ฟังหัวข้ออาจจะงง อธิบายคือ
เย็นวันเสาร์ ลูกชายแอบเอาเจ้า Galaxy Note ผมไปเล่นเกมเด็กๆที่ Download มาฟรี กะให้เค้าเล่น (ตั้งใจว่าถ้าเล่นคือเค้าก็อยู่ต่อหน้าเรา…ซึ่งทุกครั้งก็ทำงั้น) ชื่อว่า “Fish Predator” ของ “DroidHang – Wang Wei” หรือก็คือเกมปลาใหญ่กินปลาเล็กง่ายๆ นั่นล่ะครับ….แต่มันทำให้ผมต้องจ่ายตังค์ไปกะมัน 700 บาท โดยที่ไม่ทันตั้งตัว…!!!!
เจ้าลูกชายคงเล่นๆแล้วผ่านด่าน หรือมีพวก เด้งขึ้นมาโชว์ให้กด เพื่อเข้าไปซื้อไอเทมต่างๆนานา ที่จะขึ้นมาล่อลวงให้กดเข้าไป ถ้าเป็นเด็กๆ ก็ไม่ต้องสงสัยว่า….”โดนแน่ๆ”
นั่นคือผลลัพธ์ที่ตามมาในอีก 3 วันหลังจากนั้น เมื่อมาเปิด email ใน outlook ดู…..
เจอไป 155$HK อันนึ่ง และไม่ห่างกันเลย คือ 15.75$HK……….ตกใจทันทีรีบกด App ตัวนี้เปิดขึ้นมา ปรากฎว่า หน้าจอขอแอพมันค้างอยู่ตรงปุ่มรอกด เพื่อยืนยันการซื้อขาย ปุ่มสีฟ้าๆ……..นั่นคืออีก 77$HK ที่ผมเกือบจะโดนไปอีกรอบที่ 3….
รวมมูลค่าความเสียหายในครั้งนี้ก็ประมาณ 700 บาท…โอย แต่ถ้ามันเป็น $ เดี่ยวๆ เนี่ย……หนักเอาเรื่องเลยทีเดียว คงปาไปร่วมๆครึ่งหมื่น…กับ app ที่ทำท่าเหมือนเพื่อเด็กๆ…แต่ราคาข้าวของที่มาแอบวางขายในเกมตั้งราคาหน้าเลือดบ้าระห่ำ เห็นหลายค่ายละ…ทั้ง DroidHen, Droid Hang หรือแม้แต่เกมแนวผู้ใหญ่ อย่าง Blood and Glory …..
…………..ผมไม่ได้นิ่งนอนใจ……รีบเข้าไปใน Google play store แล้วเข้าไปที่ Google Wallet เพื่อทำการปลดบัตรเครดิตการ์ดออกจาก google ID ซะ
แล้วจึงติดต่อกลับไปที่ Google Play Store Support Team เพื่อแจ้งเรื่องว่าได้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นว่า
….ระบบยอมให้มีการซื้อ ทั้งๆที่ไม่ใช่เจ้าของเครื่อง มาเล่นเครื่องอยู่ขณะนั้น……..ได้นำเสนอ solution ไปว่า หากจะกดยืนยันการซื้อ …..ต้องมีการ ถาม PASSWORD ทุกครั้ง หากไม่ใช่เจ้าของเครื่องตัวจริงก็จะไม่สามารถซื้อได้….ซึ่งแน่นอนว่า PASSWORD ดังกล่าวต้องไม่ใช่ตัวเดียวกับที่ใช้ login ID เพื่อความปลอดภัย……หรือทาง Google เองมี Solution ที่ดีกว่านี้ เพื่อสามารถระบุตัวคนซื้อว่าถ้าเป็นเจ้าของเครื่องเท่านั้นถึงจะซื้อได้……ก็จะดีมาก
แต่ตอนนี้ไม่เอาละครับ รู้สึกว่า เสียค่าโง่ ไปเลย…….ตอนนี้ขอเล่นแอพเท่าที่มีไปเรื่อยๆ ดีกว่า…จะไม่ซื้ออะไรอีกจนกว่าจะปรับปรุงให้ดีกว่านี้
ทุกคนเคยโดนอย่างนี้ไหมครับ…..หรือตัวระบบ มันมีตัวป้องกันในจุดนี้ให้ด้วย (ซึ่งผมดู..มันก็ไม่เห็นจะมี…บอกแค่ว่า คุณจะ refund สามารถทำได้ภายใน 15 นาทีนับจากทำการซื้อเท่านั้น…..ซึ่งนั่นผมถือว่าคนละเรื่องกันเลย หากมือถือไม่ได้อยู่ในมือคุณใน 15 นาที นั้นล่ะ ต่อให้แจ้งเตือนผ่าน SMS ก็เท่านั้น เพราะก็ยังเข้าที่เครื่องนั้นอยู่ดี….)…….
