หนุนแนวทางกสทช.แก้ซิมดับ ชี้ลูกค้าคลื่น1800ได้ประโยชน์

นักวิชาการด้านโทราคมนาคม รายหนึ่งระบุว่า จากกรณีที่ มีข้อเรียกร้องให้เร่งประมูลคลื่น 1800 “ นั้นกลุ่มที่ออกมาคัดค้าน ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูล ทำให้ประเด็นการโต้แย้งไม่มีน้ำหนัก ทั้งนี้ในประเด็น อำนาจทางกฎหมายของ กสทช.ในการขยายระยะเวลาการคืนคลื่นนั้น ในความเป็นจริงแล้ว กสทช.มีอำนาจทางกฎหมายในการออกมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47) โดยมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการดังกล่าวไม่ใช่การขยายเวลาการคืนคลื่น แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกว่า 17 ล้านคนไม่ให้เกิดสภาวะซิมดับ

ส่วนประเด็น คลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ประมูลไปแล้วไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทำให้บางกลุ่มเรียกร้องให้มีการประมูลคลื่น 1800 ที่กำลังหมดสัมปทานโดยเร็ว โดยเชื่อว่า หาก กสทช. จัดให้มีการประมูลล่วงหน้า อย่างน้อย 6 เดือน ผู้ชนะการประมูลย่อมมีเวลาในการเจรจากับ กสท.เพื่อขอเช่าโครงข่ายนั้น จากกรณีดังกล่าว เป็นการสรุปจากคำสัมภาษณ์ของเอกชนเพียงรายเดียว คือ เอไอเอส เท่านั้น โดยไม่ได้วิเคราะห์สภาพตลาดและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยว่ามีความเป็นได้แค่ไหน อีกทั้ง ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุดและทำให้ประเทศเสียหาย

หากพิจารณาจากข้อเท็จจริง พบว่าหลังสัมปทานสิ้นสุดลง คลื่น 1800 ต้องคืนให้กับ กสท. และ โครงข่าย 2G ซึ่งปัจจุบันล้าสมัยไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ บริการ 3G และ 4G เพราะหากมีการจัดประมูลคลื่นความถี่1800 ก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ผู้ชนะประมูลจะมุ่งเน้นใช้คลื่นเพื่อให้บริการ 3G และ 4G ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่ใช้โครงข่ายของ กสท.เพราะโครงข่าย กสท. รองรับได้เฉพาะบริการ 2G เท่านั้น ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ ซึ่งต้องใช้ ระยะเวลาพอสมควร

“ที่สำคัญ หากมีการประมูลจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้ใช้บริการ 2G ที่ค้างในระบบกว่า 17 ล้านราย ที่ไม่มีความประสงค์จะเปลี่ยนไปใช้บริการ 4G หรือ มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนไปใช้ 4 G เพราะอุปกรณ์มือถือที่ใช้อยู่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยี 4G ได้ การเร่งจัดประมูลคลื่น 1800 โดยไม่คำนึงถึงความพร้อม เป็นการแก้ปัญหาผู้บริโภคที่ผิดทางและสร้างความเสียหาย”

ส่วนประเด็นที่บางกลุ่มออกมาเรียกร้อง ให้เยียวยาผู้บริโภคที่ต้องการใช้บริการ 2G ด้วยการย้ายค่ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น กสทช.ควรเร่งให้เกิดการโอนย้ายลูกค้าก่อนหน้า 1 ปี โดยไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาในการคืนคลื่นนั้น เป็นข้อเสนอที่ไม่เข้าใจประเด็นข้อกฎหมายและไม่เข้าใจประเด็นอย่างรอบคอบ เพราะในช่วงที่สัมปทานยังไม่สิ้นสุด หาก กสทช.ไปกระตุ้นให้เกิดการย้ายค่าย จะเกิดผลกระทบและข้อครหาว่า กสท.ไปเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการอีกรายทั้งๆที่สัมปทานยังไม่สิ้นสุด

ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการเตรียมควา ม พร้อมฯ ไม่เคยมีมติเสนอให้ กสทช.เร่งจัดประมูลให้ทันก่อนหมดอายุสัมปทาน และ ไม่ได้ระบุว่า กสทช. ไม่ได้มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาคืนคลื่น เพียงแต่มีเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเยียวยาเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการที่ค้างอยู่ในระบบ ภายหลังสัมปทานสิ้นสุด

http://www.naewna.com/business/63233
————————————————————————————————————————————————–