการช่วยทำให้ชีวิตของผู้ใช้ง่ายขึ้น ดังนั้นแอพพลิเคชั่นต่างๆก็ควรจะเข้าใจได้ง่ายและใช้ได้ง่ายด้วย ซึ่งการออกแบบที่ดีจะเข้ามามีส่วนในการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจตัวแอพพลิเคชั่นได้ง่ายขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งานไม่ว่าผู้ใช้งานจะเป็นเพศไหน วัยใด เชื้อชาติอะไรก็ตาม
-สั้น ง่าย ได้ใจความ
อย่าลืมที่จะใช้ประโยคง่ายๆและคำสั้นๆที่สามารถสื่อได้ตรงความหมายนะคะเพราะถ้าเจอประโยคยากๆยาวๆหละก็รับรองว่าผู้ใช้กด skip รัวๆแน่นอนค่ะ!
– เล่าเรื่องด้วยรูป
พยายามเลือกใช้รูปภาพในการอธิบายไอเดียต่างๆในแอพนะคะเพราะว่านอกจากมันจะช่วยดึงความสนใจจากผู้ใช้ได้แล้ว มันยังช่วยทำหน้าที่สื่อความได้ดีกว่าตัวหนังสือเสียอีกนะ!
-จัดมาเดี๋ยว..เลือกเอง
ก่อนที่จะลองถามผู้ใช้เราลองคาดเดาความต้องการของเขาดูก่อนดีกว่านะ ว่าเขาน่าจะต้องการอะไร ชอบแบบไหนแล้วค่อยกรอบออกมาเป็นทางเลือกง่ายๆ เพราะผู้ใช้มักจะไม่ค่อย happy กับการที่จะต้องมานั่งเลือกนั่งตัดสินใจอะไรบ่อยๆหรอกนะคะ และในกรณีที่ผู้ใช้ทำอะไรพลาดไปก็ใส่ปุ่ม undo ไปให้เค้าด้วยก็ดี
-ไม่เรียกอย่ามาโชว์ตัวนะ
ทุกวันนี้ผู้ใช้มักจะตกอยู่ในภาวะข้อมูลท่วมสมองเพราะต้องรับอะไรหลายๆเรื่องพร้อมกันในคราวเดียวยิ่งกว่า Multitasking ซะอีก ดังนั้นถ้าจะต้องป้อนข้อมูลอะไรให้กับผู้ใช้แล้วหละก็จงทำให้มันย่อยได้ง่ายที่สุดและอย่าให้มีเยอะจนวุ่นวายทางที่ดีควรจะซ่อนตัวเลือกต่างๆในแอพที่ไม่ได้จำเป็นต่อาการใช้งาน ณ ขณะนั้นเอาไว้เพื่อไม่ให้รกและเข้าใจง่ายค่ะ
-ตอนนี้ฉันอยู่ที่ไหน
ควรสร้างขอบเขตของแอพพลิเคชั่นให้ชัดเจนและใช้ตัวเชื่อมเข้ามาช่วยในแอพเพื่อแสดงความสัมพันธ์กันของหน้าต่างๆในแอพค่ะ เพราะนั่นจะทำให้ผู้ใช้รู้เสมอว่าตอนนี้เขาอยู่ส่วนไหนของแอพแล้วและจะไปต่อที่ไหนยังไงดี หากมีการรอประมวณผลก็บอกความคืบหน้าให้ผู้ใช้ทราบด้วยนะคะ
-ของฉันอยู่ไหน!