มันไม่ปลอดภัยเอาซะเลยสำหรับ ผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กๆ ที่เค้าอยากเพียงแค่เล่นเกม…ที่เราคิดว่ามันไม่มีพิษภัยอะไรแล้วเชียว…..
ใครเจออะไรเด็ดๆกว่านี้มาเล่าให้ฟังมั่งซิครับ…จะได้ ระวังตัวกันไว้ให้มากขึ้นเยอะๆ
น่ากลัวนะครับเนี่ย ขอบคุณที่บอกกันครับ
ผมก็เสียวๆเวลาเล่นแอพอะไรในแอนดรอยด์เหมือนกันครับ
ยิ่งพวกเกมเนี่ย ปิดเน็ตก่อนทันทีทุกช่องทางเลย
แต่ผมก็ไม่ได้ผูกบัญชีบัตรอะไรกับ Google นี่นาถ้าชาร์จตังมาก็คงต้องเข้าโอเปอร์มือถือมั้ง =_=”
เกมส์หลายตัวใช้วิธีนี้ครับ บอกว่าฟรีแต่ถ้าเล่นให้เก่งกว่าดีกว่าต้องซื้อเพิ่ม
ผมเจอเกมส์ไหนมาแบบนี้ ผมลบทิ้งเลย
ถือว่าหลอกลวงไม่จริงใจ จะขายก็ตั้งราคามาเลยตั้งแต่ต้น
เวลาจะเล่นอะไร ถ้ามันไม่ขึ้น Require Network Connection นี่แนะนำว่าปิดเน็ทไว้เถอะ นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้วยังพาเสียตังอีก แอปเกมส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้ถ้าเล่นฟรี ไม่เสียตังนี่ เป็นเกมแบบ In app purchase แทบทั้งนั้น
ยิ่งถ้าเป็นจำพวก 3G นี่ยิ่งแล้ว เพิ่มเรื่องกินดาต้าจากการโหลดโฆษณาในแอปตลอดเวลาไปอีก มีแต่เสียกับเสีย เปลืองกับเปลือง = =”
ลองอ่านข่าวนี้ดู ลิงค์
หนักกว่าของ จขกท. อีกแต่คนละค่ายนะ หะหะ
ขายไอเทมมันขายได้หลายครั้งกว่าขายตัวเกมในทีเดียว
เพราะเดี๋ยวก็จะมี event นั่นนี่ แล้วเพิ่มไอเทมใหม่ๆ หลอกให้ซื้อกัน
ของใน app ที่ซื้อผ่าน google wallet สามารถตั้ง pass ได้ครับ
เข้าไปที่ play store แล้วกดปุ่มเมนูเลือก my app
แล้วกดเมนูเลือก setting อีกครั้งในนั้นสามารถสร้าง pin
สำหรับใสเวลาซื้อ app ที่ยังไม่เคยซื้อครับ
ผมยังเคยซื้อไอเทมในเกมเลย เพิ่มเงิน 😛
แต่การ refund ของ google playนี่ห่วยจริงๆ บางแอพก้อไม่มีปุ่ม refund ให้กด ต้องตาลีตาเหลือกส่ง mail ไปที่google ก้อคืนได้บ้างไม่ได้บ้าง
โดนเหมือน จขกท เลย ลูกชายตัวเล็ก ผมกดซื้อไปแบบไม่รู้เรื่อง มากกว่า 5-6 ครั้ง ผมโดนเกือบ 4 พันบาท รู้อีกที่ตอนเรียกเก็บเงินแล้ว
เวลาให้เด็กๆเล่นต้องระวังหน่อยครับ จะไม่ค่อยอ่านอะไรเท่าไหร่เห็นได้เงินในเกม ก็ตาแวววาวกันเลยทีเดียว T^T
ครับ งานนี้คงไม่ใช่ 700 บามซะละครับ พอ check mail ดูดีๆ ก่อนหน้าก็มีอีก 2 transaction…..หน่วยเป็น UKปอนด์ ซะ……สรุปประมาณ พันกว่าๆ ละครับ…..เฮ้อ….
ขอบคุณสำหรับวิธีป้องกันนะครับคุณ vutchangj…….สาเหตุที่ผมพลาดอีกอย่างในครั้งนี้ ผมว่า….ก็มาจากส่วนนึงด้วย นั่นคือ…….ผมผูกบัตรเอาไว้ตั้งแต่คราวที่ยังเป็นแค่ .. “Google Market” ไอคอนหุ่นเขียว…..พอทาง google เปลี่ยนมาเป็น “Google play store” …..ซึ่งรูปแบบการทำ payment ปรับมาเป็น Wallet…..ก็ทำให้การซื้อแอพซึ่งตะก่อนจะถามเยอะมาก กว่าจะซื้อได้…..กลายเป็นปั๊บเดียว ได้เลย…..ง่ายกว่าเดิมเยอะ……แทนที่จะตั้งค่า default มาให้เลยว่า ต้องไป set password กันก่อนนะ….เฮ้อ………สงสัย ประเด็นนี้ทาง google คงตกสำรวจเรื่องพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้ากรณีแบบอย่างผมหรือคนอื่นๆที่โดนกันไป…..
