สำหรับวันที่ 4 ก.พ. 2020 นี้ถือเป็นวันที่ทาง กสทช. ประกาศให้เป็นวันยื่นซองประมูลคลื่น 5G วันแรก โดยเปิดให้ยื่นตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น. ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีข่าวลือต่างๆ นานาว่าจะมากันไม่ครบบ้าง ราคาแพงเกินไปบ้าง รวมถึงข่าว dtac ที่เพิ่งเปลี่ยน CEO กะทันหัน แต่สุดท้ายอัปเดตล่าสุดมากันครบทุกเจ้า เรียงตามลำดับมาก่อนหลังคือ true, TOT, dtac, mybyCAT และปิดท้ายด้วย AIS โดยรายมีละเอียดดังนี้
ในช่วงเช้าเมื่อเวลา 11.00 น. บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ซึ่งอยู่ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำโดยนางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน และนายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการด้านรัฐกิจสัมพันธ์ ได้เข้ายื่นขนกล่องหีบเอกสารเข้าร่วมการประมูลเป็นรายแรก
ตามมาติดๆ ตอนเวลา 11.09 น. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดยนายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย พร้อมคณะผู้บริหาร เข้ายื่นซองประมูลเป็นรายที่ 2
ถัดมาเวลา 12.59 น. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) อยู่ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นำโดยนายชารัด เมห์โรทรา CEO คนใหม่ของ dtac, นายมาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ และนายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายประสานงานภาครัฐ เข้ายื่นเอกสารเข้าร่วมการประมูลเป็นรายที่ 3
ช่วงบ่ายเวลา 15.15 น. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำโดย พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย และนายณัฏฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย เข้ายื่นเอกสารเข้าร่วมการประมูลเป็นรายที่ 4
ปิดท้ายเวลา 15.35 น. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (TWN) ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นำโดยนายสุเทพ เตมานุวัตร์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนา เข้ายื่นเอกสารเข้าร่วมการประมูลเป็นรายที่สุดท้าย โดยมี นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เป็นผู้รับซองประมูลทั้งหมดจากทุกค่าย
และหลังจากหมดเวลายื่นซองประมูลทางเลขาธิการ กสทช. ก็เปิดก็ยังไม่เปิดเผยว่ามีโอเปอเรเตอร์รายใดสนใจเข้าประมูลคลื่นใดบ้าง จนกว่าที่ประชุมของบอร์ด กสทช. จะพิจารณาเห็นชอบในวันที่ 12 ก.พ. 2020 นี้อีกทีและคาดว่าจะได้เงินจากการประมูลครั้งนี้ประมาณ 70,000 ล้านบาท ที่น่าสนใจอีกอย่างคือแล้วถ้าหาก TOT และ CAT รวมเป็น NT แล้วคลื่นประมูลได้จะจัดการกันอย่างไร ซึ่งยังไงก็คงต้องรอติดตามกันต่อไป หวังว่าประเทศไทยจะได้มี 5G ได้ใช้งานกับเขาสักทีนะครับ
ที่มา : prachachat (1,2,3) , isranews, mgronline
มาแล้วซินะ 5G 🙂 🙂
คุ้นๆมติให้รวม Cat กับ TOT แล้วนิ ทำไมยังแย่งกันประมูลงง