ยิงดีต้องรับ อาซ้อคนล่าสุก แห่งบ้าานอากู๋ น้าฮ้าา งานนี้อาเฮียรูบิ้น ขอแก้ตัวหลังจากขายหน้าไปพอสงควนกับ อาซ้อ 3.0 ถ้าลื้อยังไม่เคยเห็น ซ้อ 3.0 อั๊วแนะนำให้ลองไปดูได้จากคลิปนี้เลยย (Honeycomb 3.0) … อยากรู้แล้วละซิว่า อาซ้อ 3.1 อีมีดียางไง อย่าใจร้อง อย่าใจร้อง เดี๋ยวอั้วจะสาธยายตั้งแต่หัวจกเท้า ให้พวกลื้อฟังกันเลย หุหุหุ … แต่อั้วขอกลับเข้าโหมดปกติก่องน้า อย่าเพิ่งวีนๆ หะหะ ^^’ มามาจ๋อๆ กันด้านใน

– สัญลักษณ์ในรูปเป็นไปตามบทที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นเท่านั้น ผู้ชมโปรดใช้วิจารณญาณ 😀 –

Android Honeycomb 3.1
ต้องบอกว่า แอนดรอยด์ 3.1 นี่แหละถึงจะเรียกว่า Honeycomb ตัวจริง เหมือนสมัย แอนดรอยด์ 2.0 ที่ไม่มีใครพูดถึง (ออกมาพร้อม Motorola Droid ตัวเดียว) แล้วมาใช้ แอนดรอยด์ 2.1 กันเป็นหลักแทน ปัญหาจุกจิกหลายอย่างที่พบใน แอนดรอยด์ 3.0 ตอนนี้ได้แก้ไขไปแล้วหลายอย่าง เช่น ปัญหาการเล่นไฟล์วีดีโอ 720p กระตุ๊ก หรือปัญหา Javascript ใน browser เวลาเปิด facebook แล้วเพี้ยนตลอด รวมถึงการเรียก Flash player ได้ช้า เป็นต้น ทีนี้มาดูกันว่ามีอะไรใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาใน Honeycomb 3.1 บ้างครับ

การปรับแต่งหน้าตา

ในส่วนของ UI มีการปรับปรุงให้ใช้งานง่ายขึ้น effect ต่างๆ ดูลื่นตามากขึ้น
widget สามารถปรับขนาดได้แล้วตามต้องการ (แต่ widget ต้องเขียนใหม่ให้รองรับกับ api ใหม่นี้ด้วย)
ที่หน้า screen ถ้ากดปุ่ม Home ไม่ว่าอยู่หน้าไหน จะกลับมาที่หน้า default home screen

หน้า Storage ใน setting มีการปรับปรุงให้ดูรายละเอียดได้มากขึ้น แบ่งการใช้เนื้อที่ตามประเภทไฟล์

รองรับอุปกรณ์ต่อพ่วงผ่านพอร์ต USB

ต่อไปนี้แอนดรอยด์จะรองรับอุปกรณ์ต่อพ่วงผ่านพอร์ต usb แล้วอย่างสมบูรณ์ ทำให้สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ต่อพ่วงพื้นฐานที่รองรับแล้ว เช่น คีย์บอร์ด, เมาส์, กล้องดิจิตอล, จอยสติ๊ก, Flash Drive สามาถเสียบแล้วใช้ได้ทันที หรือหากเป็นอุปกรณ์อื่นๆ ก็เปิดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถเขียน application ขึ้นมารองรับกับอุปกรณ์ตัวเองได้เช่น เครื่องอ่านบัตร/รูดบัตร, เครื่องดนตรี, เครื่องอออกกำลัง หรือแม้แต่เครื่องมือทางวิทยาศาตร์ เป็นต้น

(ดูวีดีโอสาธิตการใช้ usb mouse ด้านล่าง)

เพิ่มจำนวน App Task list

ใน honeycomb 3.0 เราสามารถเข้าถึง app ที่เคยเปิดไปได้แค่ 5 โปรแกรม แต่ในเวอร์ชันนี้ สามารถเข้าได้ไม่จำกัดแล้ว (ตราบเท่าที่หน่วยความจำยังพอ) ในส่วนนี้มีความสะดวกมาก ระหว่างเล่นเว็บ facebook ก็เปลี่ยนไปดู twitter ว่าใคร mention มา เสร็จแล้วไปถ่ายรูป ส่งอีเมล์ แล้วค่อยกลับมาหน้า facebook อีกทีก็ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

ปรับปรุงประสิทธิภาพ Wifi และรองรับ Proxy

อันนี้ก็เรียกร้องกันมากันนานเลยที่จะให้แอนดรอยด์ใช้ Proxy ได้ เพราะในหลายๆองค์กรการจะออกอินเตอร์เน็ตได้ต้องผ่าน Proxy เท่านั้น การตั้งค่าจะต้องไปตั้งที่ Wifi เมื่อเชื่อมต่อแล้ว app ต่างๆ ที่เรียกข้อมูลผ่าน Http ก็จะใช้งานผ่าน proxy ได้ เช่น Browser, Market, Youtube หรือ Facebook เป็นต้น

