ถ้าพูดถึง Any ID หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันบ้างแล้ว เพราะช่วงที่ผ่านมาก็มีข่าวโหมกันเพียบ โดย Any ID คือ ระบบจ่ายเงินแบบนานานาม เป็น 1 ใน 4 โครงการของ National E-Payment ที่รัฐบาลร่วมกับธนาคารต่างๆ ให้เราสามารถผูกเลขบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ เข้ากับเลขบัญชีธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินกับรัฐบาลได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการรับคืนเงินภาษี สวัสดิการจากรัฐ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และอื่นๆ เป็นการโอนเงินโดยตรงผ่านเลขบัตรประชาชนที่ผูกไว้กับ Any ID ไม่ต้องรับเช็ค หรือ นำสำเนาสมุดบัญชีไปยืนยันกันให้วุ่นวายอีกแล้ว
เนื่องจากปัจจุบันเรากับรัฐบาลมีการทำธุระทางการเงินร่วมกันอย่างน้อยๆ ก็เรื่องของภาษี ที่ตอนนี้เราจะได้รับคืนภาษีกันผ่านทางเช็คธนาคารแล้วส่งให้ทางไปรษณีย์ไปตามบ้าน แต่ว่าในอนาคตกรมสรรพกรอาจจะมีการยกเลิกการคืนเงินแบบเช็ค แล้วเปลี่ยนไปโอนคือผ่านทาง Any ID แทน ซึ่งนี่ก็คือประโยชน์ใกล้ตัวที่ค่อนข้างจะสะดวกกับเรามากๆ ไม่ต้องเอาเช็คไปขึ้นที่ธนาคารให้วุ่นวาย โดยทั้งนี้ยังรวมไปถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ต้องนำหน้าสมุดบัญชีไปยืนยัน หรือ แม้แต่ของทางเกษตกรที่มีการได้รับเงินช่วยเหลือจากภัยพิบัติ หรือช่วยเหลือเรื่องผลผลิตตกต่ำ และอื่นๆ ก็สามารถโอนเงินกันได้โดยตรงผ่านทาง Any ID ที่ผูกไว้กับเลขบัตรประชาชนได้เลย
อธิบายง่ายๆว่าระบบชำระเงินแบบนานานาม หรือ Any ID เป็นการเอาเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ไปแทนที่เลขบัญชีธนาคารค่ะ และ ใน ID หลักนั้นจะช่วยให้สะดวก และ รวดเร็ว ในการทำธุระทางการเงินกับทางรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมานี้ ได้มีประกาศจากทางรัฐบาลว่าในเริ่มแรก เราจะสามารถผูก Any ID ได้เพียง 1 ไอดีก่อนเท่านั้น คือไอดีหลักซึ่งจะใช้ผูกกับเลขบัตรประชาชนค่ะ โดยการผูกบัญชีนั้นต้องนำสามอย่างด้านล่างนี้ไปลงทะเบียนกับธนาคารต่างๆ เริ่มต้นวันที่ 15 ก.ค. นี้
(ช่วงแรกที่ลงทะเบียนจะสามารถลงทะเบียนได้แค่ ID หลักก่อนเท่านั้น)
Any ID หลัก คืออะไร ?
Any ID ที่เป็นไอดีหลัก คือ ต้องใช้ทั้งสามอย่างที่กล่าวมาด้านบนผูกไว้ด้วยกันค่ะ และจะมี ID หลักได้แค่คนละ 1 ไอดีหนึ่งธนาคารเท่านั้น อาจจะผูกไว้กับบัญชีฝากประจำ บัญชีออมทรัพย์ หรือ บัญชีที่เราใช้งานบ่อยๆ เพื่อเอาไว้ติดต่อธุรกรรมทางการเงินกับรัฐบาลโดยตรงผ่านบัญชีที่ผูกไว้กับเลขบัตรประชาชน นั่นเองค่ะ ทั้งสวัสดิการ หรือ การคืนภาษีต่างๆ ก็จะทำผ่าน Any ID บัญชีหลักนี้ได้เลย (โอนเงินผ่านเลขบัตรประชาชนเข้าบัญชีโดยตรง)
มี Any ID หลักแล้ว หมายความจะมี Any ID อื่นๆอีก ?
