ทุกคนเคยสงสัยมั้ยว่าข้อมูลต่าง ๆในโซเชียลมิเดียมันมีความจริงแท้แค่ไหนการที่เราจะรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ได้ต้องแยกแยะอ่านแล้วอ่านอีกเพราะข้อมูลในปัจจุบันมีการเผยแพร่ที่ว่องไวและรวดเร็วมาก ส่งผลให้คนบางกลุ่มอาจรับส่งข้อมูลที่ผิด ๆ ออกไป ล่าสุดทาง Twitter กำลังทดสอบ Birdwatch โปรแกรม Fact-Checking ที่ผู้ใช้ประมาณครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาตอนนี้สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เพิ่มลงในทวีตได้เพื่อแยกแยะว่าข้อมูลไหนเป็นความจริงหรือเป็นข่าวปลอม เรามาดูจุดเด่นของโปรแกรมนี้กันเลย

Twitter กำลังขยายโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่าง Birdwatch ที่ตอนนี้เริ่มเปิดทดลอง เพื่อให้ข้อมูลผิด ๆ ถูกลบออกไป ตอนนี้ผู้ใช้  Twitter ในสหรัฐอเมริกาได้เริ่มทดลองใช้งาน เพื่อแก้ไขข้อมูลผิดๆ หรือข่าวหลอกลวงที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ

 

Twitter Birdwatch

โปรแกรมนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยศึกษาแนวทางจากเหล่าผู้ใช้งานเป็นเวลากว่า 1 ปีในการทดสอบบนทวิตเตอร์ เพื่อเช็คข้อเท็จจริงจากผู้ใช้โดยตรง และจากตัวอย่างการใช้งานของ Birdwatch แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ที่พบเห็นข้อมูลเท็จสามารถเพิ่มโน้ตย่อ ๆ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเพื่อแย้งข้อมูลเท็จนั้นได้ทันที และคนอื่น ๆ ยังสามารถให้คะแนนโน้ตนั้นได้ว่ามีประโยชน์หรือไม่

ตอนนี้ทวิตเตอร์กำลังเพิ่มผู้คนที่ให้ความสนับสนุน Birdwatch ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 15,000 คน โดยจะนำระบบใหม่ เช่นการให้คะแนนเข้ามาเพิ่ม โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมจะสามารถให้คะแนนบันทึกย่อของคนอื่นๆ ได้ด้วย ว่าระบุข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือว่าเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เมื่อได้ 5 คะแนนพวกเขาจะสามารถเริ่มเขียนโน้ตในข้อความอื่นๆ ได้ แต่ถ้าคนอื่นเห็นว่าบันทึกเหล่านั้นมีความซ้ำจำเจไม่เกิดประโยชน์ขึ้นมาจะส่งผลให้คะแนนลดลง และอาจล็อกความสามารถในการเขียนโน้ตของผู้มีส่วนร่วมได้ชั่วคราวหรือสูญเสียสิทธิ์ในการเขียนบันทึกย่อนั่นเอง

ระบบการให้คะแนนดูเหมือนว่าจะออกแบบมาเพื่อช่วยในแน่ใจว่าผู้ร่วมให้ข้อมูลจะไม่โกง หรือเพิ่มข้อมูลที่ผิดของตัวเองลงไปบน Twitter แม้ว่า Birdwatch เป็นโปรแกรมที่มีการทดสอบไปตั้งแต่ต้นปีแต่ก็ยังกระจายถึงแค่คนกลุ่มน้อยเท่านั้น ตอนนี้เพิ่งเริ่มขยายไปยังผู้ใช้อีกหลายล้านคนที่สามารถดูการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Birdwatch ได้ แต่ด้วยความที่ยังมีน้อยอยู่ เราก็จะไม่เห็นรายละเอียดของมันในทุกทวิต ซึ่งการวิจัยยังระบุว่า Birdwatch เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแจ้งให้ผู้คนทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้องบน Twitter ได้ดีขึ้น

จากผลการทดสอบ 3 ครั้ง ผู้ที่เห็นโน้ตมีแน้วโน้มจะเห็นด้วยกับเนื้อหาของทวีตที่อาจทำให้เข้าใจผิดโดยเฉลี่ย 20-40% มากกว่าคนที่เห็นทวีตเพียงอย่างเดียว และจากการวิเคราะห์ภายในเรายังประเมินด้วยว่าผู้คนบน Twitter ที่เห็นโน้ตย่อมีแนวโน้มที่จะชอบหรือรีทวีตทวีต โดยเฉลี่ย 15-35% น้อยลงกว่าคนที่เห็นทวีตเพียงอย่างเดียว

อ่านแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างคะ ชอบโปรแกรมนี้กันบ้างมั้ยส่วนตัวทางเราคิดว่าดีมากที่จะมีตัวช่วยมาให้เราได้คัดกรองข้อมูลที่เป็นเท็จ เรายังสามารถเห็นด้วยหรือโต้แย้งได้ทันทีไม่งั้นอาจส่งผลให้เรามีความเข้าใจผิด ๆ แล้วนำไปบอกต่อคนอื่นได้ค่ะ ยิ่งยุคปัจจุบันทุกอย่างดูรวดเร็วไปหมด จะเข้าถึงโซเชียลอะไรแต่ละทีควรกรองข้อมูลข่าวสารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นะ ตอนนี้ยังไม่มีรายงานว่าโปรแกรม Fact-Checking หรือ Birdwatch จะเข้าประเทศไทยตอนไหนถ้ามีอะไรจะมาอัพเดตอีกทีค่ะ

 

ที่มา Twitter Inc.