แต่เค้าลืมกันไปว่า ถ้าเด็กๆแอบเอาไปเล่นล่ะ….ง่ายขนาดนั้นก็จบละครับพ่อแม่…..งานนี้ระวังตัวแจเลย….
ล่าสุด….หลังจากส่ง mail ไปบอก ทาง google ตอบเมลล์กลับในเวลาห่างกันไม่ถึง 20 นาทีดี….ใจความว่า “ทางเราตรวจสอบแล้วไม่พบหมายเลข Receipt Order Id ที่คุณบอกมา”……..เฮ้ย ได้งัย…..จัดการ attached ข้อมูลทุกอย่างตีกลับไปเลยว่า….นี่งัยหลักฐาน….ตรวจสอบซะ…..
อืม…..support เร็วจริง…..แต่ไม่รอบคอบซะเลย…เฮ้อ….
เกือบลืมตอบอีกเรื่องนึงครับ….เรื่องการป้องกันโดยการปิดเนทเอาไำว้ทุกครั้งที่จะเล่นเกม……มันลำบากมากครับงั้น ต้องมาคอยเปิดๆปิดๆ……ผมใช้ package 3G unlimit เอาไว้…กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆที่ต้องเปิดๆปิด จนเครื่องรวนแล้วต้อง restart ใหม่ เหมือนคราวใช้ SSGS-1 ไม่ไหวล่ะครับ….แต่ก็ถือเป็นอีก 1 แนวทางขั้นเด็ดขาดนะครับ…..แต่ขอยังไม่ใช้วิธีนี้ก่อน
มาละครับได้รับการตอบกลับแล้ว….ตามนี้เลยครับ Original version กันไป ขอปิดนามผู้แจ้งกลับของ google น่ะครับ…เยี่ยมยอดมากๆ ขอบคุณ google อีกครั้ง
Thanks for contacting us about how to prevent unauthorized purchases on your device. If you’re running version 3.1 or higher of the Google Play Store app on your device (visit Menu > Settings > Applications > Manage applications > All > Play Store to find out your version), you’ll be able to set a PIN code to help prevent unintentional purchases.
To set a pin, open the Google Play Store app on your device and visit Menu > Settings > Set or change PIN. Then, you’ll need to enter a PIN code and touch OK, and you’ll be asked to re-enter this PIN for confirmation. After setting your pin, check the box for “Use PIN for purchases.”
Whenever you’re trying to purchase an app or book, rent a movie or make in-app purchases, you’ll need to enter this PIN code before you can complete your purchase.
If you need to change your PIN code (or you’d like to remove it), open the Google Play Store app and visit Menu > Settings > Unlock settings > Set or change PIN, and then either enter a new PIN or touch “Remove PIN.”
If you’ve forgotten your PIN code, then touch Menu > Settings from your device’s home screen. Then, touch Applications > Manage applications > All > Play Store > Clear data.
We appreciate all the feedback we get from our users, and I’ll be sure to share your input with the rest of the Google Play team. Depending on what the team decides, we might be able to include your suggestion to make the product even better.
I hope I was able to help, and if you have any other questions or concerns, please let me know.Also, I’d like to let you know to expect a short anonymous survey about your support experience in the next few days; we keep trying to find ways to improve our customer support, and your feedback will definitely help.
Best Regards,
******
The Google Play Support Team
……….แต่ผมก็ comment เค้ากลับไปว่า คราวหน้าถ้ามี update feature อะไรดีๆเจ๋งๆ แล้วรบกวนช่วยแจ้งเตือนหรือตั้งค่าการป้องกันสูงสุดเอาไว้ก่อนเลยได้ไหม (ตั้ง default pin ไว้ก่อนก็ได้ ว่า “0000” หรืออะไรก็ได้ที่มันง่ายๆ..มาเปลี่ยนเองในคราวหลัง) สำหรับเรื่องเงินๆทองๆ….มันสำคัญมากกกก……ถ้าคืบหน้าอะไรจะมาเล่าให้ฟังอีกน่ะครับ
ผลทดสอบโอเค…ตามที่ทาง google support ทีม ได้แจ้งไว้…ป้องกันได้จริงน่ะครับ ไม่ว่ากะ app ใหม่ที่เราจะไปซื้อใน play store หรือ พวกแอพที่ลงไว้แล้วแต่จะซื้อของเพิ่มหรือ license เพิ่มก็ต้องผ่านการถาม PIN เหมือนกัน……อ่า กลับมาอุ่นใจอีกครั้ง…ว่าไม่รั่วง่ายๆละ….
