เมื่อสองปีที่แล้ว ARM ได้ประกาศให้เราได้รู้จักกับสถาปัตยกรรม Cortex-A15 จนกระทั่งในวันนี้สถาปัตยกรรม Cortex-A15 เริ่มมีผู้ผลิตนำมาใช้จริงๆ กับอุปกรณ์ Android แล้ว ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็คือแท็บแล็ตจาก Google อย่าง Nexus 10 นั่นเอง ถึงแม้ว่ามันจะมาพร้อมกับชิปเซ็ต Exynos 5250 ที่มี CPU ระดับ dual-core แต่คะแนน benchmark ก็แซง CPU ระดับ quad-core ที่ใช้สถาปัตยกรรที่ตำกว่าอย่าง Cortex-A9 – อ้างอิงจาก theandroidsoul
และในสัปดาห์นี้ทาง ARM ได้ประกาศสถาปัตยกรรมใหม่อย่าง Cortex-A50 Series ซึ่งจะมาพร้อมกับสถาปัตยกรรม CPU 64 bit และมาพร้อมกับชุดคำสั่งใหม่อย่าง ARMv8 ซึ่งการันตีว่าจะประหยัดพลังมากขึ้น โดยคาดกันว่าเราจะเริ่มได้เห็นชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรม Cortex-A50 Series ภายในปี 2014
ครอบครัวของสถาปัตยกรรม Cortex-A50 Series จะประกอบไปด้วย Cortex-A57 และ Cortex-A53 โดยทั้งสองตัวนี้จะมีประสานการทำงานกัน โดยมีชื่อเรียกการทำงานนี้ว่า big.LITTLE ซึ่งทาง ARM กล่าวว่ามันจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น 70%
หลักการทำงานโดยคร่าวๆ ของ big.LITTLE ถ้าหากมีการร้องขอทรัพยากรมากๆ CPU ชุดหลักจะทำงานอย่างเต็มความสามารถ (ในรูปยกตัวอย่างเป็น ARM Cortex-A15) แต่ถ้าหากเครื่องอยู่ในโหมด stand by หรือว่าไม่มีการมีการร้องขอทรัพยากรอะไร CPU หลักก็จะไปเรียก CPU สำรองให้มาทำงานแทน (ในรูปยกตัวอย่างเป็น ARM Cortex-A7) โดยหลักตรงนี้จะเหมือนความสามารถ 4-PLUS-1 ในชิปเซ็ตของ NIVDIA Tegra3
โดย Cortex-A57 จะทำตัวเป็นพี่ใหญ่เวลามีการทำงานหนักๆ หรือมีการเรียกใช้ทรัพยากรมากๆ พี่ใหญ่อย่าง Cortex-A57 จะออกหน้ารับแทนน้องเล็กอย่าง Cortex-A53 แต่ถ้าหากเวลาใดที่ไม่มีการทำงานหนักๆ อย่างเช่นในโหมด stand by หรือรัน apps ที่ไม่มีการเรียกใช้ทรัพยากรที่มาก Cortex-A53 ก็จะออกมาทำงานแทนพี่ใหญ่ โดยน้องเล็กจะมีอัตราการใช้พลังงานที่น้อยกว่า Cortex-A57 มาก ทำให้หน่วยประมวลผลใช้พลังลดลงมากสุด 70%
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Cortex-A57 และ Cortex-A53 สามารถแยกตัวเพื่อทำงานโดยอิสระได้ โดย Cortex-A57 จะออกแบบเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่สูงสุด ส่วน Cortex-A53 จะเน้นในเรื่องการประหยัดพลังงาน
ปิดท้ายด้วยวิดีโอโปรโมท Cortex-A50 Series
ที่มา Android Central
ปล. แก้ไขเนื้อหาตรง big.LITTLE ตามที่คุณ Sickness แนะนำ
ซึ่งทาง ARM กล่าวว่ามันจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น 70%
อยากรู้ว่าจะจริงแค่ไหนแฮะ
หลายปัจจัยครับ kernel นี่ตัวสำคัญเลย
ประหยัด 70% ที่เขาพูดถึงคือตัว A53 อย่างแรกคือ ไม่รู้ว่าเทียบกับอะไร (A57, A15 หรือ A9)
อย่างที่สองคือ ถ้า A53 ใช้เฉพาะตอน stand by ก็หมายความว่าประหยัดแค่ตอน stand by เช่น จากปกติ 1% อยู่ได้ 1 ชม. เป็น 1% อยู่ได้ 3 ชม.
