ปัจจุบัน A.I เริ่มเก่งและมีบทบาทกับเราในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในมือถือ หุ่นยนต์ อุปกรณ์ IoT ต่างๆ และไม่เว้นแม้แต่ขีปนาวุธที่ทางทหารสหรัฐฯ ต้องการติดตั้ง A.I ลงจรวดมิสไซล์ที่สามารถยิงไล่ตามเป้าหมายจากระยะไกลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งปกติแล้วเวลาที่จะยิงจรวดระยะไกลนั้นกองทัพสหรัฐฯ จำเป็นที่ต้องใช้เซนเซอร์อินฟราเรด เพื่อค้นหาและโจมตีจากระยะไกล ซึ่งได้แค่ระยะประมาณ 200 เมตรเท่านั้น
ความสามารถหลักๆ ของเจ้าขีปนาวุธนี้คือ สามารถยิงใส่เป้าหมายที่เคลื่อนไหว มีตำแหน่งไม่แน่นอนสูง และเจาะเกราะได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวในรายงานของเขาว่า “ขีปนาวุธนี้จะไม่เหมือนกับเลเซอร์ ที่มนุษย์ยิงออกไปแล้วพุ่งตรงไปหาเป้าหมายทันทีอย่างรวดเร็ว แต่ขีปนาวุธ C-DAEM นี้จะยิงไปหาเป้าหมายในระยะ 60 กิโลเมตรก่อน แล้วค่อยค้นหาเป้าหมายจากจุดทียิงอีกทีในระยะค้นหา 28 กิโลเมตร”
โดยใช้อัลกอริธึม A.I สุดอัจฉริยะที่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างมิตรกับศัตรูในสนามรบ หรือสถานการณ์ที่อาจมีพลเรือนอยู่ใกล้ทหารได้ ซึ่งขีปนาวุธตัวต้นแบบ C-DAEM จะถูกผลิตออกมาในปี 2021 และระหว่างนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาซอฟต์แวร์กันอยู่
อย่างไรก็ตามโฆษกของกองทัพสหรัฐฯ ได้ออกมาโต้แย้งว่าขีปนาวุธ C-DAEM ในการที่สามารถเลือกเป้าหมายได้ด้วยตัวเองนั้น ไม่ใช่อาวุธอิสระที่จะสามารถยิงได้ด้วยตัวเอง (อารมณ์เหมือน Skynet ในคนเหล็ก) แต่ต้องมีคำสั่งจากมนุษย์เป็นผู้สั่งการเสมอ และการยิงแต่ละครั้งต้องมีความมั่นใจตรวจสอบอย่างรอบคอบ ซึ่งถ้าหากอาวุธ C-DAEM สร้างสำเร็จจริงก็จะเข้ามาแทนที่จรวดที่ยิงแล้วแตกกระจายเป็นหลายหัวทันที เพราะเจ้า C-DAEM สามารถล็อคเป้าหมายได้แม่นยำไม่มีพลาดและเพื่อประหยัดทรัพยากรด้วยนั่นเอง
ที่มา : digitaltrends, thesun
แบบนี้แฮกเกอร์ก็จะมีความสำคัญขึ้นมากเลย เพราะถ้าสามารถแฮก A.I. ของจรวดได้ จรวดก็เดี้ยง
ระบบเก่าจะแฮกจรวดไม่ได้ ยิงแล้วยิงเลย ชัวร์ ของใหม่สร้างจุดอ่อนให้จรวดเอง
สักพัก skynet ก็จะมา แล้ว สงคราม มนุษย์ กับ จักรกล ก้จะเริ่มขึ้น
สงสัยใคร แฮกได้นี้น่ากลัวนะเนี่ย 🙂 🙂
อาจจะเป็น Ai แบบ offline หลังจากยิงแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ประมวลผลด้วย Data ของตัวเองระหว่างนั้น
สร้างและผลิตโดยสตาร์ก อินดัสทรี่
ผมจะคิดถึงคุณในวันที่คุณยังไม่ลืม รักนะ 3000