MOTOROLA ATRIX ศูนย์แถมฟรีชุด Dock + Bluetooth
ผมเช็คสเปคเครื่องของ ศูนย์ไทย เทียบกับ โบวฺชัวร์ / แค๊ตตาล๊อค ที่ทำออกมา
ปรากฏว่า
**** โบว์ชัวร์ / แค๊ตตาล๊อค ; กล้องหน้า ระบุ 2MP
**** ของจริง ; กล้องหน้า แค่ VGA
**** นี่ถ้าเป็น USA เคลมคืน+เรียกค่าเสียความรู้สึกกันถล่มทลาย ฐานหลอกลวงผู้บริโภค
**** สำหรับผม ตอนแรกจะของคืนเงิน..แต่ทาง SiS เสนอแถมชุด Dock + Bluetooth ให้
แต่ผมมี bluetooth แล้ว จึงเปลี่ยนเป็น Dock + Case กันกระแทก
สรุปก็ได้ของแถมมาอีก 2,000 กว่าบาท..
ลองไปเคลมกันดูครับพี่น้อง โทรไปศูนย์ SiS 02-640-3000
ระยะเวลาถึงเมื่อไหร่ครับ
หรือก่อนหมดประกันเครื่องครับ
แล้วเราต้องบอกอะไรกับศูนย์บ้างครับ
ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างครับ
ขอบคุณครับที่มาบอกข่าวครับ
ลองติดต่อไป ให้แค่ Bt น่ะครับ
ไม่มี dock แล้วน่ะครับ
ไม่ให้ก็..ของตังค์คืนครับ..
ร้อง สคบ. (สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค)
กำ ทำไมผมดูในเวป moto เองก็ระบุว่ากล้องหน้า 2 ล้านอ่ะครับ
กำลังจะซื้ออยู่ ชะงักเลย – -“
เอ … มี 2 คำถามค่ะ
1. check spec กล้องยังไงเหรอคะ (ไม่รู้จริงๆค่ะ T___T)
2. แล้วเราโทรเข้าไปได้เลย หรือต้องไปที่ศูนย์ SiS คะ
ขอบคุณนะคะ
ปกติกล้องหลัง สามารถเลือกขนาดภาพเป็น 5MP ,3MP, 2MP, 1MP โชว์ที่มุมซ้าย
กล้องหน้า จะไม่สามารถเลือกได้ โชว์ เป็น VGA ที่มุมซ้าย
ครับ
โทรไปเลยครับ
ทนายคลายทุกข์ได้จัดทำกฎหมาย สคบ./พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 /พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มานำเสนอใน Web page หน้านี้ โดยจะนำเสนอเป็นตอนๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์ เริ่มสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรก โดยจะเริ่มนำเสนอเป็นตอนที่ 1 ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Web page นี้
ขอเรียนเชิญให้ท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมใหม่ในสัปดาห์หน้านะครับ
ทีมงานทนายความกฎหมายสคบ./ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522/ พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาคดีผู้บริโภค / แสดงความคิดเห็นได้ในหน้านี้ ในช่องแสดงความคิดเห็นหรือโทรปรึกษาคดีผู้บริโภค 02-9485700
บทความจาก สคบ. ตอนที่ 1
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
1. ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้า ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
– ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อ
ประเทศที่ผลิตด้วย
– ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
– ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
– สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี
– ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือ
สัญลักษณ์แทนก็ได้
– ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
– ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
– วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพ
หรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)
– ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้
2. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว
3. ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
4. ร้องขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม แก่ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต
ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม
– ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
– ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ โดยใช้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
– ข้อความที่เป็นการสนับสนุน โดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ในวัฒนธรรมของชาติ
– ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
– ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนด ในกระทรวงที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐานดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วย
เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
การกำกับดูแลสินค้าหรือบริการนั้นหรือร้องเรียนมาที่สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่างจังหวัดร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด
การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิ
ของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่
– สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
– สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
– สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
– สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
– สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ดังนั้นการร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ
ชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้ บริโภค
การเตรียมตัวของผู้บริโภค เพื่อจะมาร้องทุกข์เป็นขั้นตอน ที่มีความสำคัญ หากเอกสารหลักฐานที่ผู้บริโภค นำมาไม่ครบถ้วน จะทำให้ผู้บริโภคเสียเวลา ในการยื่นเรื่อง
สายด่วน-คดี-สคบ.–ทนาย-คดีผู้บริโภค ติดต่อ 02-948-5700
ไม่ต้องเช็คครับ เพราะรุ่นนี้กล้องหน้ามัน VGA อยู่แล้วทั่วโลก
SiS ทำโฆษณาผิดเลยเป็นเรื่องไงครับ
ถูกต้องครับ..
