สรุปประเด็นสำคัญ การบรรยายเรื่องอาชญากรรมไซเบอร์ ของ พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช. ในหลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ 8

ดังนี้>>http://www.slideshare.net/NoppadolTi…pong-malisuwan

ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ Thailand 4.0 แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องภัยคุกคามด้านอาชญากรรมไซเบอร์ เพราะการเร่งการพัฒนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นทิศทางที่ถูกต้อง แต่ต้องสมดุลกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่เข้มแข็ง

การเติบโตและความสามารถในการเข้าถึงโครงข่ายไซเบอร์ของประชากรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ความเสี่ยงด้านภัยคุกคามไซเบอร์มีสูงขึ้นหลายเท่าตัว และจะเป็นภัยคุกคามที่จะถูกยกระดับในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความเสี่ยงขั้นสูงจากสถิติทั่วไปที่มีการเก็บตัวเลขจากสถาบันวิจัยหลายสถาบันทั่วโลกพบว่า การโจมตีมักมุ่งเน้นในการโจมตีเป้าหมายที่จะมีผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น สถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ โครงข่ายโทรคมนาคม ระบบขนส่งมวลชน ระบบไฟฟ้า เป็นต้น

ความเห็นผู้บรรยายเห็นว่า ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการในการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และมีสำนักงานโดยมีเลขาธิการ เป็นผู้ดำเนินการบริหารงาน ที่สำคัญคือ ควรตั้งให้เร็วที่สุดก่อนที่จะเกิดปัญหาด้านการโจมตีไซเบอร์ที่รุนแรง โดยคณะกรรมการดังกล่าวควรให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงเป็นประธาน การที่ต้องเร่งดำเนินการเพราะหลังจากตั้งแล้ว จะต้องมีการดำเนินการด้านการบริหารจัดการซึ่งต้องใช้เวลา 1-2 ปี เป็นอย่างน้อย จึงจะสมบูรณ์

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติดังกล่าว ควรเป็นการตั้งแบบ Top down โดยไม่ควรมอบหมายกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นผู้ทำ เนื่องจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้เป็นภัยคุกคามที่มีรูปแบบผสมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย ซึ่งไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเท่านั้น

การดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวโดยคณะกรรมการ จะทำให้เกิด Cybersecurity Framework ที่เป็นคัมภีร์ ที่จะทำให้หน่วยราชการและภาคเอกชน สามารถนำไปใช้เป็น Guideline ในการขับเคลื่อนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในทุกระดับ และจะต้องทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันทุกภาคส่วน (Collaboration) ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ โดยจะต้องมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่ทำให้เกิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานด้านการข่าวไซเบอร์แบบ Real time

การเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการข่าวกรองไซเบอร์ระหว่างประเทศ ของสำนักงานความมันคงไซเบอร์แห่งชาติด้วยศูนย์ปฏิบัติการไซเบอร์ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ ซึ่งในเครือข่าย Cybersecurity ระดับนานาชาติ จะสามารถช่วยในการค้นหาเป้าหมาย แหล่งต้นตอการโจมตีได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา และยังมีการแจ้งเตือนแนวโน้มที่จะถูกโจมตีได้อีกด้วย
—————-
คู่มือความรู้พื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
cr.:http://ictthailand.org/?p=369