Replies from boyxx99
ขอรับไปลองคับ
นึกว่าโดนหมายหัว อิอิ
ผมลองส่งดํก็ได้นะคับ แต่ต้อง root ก่อนหรือป่าวนี่ไม่ทราบนะเพราะเครื่องผม root ไว้อยู่แล้วอ่า
ปิด เปิดเครื่องใหม่ มันก็อ่านซิมมาช้าทุกเครื่องนะครับ ต้องรอซักพักใหญ่ถึงจะเข้าไปดูข้อมูลในซิมได้
เคยเห็นเขาทดสอบจากเว็ปของคุณ darkmaster (ลองหาใน google) ดูนะคับ
เขาทดสอบเล่นเกมส์มาริโอ ระหว่าง a99 กะ defy พบว่าการควบคุม defy จะทำได้ดีกว่า
บางทีมองที่กราฟฟิคอย่างเดียวอาจจะไม่ได้แล้วครับ ยังไงลองไปหาอ่านดูนะครับ
ผมโพสนี้บนมือถือเลยไม่สะดวกหาให้คับ
น่าจะได้อ่ะคับ
เมื่อวานเช็คแล้วหมดอารมณ์เลย อิอิ เพราะมันไม่ไปไหน อยุ่ที่เดิมเหมือนวันแรก
พวกนี้เช้าชาม เย็นก๊ง
พี่ๆ ปุ่ม edit ผมหายอ่ะสงสัยงานจะเข้า
โอ้วต้นตระกูล Samsung นี่เอง ^^”
[size=20]เอ่อ….คนใช้ TAB หน้าตาดีทุกคนใช่ไหมครับ ^^
เพื่อนๆ ว่าจริงป่าว กด Like ให้ด้วยครับ ^^[/size]
ห้องนี้ คนน้อยมั้งครับ
ลองเป็นห้อง A99 ในช่วงเวลาทำการ ผมให้ไม่เกิน 5 นาที 555+
OP1 ของแฟนผมได้ประมาณนั้นเลย
เอาสาระเรื่องแบตมาฝากครับ Version ไทย ข้อมูล 100% ไหมไม่ทราบ ไม่ชำนาญครับ
.
.
.
NI-MH (Nickel Metal Hydride) หรือนิกเก้ล เมทัล ไฮไดร์
แบตเตอรี่ NI-MH มีการวิจัยเริ่มตั้งแต่ปี 70 แต่ผลที่ออกมายังไม่ดีและไม่เป็นที่ยอมรับ แต่จนในปี 1980 ได้มีการพัฒนาอีกครั้ง ซึ่งผลที่ได้ทำให้แบตเตอรี่มีเสถียรภาพมากพอ และในเวลาต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของพลังงาน NI-MH จะมีความจุมากกว่า NI-Cd ในขนาดเดียวกันถึง 30-50% ส่วนโลหะก็เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก และปราศจาก สารประกอบที่เป็นอันตรายอย่างแคดเมี่ยมด้วย มีรอบในการ Charge/discharge ประมาณ 500 รอบ
ลักษณะการชาร์จ -การชาร์จของ NI-MH ควรมีการชาร์จแบบเร็วมากกว่าการชาร์จแบบช้า ในขณะที่แบตเตอรี่ชาร์จเต็ม อุณหภูมิในตัวของแบตเตอรี่อาจสูงขึ้น ซึ่งทำให้ตัวแบตเตอรี่ต้องมีวงจรป้องกันเพื่อสั่งให้มีการหยุดการชาร์จหากอุณหภูมิสูงขึ้น สำหรับการคายประจุ แบตเตอรี่ NI-MH จะมีอัตราการคลายประจุน้อยกว่าแบตเตอรี่แบบ NI-Cd มากและไม่จำเป็นต้องทำการ discharge แบตเตอรี่เหมือน NI-Cd ในการชาร์จแต่ละครั้งจึงอยู่ที่ 2-3 ชั่วโมง แต่หากเป็นการใช้งานครั้งแรกควรชาร์จตั้งแต่ 16 ชั่วโมงเป็นต้นไปแต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ส่วนเรื่องของราคานั้นจะสูงกว่าแต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หากผู้ใช้ต้องการความจุที่สูง และขนาดของแบตเตอรี่ที่เล็กกว่า
LI-ion (Lithium Ion) หรือ ลิเธี่ยม ไอออน
แรกเริ่มเดิมที LI-ion ได้เกิดขึ้นในปี 1912 แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ จนมาปี 1970 การเริ่มต้นของแบตเตอรี่ LI-ion ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ยังเป็น LI-ion ที่ไม่สมบูรณ์แบบ คือ ไม่สามารถนำมาชาร์จใหม่ได้ กระทั่งปี 1980 LI-ion จึงสามารถชาร์จใหม่ได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ยังต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานสูงมาก เพราะโลหะที่นำมาใช้งานมีความสามารถ ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่สูง ทำให้ขนาดของความจุสูงตามไปด้วย หากเกิดการลัดวงจรอาจจะทำให้ระเบิดขึ้นมาได้ ในด้านพลังงานของ LI-ion นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็น 2 เท่าของแบตเตอรี่แบบ NI-Cd เลย และการจ่ายกระแสก็สูงกว่า ในขณะที่ การคลายประจุของตัวเองมีน้อยมาก โครงสร้างและสารประกอบภายในของ LI-ion นั้นประกาอบไปด้วยสารที่เรียกว่า Coke และ Graphite ซึ่งทั้งสองชนิดมีความแตกต่างในด้านของการ Discharge ซึ่งหากเป็นชนิดของ Graphite อัตราการชาร์จนสูงสุดจะอยู่ที่ 4.1 V และหากมีการคลายประจุ แรงดันไฟฟ้า จะตกลงต่ำถึง 2.5 V ซึ่งหากดูถึงข้อดีของ Graphite ในขณะที่มีการคลายประจุ จะมีเสถียรภาพคงที่มากกว่า Coke และยังคงมีประจุไฟฟ้าคงเหลือถึง 3 V เมื่อเทียบกับ Coke
