อีกไม่นานแอนดรอยด์ตัวแรกที่ใช้ซีพียู Quad-Core NVIDIA Kal El Tegra 3 อย่าง Asus Transformer Prime ก็จะออกวางขายแล้ว ก่อนลงแผงก็มีคนหยิบมันมา Benchmark เพื่อดูประสิทธิภาพโดยใช้โปรแกรม AnTuTu ผลออกมาคือกระฉูดครับ พุ่งทะลุหมื่นไปเป็นที่เรียบร้อย ทิ้งห่าง Galaxy Nexus และ Galaxy S II ไปแบบ “ไม่เห็นฝุ่น”
สำหรับประเด็นเรื่องประสิทธิภาพ”เบื้องต้น” ก็คงพอบอกได้ว่ามันต้องแรงและเร็วมากแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ต้องคิดถึงอยู่อีกหนึ่งเรื่องคือ “แบตเตอรี่” สำหรับ Tablet อย่าง Transformer Prime คงไม่เป็นอะไรมาก เพราะแบตเตอรี่ใหญ่อย่างกับแบตฯรถ (เว่อร์) แต่ถ้ามันมาบนมือถือหละ แบต 1,xxx mAh จะอยู่ได้นานแค่ไหน
รออยู่ครับ อยากให้มาพร้อม ICS เลย
My device ของรูปต้นฉบับเนี่ย เครื่องอะไรครับใช่ Atrix หรือเปล่า
แล้ว Antutu มีข้อมูลของ Quad core ได้ไงเนี่ย เหอะๆ
เอ๊ะ ^^
เห็นใน change log ของ Antutu เวอร์ชั่น 2.4.2 เค้าลงว่า
เพิ่มผลคะแนนแบบ bar chart ของ Asus Transformer Prime แล้ว คับ
ก็คงน่าเชือถือได้อยู่นะคับ สำหรับภาพปลากรอบที่เอามาลง ^__^
เห็น wildfire s แล้ว ขำ ถ้าจะต่างกันขนาดนี้
ผิดด
รอซื้อครับ เตรียมปลดระวาง a500
Prime Next my Tablet
นี่หละ tablet ที่จะมากิน ipad2
เดี๋ยวก็มี ipad ใช้ cpu Quad-Core ออกมากิน Asus Transformer Prime เขาเรียกว่ากินกันไม่ลงครับ
งบน้อย ตามไม่ทัน ^.^
นอกจากความแรงของเครื่องแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมเห็นหลายๆคนมองข้าม ก็คือเรื่องของการอัพเดตซอฟต์แวร์แอนดรอยด์เวอร์ชั่นใหม่ ซึ่งหลายๆค่าย(ทุกค่าย ยกเว้น Google) ทำได้น่าผิดหวัง
ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นเรื่องความหลากหลายของ products ที่แต่ละค่ายจะต้อง maintain หรือจะเป็นเหตุผลที่ว่าต้องการขายของใหม่, ถ้ามองในมุมของผู้ใช้แล้ว อายุการซัพพอร์ทประมาณ 1 ปี ถือว่าน้อยเกินไป
เปรียบเทียบกับ iPhone 3GS ซึ่งจนป่านนี้ยังสามารถอัพเดตเป็น iOS5 ได้อยู่ ผมมองว่าผู้ใช้พอใจกับการซัพพอร์ทครับ, หรือ Windows Phone 7 ทุกตัวสามารถอัพเป็น 7.5 ได้, มาฝั่งแอนดรอยด์ แม้จะไม่ดีเท่า แต่ Google ก็ยังใจดีให้ Nexus S กินไอศครีม และถ้ามองการอัพเดตที่ผ่านมา ถือว่าทั้ง Nexus One และ Nexus S อัพเดตเร็วมากๆ ไม่ต้องให้ยูเซอร์บ่นด่าสาบแช่งอยู่ร่ำไป
ฉะนั้น เครื่องต่อไปของผม ต้องมาจาก Google เท่านั้น, มีอะไรออกมาก็ได้ก่อน อัพเดตเร็ว การซัพพอร์ทหลังการขายก็ยาวนาน, ความแรงแม้ไม่แรงมาก แต่ก็ใช้เป็น base ของ hi-end phone ในช่วงเวลานั้นๆได้สบาย
ถ้ามองมาที่ tablet ผมรอตัวต่อไปจากโมโตฯ น่าจะดี เพราะ Google เคลมไปละ เครื่องต่อๆไปจาก Google หลัง Galaxy Nexus น่าจะออกมาจากโมโตฯทั้งหมด, ตอนนี้ทนใช้ Galay Tab ไปก่อน และงอลเพราะอดกินไอติม
จะให้ทุกรุ่นของแต่ละเจ้าอั๊บเดทพร้อมกูเกิ้ลคงไม่ได้ครับ เพราะทุกเจ้าไม่มีใครเอา Android ลงทั้งดุ้นต่างเอาไปโมทั้ง ซึ่ง windows mobile เค้าไม่ยินยอมให้โมแล้ว เลยอั๊บเดทได้ไว ถ้ากูเกิ้ลลองบังคับว่าสเป็กเครื่องขั้นต่ำคือเท่าไหร่จึงจะใช้ OS เค้าได้แล้วห้ามโม นั้นแหละครับถึงจะอั๊บเดทได้ไวตามๆกัน ตอนนี้อย่าเรียกว่า Android เลยน่าจะเรียกว่าทุกเจ้ามี OS เป็นของตัวเองแค่ base มาจากตัวเดียวกันก็แค่นั้น