ปรับปรุงอื่นๆเกี่ยวกับ Wifi: การเชื่อมต่อสัญญาณได้เร็วขึ้น ไม่หลุดบ่อย รวมถึงสัญลักษณ์ Wifi แสดงสถานะเมื่อมีการรับส่งข้อมูลด้วย

Quick Controls ใหม่ใน Browser

อันนี้ก็สุดยอดโบร์แดงอีกอันหนึ่งใน Honeycomb 3.1 Quick Controls ทำให้การเล่นเว็บใน tablet (ในอนาคตน่าจะมีบนมือถือ) สะดวกขึ้นมาก ไม่ว่าจะถือ tablet ท่าไหน มือไหน ไม่ต้องคอยกดปุ่ม menu ทุกอย่างอยู่ที่ปลายนิ้วโป้งแล้ว ลองดูสาธิตการใช้ Quick Controls ได้จากวีดีโอด้านล่างครับ แต่คุณสมบัตินี้ไม่ได้เปิดมาเป็น default ต้องไปเปิดเองใน setting ของ browser ก่อนนะครับ (Setting > Labs)

การใช้งาน flash player 10.3 ก็ทำได้ดีขึ้น เวลาโหลดแล้วไม่ lag มากเท่าตอน Honeycomb 3.0 สามารถเข้าได้ทุกเว็บ ทั้งวีดีโอ, ทีวี, วิทยุออนไลน์ ก็เล่นได้อย่างเพลิน

tv.truelife.com: GJ. เก่งกำลังจัดรายการพอดี 😀

Gallery รองรับ Picture Transfer Protocal (PTP)

มาถึงฟีเจอร์สุดท้ายใน Honeycomb 3.1 ที่เพิ่มขึ้นมา ในตอน Honeycomb 3.0 ได้มีการเพิ่ม MTP (Media Transfer Protocal) เข้ามาทำให้การต่อกับ PC ไม่ต้องมาคอยนั่ง mount กันแล้ว ในเวอร์ชันนี้ก็ได้เพิ่มความสามารถให้กับการต่อกับกล้องดิจิตอลที่มีโหมด PTP แค่เสียบกล้องดิจิตอลเข้ากับ Port USB ของ tablet ก็จะสามารถดูรูปกล้องและ copy มาใส่ tablet ได้ทันทีผ่านโปรแกรม Gallery ต่อจะจากจะแชร์ผ่าน twitter หรือ facebook ก็ทำได้ทันที

** Honeycomb 3.1 Overview **
Play video

ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่ทำไมจั่วหัวว่า ผึ้งดรอยด์สีทอง .. ใครบอกว่าเราเกาะกระแสเรยา ไม่ช่ายซะหน่อย! 55 สีทองที่นี้อั๊วหมายถึงเป็นขุมทรัพท์ต่างหากละ นั่นก็คือ 3 บริการใหม่จาก Google ได้แก่ Google Music , Google Book และ Google Movie Rental 3 ใบเถาที่จะกลายเป็นแหล่งทำเงินใหม่ให้กูเกิลนั่นเอง ส่วนผู้ใช้ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ก็จะทำได้หมดใน tablet honeycomb 3.1 เพียงเครื่องเดียวโดยไม่ต้องยุ่งกับ PC อีกเลย (แอนดรอยด์รุ่น 2.2 ขึ้นไปก็จะใช้ได้เร็วๆนี้)

* ทั้ง 3 บริการยังเปิดให้ใช้ได้แค่ในอเมริกา

Google Book หนังสือดิจิตอล

เลือกซื้อหนังสือได้จากใน android market

Play video

Google Music ซื้อและฝากเพลงออนไลน์

ขณะนี้ยังซื้อเพลงไม่ได้ ทางอากู๋ยังเจรจากับค่ายเพลงไม่ลงตัว แต่ถ้าใครได้ Invite แล้วจะสามารถอัพเพลงเข้าไปเก็บได้ถึง 20000 เพลง จะไปเปิดฟังบนหน้าเว็บ Desktop มือถือ หรือ Tablet ก็ได้

Play video

Google Movies Rental บริการเช่าหนังออนไลน์

เช่าได้จาก android market เช่นกัน เมื่อเช่าแล้วจะไปเปิดดูใน app Video คุณภาพหนังแบบธรรมดาอยู่ที่ประมาณ $3.99 ถ้าแบบ HD $4.99 เมื่อเช่าแล้วจะเก็บไว้โดยยังไม่เปิดดูได้ 30 วัน แต่ถ้าเปิดแล้วจะมีเวลาดูได้ 24 ชั่วโมง

Play video

เล่ามายืกยาว เป็นไงละ อาซ้อ 3.1 อีแจ่มใช่ม้า อั้วรับรอง ถ้าพวกลื้อได้สัมผัสอีแล้ว พวกลื้อจะต้องติกจาย วันนี้อั้วต้องขอตัวไปก่อง เขียนมาหลายวันเลี้ยวกว่าจะเส็ก ไว้มีอาซ้อ 4.0 อาซิ้ม แซ่วิช แล้วค่อยมาเจอกันใหม่น้า โชคลี โชคลี ตั่ว ตั่ว ไก้ 😛