เท่าที่อ่านข้อมูลจากข่าวต่างๆ และ ทางธนาคารเองแล้ว ต่อไปหนึ่งคนอาจจะมี Any ID ได้มากกว่า 1 ไอดีค่ะ สูงสุดอาจจะเป็น 4 บัญชี (อ้างอิงจากกรุงศรีกูรู) แต่บัญชีรองอาจจะต้องการแค่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น ไม่นับรวมกับเลขบัตรประชาชน (อาจจะแค่ต้องใช้บัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน) และ อาจจะไม่ต้องเป็นธนาคารเดียวกับธนาคารที่ผูก Any ID หลักก็ได้ Any ID รองก็สามารถนำเบอร์โทรศัพท์ไปใช้ในการรับและโอนเงินแทนเลขที่บัญชีได้เช่นกัน โดยอาจจะนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัวหรือการประกอบธุรกิจก็ได้
ไทม์ไลน์ของ Any ID
ถ้าให้พูดง่ายเลย Any ID ก็คือการเอา เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์เข้ามาใช้แทนเลขที่บัญชี โดยจะมีประโยชน์เบื้องต้นประมาณนี้
- ใช้เป็นช่องทางรับการโอนเงินได้ต่างๆ จากรัฐ เช่นการภาษี ค่าเบี้ยเลี้ยงดูผู้สูงอายุ หรือเงินช่วยเหลือเกษตรกร
- ใช้ทำธุรกรรมด้านการเงินได้สะดวกมากขึ้น เพราะใช้การจำเบอร์โทรศัพท์แทน ไม่ต้องจำเลขที่บัญชี
- ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินหรือทำธุรกรรมระหว่าง Any ID จะถูกกว่าการโอนผ่านธนาคาร (อันนี้ยังไม่มีการประกาศมาว่าจะถูกลงแค่ไหน หรือมีอัตราเท่าไหร่ มีแต่บอกว่าถูกกว่า)
นั่นเองค่ะ ใครไม่เข้าใจ หรือ มีข้อสงสัยก็ถามกันมาได้เลยในคอมเม้นท์นะคะ ถ้าตอบได้จะรีบมาตอบ แต่ถ้าไม่ได้ก็จะพยายามหาคำตอบมาให้เช่นกันค่ะ 😀
ที่มา : thaipublica , krungsiguru
แอบกังวล มันจะต้องมีมิจฉาชีพมา ยังชาวบ้านแน่ๆ เร็วๆนี้ ทุกคน ควรช่วยทางบ้าน นะครับ อย่าให้โดนหลอกได้
ใช้ เลขบัตรประชาชน
ไม่ใช่ เลขประจำตัวประชาชน
ใช่ไหมครับ
ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
ส่วนคำว่า เลขบัตรประชาชน ในบทความนี้ ก็คงจะหมายถึง เลขประจำตัวประชาชน แหละครับ
เจ้าหนี้ตามสบายเลยครับแบบนี้
อย่ากังกลใดๆ ไปเลย Any ID เป็นระบบการจ่ายเงินอีก 1 รูปแบบ เช่นการจ่ายเงินหรือโอนเงินแต่เดิมต้องใช้ เลขที่บัญชีกับธนาคารที่จะโอน ต่อไปก็ใช้เพียงเบอร์โทร หรือ เลขบัตรประชนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้ว ข้อดีคือ ค่าธรรมการโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกลงเช่นตอนนี้โอนข้ามจังหวัด ข้ามธนาคารก็ 25-35 บาทต่อ เงินไม่เกิน 50000 บาทก็จะถูกลง
ส่วนคนที่กลัวโน่น นั้น นี่ ไม่ต้องกลังเพราะ Any ID หน่วยงานที่ดูแลก็ สมาคมธนาคารไทย เป็นผู้ดูแล ก็เหมือนเรากด ATM ข้ามธนาคารก็ดูแลโดย สมาคมธนาคารไทย เป็นต้น