นั่นแหละครับ ผมถึงได้บอกว่า ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ในมุมมองของยูเซอร์(ไม่คุยเรื่องเทคนิคนะครับ) การซัพพอร์ทแบบที่ว่ามันใช้ไม่ได้ พูดง่ายๆคือ ถ้าเทียบกับคู่แข่งแล้วถือว่าเป็นรอง
และถ้ามองกันตามจริง จากเหตุการณ์จริง มันไม่ใช่ว่าแค่อัพเดตช้า หรืออัพไม่ทัน Google เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความพยายามจากผู้ผลิตที่จะไม่อัพด้วย เช่นในกรณีของ Desire ที่นับจากวันวางจำหน่ายไปเพียงไม่ถึงปี ก็จะโดนตัดการซัพพอร์ทแล้ว เกือบไม่ได้กิน Gingerbread! ในที่สุดทนกระแสต่อต้านจากมวลชลไม่ได้ ต้องกลับคำพูดในวันเดียว
ผมมองว่าเหตุการณ์อย่างนี้ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับ OS แอนดรอยด์ และกับผู้ใช้แอนดรอยด์, ถ้า Google ยังแก้ปัญหาการอัพเดตไม่ได้ อีกหน่อย user ก็หนีหายหมด, หรือไม่ user ก็หนีไปซื้อกับ Google หมด ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้
แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ทำให้แอนดรอยด์เกิดได้ นอกจากเป็นเพราะ Google เอง ยังมาจากความหลากหลายทางด้านฮาร์ดแวร์ที่เป็นตัวเลือกให้กับ user ด้วย และความหลากหลายดังกล่าว เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก user ก็กลายเป็นแรงผลักดันให้หลายๆแบรนด์แข่งกันทำฮาร์ดแวร์ดีๆออกมา ทำให้แอนดรอยด์พัฒนาได้รวดเร็วมากๆ
ยังไม่นับว่าประสิทธิภาพการขายของ Google เอง ค่อนข้างต่ำ เพราะไม่มีหน้าร้าน ดู Nexus One ตอนเปิดตัวใหม่ๆแทบขายไม่ได้ จะหวังพึ่งแต่ขายผ่านเครือข่าย ให้ตายยังไงก็ขายดีสู้เจ้าที่มีหน้าร้านขายทั่วโลกไม่ได้ เมื่อของถึงมือ user ได้ยาก แน่นอนว่ากระทบถึงตัวแปรความนิยม เมื่อความนิยมถดถอย นั่นก็คือจุดจบ
ถ้ากลับมามองมุมที่ว่า user หนีไปหา Google กันหมด ค่ายอื่นๆก็ต้องหันไปทำกำไรกับ OS อื่นๆแทน, ในอนาคต Mozilla กำลังจะออก OS ของตัวเอง, Ubuntu กำลังจะลงมาเล่นในตลาดมือถือ, Windows 8 จะรวมเอา desktop กับ mobile ให้ใช้ OS เวอร์ชั่นเดียวกัน ซึ่งก็เป็นความพยายามของ Apple ที่จะรวม iOS กับ Mac OS ด้วย, ยังไม่นับ OS cloud อื่นๆที่ออกคอนเซปกันมาหลายๆเจ้า
จะเห็นได้ว่าตลาด OS ของ device แบบพกพา จะแข่งขันกันดุเดือดมากกว่าเดิม, ผมเผื่อให้ความเป็น Google แล้วนะครับ ในโลกนี้ ถ้าจะมีแบรนด์ไหน ขายทั้ง device และ OS ได้เองโดยไม่ต้องพึ่งใคร นอกจาก Apple แล้ว ผมมองว่า Google "อาจจะ" ทำได้, ลองคิดดูเล่นๆ ทำไม Symbian ถึงตาย, ทั้ง Maemo หรือ Meego ก็จุดไม่ติด ทั้งๆที่เกิดมาจากผู้ผลิตมือถืออันดับหนึ่งด้วยซ้ำ, ทำไม WebOS ถึงไม่รอด, Windows Phone ที่หาผู้ผลิตที่จะ implement OS ของตัวเองแทบไม่ได้ ระดับ Microsoft ด้วยซ้ำ, เดี๋ยวนี้อะไรก็ตาม มาทีหลัง ถ้าไม่เล่นเป็นทีมก็เกิดยาก
จุดจบของแอนดรอยด์ ถ้ามองกันยาวๆ ก็คือ เรื่องการซัพพอร์ท, แต่จะกระทบกับ user มากน้อยแค่ไหน, ผมบอกได้เลยว่ากระทบกับ user ปัจจุบันที่เจอกับปัญหานี้ แต่กับ user ในอนาคต ยังไงก็ต้องเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีในสมัยนั้นอยู่แล้ว
ตอนนี้กำลังสนุกกับแอนดรอยด์อยู่เลย คงอีกนานกว่าจะถึงจุดเริ่มต้นของจุดจบ
ในรูปทำไมมี "My device" ล่ะครับ
ไม่ใช่ผลที่เกิดจากการเทสจริงจริงนี่ครับ
Asus EEE ที่เกินหมื่นเป็นแค่ข้อมูลอ้างอิง
ของจริงเป็นไงยังไม่ได้พิสูจน์นะ