แอพควรเปิดให้ผู้ใช้เซฟสิ่งต่างๆที่เขาสร้างขึ้นได้และต้องให้เขาเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นได้จากทุกที่และในทุกๆเวลาที่ผู้ใช้ต้องการแบบ Cross Device เช่น ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทั้งทางมือถือ, tablets และ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพราะว่านี่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นอีกเยอะ
-หน้าตาแบบนี้เจอที่ไหนก็ใช้เหมือนกัน
แอพจะต้องช่วยให้ผู้ใช้สามารถแยกแยะความแตกต่างของฟังชั่นต่างๆได้ ด้วยการทำให้ฟังชั่นต่างๆนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของหน้าตาและในเชิงปฏิบัติด้วย ดังนั้นหากอะไรที่ดูแล้วหน้าตาคล้ายกันก็จะต้องมีฟังชั่นในการทำงานแบบเดียวกันด้วยนะคะ เพราะว่าไม่อย่างนั้นผู้ใช้สับสนอย่างแน่นอน
-ไม่สำคัญอย่ามาขัด
การเป็นแอพที่ดีก็เหมือนกับการเป็นเลขาที่ดีนะคะเพราะว่าจะต้องทำหน้าที่กันไม่ให้เรื่องไม่เป็นสาระเข้ามารบกวนผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้มีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แต่เมื่อมีเรื่องสำคัญอย่างเช่น ตารางนัดต่างๆหละก็จะต้องรีบแจ้งผู้ใช้ทันที
ทำให้ว้าว
การทำให้แอพพลิเคชั่นเข้าใจง่ายและง่ายต่อการใช้งานนั้นยังไม่เพียงพอนะคะ เพราะว่าสิ่งสำคัญอีกอย่างคือแอพพลิเคชั่นนั้นจะต้องน่าค้นหาและต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้พบประสบการณ์การใช้งานแบบใหม่ๆด้วย ดังนั้นจงสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นให้สดใหม่เสมอ! แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงด้วยว่าแม้แอนดรอยด์จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถผสานแอพพลิเคชั่นเข้ากับการทำงานได้ง่ายๆในทุกขั้นตอนผ่านทางพวก multitasking, notification, และการแชร์ข้อมูลข้ามแอพพลิเคชั่น แต่ว่าในขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นต่างๆก็ต้องให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้ด้วยเช่นกัน
-ขอทริคที
แน่นอนว่าผู้ใช้มักจะhappyมากกว่าหากว่าพวกเขาสามารถหาทางใช้งานแอพได้ด้วยตัวเองนะคะดังนั้นแอพพลิเคชั่นต่างๆจะต้องง่ายพอที่ผู้ใช้จะเรียนรู้โดยอาจจะมีทริคเล็กๆที่สามารถใช้ได้ผลกับทุกๆฟังชั่น เช่น การ swipe เพื่อเข้าสู่ shortcut ต่างๆเป็นต้นค่ะ
-ฉันไม่ผิดนะ
หากผู้ใช้ทำอะไรพลาดไปบ้างอย่าดุเขานะคะ ให้ใจเย็นและสุภาพเข้าไว้เวลาที่จะแนะนำวิธีการแก้ไข ถ้าสามารถหาทางแก้ไขปัญหาหลังบ้านได้ยิ่งดีเลยค่ะ เพราะผู้ใช้งานย่อมอยากรู้สึกฉลาดอยู่เสมอค่ะ
-กำลังใจเป็นยาวิเศษ
พยายามทอนเรื่องราวที่ยุ่งยากต่างๆให้ออกมาเป็นขั้นตอนสั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำตามได้ง่ายๆ และอย่าลืมคอยให้ feedback กับการกระทำต่างๆของผู้ใช้แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆก็ตามเพราะการให้กำลังใจในการใช้เนี่ยสำคัญนะ
-ยากๆขอบาย
แอพต้องทำให้มือใหม่รู้สึกเหมือนกลายเป็นมือเก๋าได้ โดยอาจจะให้เขาได้ลองทำในสิ่งที่เขาไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ เช่น การมี shortcuts ที่รวบรวมเอฟเฟคตกแต่งรูปที่หลากหลายเอาไว้ เชื่อไหมคะว่าแค่นี้ก็สามารถทำให้มือใหม่ด้านการถ่ายภาพว้าวได้แว้วว
-อะไรที่สำคัญต้องทำให้เร็ว
ไม่ใช่ว่าทุกเรื่องจะมีความสำคัญเท่ากันนะคะ ดังนั้นต้องเลือกว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในแอพพลิเคชั่นเมื่อรู้แล้วก็ทำผู้ใช้สามารถหาสิ่งนั้นเจอได้โดยง่ายและรวดเร็วด้วยนะคะ อย่างเช่นปุ่มชัตเตอร์ของกล้อง หรือปุ่ม pause ในแอพเล่นเพลงเป็นต้นค่ะ
เป็นบทความแปลที่ดีมากครับ
เพราผมเชื่อว่าหลายๆคนคงไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ 😀
แต่คนที่ชอบเขียนโปรแกรมมักไม่มีหัวศิลป์เนี่ยสิ
http://developer.android.com/design/get-started/creative-vision.html
ขอบคุณค่ะ >.< มีคนอ่านรุเรื่องแว้ววว เย้
ทึ่ง ง่าย ว๊าววววว
แปลได้ดีมากเลยครับ กด Like ตรงไหน
>.< ขอบคุณค่ะ
ก็ว่าอยู่ว่าทำไมอ่านแล้ว คำพูดแปลกๆ แปลมานี่เอง
ขอบคุณนะครับที่ช่วยแปลบทความดีๆมาให้อ่าน ^^