การให้มือถือที่ผูกบัตรเครดิตร ก้เหมือนให้กระเป๋าสตางค์ครับ
ปัจจุบันหลายเว็บสามารถใช้ google ซื้อของได้แล้วนะครับ
เท่ากับว่าโทรศัพย์ที่เราถือสามารถซื้อของออนไลน์จากเว็บได้แล้ว
ซึ่งต้องระวังครับ ผมเคยอ่านเจอวิธีป้องกัน คือกำหนดรหัสผ่านให้กับ google wallet
หรือบริการต่างๆให้ต่างจากรหัสผ่านเดิมของเราได้ แต่ยังไม่เคยได้ลอง
แต่แย่หน่อยตรงที่ default ของ google ไม่มีการป้องกันอะไรเลย
ซึ่งอันตรายมากครับ เพราะเกิดไปซื้อของออนไลน์ คงไม่ใช่หลักร้อยแน่ๆครับ
ขอบคุรมากครับที่แชร์ประสบการณ์
ครับ…ถ้าจะเข้าผ่าน google wallet ตอนนี้ ยังคงใช้แค่ password ชั้น เดียว หรือก็คือ logon ผ่าน google account ก็เข้าไปได้แล้ว
ล่าสุดเห็นทำ password ขั้นที่ 2 แต่ก็แค่กั้นการ access จาก แอพอื่นๆที่เราลงไว้แล้วจะขอ access โดยใช้ google account ของเรา…เช่นพวก แอพ อ่าน email ในเครื่องมือถือ, Google Crome เวลาจะ Sync (Crome Sync)…..แถมลักษณะการทำงานคือ 1 time access เลย คือ…..เราทำการ generate Application-specific passwords จากเวบในคอม (จะมีหน้าจะ generate อยู่ในส่วนของ การตั้งค่าบัญชี -> Account overview -> 2 step verification…ถ้าใครยังไม่ใช้จะยังเป็น Off อยู่ และถ้าจะเปิดใช้งาน จะต้องทำการ Authenticate เครื่องคอมที่เรากำลังเปิดใช้งานอยู่ด้วย…หากเป็นเครื่องที่บ้านก็แล้วไป แต่ถ้าเครื่องที่อื่นและไม่มั่นใจก็เข้าไปลบ certify ชุดนี้จากใน page นี้ได้และ คลิกตรงข้อความ “Remove it from your list of trusted computers.” แต่ๆๆๆ ทุกครั้งที่จะเข้า gmail ทุกครั้งมันจะถามหารหัสป้องกันที่จะถูกส่งผ่านเข้ามือถือที่เรา Registered เอาไว้ในระบบแล้วเท่านั้น)……พอตั้งค่าเสร็จ ทีนี้ พอเราลองเปิด App “Gmail” ใน Android……มันจะเด้งขึ้นมาถาม password ที่เรา generate บนคอม….จัดการคีย์ลงไป…ก็เป็นอันเรียบร้อย…..จบการตั้งค่า 2 step password
…….แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีทางกันโปรแกรมดัก keyboard หรือ โทรจันประเภทดัก window message แล้วกรองเอาคีย์ ที่เราพิมพ์ลงไป…อย่าคิดว่าจะพ้น……ทางที่ดี ทำธุรกรรม หรือข้อมูลลับต่างๆ บนเครื่องที่บ้านดีกว่า….เครื่องที่บ้านก็อย่าไปเข้าเวบโป๊ โนเนม สารพัด เวบล่อลวง…….กันถึงขนาดไหนก็ยังไม่พ้น โปรแกรมแนว sniffer สรุปงดทำธุรกรรมทางเนต โดยไม่จำเป็นจะดีกว่าฮ่าๆๆ เว้นแต่สุดวิสัยหรืออยากโหลดจริงๆก็จัดไปแล้วลบข้อมูลทิ้งก็พอไหวละเน๊าะ…….
***** หรือเอาอย่างง่ายสมัครบัตรแล้วตั้งวงเงินน้อยที่สุด(ไม่รู้ว่าตั้งได้น้อยที่สุดแค่ไหนหลักพันไม่รู้ได้ไหม) แล้วเอาเจ้าบัตรนั่นล่ะมาผูกไว้ช็อปออนไลน์เล็กๆน้อยๆ *****
แต่อย่างแรกที่ต้องระวังเลยนั่นคือ Hacker ตัวน้อย ที่บ้าน…….โดดเอาฟันน้ำนมแทะสีข้าง…..แสบๆคันๆกันไป…….