อีกอย่างใครจะไม่สมัครก็ได้รัฐไม่ได้บังคับเพียงแต่ว่าทุกๆ การจ่ายเงินที่เราจะได้จากรัฐ จะโอนผ่าน Any ID เท่านั้น เช่น ภาษีคืน เงินชดเชยภาคการเกษตร ภิบัติภัย เงินเบี้ยเลี้ยงผู้พิการ หรือ ชราภาพ รวมถึงเงินชดเชยอื่นๆเช่นประกันสังคม เป็นต้น ดังนั้นหากไม่ต้องการรับเงินใดๆ จากภาครัฐก็ไม่ต้องทำ ก็ได้ (จะมีถึง 1% หรือเปล่าที่ไม่ต้องติดต่อภาครัฐ)
ข้อดีอีกข้อคือการลดภาระการพิมพ์ธนบัตรใบใส่ ATM ให้เราๆท่านๆ ไว้ให้ไปรอกดอีกนับหมื่น นับแสนล้านที่เงินไม่ได้หมุนเวียน
ดีเลย ปกติก็ชอบใช้บัตรเดบิตอยู่แล้ว
ปัญหาคือ ระบบความปลอดภัย การเก็บ และแจกจ่ายข้อมูล มากกว่า
เพราะที่ผ่านๆมา รัฐยังให้ความเชื่อมั่นตรงจุดนี้ ไม่ได้เลย
เท่าที่ทราบคือ รัฐเป็นเพียงผู้ดูแลผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูลยัง ข้อมูลของ Any ID จะดูแลโดยสมาคมธนาคารไทย เหมือนเราโอนเงินตอนนี้ที่ เมื่อโอนไปก็ยืนยันการโอนว่าปลายทางคือใคร แล้วค่อยยืนยัน ส่วนการเอานำเงินสดมาใช้ยังคงเป็นระบบเดิมๆ คือเราไปถอนเงินจากธนาคารที่เรา Link เข้าสู่ระบบ Any ID
แต่มันเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยในการทำธุรกรรม Electronic มากกว่า เช่นการซื้อของ Online เราจ่ายเงินก็มั่นใจว่ามตัวตนเพราะมีข้อมูลว่าเราใจ่ายไปให้ เลขบัตรประชาชนอะไร
ผู้ซื้อ/ผู้โอน –> ใส่เงินในบัญชีธนาคาร หรือเงินเดือน (BankAccount:CitizenID:Telepone) ——> โอน/จ่ายไปยัง
—-> ผู้รับ/ผู้ขาย (BankAccount:CitizenID:Telepone) —> ถอนเงินออกมาใช้ตามปกติ
ข้อมูลเพิ่มเติมแบบเข้าใจง่ายๆ
https://www.youtube.com/watch?v=6O7vOw0NoJM
โทรศัพท์หาย…
ไม่มีใครพูดถึงเรื่องความปลอดภัย หรือเรื่องความเป็นส่วนตัวเลยหรอ
แบบนี้ค่อนข้างน่ากังวลครับ แรกๆอาจจะยังพอมีทางเลือกได้บ้างว่าเปิดบัญชีแยกได้
ถ้าต่อๆไปถูกบังคับไห้ต้องผูกอย่างเดียว แล้วละนะ แบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการควบคุมเบ็ดเสร็จเลยทีเดียว
เพราะทุกการใช้จ่าย ทุกการเคลื่อนไหว รัฐสามารถรู้ได้ทุกเรื่อง อยากให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของจุดนี้ให้มากๆ และอยากให้มีข้อกำหนด หรือ มาตรฐานที่ชัดเจน หรือแม้แต่การออกเป็น กม.หรือพรบ.ที่จะรับรองได้ว่ารัฐบาลจะไม่สอดส่อง สอดแนม ประชาชน
ชื่อที่เราจะรู้จัก AnyID คือ PromptPay
ตามข่าวนี้ "คิกออฟ ! 15 ก.ค.ใช้เพียงบัตร ปชช.-เบอร์มือถือ ลงทะเบียน โอนเงินแบบใหม่"
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/639266
จากเดิม เคยโอนต่างธนาคาร ยอด 100,000 บาท หมดค่าธรรมเนียมไป 140 บาท ( 35 บาท/ 50,000 บาท) ก็จะเหลือค่าธรรมเนียมเพียง 0, 2, 5 บาท และสูงสุดไม่เกิน 10 บาทเท่านั้น