ปีที่แล้วก่อนงาน Google I/O ทางกูเกิลก็ได้เปิดตัว Android N เวอร์ชันสำหรับนักพัฒนาออกมาให้นักพัฒนาได้เล่นกันก่อน ปีนี้ทางกูเกิลก็ยังคงทำตามแนวทางเดิม เพราะล่าสุดได้ปล่อย Android O สำหรับนักพัฒนาเวอร์ชันแรกออกมาแล้วเมื่อคืนที่ผ่านมา ออกมาก่อนงาน Google I/O 2017 อยู่ราวเดือนครึ่งเลย แน่นอนว่าฟีเจอร์ใหม่ๆ มาเพียบ ทางเราเลยเอามาสรุปให้เพื่อนๆ อ่านกัน
1. Background limits
เพื่อพัฒนาให้ Android มีอายุแบตเตอรี่ที่ดียิ่งขึ้นโดยไม่กระทบกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ กูเกิลเลยเพิ่มระบบการจำกัดการทำงานของแอปแบบอัตโนมัติเข้ามาให้สำหรับแอปที่มีการทำงานเบื้องหลัง (implicit broadcast, background services, location updates) ซึ่งช่วยให้จัดการการทำงานของแอปได้ง่ายขึ้น กูเกิลเน้นย้ำนักพัฒนาทั้งหลายควรทำความเข้าใจกับระบบใหม่และพัฒนาแอปให้เป็นไปทางแนวทางนี้
2. Notification channels
นักพัฒนาสามารถแบ่งประเภทการแจ้งเตือนของแอปได้ ว่าเป็นหมวดหมู่ไหน และสำหรับผู้ใช้งานก็สามารถเลือกได้ว่าจะปิดการแจ้งเตือนเป็นหมวดๆ หรือปรับเปลี่ยนการทำงานได้ โดยไม่ต้องไปปิดการแจ้งเตือนของทั้งแอป และใน Android O ก็จะปรับการแสดงผลของการแจ้งเตือนด้วยทำให้ใช้งานง่ายขึ้น (เดี๋ยวรอเปรียบเทียบ UI อีกทีนะครับ)
3. Autofill APIs
กูเกิลพัฒนาให้ใน Android O รองรับการตั้งค่า Default App สำหรับกลุ่มแอป Autofill และผู้ใช้เลือกเปลี่ยนได้ผ่าน Settingsอ พร้อมทำเพิ่ม Autofill Framework ให้นักพัฒนานำไปใช้กับแอปตัวเองได้ด้วย
4. Picture in Picture and new windowing features
ถ้าใครใช้ Android TV น่าจะคุ้นกับการแสดงผลแบบ Picture in Picture (PIP) ที่เล่นวิดีโอได้ต่อเนื่องแม้เราจะย้ายไปทำงานส่วนอื่นของระบบ ใน Android O นั้นจะรองรับการแสดงผลลแบบนี้แล้ว นอกจากนี้แล้วกูเกิลยังเพิ่มการรองรับการแสดงผลหลายจอด้วย หากอุปกรณ์ที่ใช้มีหลายจอ ก็สามารถย้าย multi-window ไปอีกจอได้
5. Fonts resources in XML
อันนี้อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะนักพัฒนาไปหน่อย เพราะกูเกิลปรับให้ใน Android O ปรับให้ฟอนท์เป็นหนึ่งใน resource ประเภทนึงแล้ว และปรับแต่งตั้งค่าได้ในไฟล์ XML เลย
6. Adaptive icons
ดูเหมือนว่ากูเกิลจะให้ความใส่ใจกับธีมใน Android อยู่เหมือนกัน เพราะว่า Adaptive icons จะช่วยให้นักพัฒนาแอปเพิ่มไอคอนของแอปที่มีรูปร่างหน้าตาที่หลากหลาไยด้ รวมถึงอนิเมชันเวลาเกิดการกระทำต่างๆ ได้ด้วย โดยการแสดงผลนั้นจะขึ้นแต่ละอุปกรณ์ที่นักพัฒนากำหนด
7. Wide-gamut color for apps
เรียกได้ว่าตอบโจทย์คนชอบใช้แอปแต่งภาพกันแบบเน้นๆ เลยสำหรับฟีเจอร์นี้ เพราะใน Android O จะรองรับให้แอปกำหนดการแสดงผลที่มีช่วงสีกว้างขึ้นได้แล้ว (รองรับ AdobeRGB, Pro Photo RGB, DCI-P3 และอื่นๆ) แต่ก็ขึ้นกับจอของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยนะว่ารองรับการแสดงช่วงสีกว้างด้วยรึเปล่า
8. Connectivity
กูเกิลได้พัฒนาให้ใน Android O นั้นมีคุณภาพเสียงผ่านการเชื่อมต่อไร้สายที่ดียิ่งขึ้น โดยการนำ Bluetooth codecs คุณภาพสูง เช่น LDAC ของโซนี่ มาใส่ให้รองรับเป็นพื้นฐาน และได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับส่วนของ Wi-Fi อย่าง WiFi Aware หรือชื่อเก่าคือ Neighbor Awareness Networking (NAN) เพื่อให้อุปกรณ์ค้นหาและสามารถติดต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมี Internet Access Point กูเกิลบอกด้วยว่ากำลังร่วมกับพาร์ทเนอร์เข็นอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน Wi-Fi Aware ออกมาในเร็วๆ นี้ด้วย