อ่านจาก source มีอันนึงบอกไว้น่าสนใจมาก
"One major advantage of moving to a 64-bit environment is the ability to support more than 4GB of physical memory"
ประโยชน์ที่แท้จริงของ 64bit คือ รองรับ RAM ได้มากกว่า 4GB
มันช่วยในการ การ execute ที 64bit ด้วยนิครับ
แต่อย่างว่ารายระเอียด app มันใช้เยอะขนาดนั้นเชียวหรอ
ประหยัดพลังงาน 70% ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติ คงต้องรอดูตัวเป็นๆสินะว่าจะได้แค่ไหน…
จะได้เห็น ARMv8 ล่ะ
เห็นสถาปัตยกรรมใหม่ๆนี่มันน่าตื่นเต้นจริงๆ
ประหยัดในฝั่ง CPU น่ะ แต่ถ้าเปิดจอ ก็กินแบตเยอะกว่าอยู่ดี
ซึ่งตรงนั้นก็เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตจอ หาใช่ ARM ไม่
แล้ว Nexus 4 ใช้ ARM แบบไหนหรอครับ
ใช้ Kriat ของทาง Qualcomm ซึ่ง ใกล้เคียง A15 ครับ
ที่ผมอ่านมา CortexA53 กับ A57 มันต้องมาด้วยกันนะ ไม่ได้แยกกันมา
เพราะ A57 คือ big ส่วน A53 คือ Little เพราะ A53 เขาเคลมมาว่าเป็น
most energy efficient 64 bit processor
tegra3 ก็ไม่เห็นประหยัดไฟนะ -*-
Tegra 3 มัน 40nm ครับ ประเด็นหลักเลยที่ทำไมมันถึงกินไฟ หากนับแต่ส่วน CPU อย่างเดียว
ยังไม่นับ จอ ซึ่งก็กินเยอะเช่นกัน และยังมีส่วนอื่นๆอีกด้วย
สรุปมันจะทำให้มือถืออยู่ได้นานขึ้นกี่นาที
มันหลายปัจจัยครับ ทั้ง ชิพ,จอ,แบต
จะให้เดาว่ามันอยู่นานขึ้นรึเปล่าก็ยากละ
ผู้ผลิตมือถืออาจจะมองว่ามันประหยัดลงเยอะ
เลยลดต้นทุนโดยให้แบตน้อยกว่าเดิมมา สรุปมันก็หักล้างหมดเลย
Device ที่สูบแบตฯ มากที่สุด น่าจะเป็น Monitor มากกว่าครับ CUP ช่วยให้ทำงานไวขึ้นเรื่องเท่านั้นมั้ง
การทำให้เกิดแสงมันกินพลังงานมากอยู่แล้วครับ ถ้ามันยากต่อการเลี่ยงการทำให้ส่วนอื่นที่สามารถลดลงได้เท่าที่ทำได้ก่อน มันก็ช่วยได้เยอะนะครับ อย่างน้อยก็การทำงานในขณะที่ปิดจอไว้ไงครับ พูดง่ายๆสแตนบายโดยมีโปรแกรมอะไรรันทำงานไว้ได้นานขึ้น
แค่แบตอาจอาจเป็นปัจจัยหลักแต่ปัจจัยรองอย่างความด้วยครับความร้อนด้วยครับ
คงได้เห็นมือถือหรือ tablet แรม เกิน 4 GB เร็วกว่าที่คิด
จาก "สิบห้า" ไปเป็น "ห้าสิบ" เลยเรอะ —
ก็เหมือนดูโอคอล แต่แค่2 core ไม่เท่ากัน
แล้วมันจะเสีย time syn เยอะไหมเนีย