ลักษณะการชาร์จ -การชาร์จของ แบตเตอรี่ LI-ion นั้นใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง แบตเตอรี่ชนิดนี้ไม่ต้องการการชาร์จแบบ เป็นช่วงช่วงเพราะจะกลายเป็นการ Over Charge และยิ่งทำให้อุณหภูมิของแบตเตอรี่สูงขึ้นได้ ภายในแบตเตอรี่ LI-ion มีวงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้า และกระแส Current ซึ่งหากมีการชาร์จจนแรงดันไฟฟ้าในแต่ละเซลล์สูงจนถึง 4.3 V หรือ อุณหภูมิ 100 ํC (212 ํF) วงจรควบคุมจะสั่งให้มีการหยุดชาร์จทันที อีกทั้งในขณะที่มีการคลายประจุวงจรควบคุมก็จะทำงานเช่นกันหากแรงดันไฟฟ้า ต่ำจนถึงค่าที่ได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า แบตเตอรี่ชนิดนี้ต้องการวงจรควบคุมในทุกด้านของการชาร์จ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่ควร ใช้งานอย่างที่เรียกว่าผิดรูปแบบ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ส่วนในด้านของราคา แน่นอนว่า แบตเตอรี่ที่ได้มีการพัฒนา ขึ้นมาใหม่ ราคาของวัตถุดิบก็แพงมาก แต่เมื่อเทียบกับคุณสมบัติพิเศษต่างต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดที่เล็กลงมาก น้ำหนักเบา แต่ให้พลังงานสูงขึ้นมาก นั้นหมายถึงราคาย่อมแพงตาม แต่ต่อมาหลังจากปี 2000 ราคาก็ได้ถูกลงกว่า 50 %
Li-Polymer (Lithium Polymer) หรือ ลิเธี่ยม โพลีเมอร์
แบตเตอรี่ Lithium Polymer ออกสู่ตลาดในช่วงปี 2000 เป็นการออแบบที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ ความแข็งแรง ทนทาน ความปลอดภัย และต้นทุนเป็นหลัก แต่ในช่วงนั้นผลที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะเกิดการรั่วไหลของสารภายในทำให้เซลล์ เกิดการบวม อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ผลลัพธ์ที่ได้ Li-Polymer สามารถให้ความเข็มแข็งของพลังงาน มากกว่า NI-Cd ถึงสามเท่าและมีการคลายประจุภายในตัวเองน้อยมาก ซ้ำยังมีความยืดหยุ่นในการที่จะออกแบบ บนข้อจำกัดของ พื้นที่ ในด้านของความจุ Li-Polymer มีขนาดความจุของกระแสในขณะที่มี Load (ตัวรับพลังงาน) จะน้อยกว่าแบตเตอรี่ LI-ion ส่วนรอบของอายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ
ลักษณะการชาร์จ -การชาร์จและการคลายประจุคล้ายกับแบตเตอรี่ชนิด SLA ซึ่งมีเวลาในการชาร์จ 8-16 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขนาดความจุของกระแสไฟเป็นองค์ประกอบสำหรับเวลาในการชาร์จ
วิธีการรักษาเตอรี่อันเป็นที่รักครับ
1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุด ได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรง
มากที่สุด
.
.
.
.แหล่งที่มา http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=73968.0
จริงๆ ถ้าไม่อยากโดนดูด ก่อนจะสัมผัสโลหะ หรือวัตถุนำไฟฟ้า เนี่ย พยายามอย่าให้ตัวแตะพื้น ก็จะไม่โดนดูดครับ (ไฟไม่แรงมากนะ ถ้าจับไฟ 220v คงตายอ่ะไม่กล้าเสี่ยง อิอิ) โดยอาจจะนั่งบนเก้าอี้พลาสติก แล้วยกเท้าขึ้นอย่าโดนพื้น แค่นี้ก็ไม่โดนดูดแล้ว
หรือให้ยืนอยู่บนวัสถุที่ไม่นำไฟฟ้าเช่น พรม แผ่นยาง กระดาษลังหนาๆ ช่วยได้ และในระหว่างที่สัมผัสกับวัตถุโลหะ อย่าได้มีใครมาแตะตัวเชียว เขาแตะปุ๊ปเราโดนดูดเลย
หรือใส่รองเท้ายาง รองเท้าแตะ อันนี้พอช่วยได้ แต่มีโอกาสโดนอยู่ ถ้ามันชื้นหรือรองเท้าเปียก
จะเล่าให้ฟังเรื่องขำขำของตัวเองครับ วันสงการนต์ไปเล่นน้ำมาตัวเปียกแล้วไปเดินห้าง ตอนขึ้นบันไดเลื่อนเท่านั้นแหละ จื๊ดๆๆ โดนดูดตั้งแต่ข้างล่างยันข้างบนเลย 555
ต่อสายการ์วครับ ผมทำแล้วปลอดภัยดีครับ
แต่จริงๆ ทำให้ชุดเครื่องเสียงที่บ้านอ่ะ เลยได้รับอานิสสงฆ์ไป