9. Keyboard Navigation
Android O เพิ่มการรองรับให้การควบคุมด้วยคีย์บอร์ดจริง อย่างเวลาใช้แอปบน Chrome OS จะรองรับการเลื่อนตำแหน่งด้วยการใช้ ปุ่ม arrow หรือปุ่ม Tab ได้
10. AAudio API for Pro Audio
AAudio เป็นฟีเจอร์เกี่ยวกับเสียงตัวใหม่ที่ออกแบบมารองรับแอปที่ต้องการระบบเสียงที่ประสิทธิภาพสูงและมีความหน่วงต่ำ แอปที่ใช้ AAudio นั้นจะมีการเขียนอ่านเสียงในแบบ Stream คาดว่าน่าจะคล้ายๆ กับ ASIO บน Windows ครับ
11. WebView enhancements
มีการแยก WebView ออกจากแอปหลักเพื่อเพิ่มความเสถียรของตัวแอปหลัก พร้อมทั้งเพิ่ม API สำหรับให้นักพัฒนาตรวจสอบปัญหา error ต่างๆ ได้เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
12. Java 8 Language APIs and runtime optimizations
เพิ่มการรองรับ API ของ Java 8 มากขึ้น รวมถึงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพตอน Runtime ที่ดีขึ้น ในบางแอปมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
13. Partner platform contributions
ในกลุ่มพาร์ทเนอร์กูเกิลและนักพัฒนาต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุง Android จนมาเป็น Android O หนึ่งในนั้นก็คือโซนี่ ที่ได้ช่วยพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ กว่า 30 ฟีเจอร์ รวมถึงการนำ LDAC มาใส่ให้กับ Android O ด้วย นอกจากนี้แล้วโซนี่ยังช่วยจัดการบั๊กให้กับ Android O ไปอีกกว่า 250 บั๊ก
ไล่มา 13 ฟีเจอร์นี้แล้ว ดูท่าปีนี้ Android O ก็จะมีของใหม่ๆ มาเพิ่มอีกเพียบเลย คงต้องรอดกันอีกทีในงาน Google I/O 2017 ว่าฟีเจอร์ทั้งหมดของ Android O จะมีอะไรบ้าง จะมีอะไรเพิ่มมาอีกหรือเปล่า เพื่อนๆ เห็นฟีเจอร์ทั้งหลายเหล่านี้แล้วคิดเห็นอย่างไรก็มาคอมเมนท์กันได้นะครับ
ที่มา: android developer
แล้ว Pixel ปีนี้ใครเป็นผู้ผลิต
ต้องบอกก่อนว่า LDAC ที่ integrated เข้าไปนี่ฝีมือ Sony นะจ๊ะ Sony ช่วยทำให้ เอ้าปรบมือสิรอไร
นอกจากเรื่อง LDAC พอจะทราบมั๊ยคับว่า โซนี่ช่วยแก้บั๊กอะไรในแอนดรอยด์บ้าง
แล้ว DOZE ในแอนดรอยด์นี่ได้ต้นแบบมาจาก Stanima Mode ไหมคับ?
ผมไม่รู้นะว่ายังไงมั่ง ไม่ได้ตามข่าวเจาะลึกขนาด dev ผู้มี exp เยอะๆเท่าไหร่ แต่เดาว่า doze นี่ใช่, แก้บัคก็น่าจะใช่ (เจ้าอื่นคงมีบ้างมั้ง) Sony นี่เหมือนจะใกล้ชิดสุดละมั้ง ข่าวแนวๆนี้เหมือนจะแว่วๆมาบ่อยๆ
ใส่ LDAC มาก็ต้องตีกะ AptX Codec ของ Qualcomm อีก แต่ดูแววแล้ว ถ้ามาพร้อม OS แบบนี้ AptX อาจจะหมดอนาคตได้ และ hardware ก็ต้องมานั่งขอไลเซนส์กะ sony อีก ตีกินเรียบเลยทีเดียว
ผมว่าไม่น่าตีกันนะครับ จากที่ผมเข้าใจคือ AptX ยังสามารถส่งข้อมูลได้มากสุดที่ CD quality (44.1 kHz, 16bit) แต่ตัว LDAC มันส่งได้มากกว่านั้น ตามที่โซนี่เคลมคือเป็น Hi-Res ที่ความละเอียดราวๆ 96kHz, 24bit ซึ่งสูงกว่าพอสมควร เลยมองว่ามันใช้สำหรับคนละระดับกันมากกว่าครับ
Update:
เห็นว่า Android O จะรับ aptX HD (https://www.aptx.com/aptx-hd 48kHz, 24bit) ด้วย
ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะใส่มาเป็นตัวเลือกให้ผู้ใช้เลือกใช้กับหูฟังมั้งครับ
รอเล่นเลย Nexus 6P
กราบ Sony ซะ เขาช่วยพวกเธอกันขนาดนี้แล้ว