แต่ต้องตีความว่า..อาจจะตั้งใจหลอกลวงลูกค้า…เพราะก็ออกโบว์ชัวร์ แค่ 2 หน้า
ไม่ควรจะผิดพลาด..
อีกอย่างหนึ่ง ออกมาราคา 18,900 บาท เท่า ๆ samsung S2 ซึ่ง สเปคใกล้เคียงกัน
นี่ถ้าเป็น USA มีหวังบริษัทพังไปแล้ว
โทรไปที่ sis มา พนักงานบอกไม่ทราบเรื่องของแถมเพิ่ม
บอกให้ capture หน้าเว็บที่ทราบข่าวให้ดูก่อน
ถึงจะพิจรณาอีกทีนึง
เคยใช้เครื่องนอกมันก็ VGA นี่ครับ ว่าแต่ถ้าจะซื้อเครื่องศูนย์ไทยตอนนี้มีแถมไหมอ่ะ ว่าจะไปหาโปรโมชั่น 14900 อยู่เลย
ปล. ในเวปโมโตบอก 2M จริงๆ นั่นแหละ
รบกวน จขกท หรือใครที่มี ขอภาพโบรชัวร์ตัวปัญหาหน่อยครับ
จะไปเอาบ้างครับ
ถ้ายังงี้เรา claim ไปที่ moto เลยไดไหมคะ เพราะจริงๆแล้ว moto ให้ข้อมูลผิดมานี่คะ
ปล. ขอโบรชัวร์ SiS ด้วยคนค่ะ Pleaseeeeee
เรื่องนี้มองได้ 2 มุมครับ
1. คุณซื้อเพราะคำโฆษณาของใบโบรชัวร์ >> กรณีนี้คุณมีสิทธิ์เรียกร้องครับ
2. คุณไม่เคยเห็นโบรชัวร์ และได้ซื้อเครื่องมาด้วยความพึงพอใจของคุณเอง >> กรณีนี้ไม่น่าเข้าข่ายครับ
เพราะฉะนั้น การที่คุณจะไปเรียกร้องอะไร ก็ให้พิจารณากันให้รอบคอบนะครับ เรามีสิทธิ์ผู้บริโภค ก็ต้องใช้สิทธิ์ให้ถูกต้องครับ
ดูท่าหลายๆ คนจะมาขอโบรชัวรเพื่อเอาไปทำการเรียกร้องเอาผลประโยชน์.. ซึ่งกรณีที่คุณไม่เคยเห็นโบรชัวร์ ผมว่ามันก็ไม่ค่อยจะถูกนะครับ
moto เมืองไทยไม่มีแล้วครับ
sis เป็นตัวแทนจำหน่ายครับ
Loxley เป็นศูนย์บริการซ่อม
ณ จุดนี้ผมมองว่ากระทู้นี้จะดราม่าและยาวเหยียด จึงขอพิจารณาล็อคกระทู้นะครับ
สาระสำคัญของมันก็ได้มีอยู่ในกระทู้นี้แล้ว ใครคิดว่าตัวเองโดนใบโฆษณาหลอก ก็ให้ไปเรียกร้องกันเอาเองนะครับ จะไปคืนเครื่องหรือจะไปเรียกร้องตรงส่วนไหนก็ตามเนื้อหาที่ท่าน Aonetwo7 แปะไว้นั่นแหบะนะครับ