ต่อเนื่องมาจากโพสต์ที่แล้วที่ทาง Android กำลังจะทำ Android Device Manager มาให้ใช้กันนะครับ เราขอนำเสนอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติม ในการปกป้องข้อมูลของเราให้ปลอดภัยทั้งจากคนใกล้ตัว [ที่ชอบมาแอบดูภาพ หรืออ่านข้อความแชทบนเครื่องเรา] หรือว่าจะเป็นขโมย [ที่อาจจะเจอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้] และแอพอันตราย [จ้องจะขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือสแปมโฆษณาจนน่ารำคาญ] โดยจะมีทั้งหมด 3 วิธีที่สามารถนำไปทำเองได้ง่ายๆครับ

1. ล็อคหน้าจอ

วิธีนี้จะสามารถช่วยป้องกันคนใกล้ตัวที่ชอบมาแอบดูมือถือของเรา เข้าแกลอรี่ดูภาพ หรืออ่านแชทเรา ตามใจชอบ โดยสามารถใช้ได้ทั้งบนมือถือและแท็บเล็ต ตั้งค่าด้วยตัวเองง่ายๆเพียงเข้าไปที่  (Settings การตั้งค่า → Security ความปลอดภัย → Screen Lock การล๊อคหน้าจอ) แล้วจะมีรูปแบบการล็อคให้เลือกทั้ง Face Unlock (ปลดล็อคหน้าจอด้วยใบหน้าของเรา) Pattern (ลากเส้นตามจุดให้ถูกต้อง) PIN (กดรหัสตัวเลข) และ Password (มาเป็นทั้งตัวอักษรและตัวเลข)

วิธีที่แนะนำคือ Pattern เพราะจดจำและปลดล๊อคไม่ยากสำหรับเรา แต่ไม่ได้ง่ายสำหรับคนอื่น

2. ป้องกัน Android จากแอพอันตราย

โดยปกติทาง Google Play จะมีการตรวจสอบแอพที่อันตรายอยู่แล้ว ทำให้การลงแอพจาก Play Store เป็นหลักจะช่วยให้เครื่องของเราปลอดภัยขึ้นกว่าเดิมเยอะ แต่ Google Play ยังช่วยป้องกันเราจากแอพที่ลงจากที่อื่นได้ด้วย โดยเลือกให้ Google Play เข้าแสกนไวรัสให้ก่อนลงนั่นเอง

ท่านพัดเคยเขียนบทความอันนี้เอาไว้แล้วยังไงลองไปอ่านเพิ่มเติมกันได้
[tips] Android สแกนไวรัส มัลแวร์ ก่อนลงแอพ ด้วย Google’s Malware Scanner

หรือถ้าใครเจอปัญหาโฆษณาแสปมเพียบก็ลองไปดูที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้
กำจัดแอพที่โฆษณาเกินพอดีบน Android 

3. หาตำแหน่งเครื่อง สั่งให้ส่งเสียง หรือล้างข้อมูล ในกรณีที่เครื่องหาย

หัวข้อนี้ใน blog ที่แล้ว [Android Device Manager] Find my iPhone ในรูปแบบของ Android กำลังจะมา ได้เขียนบอกไปละ ซึ่งมันต้องรออีกสักพักกว่าเค้าจะปล่อยมา ระหว่างนี้ก็ลองไปหาโหลดแอพอย่าง
 Cerberus ที่เก่งกว่าที่ทาง Android จะมีให้ด้วยซ้ำ
 GotYa!Anti-Theft Protection ที่สามารถถ่ายภาพหน้าคนขโมยให้เราได้ด้วย

แต่…จำไว้ว่าไม่ว่าจะเป็นแอพจาก Play Store หรือตัวไหนๆมันก็ต้องการการตั้งค่าก่อนเครื่องหายทั้งนั้น อย่าให้หายก่อนแล้วมาถามว่าทำยังไงได้บ้าง เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือนนะครับ 😉

จริงๆเรื่องการป้องกันมือถือของเรายังมีอีกมาก ยังไงจะพยายามทยอยเขียนให้ให้อ่านกัน ระหว่างนี้ก็ลองเข้าไปดูของที่ทาง Google เค้าได้ทำไว้เพิ่มเติมที่ Good to Know site ก่อนก็ได้จ้า

มีใครมีอะไรอยากแนะนำเพิ่มเติมก็บอกกันมาได้เลยนะ เดี๋ยวเอามาเติมให้ครับ 🙂

 

เขียนอิงจากบทความบน Google | Official Blog
และแอพ Cerberus แนะนำโดยคุณ cherdsak